หุ้นไทยกำลังพุ่งทำสถิติเพราะหุ้นที่เกี่ยวกับน้ำมันเป็นหัวขบวนฉุดลากดึงตลาดขึ้น การพูดถึงราคาน้ำมันตกต่ำอาจจะดูสวนกระแสอยู่บ้าง เพราะขณะนี้ราคาน้ำมันทรงตัวสูง จากปัจจัยที่โอเปคร่วมกับรัสเซียลดกำลังผลิต และเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อน แต่ค่าเฉลี่ยทั้งปีของราคาน้ำมันดิบ OPEC Basket ปี 2015 ,2016, 2017 อยู่ที่ $49.49 ,$40.68 ,$52.51 ตามลำดับ เท่านั้น
สำหรับผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมนั้น เรื่องของธนาคารอิสลามอาจจะมองดูว่าเป็นเรื่องไกลตัว ไม่รู้สึกว่าจำเป็นต้องสนใจใคร่รู้ไปเพื่ออะไร ไม่ใช่เรื่องที่อยู่ในกระแส หรือส่วนมากก็รู้แค่ว่า อิสลามเขาห้ามกินดอกเบี้ยเท่านั้น ส่วนที่ลึกและกว้างกว่านั้นคนทั่วไปก็คงไม่ใส่ใจใคร่รู้เท่าไหร่ บางคนก็เห็นแต่ด้านบวกไม่ตระหนักถึงด้านลบ
ทำให้เรื่องนี้ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่อยู่ใน "มุมมืด" ที่เข้าไม่ถึงสำหรับคนที่ไม่ใช่มุสลิม ตรงกันข้ามกับประเทศมุสลิมที่เคร่งศาสนา เรื่องนี้ถือเป็น "วาระแห่งชาติ" เลยทีเดียว
ผมจึงเขียนเรื่องนี้ขึ้นมาด้วยภาษาที่คนทั่วไปซึ่งไม่ใช่มุสลิมก็เข้าใจได้ เพื่อปูพื้น ความรู้เรื่องธนาคารอิสลาม ทั้งประวัติศาสตร์ ความเป็นมา ภาพรวมกว้าง ๆ ในระดับโลก และระดับประเทศ ให้คนที่ไม่ใช่มุสลิมมองภาพรวม ๆ ของธนาคารอิสลามออกว่ารูปร่างหน้าตาเป็นยังไงในช่วงเวลาสั้น ๆ
แล้วถ้ามีการใช้ธนาคารอิสลามเต็มรูปแบบนั้นมันจะกระทบกับชีวิตกับผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมยังไง?
ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย ไกลตัว ไม่เห็นจะเดือดร้อนอะไร อย่างที่หลาย ๆ คนคิด
มันไม่ใช่แค่ "ธนาคารปลอดดอกเบี้ย" อย่างที่มุสลิมพยายามบอกให้เข้าใจกัน นั่นเป็นเพียงความเข้าใจอันตื้นเขินเท่านั้น
หรือตื่นเต้นไปกับตัวเลข จากหัวข้อข่าวที่ประโคมออกสื่อใหญ่จากต่างประเทศบ่อย ๆ ว่าธนาคารอิสลามเติบโตเท่านั้น เท่านี้ต่อปี ทรัพย์สินมีขนาดใหญ่โตแค่ไหนแล้ว หรือ ธนาคารอิสลามเป็นระบบที่มีภูมิคุ้มกันจากวิกฤตการเงินโลกเพราะทำแต่ธุรกรรมกับทรัพย์สินที่มีตัวตนหนุนหลัง เป็นต้น
หรือ ไม่ใช่แค่รัฐบาลต้องเอาเงินภาษีของประชาชนทั้งประเทศ ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็ไม่ใช่มุสลิมไปอุ้มธนาคารอิสลามที่ประสบปัญหาการขาดทุนเท่านั้น
ขอให้มาทำความรู้จักเรื่องธนาคารอิสลามให้ลึกซึ้งมากกว่าเป็นเพียง "ธนาคารปลอดดอกเบี้ย" เพื่อตอบสนองความต้องการของมุสลิมใน 3 จังหวัดภาคใต้ที่ดำเนินชีวิตตามหลักการอิสลาม ดังเช่น ความเข้าใจตื้น ๆ ของคนไทยตอนที่มีการผลักดันกฎหมายธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ออกมา
