จาก นิพพานสูตร
...ฯ[๒๓๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน
ใกล้พระนครราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรกล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
นิพพานนี้เป็นสุข ดูกรอาวุโสทั้งหลาย นิพพานนี้เป็นสุข เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว
ท่านพระอุทายีได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรอาวุโสสารีบุตร นิพพานนี้ไม่มีเวทนา จะเป็น
สุขได้อย่างไร ฯ ...ฯ
///
จะเห็นว่าใน นิพพานสูตร ซึ่งพระสารีบุตรสนทนากับพระอุทาย ตาม คห.1
และตปุสสสูตร ที่พระศาสดาตรัสกับพระอานนท์ ตาม คห.9
ประกอบกับ รโหคตสูตร ที่พระศาสดาตรัสกับภิกขุรูปหนึ่ง ตาม คห.2
และพหุเวทนิยสูตร ใน คห.15
ขอให้สังเกตว่า ในตปุสสสูตร และนิพพานสูตร มีข้อความที่นิยามคำว่าสุข ว่าทุกข์ คือ
***กรณี ตปุสสสูตร : เมื่อเรานั้นอยู่ด้วยวิหาร
ธรรมนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยกามย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเรา
เปรียบเหมือนความทุกข์ พึงบังเกิดขึ้นแก่คนผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียน
ฉะนั้น ฯ
***กรณี นิพพานสูตร : สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยกาม
เหล่านั้น ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ ฉันนั้นเหมือนกัน
ซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์ ดูกรอาวุโส นิพพาน
เป็นสุขอย่างไร ท่านจะพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้ ฯ
***กรณี พหุเวทนิยสูตร ใน คห.15 : ดูกรอานนท์ ข้อที่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมตรัส
สัญญาเวทยิตนิโรธไว้แล้ว แต่บัญญัติลงในสุข ข้อนี้นั้นจะเป็นไฉนเล่า ข้อนี้นั้นเป็นอย่างไรเล่า
ดังนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรอานนท์ อัญญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนี้ ท่านควรจะกล่าว
ตอบว่า ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคจะทรงหมายสุขเวทนาอย่างเดียว แล้วบัญญัติไว้ในสุขหา
มิได้ แต่บุคคลได้สุขในที่ใดๆ พระตถาคตย่อมบัญญัติที่นั้นๆ ไว้ในสุข.
จะทำให้เราเห็นว่า คำว่า สุข และ คำว่า ทุกข์ นี้มีความหมายได้กว้าง
เห็นว่าคล้ายกับว่า สุข หมายถึงอะไรก็ตามที่ดีและควรแก่การได้การถึง ทำให้พอใจ
ส่วนทุกข์ หมายถึงอะไรก็ตามที่ไม่ดีและไม่ควรแก่การได้การถึง ทำให้ไม่พอใจ
คล้ายๆกับว่า คำว่า สุข และ ทุกข์ ในที่นี้มิใช่คำนาม แต่เป็นคำ คุณศัพท์ เอาไว้ขยายคำนามอื่นๆ เช่น
สุขเวทนา คือ เวทนา ที่มีคุณสมบัติอันถือกันว่าสุข คือเป็นเวทนาที่ดีและควรแก่การได้การถึง ทำให้พอใจ
และคำว่า สุข และ ทุกข์ เมื่อไปขยายคำนามใดแล้ว มันก็มีระดับด้วย คือมีหลายระดับ ไม่ใช่มีระดับเดียว
เช่น กามสุข เนกขัมมสุข หรือ โลกียสุข โลกุตระสุข เป็นต้น
แล้วถ้าไม่ฟังด้วยดีไม่เข้าใจวิธีการบัญญัติของพระศาสดาจะเป็นแบบนี้
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1980&Z=2186
/// [๑๒๙] ลำดับนั้นแล มีภิกษุรูปหนึ่ง เกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้นอย่าง นี้ว่า จำเริญละ
เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นอนัตตา กรรมที่อนัตตาทำแล้ว
จักถูกตนได้อย่างไร ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของภิกษุรูปนั้นด้วย
พระหฤทัย จึงรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่โมฆบุรุษบางคนในธรรมวินัยนี้
ไม่รู้แล้ว ตกอยู่ในอวิชชา ใจมีตัณหาเป็นใหญ่ พึงสำคัญคำสั่งสอนของศาสดาอย่างสะเพร่า
ด้วยความปริวิตกว่าจำเริญละ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เป็น อนัตตา กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร///
