จากกรณี ผู้กองอิส รอง สวป.สภ.หนองขาม จ.ชลบุรี (ยศก่อนเสียชีวิต)
ถูกทาสน้ำเมา เมาอาละวาดจ่อยิงเสียชีวิต เมื่อวันที่ 6 ก.พ. ที่ผ่านมา
ทำให้ต้องมานั่งทบทวนถึงมาตรการต่างๆ ของรัฐบาลที่ขับเคลื่อนผ่าน สสส.
เกี่ยวกับพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดอันตรายจากการเมาสุรา
ว่า ทำอะไรกันอยู่ เล่นอะไรกันบนความเสี่ยงในสวัสดิภาพของประชาชน
ทุกๆ ครั้ง เรามักจะแก้ปัญหากันที่ปลายเหตุ
ซึ่งหลายต่อหลายครั้ง น่าจะเป็นบทสรุปได้ว่า เราไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมหลังเสพสุราของคนไทยบางจำพวกได้
หากเปลี่ยนผู้บริโภคซึ่งเป็นปลายเหตุไม่ได้ ทำไมเราจึงไม่หาวิธีระงับที่ต้นเหตุ
หลายๆ ต่อหลายๆ ครั้งของความสูญเสียจากพฤติกรรมหลังเสพสุรา
บ้างก็ได้รับการชดชเย บ้างก็ได้รับการเยียวยา บ้างก็ได้รับแค่ความเห็นใจจากสังคม
แต่สิ่งหล่านี้ไม่สามารถทดแทน หรือชดเชย หรือจะพูดให้สวยหรูว่าเยียวยา การสูญเสียที่ไม่อาจประเมินได้ ได้
ใครได้ ใครเสีย?
เท่าที่เห็น ประชาชนมีแต่เสียกับเสีย
ไม่ว่าจะเป็นผู้เสียหาย
ที่ต้องสูญเสียคนในครอบครัว สูญเสียหลักของชีวิต สูญเสียความสุขที่ได้อยู่ร่วมกัน
ประชาชนผู้เสียภาษี
ที่ต้องนำภาษีที่ควรใช้ในการพัฒนาประเทศ ไปชดเชยและเยียวยาผู้สูญเสีย ไปรณรงค์ด้วยคำขวัญเสนาะหู ไป ฯลฯ
หรือแม้แต่ผู้ก่อเหตุเองก็ตาม
ที่ต้องเสียอิสรภาพ ต้องเสียอนาคต ต้องเสียเวลา และอาจจะต้องเสียคุณค่าของชีวิตในอนาคตไปอย่างเลี่ยงไม่ได้
แต่สำหรับคนที่เสมอตัว
ไม่ได้เสียอะไรเลย ก็ไม่พ้นผู้ที่บริหารนโยบายเกี่ยวกับการค้า การป้องกันต่างๆ ที่ดูพิลึกพิลั่นนี้
ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ แต่ผู้บริหารบ้านเมืองกลับหันหลังใส่ศีลข้อห้า ทำเมือนมันไม่ใช่ข้อที่พุทธศานิกชนไม่ควรกระทำ
ส่วนผู้ที่มีแต่ได้กับได้ ก็คงไม่ต้องให้บอกว่าคือฝ่ายใด
สุดท้ายแล้ว สวัสดิภาพของเราก็ยังคงต้องเสี่ยงต่อไป อย่าไปหวังอะไรกับผู้บริหาร นอกเสียจากการปลอบใจ
ขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของผู้กองอิส
และขอแสดงความอาลัยต่อผู้กองด้วยครับ
ใครได้ใครเสีย? - เยียวยา หรือแค่ปลอบใจ?
ถูกทาสน้ำเมา เมาอาละวาดจ่อยิงเสียชีวิต เมื่อวันที่ 6 ก.พ. ที่ผ่านมา
ทำให้ต้องมานั่งทบทวนถึงมาตรการต่างๆ ของรัฐบาลที่ขับเคลื่อนผ่าน สสส.
เกี่ยวกับพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดอันตรายจากการเมาสุรา
ว่า ทำอะไรกันอยู่ เล่นอะไรกันบนความเสี่ยงในสวัสดิภาพของประชาชน
ทุกๆ ครั้ง เรามักจะแก้ปัญหากันที่ปลายเหตุ
ซึ่งหลายต่อหลายครั้ง น่าจะเป็นบทสรุปได้ว่า เราไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมหลังเสพสุราของคนไทยบางจำพวกได้
หากเปลี่ยนผู้บริโภคซึ่งเป็นปลายเหตุไม่ได้ ทำไมเราจึงไม่หาวิธีระงับที่ต้นเหตุ
หลายๆ ต่อหลายๆ ครั้งของความสูญเสียจากพฤติกรรมหลังเสพสุรา
บ้างก็ได้รับการชดชเย บ้างก็ได้รับการเยียวยา บ้างก็ได้รับแค่ความเห็นใจจากสังคม
แต่สิ่งหล่านี้ไม่สามารถทดแทน หรือชดเชย หรือจะพูดให้สวยหรูว่าเยียวยา การสูญเสียที่ไม่อาจประเมินได้ ได้
ใครได้ ใครเสีย?
เท่าที่เห็น ประชาชนมีแต่เสียกับเสีย
ไม่ว่าจะเป็นผู้เสียหาย
ที่ต้องสูญเสียคนในครอบครัว สูญเสียหลักของชีวิต สูญเสียความสุขที่ได้อยู่ร่วมกัน
ประชาชนผู้เสียภาษี
ที่ต้องนำภาษีที่ควรใช้ในการพัฒนาประเทศ ไปชดเชยและเยียวยาผู้สูญเสีย ไปรณรงค์ด้วยคำขวัญเสนาะหู ไป ฯลฯ
หรือแม้แต่ผู้ก่อเหตุเองก็ตาม
ที่ต้องเสียอิสรภาพ ต้องเสียอนาคต ต้องเสียเวลา และอาจจะต้องเสียคุณค่าของชีวิตในอนาคตไปอย่างเลี่ยงไม่ได้
แต่สำหรับคนที่เสมอตัว
ไม่ได้เสียอะไรเลย ก็ไม่พ้นผู้ที่บริหารนโยบายเกี่ยวกับการค้า การป้องกันต่างๆ ที่ดูพิลึกพิลั่นนี้
ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ แต่ผู้บริหารบ้านเมืองกลับหันหลังใส่ศีลข้อห้า ทำเมือนมันไม่ใช่ข้อที่พุทธศานิกชนไม่ควรกระทำ
ส่วนผู้ที่มีแต่ได้กับได้ ก็คงไม่ต้องให้บอกว่าคือฝ่ายใด
สุดท้ายแล้ว สวัสดิภาพของเราก็ยังคงต้องเสี่ยงต่อไป อย่าไปหวังอะไรกับผู้บริหาร นอกเสียจากการปลอบใจ
ขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของผู้กองอิส
และขอแสดงความอาลัยต่อผู้กองด้วยครับ