ขอกราบไหว้พระรัตนตรัยด้วยความเคารพอย่างสูงยิ่ง
------------------
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท โกธวรรคที่ ๑๗
เรื่องนางปุณณทาสี
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ ทรงปรารภทาสีของเศรษฐี กรุงราชคฤห์ ชื่อนางปุณณา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "สทา ชาครมานานํ" เป็นต้น.
นางปุณณาถวายขนมรำแด่พระพุทธเจ้า
คืนหนึ่ง นางปุณณาจุดไฟซ้อมข้าวเปลือกในตอนกลางคืนให้แก่เศรษฐีอยู่ เกิดความเหน็ดเหนื่อยจึงได้ไปยืนตากลมอยู่ ณ ภายนอก เพื่อต้องการพักผ่อน
ขณะที่พักอยู่นั้น นางก็แลเห็นพระทัพพมัลลเดินนำทางภิกษุทั้งหลายไปยังที่พักของตนๆ หลังจากที่ท่านเหล่านั้นเสร็จสิ้นการฟังธรรมแล้ว
นางปุณณาเห็นภิกษุทั้งหลายเดินบนภูเขาในยามดึกดื่นเช่นนั้น จึงคิดว่า
"
เราถูกทุกข์ของตัวเบียดเบียน จึงยังเข้านอนไม่ได้ เพราะเหตุไร ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จึงไม่หลับ?"
ดังนี้แล้ว ก็ทำความเข้าใจเอาเองว่า
"
ความไม่ผาสุกจักมีแก่ภิกษุบางรูป, หรืออุปัทวเหตุเพราะงู จักมีในที่นั่นเป็นแน่"
พอเช้าตรู่ นางหยิบรำชุบน้ำให้ชุ่มแล้ว ทำขนมบนฝ่ามือ ปิ้งที่ถ่านเพลิง ห่อไว้ในพก คิดว่า
"จะกินขนมที่ทางไปสู่ท่าน้ำ" จึงถือหม้อ เดินบ่ายหน้าไปยังท่าน้ำ
ในระหว่างเดินมา นางได้เห็นพระศาสดาซึ่งกำลังเสด็จไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน คิดว่า
"ในวันอื่นๆ ถึงเมื่อเราพบพระศาสดา ไทยธรรมของเราก็ไม่มี, เมื่อไทยธรรมมี เราก็ไม่พบพระศาสดา
ก็บัดนี้ ไทยธรรมของเราก็มี ทั้งพระศาสดาก็ปรากฏเฉพาะหน้า. ถ้าพระองค์ไม่ทรงคิดว่า "ทานของเราเศร้าหมองหรือประณีต แล้วพึงรับไซร้, เราพึงถวายขนมนี้"
ดังนี้แล้ว จึงวางหม้อไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่ง ถวายบังคมพระศาสดา กราบทูลว่า
"ขอพระองค์จงทรงรับทานอันเศร้าหมองนี้ ทำการสงเคราะห์แก่หม่อมฉันเถิด พระเจ้าข้า."
พระศาสดารับขนมนั้น นางปุณณาก็ได้วางขนมลงในบาตรของพระศาสดาแล้ว ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์
กราบทูลว่า "ขอธรรมที่พระองค์ทรงเห็นแล้วนั่นแหละ จงสำเร็จแก่หม่อมฉันเถิด พระเจ้าข้า"
พระศาสดาประทับยืนทรงกล่าวอนุโมทนาว่า "จงสำเร็จอย่างนั้น"
พระศาสดาเสวยขนมของนางปุณณา
นางปุณณาก็คิดว่า "พระศาสดาทรงทำการสงเคราะห์แก่เรา รับขนมก็จริง ถึงกระนั้น พระองค์ก็จักไม่เสวยขนมนั้น
คงประทานให้แก่กาหรือสุนัขข้างหน้า เมื่อเสด็จไปยังพระราชมณเฑียรของพระราชาหรือเรือนของมหาอำมาตย์แล้ว จักเสวยโภชนะอันประณีตแน่แท้"
แม้พระศาสดาทรงทราบวาระจิตของนางแล้ว ได้ประทับนั่งทำภัตกิจ ณ ภายนอกพระนครนั่นเอง
ในเวลาเสร็จภัตกิจ ตรัสเรียกนางปุณณามา ตรัสว่า "ปุณณา เพราะเหตุไร เจ้าจึงดูหมิ่นสาวกทั้งหลายของเรา?"