จุดเริ่มต้นของธนาคารอิสลามในไทยมีขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2537 จากการที่รัฐบาลไทยได้ลงนามในโครงการพัฒนาร่วมเศษฐกิจสามฝ่ายระหว่าง อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย ซึ่งรัฐบาลไทยรับผิดชอบในการจัดทำแผนพัฒนา 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นการเฉพาะเพื่อเชื่อมโยงโครงการดังกล่าว โดยที่โครงการเศษฐกิจสามฝ่ายนี้เป็นการริ่เริ่มของประเทศมาเลเซียตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 มีการประชุมระดับผู้นำของทั้ง 3 ประเทศ และรัฐมนตรีเป็นครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซียเมื่อปี 2536 มีการเห็นชอบในหลักการ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ การจัดตั้งธนาคารปลอดดอกเบี้ย (Islamic Bank) ในเขต 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
เนื่องจากประชาชนที่อยู่ 5 จังหวัดชายแดนเป็นมุสลิม จึงมีข้อเสนอให้มีการจัดตั้งธนาคารอิสลามเพื่อเป็นช่องทางทางการเงินสำหรับชาวไทยมุสลิม แล้วมีการศึกษากันหลายฝ่ายแล้วสรุปว่าเป็นไปได้ที่จัดตั้งธนาคารอิสลาม โดยใช้ธนาคารอิสลามมาเลเซียเป็นตัวอย่าง เพราะมาเลเซียมีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาสามเหลี่ยมเศรษฐกิจร่วมกับไทย แล้วรัฐบาลไทยก็ให้ธนาคารของรัฐเปิดบริการการเงินตามหลักศาสนาอิสลามเพื่อเป็นการนำร่องไปสู่การจัดตั้งธนาคารอิสลามเต็มรูปแบบ
โดยธนาคารออมสินได้ตอบสนองนโยบายรัฐบาลด้วยการเปิดบริการทางการเงินตามหลักศาสนาอิสลามใน 5 จังหวัดภาคใต้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2541 อีกทั้งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารกรุงไทย ก็มีการเปิดบริการทางการเงินตามหลักอิสลามเช่นกัน
ต่อมา รัฐบาลในยุคนั้นได้มีการผลักดันให้มีกฎหมายธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยเป็นเอกเทศ มาตั้งแต่ปี 2541 จนกระทั่งประสบความสำเร็จกฎหมายผ่านสภาได้เมื่อ พ.ศ. 2545
แล้วหลังจากนั้นเมื่อ 4 มกราคม 2547 เกิดเหตุการณ์ปล้นปืนจาก "ค่ายปิเหล็ง" อำเภอเจาะไอร้อง จนเป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ก่อการร้าย ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้เศษฐกิจของ 3 จังหวัดเป้าหมายอยู่ในภาวะซบเซา ยืดเยื้อมาจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ พร้อม ๆ กันไปกับการเติบโตของธนาคารอิสลามจากเป้าหมาย 5 จังหวัดที่อยู่ในสามเหลี่ยมเศษฐกิจ ได้กระจายไปจนทั่วประเทศไทย
สาขาของธนาคารอิสลามส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพถึง 21 สาขา มันเกิดขึ้นได้ยังไง? ตอนนี้ดินแดนที่อยู่ในเป้าหมายของสามเหลี่ยมเศษฐกจิของอินโดนีเซียได้แก่ สุมาตราเหนือ เมดาน อาเจะห์ (ซึ่งเป็นจังหวัดที่ปกครองด้วยกฎหมายชาริอะห์) และ 4 รัฐของมาเลเซียคือ เคดาห์ เปรัค เปอร์ลิส ปีนัง เขาไม่ได้ติดต่อกับจังหวัดชายแดนอย่าง สตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส แล้วหรือ?
เคยมีการประเมินถึงความสำเร็จของโครงสามเหลี่ยมเศษฐกิจหรือไม่? ในเมื่อเป้าหมายแต่เดิมของโครงการสามเหลี่ยมเศษฐกิจนั้น เป็นการร่วมมือทางเศษฐกิจระหว่างประเทศที่จำกัดขอบเขต ซึ่งประเทศไทยนั้นจำกัดอยู่ที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้คือ สตูล ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา เท่านั้น ทุกวันนี้ 3 จังหวัดที่มีปัญหาก่อการร้ายก็ยังยากจนเหมือนเดิม
เป็น ธนาคารอิสลาม แต่ว่าสัดส่วนผู้มาใช้บริการ 85% เป็นคนไทยพุทธ 15% เป็นมุสลิม และสัดส่วนผู้มาฝากเงิน 90% เป็นไทยพุทธ ........ มันเกิดสภาพอย่างนี้ได้อย่างไร? ถ้าไม่ใช่เพราะว่าให้ผลตอบแทนเงินฝากสูงกว่าธนาคารพาณิชย์ทั่วไป แถมยังมีรัฐบาลค้ำประกันอีกด้วย ซึ่งมันแตกต่างไปจากวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งธนาคารอิสลามมาก เพราะธนาคารอิสลามเป็นธนาคารที่ไม่มีดอกเบี้ย แต่ตอนนี้มีแต่คนอยากได้ดอกเบี้ยสูง ๆ มาฝากเงินไว้กับธนาคารอิสลาม
เมื่อต้นทุนเงินฝากสูง การที่จะทำให้ธนาคารอิสลามได้รับกำไรก็ต้องปล่อยกู้กับธุรกิจที่เสี่ยงสูง รับใบสั่งการเมือง ซึ่งธนาคารพาณิชย์เอกชนอื่นเขาไม่กล้าปล่อยกู้ให้ ทำให้มีหนี้เสียมาก ก็ไม่ต้องกลัวธนาคารจะล้ม เพราะมีรัฐบาลคอยอุ้มอยู่
หลังก่อตั้งธนาคารอิสลามมา 10 ปี แต่ปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้นับถือศาสนาอิสลามเพียง 3%
ครบ 10 ปีการก่อตั้ง พนักงานธนาคารอิสลามออกมาประท้วงผู้บริหารเรื่องธนาคารขาดสภาพคล่อง ทำให้สาธารณชนได้รับรู้หนี้เสียกองโตที่ซุกอยู่ในธนาคารอิสลาม
มีหนี้เสียจากส่วนที่ไม่ใช่ลูกค้ามุสลิม(แต่แน่นอนว่าธุรกิจที่ทำนั้นต้อง"ฮาลาล")มูลค่ารวม 50,000 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้รายใหญ่ราว 200 ราย .... ขณะนี้เห็นแต่โทษกลุ่มการเมือง แต่ยังไม่เห็นเอาผิดใครได้
ธนาคารอิสลามไม่ได้ห้ามไม่ให้คนพุทธหรือศาสนาอื่นมาใช้บริการ แต่ว่าได้บังคับผู้ที่กู้เงินไป ต้องทำธุรกิจที่เป็นไปตามหลักชาริอะห์ คือต้องฮาลาล ในขณะที่ผู้ฝากเงินก็ต้องทำสัญญาตามหลัก ชาริอะห์ เช่นเดียวกัน เป็นการนำกฎหมายชาริอะห์มาบังคับใช้ในธุรกิจการเงิน และอุตสาหกรรม ครอบคลุมทั่วทั้งห่วงโซ่อุปทาน อย่างแนบเนียน
ไม่ต่างอะไรกับไม่ว่าศาสนาอะไรแต่งงานกับอิสลาม ต้องรับอิสลาม
การดำเนินกิจการของธนาคารอิสลามของไทยในปัจจุบันนี้นั้นมัน เพี้ยน เบี่ยงเบน บิดเบี้ยว วิปริต เลอะเทอะ แตกต่างไปจาก วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งแต่เดั้งดิมมาก
เริ่มต้นก่อตั้งเป็นเอกชน ต่อมาดำเนินการแล้วขาดทุนสะสม มาถึงปี 2550 ต้องเพิ่มทุนเพื่อล้างการขาดทุนสะสม และเพื่อให้ขยายสินเชื่อได้ ผู้ซื้อหุ้นเพิ่มทุนกลายเป็นหน่วยงานของรัฐอย่าง กระทรวงการคลัง ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย ทำให้ธนาคารอิสลามกลายเป็นรัฐวิสาหกิจไปในทันที แต่ยังได้รับการยกเว้นให้ดำเนินงานแบบเอกชน
ต้นปี 2561รัฐบาล คสช ก็ยิ่ง ติดบ่วง ถลำลึก ไปอีก ด้วยการกำลังจะแก้กฎหมายให้กระทรวงคลังถือหุ้นได้ 99%
มันไม่ถูกต้องตั้งแต่แรกแล้วที่รัฐบาลไทยซึ่งเป็นกาเฟร กลายมาเป็นเจ้าของธนาคารอิสลาม ไม่เพียงแต่เงินทุนที่เอามาก่อตั้งซึ่งมันก็ไม่ "ฮาลาล" แต่แรกแล้วเท่านั้น ยังไงเสียเจ้าของเงินทุนก็ต้องแต่งตั้งคนที่ตัวเองไว้ใจให้มาบริหารและดูแลเงินทุนตามนโยบายของเขา มันจะเป็นไปได้ยังไง ที่เอาเงินทุนกาเฟรมาก่อตั้ง แล้วให้แต่งตั้งมุสลิมทั้งหมดมาบริหารตามที่มุสลิมไทยเรียกร้อง
ซึ่งต่างกับธนาคารอิสลามมาเลเซียที่เอาเงินจากกองทุนฮัจย์มาก่อตั้ง และรัฐบาลมาเลเซียมีนโยบายบุตรภูมิบุตร ซึ่งรัฐบาลสามารถแก้กฎหมายเอื้อประโยชน์ ทุ่มเททุนทรัพย์ของรัฐอุดหนุน เอาเปรียบตามที่มุสลิมมาเลย์เรียกร้องได้ แล้วมุสลิมไทยก็เรียกร้องหยากได้สิทธิพิเศษ มีแต้มต่อ แบบนี้เหมือนกัน
