จากกระทู้เรื่องป่วยเมื่อไปเที่ยวต่างประเทศ ทำให้ได้อ่านความเห็นหลายๆความเห็นเกี่ยวกับการแพทย์ในต่างประเทศ ตัวเราเองอยู่อเมริกา และทำงานด้านสาธารณสุข เราคุ้นเคยกับระบบสาธารณสุขที่นี่ และรู้สึกว่ามันเป็นระบบระเบียบดี เราอยากจะขอให้ท่านที่มีประสบการณ์เข้ามาแชร์ระบบ และขั้นตอนการไปหาหมอที่ประเทศที่ท่านอาศัยอยู่ รวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับประกันสุขภาพของท่านด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นความรู้ให้กับผู้อื่น ซึ่งเราคิดว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เราจะเริ่มจากตัวเราก่อน
ครอบครัวเรามีสี่คน เรา สามี และลูกอีกสอง เราและสามีทำงาน full time และสามารถซื้อประกันสุขภาพได้จากทั้งที่ทำงานของเราและที่ทำงานของสามี เมื่อก่อนใช้ประกันของสามี ต่อมาพอเราเรียนจบก็ทำงานเต็มเวลา เลยได้ benefits จากที่ทำงานให้ซื้อ group health insurance ได้ด้วย ซึ่งราคาของที่ทำงานเรา ต่างจากราคาของที่ทำงานสามีมาก (เดี๋ยวจะแจกแจงราคาให้ดู)เราเลยเลือกซื้อประกันจากที่ทำงานเราเพื่อครอบคลุมทั้งครอบครัว
เมื่อตอนใช้ประกันที่ซื้อจากบริษัทของสามี เราจ่าย premium ประมาณ$600 ต่อเดือน เวลาไปหาหมอเราและสามีจ่ายอีกคนละ $130 และลูกจ่ายคนละ $90 ค่ายาแต่ละเดือนประมาณ $140 เคยต้องพาลูกไป ER จ่ายไปประมาณ $2000 อยู่แค่คืนเดียว พอสายๆดีขึ้นหมอให้กลับบ้านได้
ตอนนี้ใช้ประกันของเรา เราจ่าย premium เดือนละ $250 ไปหาหมอประจำตัวทั้งครอบครัวจ่ายคนละ $20 ไปหาหมอเฉพาะทางจ่ายคนละ $40 ไป ER จ่าย$250 เคยพาลูกไป ER นอนอยู่ 4คืน 5 วัน ก็จ่ายแค่ $250 นี่แหละ เริ่ดมาก
ทีนี้มาดูเรื่องไปหาหมอบ้าง แต่ละปีเราควรจะตรวจสุขภาพประจำปี หมอจะ order blood tests และ evaluate สุขภาพของเราโดยรวม เวลาไปตรวจประจำปีนี้เราไม่ต้องจ่าย ประกันจ่ายหมด tests ทุกอย่างที่หมอสั่งก็ไม่ต้องจ่าย ทั้ง blood test, pap smear, prostate exam, breast exam, mammograms, colonoscopy (เทสบางอย่างไม่ต้องทำทุกปี)
ส่วนมากหมอจะนัดทุกหกเดือนเพื่อมาเช็คเลือด จะได้ดูว่าต้องปรับยาหรือไม่อย่างไร อันนี้ต้องจ่าย $20 ค่า blood test ไม่ต้องจ่าย ประกันจ่าย
เวลาป่วยเราก็โทรนัดหมอ ส่วนมากถ้าไม่ได้เจอหมอวันนั้นเลยก็จะเป็นวันถัดไป ถ้าป่วยวันเสาร์อาทิตย์แล้วต้องรีบหาหมอแบบไม่ควรรอ เราก็ไป urgent care ซึ่งจะเป็นเหมือนคลินิกนอกเวลา ต้องจ่าย $75 ถ้าป่วยแบบ urgent care รักษาได้ก็โอเคไป ถ้าไม่ได้ก็ต้องไป ER พอดีลูกคนเล็กเราเป็นโรคหอบหืด เมื่อตอนอายุน้อยต้องไปหาหมอเพราะหายใจไม่ออกบ่อยๆ เรารู้เลยว่าเมื่อไหร่ต้องไป urgent care เมื่อไหร่ต้องไป ER และเมื่อไหร่ที่เราดูแลเองได้ โชคดีที่ตอนนี้ดีขึ้นมากแล้ว
