เอเอฟพี - ห้องละหมาด, ฮิญาบ (ผ้าคลุมผม) ที่ทำด้วยผ้าไหมญี่ปุ่น และแม้กระทั่งเนื้อวาฬที่ได้รับการรับรองจากมาตรฐานฮาลาล เริ่มปรากฏให้เห็นที่ญี่ปุ่น ในเวลาที่บรรดาผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวเริ่มตื่นตัวต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวมุสลิมที่กำลังจะหลั่งไหลเข้ามาในแดนอาทิตย์อุทัย
ประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นเชื้อชาติเดียวกัน และมีประชาชนราว 100,000 คนเท่านั้นที่นับถือศาสนาอิสลามแห่งนี้ กำลังพยายามปรับตัวเข้าหาประเพณีที่ไม่คุ้นเคย ขณะที่แดนอาทิตย์อุทัยมองหาลู่ทางเจาะตลาดที่กำลังเติบโต เพื่อช่วยกระตุ้นยอดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัวภายในปี 2020
ญี่ปุ่นซุ่มพัฒนาครัวสู่มาตรฐานอาหาร “ฮาลาล” รองรับคลื่นนักท่องเที่ยวมุสลิมจากต่างแดน
ดาตัก อิบรอฮิม ฮาญี อะห์หมัด บาดาวี ประธานบริษัทอาหารมาเลเซีย “บราฮิมส์” ให้สัมภาษณ์เอเอฟพี ขณะเข้าร่วมงานสัมมนาการท่องเที่ยวแบบฮาลาล ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงโตเกียวเมื่อล่าสุดนี้ว่า “นักท่องเที่ยวชาวมุสลิมยังไม่ได้รับความสะดวกสบายจากที่นี่ และรัฐบาลก็คงจะเข้าใจถึงประเด็นนี้”
เมื่อปีที่แล้ว ก็มีการจัดสัมมนาเช่นนี้ขึ้น 20 แห่งทั่วญี่ปุ่น โดยผู้ประกอบกิจการโรงแรมและร้านอาหารในพื้นที่ได้รับเชิญเข้าร่วมการอบรม เพื่อเรียนรู้วิธีบริการแขกผู้มาเยือนที่เป็นชาวมุสลิม
หอการค้าโอซากาได้แจกใบปลิว 5,000 ฉบับ เพื่อแนะนำว่าอาหารชนิดใดที่ชาวมุสลิมรับประทานได้ และอาหารประเภทใดเป็นสิ่งต้องห้าม ขณะที่แนวคิดห้ามบริโภคอาหารบางอย่างเป็นต้นว่า สุราและเนื้อหมูนั้นเป็นสิ่งที่สังคมญี่ปุ่นซึ่งรับประทานแทบทุกอย่างที่ขวางหน้า และเป็นนักชิมตัวยงเบือนหน้าหนี
ในช่วงที่โลกอิสลามกำลังเข้าสู่เดือนรอมฎอนอยู่นี้ ก็มีการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวญี่ปุ่นอย่างแข็งขันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีประชากรชาวมุสลิมอยู่อาศัยอย่างหนาแน่น และเป็นภูมิภาคที่เมื่อปี 2013 แดนอาทิตย์อุทัยได้ผ่อนปรนระเบียบการทำวีซ่าให้แก่มาเลเซีย และไทย
อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศมุสลิมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ก็กำลังจะได้รับการผ่อนปรนกฎระเบียบในเร็วๆ นี้เช่นกัน
ตามข้อมูลของสำนักงานการท่องเที่ยวญี่ปุ่น ยอดนักท่องเที่ยวชาวอินโดนีเซียที่เดินทางมาเยือนแดนอาทิตย์อุทัยเมื่อปี 2013 ได้พุ่งสูงขึ้นจากปีที่ก่อนหน้าถึง 37 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่มีชาวมาเลเซียเดินทางมาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 21 เปอร์เซ็นต์
จำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนได้กระเตื้องขึ้นจากที่เคยดิ่งฮวบลงเมื่อปี 2012 ภายหลังเกิดกรณีพิพาทเรื่องหมู่เกาะ ในทะเลจีนตะวันออก ระหว่างแดนมังกรและกับแดนอาทิตย์อุทัย