ในด้านผู้ฝากเงินนั้น ถ้าเป็นมุสลิมเขาไม่ได้มุ่งหวังผลตอบแทนเงินฝากเป็นตัวตั้ง เพราะรู้อยู่ว่าหลักศาสนาห้ามเรื่องดอกเบี้ย
แต่ปัจัจุบันผู้ฝากเงิน 90% เป็นคนที่ไม่ใช่มุสลิมที่เข้ามาฝากเงินเพื่อผลตอบแทนที่สูงกว่าแถมยังมีรัฐบาลค้ำประกันด้วย เงินฝากลักษณะอย่างนี้ไม่เข้าข่ายการแบ่งปันผลกำไร-ขาดทุน ตามที่หลักชาริอะห์ต้องการเลย เงินฝากลักษณะอย่างนี้มัน "ไม่ฮาลาล" แม้ว่าชื่อบัญชีเงินฝากมันจะเป็นภาษาอาหรับที่ดูเหมือนฮาลาลก็เถอะ นั่นมันแค่เปลือก แต่เนื้อหาแล้วไม่เป็นไปตามหลักชาริอะห์ วัตถุประสงค์ของชาริอะห์คือ ต้องให้เจ้าหนี้ร่วมเสี่ยง และต้องแบกรับทั้งผลกำไร หรือ ชาดทุน เอง
ถ้าฝากเงินแล้วได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าที่อื่น จ่ายทุกเดือน แถมรัฐบาลรับประกันด้วย ๆ แน่นอนว่าใคร ๆ ก็อยากเข้ามาฝาก
เรื่องธนาคารอิสลาม ประชาชนจะไว้วางใจปล่อยให้แต่นักการเมือง สมาชิกสภา ข้าราชการประจำ พ่อมดในแวดวงการเงิน และนักวิชาการในเครือข่ายของเขา เป็นผู้ทำแต่ฝ่ายเดียวไม่ได้ ประชาชนต้องรู้เท่าทันด้วย ไม่เช่นนั้นจะไม่รู้ว่าถูกต่างชาติอิสลาม และมุสลิมไทย "จูงจมูก" ให้เดินไปทางไหน
ต้นแบบธนาคารอิสลามของไทยคือมาเลเซีย ในขณะที่ต้นแบบของมาเลเซีย คือ "รัฐอิสลาม" ซาอุดิอารเบีย การที่ซาอุดิอารเบียทำได้ก็เพราะมีสภาพคล่องส่วนเกินล้นเหลือจากรายได้จากการขายน้ำมันดิบ แล้วต้องการเผยแพร่ศาสนาอิสลามโดยใช้อิทธิพลของ petro dallar ผ่านสถาบันการเงินตัวกลางที่ดำเนินงานตามหลักชาริอะห์คือ ธนาคารอิสลาม แล้วใช้อิทธิพลของธนาคารอิสลามเปลี่ยนภาคเศษฐกิจจริงให้ดำเนินงานตามหลักชาริอะห์ เพื่อค่อย ๆ Islamisation เปลี่ยนประเทศต่าง ๆ ให้กลายเป็น "รัฐอิสลาม" เหมือนซาอุดิอารเบียในที่สุด
แต่จากการที่ราคาน้ำมันตกต่ำทำให้ซาอุดิอารเบียไม่มีสภาพคล่องเหลือล้นอย่างในอดีตอีกต่อไป แต่ตรงกันข้าม ขณะนี้ซาอุดิอารเบียรวมทั้งประเทศอาหรับทุกประเทศ ต้องการเงินทุนจากต่างชาติเป็นจำนวนมาก เพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลงบประมาณของภาครัฐ แปรรูปรัฐวิสาหกิจ และเปลี่ยนโครงสร้างเศษฐกิจให้ลดการพึ่งพาน้ำมัน
อันที่จริง "petro dollar" ก็มีอิทธิพลต่อธนาคารอิสลามของไทยเช่นกัน เพราะมีทุนจากบรูไน มาถือหุ้นในธนาคารอิสลามของไทยยุคก่อตั้งอยู่จำนวนหนึ่ง แต่หลังจากขาดทุนต้องลดทุน เพิ่มทุนใหม่ ทุนบรูไน ก็หายไป ส่วนรัฐบาลไทยทุกยุคทุกสมัยก็เพ้อฝันว่าจะมี petro dollar เข้ามาถือหุ้นในธนาคารอิสลามของไทยจนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันที่ราคาน้ำมันระดับนี้ อย่าว่าแต่มาถือหุ้นในธุรกิจของไทยเลย เอาแค่ประเทศตัวเองให้รอดก่อนเถอะ
ธนาคารอิสลามไม่ใช่เป็นเพียงแค่ "ธนาคารปลอดดอกเบี้ย" เหมือนที่รัฐบาล และคนส่วนมากเข้าใจ แท้จริงแล้วมันเป็นกระบวนการ Islamisation ในภาคการเงินทุน เมื่อรวมกับ "ฮาลาลในภาคเศษฐกิจจริง" ก็จะได้สิ่งที่เรียกว่า "เศษฐกิจฮาลาล" ซึ่งจะเกิดขึ้นในรัฐที่เป็น "รัฐอิสลาม" อย่างเช่น ซาอุดิอารเบีย เป็นต้น "ฮาลาล" นั้นไม่ได้มีอยู่แค่อาหารฮาลาล หรือที่เห็นในตราสินค้าซึ่งเป็นฮาลาลในภาคเศษฐกิจจริงเท่านั้น เพราะกฎหมายอิสลามควบคุมทุกอย่างในการดำเนินชีวิต เกี่ยวข้องกับทุกอย่างในวิถีชีวิต ตั้งแต่เกิดไปจนตาย