เวลาไปหาหมอประจำตัว ไปถึงก็รอประมาณ 5-10 นาทีก็เข้าพบหมอ ถ้าไม่มีอะไรมาก ตรวจเสร็จก็สั่งยาส่งไปที่ร้านขายยาประจำที่เราใช้ เราจ่าย $20 ก็เสร็จ รวมๆเวลาไม่ค่อยเกินชั่วโมง ถ้าป่วยเยอะหน่อยก็อาจต้องเจาะเลือด ก็อาจจะนานขึ้นอีกหน่อย
ส่วนเวลาไป urgent care หรือ ER นี่อีกเรื่อง ไปถึงก็ต้องไปนั่งรอ รอนานมากในความคิดเรา แต่จริงๆก็ไม่เคยเกินสองชั่วโมงหรอก ที่ต้องไปก็อย่างที่บอกว่าลูกเราเป็นหอบหืด ซึ่งหอบหืดในเด็กจะอันตรายมาก เขาก็เลยรักษาลูกเราได้ค่อนข้างเร็ว
ระบบที่ ER นี่จะเรียงลำดับความฉุกเฉิน ไม่ใช่ว่าใครมาก่อนได้เจอหมอก่อน เริ่มแรกจะมีการกรอกประวัติ สอบถามอาการเบื้องต้น แต่ถ้าเป็นหนักก็เข้ารักษาก่อนเลย หมอวิ่งตามกันไปเป็นพรวน อย่างอื่นค่อยว่ากันทีหลัง ถ้าดูอาการแล้วยังโอเค เขาก็ไปตรวจคนที่แย่กว่าก่อน
หลังจากดูอาการเบื้องต้น เมื่อถึงคิวเรา เขาก็พาเข้าไปข้างในเพื่อเข้าห้องรอหมอตรวจ เราเคยนั่งรอแล้วลูกอาการแย่ลง เราก็ไปบอกเจ้าหน้าที่ พยาบาลก็ออกมาดู แล้วก็รีบไปหาห้องเพื่อพาลูกเราเข้าไปเลย พอไปถึงไม่นาน หมอเวรก็เข้ามาดูก่อน ตรวจนู่นนี่นั่น สั่ง x-ray ปอด อธิบายทุกอย่างแล้วก็ออกไป สักพักเจ้าหน้าที่ก็มาพาไป x-ray กลับมาถึงห้องทีนี้ก็รอนานหน่อย เพราะต้องรอผล แต่ระหว่างรอผล ยาก็มาแล้วนะ ทั้งเครื่องพ่นยา ทั้งเครื่องวัดความดัน, ออกซิเจน
ช่วงรอผลนี่จะค่อนข้างนาน เป็นหลายชั่วโมงก็มี แต่พอผลมา หมอก็มาทันทีเหมือนกัน พยาบาลก็มาพร้อมกับยา หมอมาอธิบายว่าเป็นอะไร แล้วเขาจะรักษายังไง จะดูอาการถึงเมื่อไหร่ แล้วก็ออกไป ระหว่างนั้นก็มีหมอคนอื่นๆมาตรวจด้วย รวมๆแล้วไป ER ทีเจอหมอสี่ห้าคน หมอเวร หมอฝึกหัด อาจารย์หมอ/หมอหัวหน้า(head doctor) หมอเฉพาะทาง บางครั้งเขาก็มารวมกลุ่มกันปรึกษาหน้าห้องเรานี่แหละ เราก็รู้หมดเขาคุยอะไรกันบ้างด้วยความที่เราทำงานด้านนี้อยู่แล้ว
ครั้งสุดท้ายที่ลูกเราไป ER หมอสั่ง admit ทันที เราก็เลยได้เจอหมออีกหลายคนเปลี่ยนหน้ากันมาดูอาการลูกเรา อยู่โรงพยาบาลห้าวัน หมอและพยาบาลน่ารักทุกคน คงเป็นเพราะเราโชคดีด้วยมั้ง ที่ยังไม่เคยเจอเหตุการณ์แย่ๆ
ระบบโรงพยาบาลที่นี่ เขามีการตรวจสอบอยู่เสมอว่าโรงพยาบาลได้มาตรฐานตามที่รัฐกำหนดหรือไม่ ความปลอดภัยทั้งของคนไข้และเจ้าหน้าที่เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ถ้าเกิดการผิดพลาด ก็จะมีการสอบสวน อาจมีการลงโทษหรือมาตรการต่างๆตามมา เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่นี่ต้องมีใบอนุญาต ทั้งหมอ นักเรียนหมอ พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล เภสัช ผู้ช่วยเภสัช เจ้าหน้าที่เจาะเลือด เจ้าหน้าที่เอ็กซเรย์ เจ้าหน้าที่ดูแลเรื่องยาและอุปกรณ์สำหรับการหายใจโดยเฉพาะ (respiratory technician) แต่ละสายอาชีพจะมี board ของตัวเอง เช่น medical board, board of pharmacy, board of nursing ถ้ามีการทำผิดกฎ หรือเกิดข้อผิดพลาด เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะต้องตอบคำถามของ board อาจมีการลงโทษ ทั้งปรับ และยึดใบอนุญาต และจำคุก
เราเคยไปฟัง board of pharmacy มีเภสัชตั้งหลายคนถูกยึดใบอนุญาต เพราะจ่ายยาพวก narcotics โดยปลอมใบสั่งแพทย์ หรือไม่ตรวจสอบใบสั่งแพทย์ตามขั้นตอนที่ต้องตรวจสอบ ขั้นตอนที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทำจะมีการบันทึกไว้ทุกอย่าง เพราะฉะนั้นใครทำอะไรก็รู้หมด
สามีเราเคยไป ER เพราะเกิดอุบัติเหตุ แต่ไปถึงแล้วรอนานมาก เขาเป็นคนใจร้อน เขาก็เลยไม่รอและขอหมอกลับ หมอเวรดูชาร์ทเห็นว่าไม่หนักหนา ก็เซ็น discharge against doctor advice ต่อมาบิลส่งมาที่บ้าน ว่าสามีเราได้เจอหมอและได้รับการตรวจจากหมอชื่อนี้ ซึ่งหมอชื่อนี้ไม่ได้เข้ามาดูสามีเราเลย เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าใคร ไม่ใช่หมอเวรที่เซ็นให้ออกจากโรงพยาบาล เราก็ติดต่อโรงพยาบาลขอ medical record และแจ้งไปที่โรงพยาบาลว่า รายละเอียดใน medical record ไม่ถูกต้อง สามีเราไม่ได้เจอหมอ ไปรอน่ะใช่ แต่ไม่ได้พบหมอ จะมาบอกว่าได้รับการรักษาจากหมอคนนี้ไม่ได้ สรุปเราก็ไม่ต้องจ่ายอะไร
นี่คือประสบการณ์ของเรา แล้วคุณล่ะ มาเล่าให้อ่านกันหน่อยนะ
ระบบสาธารณสุขในแต่ละประเทศ
ครอบครัวเรามีสี่คน เรา สามี และลูกอีกสอง เราและสามีทำงาน full time และสามารถซื้อประกันสุขภาพได้จากทั้งที่ทำงานของเราและที่ทำงานของสามี เมื่อก่อนใช้ประกันของสามี ต่อมาพอเราเรียนจบก็ทำงานเต็มเวลา เลยได้ benefits จากที่ทำงานให้ซื้อ group health insurance ได้ด้วย ซึ่งราคาของที่ทำงานเรา ต่างจากราคาของที่ทำงานสามีมาก (เดี๋ยวจะแจกแจงราคาให้ดู)เราเลยเลือกซื้อประกันจากที่ทำงานเราเพื่อครอบคลุมทั้งครอบครัว
เมื่อตอนใช้ประกันที่ซื้อจากบริษัทของสามี เราจ่าย premium ประมาณ$600 ต่อเดือน เวลาไปหาหมอเราและสามีจ่ายอีกคนละ $130 และลูกจ่ายคนละ $90 ค่ายาแต่ละเดือนประมาณ $140 เคยต้องพาลูกไป ER จ่ายไปประมาณ $2000 อยู่แค่คืนเดียว พอสายๆดีขึ้นหมอให้กลับบ้านได้
ตอนนี้ใช้ประกันของเรา เราจ่าย premium เดือนละ $250 ไปหาหมอประจำตัวทั้งครอบครัวจ่ายคนละ $20 ไปหาหมอเฉพาะทางจ่ายคนละ $40 ไป ER จ่าย$250 เคยพาลูกไป ER นอนอยู่ 4คืน 5 วัน ก็จ่ายแค่ $250 นี่แหละ เริ่ดมาก