อย่างไรก็ตาม การเพิ่มจุดขายด้านการท่องเที่ยวให้แก่ญี่ปุ่น ถือเป็นหัวใจสำคัญ หากแดนอาทิตย์อุทัยต้องการบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ว่าจะดึงนักท่องเที่ยวจากต่างแดนให้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ภายในปี 2020 เวลาที่โตเกียวจะเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
การที่นักกีฬาและผู้ชมจากทั่วทุกมุมโลก จะไหล่บ่าเข้ามายังสถนที่จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ก็ถือเป็นแรงผลักดันให้ญี่ปุ่นต้องปรับเปลี่ยนประเทศให้มีลักษณะให้เป็นมิตรต่อชาวมุสลิมมากขึ้น
ญี่ปุ่นซุ่มพัฒนาครัวสู่มาตรฐานอาหาร “ฮาลาล” รองรับคลื่นนักท่องเที่ยวมุสลิมจากต่างแดน
*****
บาดาวีกล่าวว่า บราฮิม ได้ลงนามข้อตกลงร่วมกับสายการบิน “ออล นิปปอน แอร์เวย์ส” (เอเอ็นเอ) หนึ่งในสายการบินที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น เพื่อจัดหาอาหารฮาลาลให้แก่ผู้โดยสาร นอกจากนี้ ยังมีโรงแรมใหญ่ๆ จำนวนมากเข้ามาติดต่อขอให้เขาแนะนำวิธีการรับรองแขกชาวมุสลิม
สำหรับบาดาวีแล้ว แม้ว่าญี่ปุ่นจะเริ่มตื่นตัวล้าหลังไปบ้าง แต่ก็สามารถมองเห็นทิศทางความก้าวหน้าได้ชัดเจน ชาวมุสลิมที่ต้องการท่องเที่ยวพักผ่อนจะเดินทางมาที่นี่ และเดินทางมาเป็นจำนวนมาก จนทำให้โตเกียวกลายเป็นประเทศทีสามารถกอบโกยรายได้จากการท่องเที่ยวอย่างมหาศาล 6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 19 ล้านล้านบาท)
สถานีโทรทัศน์เจ้าหนึ่งรายงานเมื่อเร็วๆ นี้ว่า พื้นที่ต่างๆ ทั่วญี่ปุ่นกำลังกลายเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ โดยท่าอากาศยานใหญ่ๆ เริ่มจัดเตรียมห้องละหมาด และนักท่องเที่ยวที่กำลังมองหาของขวัญอันสมบูรณ์แบบก็สามารถเลือกซื้อฮิญาบผ้าไหมญี่ปุ่น ขณะเดินทางไปขึ้นเครื่องบินที่ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ ซึ่งอยู่ใกล้กับโอซากา
ชาวต่างชาติที่วางแผนจะอยู่ในญี่ปุ่นระยะยาวก็จะได้รับการดูแล โดยมีมหาวิทยาลัย 19 แห่งที่จำหน่ายอาหารฮาลาลในโรงอาหาร เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาชาวมุสลิมเลือกหันมาเล่าเรียนที่ญี่ปุ่นกันเพิ่มขึ้น
ส่วนลูกค้าที่ต้องการลิ้มรสชาติอาหารญี่ปุ่นแท้ๆ แต่ได้มาตรฐานฮาลาล ก็สามารถแวะวียนมาที่ร้านบาบีคิวยากินิคุในกรุงโตเกียว ของโรเจอร์ เบอร์นาร์ด ดิอาซ ชาวศรีลังกาที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งเปลี่ยนเส้นทางธุรกิจ แต่ไม่เปลี่ยนศาสนา
เขาไม่ไม่เคยหวาดหวั่นที่ตนเองหันมาเอาดี ด้วยการขายเนื้อสัตว์ฮาลาล ทั้งยังกล่าวว่า วิถีใหม่ช่วยทำให้เขาได้ลูกค้าจากชาติแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแถบอ่าวเปอร์เซีย
อย่างไรก็ดี วัตถุดิบในการทำอาหารยังเป็นสิ่งที่หาซื้อได้ยาก เขายอมรับขณะดึงไก่ที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานฮาลาล และนำเข้าจากบราซิลออกมาจากช่องแช่แข็งว่า “ยากนะกว่าจะหาวัตถุดิบให้ได้ครบ”
http://www.manager.co.th/