(ยังมีต่อ 2/13)
ประวัติศาสตร์ อิสลามแบงค์ยุคใหม่ ในภาวะ ราคาน้ำมันที่ไม่สูงเท่าอดีต
สำหรับผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมนั้น เรื่องของธนาคารอิสลามอาจจะมองดูว่าเป็นเรื่องไกลตัว ไม่รู้สึกว่าจำเป็นต้องสนใจใคร่รู้ไปเพื่ออะไร ไม่ใช่เรื่องที่อยู่ในกระแส หรือส่วนมากก็รู้แค่ว่า อิสลามเขาห้ามกินดอกเบี้ยเท่านั้น ส่วนที่ลึกและกว้างกว่านั้นคนทั่วไปก็คงไม่ใส่ใจใคร่รู้เท่าไหร่ บางคนก็เห็นแต่ด้านบวกไม่ตระหนักถึงด้านลบ
ทำให้เรื่องนี้ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่อยู่ใน "มุมมืด" ที่เข้าไม่ถึงสำหรับคนที่ไม่ใช่มุสลิม ตรงกันข้ามกับประเทศมุสลิมที่เคร่งศาสนา เรื่องนี้ถือเป็น "วาระแห่งชาติ" เลยทีเดียว
ผมจึงเขียนเรื่องนี้ขึ้นมาด้วยภาษาที่คนทั่วไปซึ่งไม่ใช่มุสลิมก็เข้าใจได้ เพื่อปูพื้น ความรู้เรื่องธนาคารอิสลาม ทั้งประวัติศาสตร์ ความเป็นมา ภาพรวมกว้าง ๆ ในระดับโลก และระดับประเทศ ให้คนที่ไม่ใช่มุสลิมมองภาพรวม ๆ ของธนาคารอิสลามออกว่ารูปร่างหน้าตาเป็นยังไงในช่วงเวลาสั้น ๆ
แล้วถ้ามีการใช้ธนาคารอิสลามเต็มรูปแบบนั้นมันจะกระทบกับชีวิตกับผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมยังไง?
ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย ไกลตัว ไม่เห็นจะเดือดร้อนอะไร อย่างที่หลาย ๆ คนคิด
มันไม่ใช่แค่ "ธนาคารปลอดดอกเบี้ย" อย่างที่มุสลิมพยายามบอกให้เข้าใจกัน นั่นเป็นเพียงความเข้าใจอันตื้นเขินเท่านั้น
หรือตื่นเต้นไปกับตัวเลข จากหัวข้อข่าวที่ประโคมออกสื่อใหญ่จากต่างประเทศบ่อย ๆ ว่าธนาคารอิสลามเติบโตเท่านั้น เท่านี้ต่อปี ทรัพย์สินมีขนาดใหญ่โตแค่ไหนแล้ว หรือ ธนาคารอิสลามเป็นระบบที่มีภูมิคุ้มกันจากวิกฤตการเงินโลกเพราะทำแต่ธุรกรรมกับทรัพย์สินที่มีตัวตนหนุนหลัง เป็นต้น
หรือ ไม่ใช่แค่รัฐบาลต้องเอาเงินภาษีของประชาชนทั้งประเทศ ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็ไม่ใช่มุสลิมไปอุ้มธนาคารอิสลามที่ประสบปัญหาการขาดทุนเท่านั้น
ขอให้มาทำความรู้จักเรื่องธนาคารอิสลามให้ลึกซึ้งมากกว่าเป็นเพียง "ธนาคารปลอดดอกเบี้ย" เพื่อตอบสนองความต้องการของมุสลิมใน 3 จังหวัดภาคใต้ที่ดำเนินชีวิตตามหลักการอิสลาม ดังเช่น ความเข้าใจตื้น ๆ ของคนไทยตอนที่มีการผลักดันกฎหมายธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ออกมา
จุดเริ่มต้นของธนาคารอิสลามในไทยมีขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2537 จากการที่รัฐบาลไทยได้ลงนามในโครงการพัฒนาร่วมเศษฐกิจสามฝ่ายระหว่าง อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย ซึ่งรัฐบาลไทยรับผิดชอบในการจัดทำแผนพัฒนา 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นการเฉพาะเพื่อเชื่อมโยงโครงการดังกล่าว โดยที่โครงการเศษฐกิจสามฝ่ายนี้เป็นการริ่เริ่มของประเทศมาเลเซียตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 มีการประชุมระดับผู้นำของทั้ง 3 ประเทศ และรัฐมนตรีเป็นครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซียเมื่อปี 2536 มีการเห็นชอบในหลักการ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ การจัดตั้งธนาคารปลอดดอกเบี้ย (Islamic Bank) ในเขต 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
