[USA] Lesson to Learn เมื่อลูกป่วย เข้าห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาล ต้องจ่าย Co-pay $100

นอกจากจะจ่ายค่าประกันสุขภาพในแต่ละเดือนไปแล้ว แต่เมื่อป่วยขึ้นมาก็ยังต้องจ่ายเพิ่มอีก

เป็นเพราะเราไม่ได้อ่านรายละเอียดของประกันเอง ปกติลูกเป็นไข้สูง เป็นหวัด เราจะไป Urgent care หรือ Primary care ก่อนซึ่งเป็นคลีนิคเล็กๆรักษาโรคทั่วไปโดยไม่ต้องนัดหมายล่วงหน้า คลินิคแบบนี้เราจ่ายค่า Copay ไปแค่ $10 จ่ายตอนเคาเตอร์ก่อนเข้าตรวจเลย

ครั้งนี้ลูก(สามขวบครึ่ง) อาเจียนไปสามรอบตอนเช้า (โดยที่ไม่มีไข้ หรือท่าทางป่วยก่อนหน้านี้) ทางโรงเรียนโทรให้มารับ ด้วยความวิตกกลัวเป็นอะไรร้ายแรง เลยไปแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลเด็ก (แทนที่จะไปหาหมอเด็กประจำตัวหรือ Urgent care เพราะคิดว่า ถ้าป่วยหนักๆยังไงก็ต้องมาโรงพยาบาลอยู่ดี เลยไปโรงพยาบาลดีกว่า)

เค้าก็รับเข้ารักษาอย่างรวดเร็ว ไป check-in >registration ไม่มีตรวจเอกสารหรือเก็บเงินอะไรเลย

แล้วเข้าตรวจทันที  ก็มีวัดไข้ วัดความดัน ตรวจปัสสาวะ ตรวจหัวใจ ตรวจปอด ตรวจช่องท้องเหมือนคลีนิค มีแต่พยาบาลมาตรวจ ไม่มีหมอมา สรุปลูกเป็น Stomach Flu ให้ยาแก้อาเจียนมาหนึ่งเม็ด แล้วได้ใบสั่งยาแก้อาเจียนอีกสามเม็ด(ให้ไปซื้อเอง ยาแพงด้วยอะ เม็ดละ $5)

คนสุดท้ายที่เข้ามาก่อนที่จะcheck out คือมาเช็ครายละเอียดประกันสุขภาพและเก็บขอค่า Copay ไป $100 ตอนนั้นมึนเลย ไม่เคยใช้บริการแผนกฉุกเฉินมาก่อน ทางเจ้าหน้าที่ก็เปิดรายละเอียดให้ดูว่าประกันเราเป็นแบบนี้ ต้องจ่ายเท่านี้ ถ้าไม่มีก็ไปคุยกับฝ่ายการเงินได้ สรุปเราจำต้องจ่ายด้วยบัตรเครดิตไป

ทางเจ้าหน้าที่ยังแนะอีกว่า ถ้าเกิดลูกอาการไม่ดีขึ้น แม้แต่จะกลับมาโรงพยาบาลในวันเดียวกันก็ต้องจ่ายค่า $100 ทุกครั้ง เศร้า

$100 เป็นราคาสำหรับ Outpatient ถ้า Inpatient คือ $200 (Inpatient นี้คือถ้าลูกต้องadmit นอนโรงพยาบาลใช่ป่าว)

ไม่ใช้ว่าไม่ยอมพาลูกมารักษาดีๆนะ คราวหน้าคงโทรไปปรึกษาหมอประจำตัวลูกหรือไม่ก็ไป Urgent care ก่อน

เอามาเล่าให้ฟังค่ะ เป็นบทเรียนอีกบทหนึ่งสำหรับเราว่า ห้องฉุกเฉินที่อเมริกามันแพงนะ  ถ้าไม่คิดว่าฉุกเฉิน เลือดตกยางออกจริงๆ คงไม่ใช้บริการ

คนไทยเป็นอะไรขึ้นมา เราหวังพึ่งโรงพยาบาลก่อนเลย ที่เมกา จะไปโรงพยาบาลทีต้องคิดแล้วคิดอีก

ถึงว่าคนน้อยจริงๆ เมื่อเทียบกับโรงพยาบาลที่ไทย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่