สุกี้ที่เป็นถ้วย ๆ น้ำซุปสีส้ม ๆ มีที่มาจากไหนครับ แล้วทำไมถึงเรียกว่าสุกี้ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีหม้อไฟเหมือนสุกี้ยากี้ญี่ปุ่น

ขอแท็กอาหารจีนด้วยเพราะว่าหม้อไฟแบบจีน คนไทยเราก็เรียกว่า สุกี้ เหมือนกัน ทั้งๆ ที่สูตรต่าง ๆ ออกไปเหมือนทางชาบูมากกว่า
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
สุกียากี้ เป็นอาหารของญี่ปุ่น ที่แพร่หลายไปในหลายประเทศ และก็มีการดัดแปลงสูตรให้เหมาะสมหรือตามความชอบของถิ่นนั้นๆ สูตรของญี่ปุ่นนั้นไม่มีน้ำจิ้มอะไร แต่จิ้มไข่ดิบแทน แต่สูตรของจีนซึ่งมีหลายภูมิภาค ก็มีน้ำจิ้มแตกต่างกันไป ทั้งสูตรกวางตุ้งที่น้ำจิ้มจะหวานๆ และแต้จิ๋วที่น้ำจิ้มใส่เต้าหู้ยี้ออกเค็มๆ

สุกียากี้เข้ามาในไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา คงเข้ามาพร้อมชาวญี่ปุ่นที่มาค้าขายและรับราชการในยุคนั้น ร่องรอยที่หลงเหลือดูได้จากอาหารในสำรับไทยที่เรียกว่าแกงร้อน ซึ่งมันมีหน้าตาเหมือนแกงจืดวุ้นเส้น แต่แกงร้อนจะใส่ไข่ไก่ลงไปด้วย เชื่อกันว่าเหตุที่เรียกว่าแกงร้อนนั้นเพราะ สุกียากี้จะต้องกินตอนร้อนๆโดยตั้งอยู่บนเตา ซึ่งแกงทั้งหมดของไทยนั้นร้อนตอนปรุงและอุ่น แต่เวลากินก็ตักใส่ชาม มีเพียงตำรับแกงร้อนนี้ที่ต้องตั้งไฟไว้ตลอดเวลา และไข่ไก่หนึ่งฟองที่ใส่ลงไปในแกงด้วย เป็นเพราะบ้านเราไม่กินไข่ดิบๆ แต่จะไม่ใส่หรือก็เสียตำรับดั้งเดิมของสุกียากี้ที่ต้องมีไข่ด้วย

ส่วนคำถามที่ว่า "สุกี้ที่เป็นถ้วย ๆ น้ำซุปสีส้ม ๆ มีที่มาจากไหน" ไม่แน่ใจว่าจะหมายความถึงน้ำซุปสีส้มๆว่าอย่างไร แต่ผู้ตอบนั้นเคยกินสุกียากี้แบบเป็นชามในร้านก๋วยเตี๋ยวมาตั้งแต่เด็กๆแล้ว ซึ่งเขาก็จะปรุงมาให้เหมือนก๋วยเตี๋ยว ไม่มีเตามาอุ่นให้แต่อย่างไร พร้อมทั้งใส่น้ำจิ้มแบบเต้าหู้ยี้ของแต้จิ๋ว ซึ่งจะทำให้น้ำซุปออกเป็นสีแดงๆส้มๆ ในขณะเดียวกันถ้าไปกินสุกี้ที่ร้าน ก็จะได้หม้ออลูมิเนียมตั้งบนเตาถ่าน พร้อมเครื่องเคราต่างๆมาให้ทำเอง ต่อมาพัฒนาเป็นเตาแก้ส และเตาไฟฟ้า หรือ กะทะไฟฟ้า จนมาถึงเตาแม่เหล็กอันทันสมัย คาดว่าสุกียากี้ที่เจ้าของกระทู้เห็น มันก็คือแบบที่เขาปรุงสำเร็จมาให้แล้ว เหมือนการทำแกงร้อนที่ทำมาให้เสร็จสรรพ กินได้ทันทีเลย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่