เนื่องจากประชาชนที่อยู่ 5 จังหวัดชายแดนเป็นมุสลิม จึงมีข้อเสนอให้มีการจัดตั้งธนาคารอิสลามเพื่อเป็นช่องทางทางการเงินสำหรับชาวไทยมุสลิม แล้วมีการศึกษากันหลายฝ่ายแล้วสรุปว่าเป็นไปได้ที่จัดตั้งธนาคารอิสลาม โดยใช้ธนาคารอิสลามมาเลเซียเป็นตัวอย่าง เพราะมาเลเซียมีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาสามเหลี่ยมเศรษฐกิจร่วมกับไทย แล้วรัฐบาลไทยก็ให้ธนาคารของรัฐเปิดบริการการเงินตามหลักศาสนาอิสลามเพื่อเป็นการนำร่องไปสู่การจัดตั้งธนาคารอิสลามเต็มรูปแบบ
โดยธนาคารออมสินได้ตอบสนองนโยบายรัฐบาลด้วยการเปิดบริการทางการเงินตามหลักศาสนาอิสลามใน 5 จังหวัดภาคใต้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2541 อีกทั้งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารกรุงไทย ก็มีการเปิดบริการทางการเงินตามหลักอิสลามเช่นกัน
ต่อมา รัฐบาลในยุคนั้นได้มีการผลักดันให้มีกฎหมายธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยเป็นเอกเทศ มาตั้งแต่ปี 2541 จนกระทั่งประสบความสำเร็จกฎหมายผ่านสภาได้เมื่อ พ.ศ. 2545
แล้วหลังจากนั้นเมื่อ 4 มกราคม 2547 เกิดเหตุการณ์ปล้นปืนจาก "ค่ายปิเหล็ง" อำเภอเจาะไอร้อง จนเป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ก่อการร้าย ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้เศษฐกิจของ 3 จังหวัดเป้าหมายอยู่ในภาวะซบเซา ยืดเยื้อมาจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ พร้อม ๆ กันไปกับการเติบโตของธนาคารอิสลามจากเป้าหมาย 5 จังหวัดที่อยู่ในสามเหลี่ยมเศษฐกิจ ได้กระจายไปจนทั่วประเทศไทย
สาขาของธนาคารอิสลามส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพถึง 21 สาขา มันเกิดขึ้นได้ยังไง? ตอนนี้ดินแดนที่อยู่ในเป้าหมายของสามเหลี่ยมเศษฐกจิของอินโดนีเซียได้แก่ สุมาตราเหนือ เมดาน อาเจะห์ (ซึ่งเป็นจังหวัดที่ปกครองด้วยกฎหมายชาริอะห์) และ 4 รัฐของมาเลเซียคือ เคดาห์ เปรัค เปอร์ลิส ปีนัง เขาไม่ได้ติดต่อกับจังหวัดชายแดนอย่าง สตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส แล้วหรือ?
เคยมีการประเมินถึงความสำเร็จของโครงสามเหลี่ยมเศษฐกิจหรือไม่? ในเมื่อเป้าหมายแต่เดิมของโครงการสามเหลี่ยมเศษฐกิจนั้น เป็นการร่วมมือทางเศษฐกิจระหว่างประเทศที่จำกัดขอบเขต ซึ่งประเทศไทยนั้นจำกัดอยู่ที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้คือ สตูล ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา เท่านั้น ทุกวันนี้ 3 จังหวัดที่มีปัญหาก่อการร้ายก็ยังยากจนเหมือนเดิม
เป็น ธนาคารอิสลาม แต่ว่าสัดส่วนผู้มาใช้บริการ 85% เป็นคนไทยพุทธ 15% เป็นมุสลิม และสัดส่วนผู้มาฝากเงิน 90% เป็นไทยพุทธ ........ มันเกิดสภาพอย่างนี้ได้อย่างไร? ถ้าไม่ใช่เพราะว่าให้ผลตอบแทนเงินฝากสูงกว่าธนาคารพาณิชย์ทั่วไป แถมยังมีรัฐบาลค้ำประกันอีกด้วย ซึ่งมันแตกต่างไปจากวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งธนาคารอิสลามมาก เพราะธนาคารอิสลามเป็นธนาคารที่ไม่มีดอกเบี้ย แต่ตอนนี้มีแต่คนอยากได้ดอกเบี้ยสูง ๆ มาฝากเงินไว้กับธนาคารอิสลาม