ญี่ปุ่นซุ่มพัฒนาครัวสู่มาตรฐานอาหาร “ฮาลาล” รองรับคลื่นนักท่องเที่ยวมุสลิมจากต่างแดน
เอเอฟพี - ห้องละหมาด, ฮิญาบ (ผ้าคลุมผม) ที่ทำด้วยผ้าไหมญี่ปุ่น และแม้กระทั่งเนื้อวาฬที่ได้รับการรับรองจากมาตรฐานฮาลาล เริ่มปรากฏให้เห็นที่ญี่ปุ่น ในเวลาที่บรรดาผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวเริ่มตื่นตัวต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวมุสลิมที่กำลังจะหลั่งไหลเข้ามาในแดนอาทิตย์อุทัย
ประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นเชื้อชาติเดียวกัน และมีประชาชนราว 100,000 คนเท่านั้นที่นับถือศาสนาอิสลามแห่งนี้ กำลังพยายามปรับตัวเข้าหาประเพณีที่ไม่คุ้นเคย ขณะที่แดนอาทิตย์อุทัยมองหาลู่ทางเจาะตลาดที่กำลังเติบโต เพื่อช่วยกระตุ้นยอดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัวภายในปี 2020
ญี่ปุ่นซุ่มพัฒนาครัวสู่มาตรฐานอาหาร “ฮาลาล” รองรับคลื่นนักท่องเที่ยวมุสลิมจากต่างแดน
ดาตัก อิบรอฮิม ฮาญี อะห์หมัด บาดาวี ประธานบริษัทอาหารมาเลเซีย “บราฮิมส์” ให้สัมภาษณ์เอเอฟพี ขณะเข้าร่วมงานสัมมนาการท่องเที่ยวแบบฮาลาล ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงโตเกียวเมื่อล่าสุดนี้ว่า “นักท่องเที่ยวชาวมุสลิมยังไม่ได้รับความสะดวกสบายจากที่นี่ และรัฐบาลก็คงจะเข้าใจถึงประเด็นนี้”
เมื่อปีที่แล้ว ก็มีการจัดสัมมนาเช่นนี้ขึ้น 20 แห่งทั่วญี่ปุ่น โดยผู้ประกอบกิจการโรงแรมและร้านอาหารในพื้นที่ได้รับเชิญเข้าร่วมการอบรม เพื่อเรียนรู้วิธีบริการแขกผู้มาเยือนที่เป็นชาวมุสลิม
หอการค้าโอซากาได้แจกใบปลิว 5,000 ฉบับ เพื่อแนะนำว่าอาหารชนิดใดที่ชาวมุสลิมรับประทานได้ และอาหารประเภทใดเป็นสิ่งต้องห้าม ขณะที่แนวคิดห้ามบริโภคอาหารบางอย่างเป็นต้นว่า สุราและเนื้อหมูนั้นเป็นสิ่งที่สังคมญี่ปุ่นซึ่งรับประทานแทบทุกอย่างที่ขวางหน้า และเป็นนักชิมตัวยงเบือนหน้าหนี
ในช่วงที่โลกอิสลามกำลังเข้าสู่เดือนรอมฎอนอยู่นี้ ก็มีการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวญี่ปุ่นอย่างแข็งขันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีประชากรชาวมุสลิมอยู่อาศัยอย่างหนาแน่น และเป็นภูมิภาคที่เมื่อปี 2013 แดนอาทิตย์อุทัยได้ผ่อนปรนระเบียบการทำวีซ่าให้แก่มาเลเซีย และไทย
อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศมุสลิมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ก็กำลังจะได้รับการผ่อนปรนกฎระเบียบในเร็วๆ นี้เช่นกัน
ตามข้อมูลของสำนักงานการท่องเที่ยวญี่ปุ่น ยอดนักท่องเที่ยวชาวอินโดนีเซียที่เดินทางมาเยือนแดนอาทิตย์อุทัยเมื่อปี 2013 ได้พุ่งสูงขึ้นจากปีที่ก่อนหน้าถึง 37 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่มีชาวมาเลเซียเดินทางมาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 21 เปอร์เซ็นต์
จำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนได้กระเตื้องขึ้นจากที่เคยดิ่งฮวบลงเมื่อปี 2012 ภายหลังเกิดกรณีพิพาทเรื่องหมู่เกาะ ในทะเลจีนตะวันออก ระหว่างแดนมังกรและกับแดนอาทิตย์อุทัย