นางปุณณา. หม่อมฉันมิได้ดูหมิ่น พระเจ้าข้า
พระศาสดา. เมื่อเป็นเช่นนั้น เจ้าแลดูสาวกทั้งหลายของเราแล้วคิดอย่างไร?
นางปุณณา. หม่อมฉันคิดเท่านี้ว่า
เราไม่ถึงความหลับ ก็เพราะอุปัทวันตรายคือทุกข์นี้ก่อน ท่านผู้เจริญทั้งหลายไม่เข้าถึงความหลับ เพื่ออะไรกัน ความไม่ผาสุกจักมีแก่ภิกษุบางรูป หรืออุปัทวันตรายเพราะงูจักมีเป็นแน่ พระเจ้าข้า
สาวกของพระพุทธเจ้าตื่นเสมอ
พระศาสดาทรงสดับคำของนางปุณณานั้นแล้ว จึงตรัสว่า
ปุณณา เจ้าไม่หลับ เพราะอันตรายคือทุกข์ของตัวก่อน
ส่วนสาวกทั้งหลายของเรา ไม่หลับ เพราะความเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งธรรมเครื่องตื่นอยู่ทุกเมื่อ
ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
๖. สทา ชาครมานานํ อโหรตฺตานุสิกฺขินํ
นิพฺพานํ อธิมุตฺตานํ อตฺถํ คจฺฉนฺติ อาสวา.
อาสวะทั้งหลาย ของผู้ตื่นอยู่ทุกเมื่อ
มีปกติตามศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน
น้อมไปแล้วสู่พระนิพพาน
ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้.
ในกาลจบเทศนา นางปุณณายืนอยู่ตามเดิมนั่นเอง ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่บริษัทผู้ประชุมกันแล้ว
๛ เจ้าไม่หลับ เพราะอันตรายคือทุกข์ของตัวเอง ส่วนสาวกทั้งหลายของเราไม่หลับ เพราะ... ๛
------------------
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท โกธวรรคที่ ๑๗
เรื่องนางปุณณทาสี
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ ทรงปรารภทาสีของเศรษฐี กรุงราชคฤห์ ชื่อนางปุณณา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "สทา ชาครมานานํ" เป็นต้น.
นางปุณณาถวายขนมรำแด่พระพุทธเจ้า
คืนหนึ่ง นางปุณณาจุดไฟซ้อมข้าวเปลือกในตอนกลางคืนให้แก่เศรษฐีอยู่ เกิดความเหน็ดเหนื่อยจึงได้ไปยืนตากลมอยู่ ณ ภายนอก เพื่อต้องการพักผ่อน
ขณะที่พักอยู่นั้น นางก็แลเห็นพระทัพพมัลลเดินนำทางภิกษุทั้งหลายไปยังที่พักของตนๆ หลังจากที่ท่านเหล่านั้นเสร็จสิ้นการฟังธรรมแล้ว
นางปุณณาเห็นภิกษุทั้งหลายเดินบนภูเขาในยามดึกดื่นเช่นนั้น จึงคิดว่า
"เราถูกทุกข์ของตัวเบียดเบียน จึงยังเข้านอนไม่ได้ เพราะเหตุไร ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จึงไม่หลับ?"