ทีนี้มาดูเรื่องไปหาหมอบ้าง แต่ละปีเราควรจะตรวจสุขภาพประจำปี หมอจะ order blood tests และ evaluate สุขภาพของเราโดยรวม เวลาไปตรวจประจำปีนี้เราไม่ต้องจ่าย ประกันจ่ายหมด tests ทุกอย่างที่หมอสั่งก็ไม่ต้องจ่าย ทั้ง blood test, pap smear, prostate exam, breast exam, mammograms, colonoscopy (เทสบางอย่างไม่ต้องทำทุกปี)
ส่วนมากหมอจะนัดทุกหกเดือนเพื่อมาเช็คเลือด จะได้ดูว่าต้องปรับยาหรือไม่อย่างไร อันนี้ต้องจ่าย $20 ค่า blood test ไม่ต้องจ่าย ประกันจ่าย
เวลาป่วยเราก็โทรนัดหมอ ส่วนมากถ้าไม่ได้เจอหมอวันนั้นเลยก็จะเป็นวันถัดไป ถ้าป่วยวันเสาร์อาทิตย์แล้วต้องรีบหาหมอแบบไม่ควรรอ เราก็ไป urgent care ซึ่งจะเป็นเหมือนคลินิกนอกเวลา ต้องจ่าย $75 ถ้าป่วยแบบ urgent care รักษาได้ก็โอเคไป ถ้าไม่ได้ก็ต้องไป ER พอดีลูกคนเล็กเราเป็นโรคหอบหืด เมื่อตอนอายุน้อยต้องไปหาหมอเพราะหายใจไม่ออกบ่อยๆ เรารู้เลยว่าเมื่อไหร่ต้องไป urgent care เมื่อไหร่ต้องไป ER และเมื่อไหร่ที่เราดูแลเองได้ โชคดีที่ตอนนี้ดีขึ้นมากแล้ว
เวลาไปหาหมอประจำตัว ไปถึงก็รอประมาณ 5-10 นาทีก็เข้าพบหมอ ถ้าไม่มีอะไรมาก ตรวจเสร็จก็สั่งยาส่งไปที่ร้านขายยาประจำที่เราใช้ เราจ่าย $20 ก็เสร็จ รวมๆเวลาไม่ค่อยเกินชั่วโมง ถ้าป่วยเยอะหน่อยก็อาจต้องเจาะเลือด ก็อาจจะนานขึ้นอีกหน่อย
ส่วนเวลาไป urgent care หรือ ER นี่อีกเรื่อง ไปถึงก็ต้องไปนั่งรอ รอนานมากในความคิดเรา แต่จริงๆก็ไม่เคยเกินสองชั่วโมงหรอก ที่ต้องไปก็อย่างที่บอกว่าลูกเราเป็นหอบหืด ซึ่งหอบหืดในเด็กจะอันตรายมาก เขาก็เลยรักษาลูกเราได้ค่อนข้างเร็ว
ระบบที่ ER นี่จะเรียงลำดับความฉุกเฉิน ไม่ใช่ว่าใครมาก่อนได้เจอหมอก่อน เริ่มแรกจะมีการกรอกประวัติ สอบถามอาการเบื้องต้น แต่ถ้าเป็นหนักก็เข้ารักษาก่อนเลย หมอวิ่งตามกันไปเป็นพรวน อย่างอื่นค่อยว่ากันทีหลัง ถ้าดูอาการแล้วยังโอเค เขาก็ไปตรวจคนที่แย่กว่าก่อน
หลังจากดูอาการเบื้องต้น เมื่อถึงคิวเรา เขาก็พาเข้าไปข้างในเพื่อเข้าห้องรอหมอตรวจ เราเคยนั่งรอแล้วลูกอาการแย่ลง เราก็ไปบอกเจ้าหน้าที่ พยาบาลก็ออกมาดู แล้วก็รีบไปหาห้องเพื่อพาลูกเราเข้าไปเลย พอไปถึงไม่นาน หมอเวรก็เข้ามาดูก่อน ตรวจนู่นนี่นั่น สั่ง x-ray ปอด อธิบายทุกอย่างแล้วก็ออกไป สักพักเจ้าหน้าที่ก็มาพาไป x-ray กลับมาถึงห้องทีนี้ก็รอนานหน่อย เพราะต้องรอผล แต่ระหว่างรอผล ยาก็มาแล้วนะ ทั้งเครื่องพ่นยา ทั้งเครื่องวัดความดัน, ออกซิเจน