เมื่อต้นทุนเงินฝากสูง การที่จะทำให้ธนาคารอิสลามได้รับกำไรก็ต้องปล่อยกู้กับธุรกิจที่เสี่ยงสูง รับใบสั่งการเมือง ซึ่งธนาคารพาณิชย์เอกชนอื่นเขาไม่กล้าปล่อยกู้ให้ ทำให้มีหนี้เสียมาก ก็ไม่ต้องกลัวธนาคารจะล้ม เพราะมีรัฐบาลคอยอุ้มอยู่
หลังก่อตั้งธนาคารอิสลามมา 10 ปี แต่ปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้นับถือศาสนาอิสลามเพียง 3%
ครบ 10 ปีการก่อตั้ง พนักงานธนาคารอิสลามออกมาประท้วงผู้บริหารเรื่องธนาคารขาดสภาพคล่อง ทำให้สาธารณชนได้รับรู้หนี้เสียกองโตที่ซุกอยู่ในธนาคารอิสลาม
มีหนี้เสียจากส่วนที่ไม่ใช่ลูกค้ามุสลิม(แต่แน่นอนว่าธุรกิจที่ทำนั้นต้อง"ฮาลาล")มูลค่ารวม 50,000 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้รายใหญ่ราว 200 ราย .... ขณะนี้เห็นแต่โทษกลุ่มการเมือง แต่ยังไม่เห็นเอาผิดใครได้
ธนาคารอิสลามไม่ได้ห้ามไม่ให้คนพุทธหรือศาสนาอื่นมาใช้บริการ แต่ว่าได้บังคับผู้ที่กู้เงินไป ต้องทำธุรกิจที่เป็นไปตามหลักชาริอะห์ คือต้องฮาลาล ในขณะที่ผู้ฝากเงินก็ต้องทำสัญญาตามหลัก ชาริอะห์ เช่นเดียวกัน เป็นการนำกฎหมายชาริอะห์มาบังคับใช้ในธุรกิจการเงิน และอุตสาหกรรม ครอบคลุมทั่วทั้งห่วงโซ่อุปทาน อย่างแนบเนียน
ไม่ต่างอะไรกับไม่ว่าศาสนาอะไรแต่งงานกับอิสลาม ต้องรับอิสลาม
การดำเนินกิจการของธนาคารอิสลามของไทยในปัจจุบันนี้นั้นมัน เพี้ยน เบี่ยงเบน บิดเบี้ยว วิปริต เลอะเทอะ แตกต่างไปจาก วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งแต่เดั้งดิมมาก
เริ่มต้นก่อตั้งเป็นเอกชน ต่อมาดำเนินการแล้วขาดทุนสะสม มาถึงปี 2550 ต้องเพิ่มทุนเพื่อล้างการขาดทุนสะสม และเพื่อให้ขยายสินเชื่อได้ ผู้ซื้อหุ้นเพิ่มทุนกลายเป็นหน่วยงานของรัฐอย่าง กระทรวงการคลัง ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย ทำให้ธนาคารอิสลามกลายเป็นรัฐวิสาหกิจไปในทันที แต่ยังได้รับการยกเว้นให้ดำเนินงานแบบเอกชน
ต้นปี 2561รัฐบาล คสช ก็ยิ่ง ติดบ่วง ถลำลึก ไปอีก ด้วยการกำลังจะแก้กฎหมายให้กระทรวงคลังถือหุ้นได้ 99%
มันไม่ถูกต้องตั้งแต่แรกแล้วที่รัฐบาลไทยซึ่งเป็นกาเฟร กลายมาเป็นเจ้าของธนาคารอิสลาม ไม่เพียงแต่เงินทุนที่เอามาก่อตั้งซึ่งมันก็ไม่ "ฮาลาล" แต่แรกแล้วเท่านั้น ยังไงเสียเจ้าของเงินทุนก็ต้องแต่งตั้งคนที่ตัวเองไว้ใจให้มาบริหารและดูแลเงินทุนตามนโยบายของเขา มันจะเป็นไปได้ยังไง ที่เอาเงินทุนกาเฟรมาก่อตั้ง แล้วให้แต่งตั้งมุสลิมทั้งหมดมาบริหารตามที่มุสลิมไทยเรียกร้อง
ซึ่งต่างกับธนาคารอิสลามมาเลเซียที่เอาเงินจากกองทุนฮัจย์มาก่อตั้ง และรัฐบาลมาเลเซียมีนโยบายบุตรภูมิบุตร ซึ่งรัฐบาลสามารถแก้กฎหมายเอื้อประโยชน์ ทุ่มเททุนทรัพย์ของรัฐอุดหนุน เอาเปรียบตามที่มุสลิมมาเลย์เรียกร้องได้ แล้วมุสลิมไทยก็เรียกร้องหยากได้สิทธิพิเศษ มีแต้มต่อ แบบนี้เหมือนกัน
ในด้านผู้ฝากเงินนั้น ถ้าเป็นมุสลิมเขาไม่ได้มุ่งหวังผลตอบแทนเงินฝากเป็นตัวตั้ง เพราะรู้อยู่ว่าหลักศาสนาห้ามเรื่องดอกเบี้ย