อย่างไรก็ตาม การเพิ่มจุดขายด้านการท่องเที่ยวให้แก่ญี่ปุ่น ถือเป็นหัวใจสำคัญ หากแดนอาทิตย์อุทัยต้องการบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ว่าจะดึงนักท่องเที่ยวจากต่างแดนให้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ภายในปี 2020 เวลาที่โตเกียวจะเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
การที่นักกีฬาและผู้ชมจากทั่วทุกมุมโลก จะไหล่บ่าเข้ามายังสถนที่จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ก็ถือเป็นแรงผลักดันให้ญี่ปุ่นต้องปรับเปลี่ยนประเทศให้มีลักษณะให้เป็นมิตรต่อชาวมุสลิมมากขึ้น
ญี่ปุ่นซุ่มพัฒนาครัวสู่มาตรฐานอาหาร “ฮาลาล” รองรับคลื่นนักท่องเที่ยวมุสลิมจากต่างแดน
*****
บาดาวีกล่าวว่า บราฮิม ได้ลงนามข้อตกลงร่วมกับสายการบิน “ออล นิปปอน แอร์เวย์ส” (เอเอ็นเอ) หนึ่งในสายการบินที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น เพื่อจัดหาอาหารฮาลาลให้แก่ผู้โดยสาร นอกจากนี้ ยังมีโรงแรมใหญ่ๆ จำนวนมากเข้ามาติดต่อขอให้เขาแนะนำวิธีการรับรองแขกชาวมุสลิม
สำหรับบาดาวีแล้ว แม้ว่าญี่ปุ่นจะเริ่มตื่นตัวล้าหลังไปบ้าง แต่ก็สามารถมองเห็นทิศทางความก้าวหน้าได้ชัดเจน ชาวมุสลิมที่ต้องการท่องเที่ยวพักผ่อนจะเดินทางมาที่นี่ และเดินทางมาเป็นจำนวนมาก จนทำให้โตเกียวกลายเป็นประเทศทีสามารถกอบโกยรายได้จากการท่องเที่ยวอย่างมหาศาล 6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 19 ล้านล้านบาท)
สถานีโทรทัศน์เจ้าหนึ่งรายงานเมื่อเร็วๆ นี้ว่า พื้นที่ต่างๆ ทั่วญี่ปุ่นกำลังกลายเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ โดยท่าอากาศยานใหญ่ๆ เริ่มจัดเตรียมห้องละหมาด และนักท่องเที่ยวที่กำลังมองหาของขวัญอันสมบูรณ์แบบก็สามารถเลือกซื้อฮิญาบผ้าไหมญี่ปุ่น ขณะเดินทางไปขึ้นเครื่องบินที่ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ ซึ่งอยู่ใกล้กับโอซากา
ชาวต่างชาติที่วางแผนจะอยู่ในญี่ปุ่นระยะยาวก็จะได้รับการดูแล โดยมีมหาวิทยาลัย 19 แห่งที่จำหน่ายอาหารฮาลาลในโรงอาหาร เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาชาวมุสลิมเลือกหันมาเล่าเรียนที่ญี่ปุ่นกันเพิ่มขึ้น
ส่วนลูกค้าที่ต้องการลิ้มรสชาติอาหารญี่ปุ่นแท้ๆ แต่ได้มาตรฐานฮาลาล ก็สามารถแวะวียนมาที่ร้านบาบีคิวยากินิคุในกรุงโตเกียว ของโรเจอร์ เบอร์นาร์ด ดิอาซ ชาวศรีลังกาที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งเปลี่ยนเส้นทางธุรกิจ แต่ไม่เปลี่ยนศาสนา
เขาไม่ไม่เคยหวาดหวั่นที่ตนเองหันมาเอาดี ด้วยการขายเนื้อสัตว์ฮาลาล ทั้งยังกล่าวว่า วิถีใหม่ช่วยทำให้เขาได้ลูกค้าจากชาติแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแถบอ่าวเปอร์เซีย
อย่างไรก็ดี วัตถุดิบในการทำอาหารยังเป็นสิ่งที่หาซื้อได้ยาก เขายอมรับขณะดึงไก่ที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานฮาลาล และนำเข้าจากบราซิลออกมาจากช่องแช่แข็งว่า “ยากนะกว่าจะหาวัตถุดิบให้ได้ครบ”
http://www.manager.co.th/