ดังนี้แล้ว ก็ทำความเข้าใจเอาเองว่า
"ความไม่ผาสุกจักมีแก่ภิกษุบางรูป, หรืออุปัทวเหตุเพราะงู จักมีในที่นั่นเป็นแน่"
พอเช้าตรู่ นางหยิบรำชุบน้ำให้ชุ่มแล้ว ทำขนมบนฝ่ามือ ปิ้งที่ถ่านเพลิง ห่อไว้ในพก คิดว่า
"จะกินขนมที่ทางไปสู่ท่าน้ำ" จึงถือหม้อ เดินบ่ายหน้าไปยังท่าน้ำ
ในระหว่างเดินมา นางได้เห็นพระศาสดาซึ่งกำลังเสด็จไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน คิดว่า
"ในวันอื่นๆ ถึงเมื่อเราพบพระศาสดา ไทยธรรมของเราก็ไม่มี, เมื่อไทยธรรมมี เราก็ไม่พบพระศาสดา
ก็บัดนี้ ไทยธรรมของเราก็มี ทั้งพระศาสดาก็ปรากฏเฉพาะหน้า. ถ้าพระองค์ไม่ทรงคิดว่า "ทานของเราเศร้าหมองหรือประณีต แล้วพึงรับไซร้, เราพึงถวายขนมนี้"
ดังนี้แล้ว จึงวางหม้อไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่ง ถวายบังคมพระศาสดา กราบทูลว่า
"ขอพระองค์จงทรงรับทานอันเศร้าหมองนี้ ทำการสงเคราะห์แก่หม่อมฉันเถิด พระเจ้าข้า."
พระศาสดารับขนมนั้น นางปุณณาก็ได้วางขนมลงในบาตรของพระศาสดาแล้ว ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์
กราบทูลว่า "ขอธรรมที่พระองค์ทรงเห็นแล้วนั่นแหละ จงสำเร็จแก่หม่อมฉันเถิด พระเจ้าข้า"
พระศาสดาประทับยืนทรงกล่าวอนุโมทนาว่า "จงสำเร็จอย่างนั้น"
พระศาสดาเสวยขนมของนางปุณณา
นางปุณณาก็คิดว่า "พระศาสดาทรงทำการสงเคราะห์แก่เรา รับขนมก็จริง ถึงกระนั้น พระองค์ก็จักไม่เสวยขนมนั้น
คงประทานให้แก่กาหรือสุนัขข้างหน้า เมื่อเสด็จไปยังพระราชมณเฑียรของพระราชาหรือเรือนของมหาอำมาตย์แล้ว จักเสวยโภชนะอันประณีตแน่แท้"
แม้พระศาสดาทรงทราบวาระจิตของนางแล้ว ได้ประทับนั่งทำภัตกิจ ณ ภายนอกพระนครนั่นเอง
ในเวลาเสร็จภัตกิจ ตรัสเรียกนางปุณณามา ตรัสว่า "ปุณณา เพราะเหตุไร เจ้าจึงดูหมิ่นสาวกทั้งหลายของเรา?"
นางปุณณา. หม่อมฉันมิได้ดูหมิ่น พระเจ้าข้า
พระศาสดา. เมื่อเป็นเช่นนั้น เจ้าแลดูสาวกทั้งหลายของเราแล้วคิดอย่างไร?
นางปุณณา. หม่อมฉันคิดเท่านี้ว่า
เราไม่ถึงความหลับ ก็เพราะอุปัทวันตรายคือทุกข์นี้ก่อน ท่านผู้เจริญทั้งหลายไม่เข้าถึงความหลับ เพื่ออะไรกัน ความไม่ผาสุกจักมีแก่ภิกษุบางรูป หรืออุปัทวันตรายเพราะงูจักมีเป็นแน่ พระเจ้าข้า
สาวกของพระพุทธเจ้าตื่นเสมอ
พระศาสดาทรงสดับคำของนางปุณณานั้นแล้ว จึงตรัสว่า
ปุณณา เจ้าไม่หลับ เพราะอันตรายคือทุกข์ของตัวก่อน
ส่วนสาวกทั้งหลายของเรา ไม่หลับ เพราะความเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งธรรมเครื่องตื่นอยู่ทุกเมื่อ
ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
นิพฺพานํ อธิมุตฺตานํ อตฺถํ คจฺฉนฺติ อาสวา.
อาสวะทั้งหลาย ของผู้ตื่นอยู่ทุกเมื่อ
มีปกติตามศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน
น้อมไปแล้วสู่พระนิพพาน
ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้.
ในกาลจบเทศนา นางปุณณายืนอยู่ตามเดิมนั่นเอง ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่บริษัทผู้ประชุมกันแล้ว
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=27&p=6
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=862&Z=894
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
http://www.84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=23&A=3173
The Pali Atthakatha in Roman
http://www.84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=23&A=3173
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=21&siri=37