แต่ปัจัจุบันผู้ฝากเงิน 90% เป็นคนที่ไม่ใช่มุสลิมที่เข้ามาฝากเงินเพื่อผลตอบแทนที่สูงกว่าแถมยังมีรัฐบาลค้ำประกันด้วย เงินฝากลักษณะอย่างนี้ไม่เข้าข่ายการแบ่งปันผลกำไร-ขาดทุน ตามที่หลักชาริอะห์ต้องการเลย เงินฝากลักษณะอย่างนี้มัน "ไม่ฮาลาล" แม้ว่าชื่อบัญชีเงินฝากมันจะเป็นภาษาอาหรับที่ดูเหมือนฮาลาลก็เถอะ นั่นมันแค่เปลือก แต่เนื้อหาแล้วไม่เป็นไปตามหลักชาริอะห์ วัตถุประสงค์ของชาริอะห์คือ ต้องให้เจ้าหนี้ร่วมเสี่ยง และต้องแบกรับทั้งผลกำไร หรือ ชาดทุน เอง
ถ้าฝากเงินแล้วได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าที่อื่น จ่ายทุกเดือน แถมรัฐบาลรับประกันด้วย ๆ แน่นอนว่าใคร ๆ ก็อยากเข้ามาฝาก
เรื่องธนาคารอิสลาม ประชาชนจะไว้วางใจปล่อยให้แต่นักการเมือง สมาชิกสภา ข้าราชการประจำ พ่อมดในแวดวงการเงิน และนักวิชาการในเครือข่ายของเขา เป็นผู้ทำแต่ฝ่ายเดียวไม่ได้ ประชาชนต้องรู้เท่าทันด้วย ไม่เช่นนั้นจะไม่รู้ว่าถูกต่างชาติอิสลาม และมุสลิมไทย "จูงจมูก" ให้เดินไปทางไหน
ต้นแบบธนาคารอิสลามของไทยคือมาเลเซีย ในขณะที่ต้นแบบของมาเลเซีย คือ "รัฐอิสลาม" ซาอุดิอารเบีย การที่ซาอุดิอารเบียทำได้ก็เพราะมีสภาพคล่องส่วนเกินล้นเหลือจากรายได้จากการขายน้ำมันดิบ แล้วต้องการเผยแพร่ศาสนาอิสลามโดยใช้อิทธิพลของ petro dallar ผ่านสถาบันการเงินตัวกลางที่ดำเนินงานตามหลักชาริอะห์คือ ธนาคารอิสลาม แล้วใช้อิทธิพลของธนาคารอิสลามเปลี่ยนภาคเศษฐกิจจริงให้ดำเนินงานตามหลักชาริอะห์ เพื่อค่อย ๆ Islamisation เปลี่ยนประเทศต่าง ๆ ให้กลายเป็น "รัฐอิสลาม" เหมือนซาอุดิอารเบียในที่สุด
แต่จากการที่ราคาน้ำมันตกต่ำทำให้ซาอุดิอารเบียไม่มีสภาพคล่องเหลือล้นอย่างในอดีตอีกต่อไป แต่ตรงกันข้าม ขณะนี้ซาอุดิอารเบียรวมทั้งประเทศอาหรับทุกประเทศ ต้องการเงินทุนจากต่างชาติเป็นจำนวนมาก เพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลงบประมาณของภาครัฐ แปรรูปรัฐวิสาหกิจ และเปลี่ยนโครงสร้างเศษฐกิจให้ลดการพึ่งพาน้ำมัน
อันที่จริง "petro dollar" ก็มีอิทธิพลต่อธนาคารอิสลามของไทยเช่นกัน เพราะมีทุนจากบรูไน มาถือหุ้นในธนาคารอิสลามของไทยยุคก่อตั้งอยู่จำนวนหนึ่ง แต่หลังจากขาดทุนต้องลดทุน เพิ่มทุนใหม่ ทุนบรูไน ก็หายไป ส่วนรัฐบาลไทยทุกยุคทุกสมัยก็เพ้อฝันว่าจะมี petro dollar เข้ามาถือหุ้นในธนาคารอิสลามของไทยจนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันที่ราคาน้ำมันระดับนี้ อย่าว่าแต่มาถือหุ้นในธุรกิจของไทยเลย เอาแค่ประเทศตัวเองให้รอดก่อนเถอะ
ธนาคารอิสลามไม่ใช่เป็นเพียงแค่ "ธนาคารปลอดดอกเบี้ย" เหมือนที่รัฐบาล และคนส่วนมากเข้าใจ แท้จริงแล้วมันเป็นกระบวนการ Islamisation ในภาคการเงินทุน เมื่อรวมกับ "ฮาลาลในภาคเศษฐกิจจริง" ก็จะได้สิ่งที่เรียกว่า "เศษฐกิจฮาลาล" ซึ่งจะเกิดขึ้นในรัฐที่เป็น "รัฐอิสลาม" อย่างเช่น ซาอุดิอารเบีย เป็นต้น "ฮาลาล" นั้นไม่ได้มีอยู่แค่อาหารฮาลาล หรือที่เห็นในตราสินค้าซึ่งเป็นฮาลาลในภาคเศษฐกิจจริงเท่านั้น เพราะกฎหมายอิสลามควบคุมทุกอย่างในการดำเนินชีวิต เกี่ยวข้องกับทุกอย่างในวิถีชีวิต ตั้งแต่เกิดไปจนตาย
(ยังมีต่อ 2/13)