ช่วงรอผลนี่จะค่อนข้างนาน เป็นหลายชั่วโมงก็มี แต่พอผลมา หมอก็มาทันทีเหมือนกัน พยาบาลก็มาพร้อมกับยา หมอมาอธิบายว่าเป็นอะไร แล้วเขาจะรักษายังไง จะดูอาการถึงเมื่อไหร่ แล้วก็ออกไป ระหว่างนั้นก็มีหมอคนอื่นๆมาตรวจด้วย รวมๆแล้วไป ER ทีเจอหมอสี่ห้าคน หมอเวร หมอฝึกหัด อาจารย์หมอ/หมอหัวหน้า(head doctor) หมอเฉพาะทาง บางครั้งเขาก็มารวมกลุ่มกันปรึกษาหน้าห้องเรานี่แหละ เราก็รู้หมดเขาคุยอะไรกันบ้างด้วยความที่เราทำงานด้านนี้อยู่แล้ว
ครั้งสุดท้ายที่ลูกเราไป ER หมอสั่ง admit ทันที เราก็เลยได้เจอหมออีกหลายคนเปลี่ยนหน้ากันมาดูอาการลูกเรา อยู่โรงพยาบาลห้าวัน หมอและพยาบาลน่ารักทุกคน คงเป็นเพราะเราโชคดีด้วยมั้ง ที่ยังไม่เคยเจอเหตุการณ์แย่ๆ
ระบบโรงพยาบาลที่นี่ เขามีการตรวจสอบอยู่เสมอว่าโรงพยาบาลได้มาตรฐานตามที่รัฐกำหนดหรือไม่ ความปลอดภัยทั้งของคนไข้และเจ้าหน้าที่เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ถ้าเกิดการผิดพลาด ก็จะมีการสอบสวน อาจมีการลงโทษหรือมาตรการต่างๆตามมา เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่นี่ต้องมีใบอนุญาต ทั้งหมอ นักเรียนหมอ พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล เภสัช ผู้ช่วยเภสัช เจ้าหน้าที่เจาะเลือด เจ้าหน้าที่เอ็กซเรย์ เจ้าหน้าที่ดูแลเรื่องยาและอุปกรณ์สำหรับการหายใจโดยเฉพาะ (respiratory technician) แต่ละสายอาชีพจะมี board ของตัวเอง เช่น medical board, board of pharmacy, board of nursing ถ้ามีการทำผิดกฎ หรือเกิดข้อผิดพลาด เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะต้องตอบคำถามของ board อาจมีการลงโทษ ทั้งปรับ และยึดใบอนุญาต และจำคุก
เราเคยไปฟัง board of pharmacy มีเภสัชตั้งหลายคนถูกยึดใบอนุญาต เพราะจ่ายยาพวก narcotics โดยปลอมใบสั่งแพทย์ หรือไม่ตรวจสอบใบสั่งแพทย์ตามขั้นตอนที่ต้องตรวจสอบ ขั้นตอนที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทำจะมีการบันทึกไว้ทุกอย่าง เพราะฉะนั้นใครทำอะไรก็รู้หมด
สามีเราเคยไป ER เพราะเกิดอุบัติเหตุ แต่ไปถึงแล้วรอนานมาก เขาเป็นคนใจร้อน เขาก็เลยไม่รอและขอหมอกลับ หมอเวรดูชาร์ทเห็นว่าไม่หนักหนา ก็เซ็น discharge against doctor advice ต่อมาบิลส่งมาที่บ้าน ว่าสามีเราได้เจอหมอและได้รับการตรวจจากหมอชื่อนี้ ซึ่งหมอชื่อนี้ไม่ได้เข้ามาดูสามีเราเลย เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าใคร ไม่ใช่หมอเวรที่เซ็นให้ออกจากโรงพยาบาล เราก็ติดต่อโรงพยาบาลขอ medical record และแจ้งไปที่โรงพยาบาลว่า รายละเอียดใน medical record ไม่ถูกต้อง สามีเราไม่ได้เจอหมอ ไปรอน่ะใช่ แต่ไม่ได้พบหมอ จะมาบอกว่าได้รับการรักษาจากหมอคนนี้ไม่ได้ สรุปเราก็ไม่ต้องจ่ายอะไร
นี่คือประสบการณ์ของเรา แล้วคุณล่ะ มาเล่าให้อ่านกันหน่อยนะ