นิพพานไม่มีเวทนา จะเป็นสุขได้อย่างไร
...ฯ[๒๓๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน
ใกล้พระนครราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรกล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
นิพพานนี้เป็นสุข ดูกรอาวุโสทั้งหลาย นิพพานนี้เป็นสุข เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว
ท่านพระอุทายีได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรอาวุโสสารีบุตร นิพพานนี้ไม่มีเวทนา จะเป็น
สุขได้อย่างไร ฯ ...ฯ
///
จะเห็นว่าใน นิพพานสูตร ซึ่งพระสารีบุตรสนทนากับพระอุทาย ตาม คห.1
และตปุสสสูตร ที่พระศาสดาตรัสกับพระอานนท์ ตาม คห.9
ประกอบกับ รโหคตสูตร ที่พระศาสดาตรัสกับภิกขุรูปหนึ่ง ตาม คห.2
และพหุเวทนิยสูตร ใน คห.15
ขอให้สังเกตว่า ในตปุสสสูตร และนิพพานสูตร มีข้อความที่นิยามคำว่าสุข ว่าทุกข์ คือ
***กรณี ตปุสสสูตร : เมื่อเรานั้นอยู่ด้วยวิหาร
ธรรมนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยกามย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเรา
เปรียบเหมือนความทุกข์ พึงบังเกิดขึ้นแก่คนผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียน
ฉะนั้น ฯ
***กรณี นิพพานสูตร : สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยกาม
เหล่านั้น ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ ฉันนั้นเหมือนกัน
ซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์ ดูกรอาวุโส นิพพาน
เป็นสุขอย่างไร ท่านจะพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้ ฯ
***กรณี พหุเวทนิยสูตร ใน คห.15 : ดูกรอานนท์ ข้อที่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมตรัส
สัญญาเวทยิตนิโรธไว้แล้ว แต่บัญญัติลงในสุข ข้อนี้นั้นจะเป็นไฉนเล่า ข้อนี้นั้นเป็นอย่างไรเล่า
ดังนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรอานนท์ อัญญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนี้ ท่านควรจะกล่าว
ตอบว่า ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคจะทรงหมายสุขเวทนาอย่างเดียว แล้วบัญญัติไว้ในสุขหา
มิได้ แต่บุคคลได้สุขในที่ใดๆ พระตถาคตย่อมบัญญัติที่นั้นๆ ไว้ในสุข.
จะทำให้เราเห็นว่า คำว่า สุข และ คำว่า ทุกข์ นี้มีความหมายได้กว้าง
เห็นว่าคล้ายกับว่า สุข หมายถึงอะไรก็ตามที่ดีและควรแก่การได้การถึง ทำให้พอใจ
ส่วนทุกข์ หมายถึงอะไรก็ตามที่ไม่ดีและไม่ควรแก่การได้การถึง ทำให้ไม่พอใจ
คล้ายๆกับว่า คำว่า สุข และ ทุกข์ ในที่นี้มิใช่คำนาม แต่เป็นคำ คุณศัพท์ เอาไว้ขยายคำนามอื่นๆ เช่น
สุขเวทนา คือ เวทนา ที่มีคุณสมบัติอันถือกันว่าสุข คือเป็นเวทนาที่ดีและควรแก่การได้การถึง ทำให้พอใจ
และคำว่า สุข และ ทุกข์ เมื่อไปขยายคำนามใดแล้ว มันก็มีระดับด้วย คือมีหลายระดับ ไม่ใช่มีระดับเดียว
เช่น กามสุข เนกขัมมสุข หรือ โลกียสุข โลกุตระสุข เป็นต้น
แล้วถ้าไม่ฟังด้วยดีไม่เข้าใจวิธีการบัญญัติของพระศาสดาจะเป็นแบบนี้
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1980&Z=2186
/// [๑๒๙] ลำดับนั้นแล มีภิกษุรูปหนึ่ง เกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้นอย่าง นี้ว่า จำเริญละ
เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นอนัตตา กรรมที่อนัตตาทำแล้ว
จักถูกตนได้อย่างไร ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของภิกษุรูปนั้นด้วย
พระหฤทัย จึงรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่โมฆบุรุษบางคนในธรรมวินัยนี้
ไม่รู้แล้ว ตกอยู่ในอวิชชา ใจมีตัณหาเป็นใหญ่ พึงสำคัญคำสั่งสอนของศาสดาอย่างสะเพร่า
ด้วยความปริวิตกว่าจำเริญละ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เป็น อนัตตา กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร///