คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 36
หลังผ่านเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เผื่อใครลืมไปแล้ว เผื่อใครจะคอยสังเกตความเปลี่ยนแปลงทางด้านตัวเลขต่างๆ ซึ่งตัวเลขนี้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนได้ชัดเจนกว่าความรู้สึกว่าฉันเป็นคนดี ไอ้นั่นเป็นคนชั่ว ประชาชนต้องการหรือไม่ต้องการ มันเป็นการแสดงให้เห็นถึงพลังเงียบที่ไม่ค่อยแสดงออกทางการเมืองมากนัก แต่จะมาแสดงความต้องการของตัวประชาชนเองผ่านคูหาเลือกตั้งเลย
สิ่งที่ MC ต้องการเห็นมากที่สุดนั่นคือการยอมรับในผลของกติกาที่ได้มีการตกลงร่วมกันมา คนมันจะทำงานดีทำงานห่วย ก็รอพิพากษานักการเมืองผู้นั้น พรรคนั้น ผ่านคูหาเลือกตั้งด้วยมือของประชาชนเองโดยไม่ต้องมีผู้รากมากดีที่ไหนมาคิดแทนประชาชน จะดีจะเลวประชาชนเขาเลือกของเขาเองได้ ประชาชนไม่ได้โง่ที่จะมาคอยเลือกคนที่ทำให้ชีวิตตัวเองลำบากขึ้น อยู่ยากขึ้น มาจำกัดสิทธิต่างๆของตนเอง หรือทำให้ตนเองจนลงไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมเข้ามาทำหน้าที่
สำหรับผู้ที่ต้องการนักการเมืองหน้าใหม่ๆเข้ามาแทนพวกหน้าเดิมๆที่ไม่สร้างสรรค์อะไร MC คิดว่าทุกคนนอกจากไปลงคะแนนให้คนที่ตนเองต้องการ หรือฝั่งตรงข้ามคนที่เราไม่ต้องการแล้ว ทุกคนยังมีสิทธิ์ที่จะแสดงออกผ่านช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนนเพื่อตอกหน้านักการเมืองน้ำเน่าที่ตนเองไม่ชอบได้เช่นกัน และหากมันโกงการเลือกตั้งด้วยการซื้อเสียง เทคโนโลยีการบันทึกภาพและคลิปสมัยนี้มีมากพอที่จะจัดการกับนักการเมืองพวกนี้ได้อย่างสิ้นซาก (และต้องมีวิจารณญาณด้วยว่าเป็นเรื่องราวจริงหรือจัดฉากใส่ร้ายต้องตรวจสอบให้ดี) ขอให้ทุกๆคนต้องช่วยกันหากยังรักและศรัทธาในประชาธิปไตยอยู่ การอยากได้นักการเมืองรุ่นใหม่ๆเข้ามาทำหน้าที่นั้น ทุกอย่างมันมีกระบวนการสรรหาและก้าวเข้ามาโดยธรรมชาติของมัน รวมถึงการช่วยกันในการจัดการคนไม่ดีแต่ขอให้ผ่านไปตามกติกาผ่านคูหาและเทคโนโลยีการบันทึกภาพ-คลิปต่างๆ ไม่ใช่การอนุมานไปแบบเลื่อนลอยว่าอยากได้และอยากได้ การที่เราจะหว่านพืชแน่นอนเราต้องหวังผล แต่การที่จะออกดอกออกผลดีนั้นมันต้องมีอะไรที่มากกว่าหว่านพืช เช่นใส่ปุ๋ย รดน้ำ พรวนดิน และรอเวลาที่เหมาะสม หาใช่ว่าหว่านพืชเสร็จแล้วผลมันจะงอกออกมาเลย มันเป็นไปไม่ได้ ทุกอย่างมันมีวิวัฒนาการของมันและทุกคนต้องช่วยกัน
MC ขี้เกียจโม้ต่อ เข้าเรื่องเลยก็แล้วกัน คงขอแค่สรุปผลแบบคร่าวๆพอ รายละเอียดขี้เกียจลงมาก เดี๋ยวจะดูไม่น่าอ่าน
วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2535 เป็นวันที่มีการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 19 ของประเทศไทยและเป็นการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 2 ในปีเดียวกัน คือครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 พรรคที่ชนะการเลือกตั้งคือพรรคสามัคคีธรรม หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม คือ นายณรงค์ วงศ์วรรณ อดีตหัวหน้าพรรครวมไทย และอดีตหัวหน้าพรรคเอกภาพ พรรคสามัคคีธรรมถูกตั้งขึ้น เพื่อสนับสนุนแกนนำของคณะ รสช. และอาจจะกล่าวได้ว่าแกนนำของ คณะ รสช. บางคน มีส่วนสนับสนุนพรรคนี้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการสืบทอดอำนาจ หลังการเลือกตั้ง พรรคสามัคคีธรรม จึงเป็นพรรคที่มาคล้ายกับ พรรคเสรีมนังคศิลา ที่เคยสนับสนุน จอมพล ป.พิบูลสงคราม และ พรรคสหประชาไทย ที่เคยสนับสนุน จอมพลถนอม กิตติขจร ในการรักษาอำนาจหลังการรัฐประหาร นอกจากนี้นักการเมืองบางคนในสังกัด พรรคสามัคคีธรรม ยังเคยสังกัดใน พรรคเสรีนังคศิลา และพรรคสหประชาไทย อีกด้วย

และก็มาถึงการเลือกตั้งครั้งต่อไป ในเวลาที่ห่างกันประมาณ 6 เดือนเท่านั้นเอง ที่มีการเลือกตั้งกระชั้นชิดเช่นนี้ ก็เพราะภายหลังการเลือกตั้งในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 แล้ว พลเอกสุจินดา คราประยูร ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ตั้งรัฐบาล ก็ได้เกิดการประท้วงจากนักการเมือง ประชาชนและนิสิตนักศึกษา จนเกิดเหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ” ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2535 จนในที่สุด พลเอกสุจินดา คราประยูร ยอมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
นายอานันท์ ปันยารชุน ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ตั้งรัฐบาลเข้ามาดูแลเหตุการณ์และยุบสภา เพื่อเปิดทางให้มีการเลือกตั้งกันใหม่ ให้สภาผู้แทนราษฎรที่จะได้ผู้แทนราษฎรชุดใหม่เข้ามาเลือกรัฐบาล การเลือกตั้งครั้งนี้ก็ยังเป็นการแบ่งเขตที่แต่ละเขตมีผู้แทนราษฎรได้ไม่เกินเขตละ 3 คน จำนวนผู้แทนราษฎรมี 360 คน เท่ากับการเลือกตั้งครั้งก่อน ผลการเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์ได้คะแนนมากเป็นอันดับหนึ่งจึงได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล และนายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรี

วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 เป็นวันที่มีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 20 ของประเทศไทยที่เกิดขึ้น เพราะนายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย ซึ่งเป็นหัวหน้ารัฐบาลผสมที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำได้ตัดสินใจยุบสภาภายหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีและก่อนที่จะมีการลงมติไม่ไว้วางใจ โดยเฉพาะเรื่องการปฏิรูปที่ดินเกี่ยวกับ สปก. 4-01 การเลือกตั้งในครั้งนั้น พรรคชาติไทย ประสบความสำเร็จ สามารถเอาชนะ พรรคประชาธิปัตย์ไปได้ ทำให้ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และ นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 21 วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2539 เกิดขึ้นจากการที่นายบรรหาร ศิลปอาชา ได้ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2539 อันเนื่องมาจากการถูกเสนอญัตติเพื่อขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีจากพรรคฝ่ายค้านอยู่บ่อยครั้ง อีกทั้งยังเกิดกระแสที่ประชาชนไม่พอใจภาพพจน์ของรัฐบาล ทำให้รัฐบาลเกิดความสั่นคลอน จนเป็นเหตุให้มีการประกาศให้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 21 วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2539 ได้ส่งผลให้พรรคความหวังใหม่ เป็นพรรคการเมืองที่มีคะแนนเสียงสูงสุด จนได้เป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับ พรรคชาติพัฒนา พรรคประชากรไทย พรรคมวลชน พรรคเสรีธรรม และพรรคกิจสังคม รวมเป็นจำนวนพรรครัฐบาลจำนวน 6 พรรคการเมือง โดยพรรครัฐบาลมีคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งเท่ากับ 221 เสียง ต่อพรรคฝ่ายค้านที่มีคะแนนเสียงเพียง 172 เสียง จำนวน 5 พรรคการเมือง อันประกอบด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย พรรคเอกภาพ พรรคพลังธรรม และพรรคไท

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 22 เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2544 เป็นการเลือกตังทั่วไปครั้งแรกภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ภายหลังหลังจากที่รัฐบาลนาย ชวน หลีกภัย ได้ร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 แล้วเสร็จ จึงได้ประกาศยุบสภาเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2543 แล้วกำหนดให้มีการเลือกทั่วไปในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2544
ในฐานะที่การเลือกตั้งครั้งที่ 22 นี้ เป็นการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ส่งผลให้กฎกติกาทางการเมืองต่าง ๆ โดยเฉพาะในส่วนของระบบการเลือกตั้ง มีการเปลี่ยนแปลงไปจากการเลือกตั้งครั้งก่อน อาทิ รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากระบบการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ (Party lists) จำนวน 100 คน และสมาชิกมาจากระบบการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (One man one vote) จำนวน 400 คน ในการเลือกตั้งครั้งนี้มีพรรคการเมืองส่งผู้สมัครมากเป็นประวัติการณ์ถึง 43 พรรค
ผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2544 ได้ถูกประกาศออกอย่างเป็นทางการแล้วพบว่า พรรคไทยรักไทยได้รับคะแนนเสียงอย่างท่วมท้นและเป็นพรรคการเมืองพรรคแรกที่ก่อตั้งขึ้นภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 เป็นวันเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 23 เป็นการเลือกตั้งที่เกิดขึ้น เพราะอายุของสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ได้รับการเลือกตั้งมาเมื่อ พ.ศ. 2544 ครบวาระ 4 ปี ในวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2548 การเลือกตั้งทั่วไปครั้งนี้ ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งมีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย เป็น 44,572,101 คน และมีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งจริง 32,341,330 คน คิดเป็นอัตราร้อยละ 72.56 นับว่ามากกว่าการเลือกตั้งเมื่อ 4 ปีก่อน พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น

เลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 24 2 เมษายน 2549 พรรคร่วมฝ่ายค้านนำโดยพรรคประชาธิปัตย์บอยคอตการเลือกตั้ง และศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ทำให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ก่อนจะถึงการเลือกตั้งใหม่ ก็เกิดการก่อรัฐประหาร ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ยึดอำนาจการปกครองจาก คมช. จึงทำให้การเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ถูกยกเลิก

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 25 วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.2550 นับเป็นการเลือกตั้งครั้งที่ 1 ภายใต้กฏกติกาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 พรรคพลังประชาชนชนะ ส่งผลให้นายสมัคร สนุทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 25 เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2551 อันเนื่องมาจากพรรคที่ได้รับคะแนนเสียงจากการเลือกตั้งมากที่สุด จำนวน 233 ที่นั่ง และเป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลผสมร่วมกับ พรรคชาติไทย 34 ที่นั่ง พรรคเพื่อแผ่นดิน 24 ที่นั่ง พรรคมัชฌิมาธิปไตย 11 ที่นั่ง พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 9 ที่นั่ง และพรรคประชาราช 5 ที่นั่ง รวมคะแนนเสียงพรรคร่วมรัฐบาลทั้งสิ้น 316 ที่นั่ง ต่อ พรรคฝ่ายค้านเพียงพรรคเดียว คือ พรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 164 ที่นั่ง

วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 26 มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 เสียก่อน ในเรื่องที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง จึงเป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 500 คน มากกว่าครั้งก่อน 20 คน โดยแบ่งเป็นการเลือกตั้งผู้แทนตามเขตเล็กรวมกัน 375 เขต มีผู้แทนราษฎรได้เขตละ 1 คน จำนวน 375 คน และเลือกผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อพรรคโดยเอาประเทศไทยเป็นเขตเลือกตั้งได้ทั้งหมดอีก 125 คน พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย

วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไปครั้งที่ 27 เกิดการบอยคอตเลือกตั้งจากพรรคประชาธิปัตย์และมีการปิดล้อมคูหาเลือกตั้งจากกลุ่มมวลชน กปปส. ต่อมาวันที่ 21 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยด้วยคะแนนเสียงหกต่อสามว่า เมื่อพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรกำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 แต่การเลือกตั้งไม่สามารถแล้วเสร็จทั่วประเทศภายในวันดังกล่าวได้ พระราชกฤษฎีกาจึงขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรคสอง ที่กำหนดให้การเลือกตั้งต้องเป็นวันเดียวกันทั่วประเทศ และเมื่อพระราชกฤษฎีกาในส่วนที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งนี้จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญไปด้วย
หลังจากนั้นก็เกิดรัฐประหารจาก คสช. พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนถึงปัจจุบัน

MC นำเสนอเพียงข้อมูลคร่าวๆเท่านั้น ส่วนรายละเอียดปลีกย่อย คำวิจารณ์ใดๆ หรือสิ่งไหนที่อยากจะทำให้สังคม-การเมือง-เศรษฐกิจ ของไทยดีขึ้น เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องต่อสู้ร่วมกันต่อไป และ MC จะหาเวลาออกไปนำเสนอในกระทู้ที่หน้าบอร์ดต่อไปครับผม
ขอบพระคุณ สถาบันพระปกเกล้า, วิกิพิเดีย
สิ่งที่ MC ต้องการเห็นมากที่สุดนั่นคือการยอมรับในผลของกติกาที่ได้มีการตกลงร่วมกันมา คนมันจะทำงานดีทำงานห่วย ก็รอพิพากษานักการเมืองผู้นั้น พรรคนั้น ผ่านคูหาเลือกตั้งด้วยมือของประชาชนเองโดยไม่ต้องมีผู้รากมากดีที่ไหนมาคิดแทนประชาชน จะดีจะเลวประชาชนเขาเลือกของเขาเองได้ ประชาชนไม่ได้โง่ที่จะมาคอยเลือกคนที่ทำให้ชีวิตตัวเองลำบากขึ้น อยู่ยากขึ้น มาจำกัดสิทธิต่างๆของตนเอง หรือทำให้ตนเองจนลงไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมเข้ามาทำหน้าที่
สำหรับผู้ที่ต้องการนักการเมืองหน้าใหม่ๆเข้ามาแทนพวกหน้าเดิมๆที่ไม่สร้างสรรค์อะไร MC คิดว่าทุกคนนอกจากไปลงคะแนนให้คนที่ตนเองต้องการ หรือฝั่งตรงข้ามคนที่เราไม่ต้องการแล้ว ทุกคนยังมีสิทธิ์ที่จะแสดงออกผ่านช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนนเพื่อตอกหน้านักการเมืองน้ำเน่าที่ตนเองไม่ชอบได้เช่นกัน และหากมันโกงการเลือกตั้งด้วยการซื้อเสียง เทคโนโลยีการบันทึกภาพและคลิปสมัยนี้มีมากพอที่จะจัดการกับนักการเมืองพวกนี้ได้อย่างสิ้นซาก (และต้องมีวิจารณญาณด้วยว่าเป็นเรื่องราวจริงหรือจัดฉากใส่ร้ายต้องตรวจสอบให้ดี) ขอให้ทุกๆคนต้องช่วยกันหากยังรักและศรัทธาในประชาธิปไตยอยู่ การอยากได้นักการเมืองรุ่นใหม่ๆเข้ามาทำหน้าที่นั้น ทุกอย่างมันมีกระบวนการสรรหาและก้าวเข้ามาโดยธรรมชาติของมัน รวมถึงการช่วยกันในการจัดการคนไม่ดีแต่ขอให้ผ่านไปตามกติกาผ่านคูหาและเทคโนโลยีการบันทึกภาพ-คลิปต่างๆ ไม่ใช่การอนุมานไปแบบเลื่อนลอยว่าอยากได้และอยากได้ การที่เราจะหว่านพืชแน่นอนเราต้องหวังผล แต่การที่จะออกดอกออกผลดีนั้นมันต้องมีอะไรที่มากกว่าหว่านพืช เช่นใส่ปุ๋ย รดน้ำ พรวนดิน และรอเวลาที่เหมาะสม หาใช่ว่าหว่านพืชเสร็จแล้วผลมันจะงอกออกมาเลย มันเป็นไปไม่ได้ ทุกอย่างมันมีวิวัฒนาการของมันและทุกคนต้องช่วยกัน
MC ขี้เกียจโม้ต่อ เข้าเรื่องเลยก็แล้วกัน คงขอแค่สรุปผลแบบคร่าวๆพอ รายละเอียดขี้เกียจลงมาก เดี๋ยวจะดูไม่น่าอ่าน
วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2535 เป็นวันที่มีการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 19 ของประเทศไทยและเป็นการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 2 ในปีเดียวกัน คือครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 พรรคที่ชนะการเลือกตั้งคือพรรคสามัคคีธรรม หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม คือ นายณรงค์ วงศ์วรรณ อดีตหัวหน้าพรรครวมไทย และอดีตหัวหน้าพรรคเอกภาพ พรรคสามัคคีธรรมถูกตั้งขึ้น เพื่อสนับสนุนแกนนำของคณะ รสช. และอาจจะกล่าวได้ว่าแกนนำของ คณะ รสช. บางคน มีส่วนสนับสนุนพรรคนี้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการสืบทอดอำนาจ หลังการเลือกตั้ง พรรคสามัคคีธรรม จึงเป็นพรรคที่มาคล้ายกับ พรรคเสรีมนังคศิลา ที่เคยสนับสนุน จอมพล ป.พิบูลสงคราม และ พรรคสหประชาไทย ที่เคยสนับสนุน จอมพลถนอม กิตติขจร ในการรักษาอำนาจหลังการรัฐประหาร นอกจากนี้นักการเมืองบางคนในสังกัด พรรคสามัคคีธรรม ยังเคยสังกัดใน พรรคเสรีนังคศิลา และพรรคสหประชาไทย อีกด้วย

และก็มาถึงการเลือกตั้งครั้งต่อไป ในเวลาที่ห่างกันประมาณ 6 เดือนเท่านั้นเอง ที่มีการเลือกตั้งกระชั้นชิดเช่นนี้ ก็เพราะภายหลังการเลือกตั้งในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 แล้ว พลเอกสุจินดา คราประยูร ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ตั้งรัฐบาล ก็ได้เกิดการประท้วงจากนักการเมือง ประชาชนและนิสิตนักศึกษา จนเกิดเหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ” ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2535 จนในที่สุด พลเอกสุจินดา คราประยูร ยอมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
นายอานันท์ ปันยารชุน ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ตั้งรัฐบาลเข้ามาดูแลเหตุการณ์และยุบสภา เพื่อเปิดทางให้มีการเลือกตั้งกันใหม่ ให้สภาผู้แทนราษฎรที่จะได้ผู้แทนราษฎรชุดใหม่เข้ามาเลือกรัฐบาล การเลือกตั้งครั้งนี้ก็ยังเป็นการแบ่งเขตที่แต่ละเขตมีผู้แทนราษฎรได้ไม่เกินเขตละ 3 คน จำนวนผู้แทนราษฎรมี 360 คน เท่ากับการเลือกตั้งครั้งก่อน ผลการเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์ได้คะแนนมากเป็นอันดับหนึ่งจึงได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล และนายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรี

วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 เป็นวันที่มีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 20 ของประเทศไทยที่เกิดขึ้น เพราะนายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย ซึ่งเป็นหัวหน้ารัฐบาลผสมที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำได้ตัดสินใจยุบสภาภายหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีและก่อนที่จะมีการลงมติไม่ไว้วางใจ โดยเฉพาะเรื่องการปฏิรูปที่ดินเกี่ยวกับ สปก. 4-01 การเลือกตั้งในครั้งนั้น พรรคชาติไทย ประสบความสำเร็จ สามารถเอาชนะ พรรคประชาธิปัตย์ไปได้ ทำให้ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และ นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 21 วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2539 เกิดขึ้นจากการที่นายบรรหาร ศิลปอาชา ได้ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2539 อันเนื่องมาจากการถูกเสนอญัตติเพื่อขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีจากพรรคฝ่ายค้านอยู่บ่อยครั้ง อีกทั้งยังเกิดกระแสที่ประชาชนไม่พอใจภาพพจน์ของรัฐบาล ทำให้รัฐบาลเกิดความสั่นคลอน จนเป็นเหตุให้มีการประกาศให้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 21 วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2539 ได้ส่งผลให้พรรคความหวังใหม่ เป็นพรรคการเมืองที่มีคะแนนเสียงสูงสุด จนได้เป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับ พรรคชาติพัฒนา พรรคประชากรไทย พรรคมวลชน พรรคเสรีธรรม และพรรคกิจสังคม รวมเป็นจำนวนพรรครัฐบาลจำนวน 6 พรรคการเมือง โดยพรรครัฐบาลมีคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งเท่ากับ 221 เสียง ต่อพรรคฝ่ายค้านที่มีคะแนนเสียงเพียง 172 เสียง จำนวน 5 พรรคการเมือง อันประกอบด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย พรรคเอกภาพ พรรคพลังธรรม และพรรคไท

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 22 เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2544 เป็นการเลือกตังทั่วไปครั้งแรกภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ภายหลังหลังจากที่รัฐบาลนาย ชวน หลีกภัย ได้ร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 แล้วเสร็จ จึงได้ประกาศยุบสภาเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2543 แล้วกำหนดให้มีการเลือกทั่วไปในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2544
ในฐานะที่การเลือกตั้งครั้งที่ 22 นี้ เป็นการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ส่งผลให้กฎกติกาทางการเมืองต่าง ๆ โดยเฉพาะในส่วนของระบบการเลือกตั้ง มีการเปลี่ยนแปลงไปจากการเลือกตั้งครั้งก่อน อาทิ รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากระบบการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ (Party lists) จำนวน 100 คน และสมาชิกมาจากระบบการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (One man one vote) จำนวน 400 คน ในการเลือกตั้งครั้งนี้มีพรรคการเมืองส่งผู้สมัครมากเป็นประวัติการณ์ถึง 43 พรรค
ผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2544 ได้ถูกประกาศออกอย่างเป็นทางการแล้วพบว่า พรรคไทยรักไทยได้รับคะแนนเสียงอย่างท่วมท้นและเป็นพรรคการเมืองพรรคแรกที่ก่อตั้งขึ้นภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 เป็นวันเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 23 เป็นการเลือกตั้งที่เกิดขึ้น เพราะอายุของสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ได้รับการเลือกตั้งมาเมื่อ พ.ศ. 2544 ครบวาระ 4 ปี ในวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2548 การเลือกตั้งทั่วไปครั้งนี้ ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งมีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย เป็น 44,572,101 คน และมีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งจริง 32,341,330 คน คิดเป็นอัตราร้อยละ 72.56 นับว่ามากกว่าการเลือกตั้งเมื่อ 4 ปีก่อน พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น

เลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 24 2 เมษายน 2549 พรรคร่วมฝ่ายค้านนำโดยพรรคประชาธิปัตย์บอยคอตการเลือกตั้ง และศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ทำให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ก่อนจะถึงการเลือกตั้งใหม่ ก็เกิดการก่อรัฐประหาร ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ยึดอำนาจการปกครองจาก คมช. จึงทำให้การเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ถูกยกเลิก

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 25 วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.2550 นับเป็นการเลือกตั้งครั้งที่ 1 ภายใต้กฏกติกาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 พรรคพลังประชาชนชนะ ส่งผลให้นายสมัคร สนุทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 25 เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2551 อันเนื่องมาจากพรรคที่ได้รับคะแนนเสียงจากการเลือกตั้งมากที่สุด จำนวน 233 ที่นั่ง และเป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลผสมร่วมกับ พรรคชาติไทย 34 ที่นั่ง พรรคเพื่อแผ่นดิน 24 ที่นั่ง พรรคมัชฌิมาธิปไตย 11 ที่นั่ง พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 9 ที่นั่ง และพรรคประชาราช 5 ที่นั่ง รวมคะแนนเสียงพรรคร่วมรัฐบาลทั้งสิ้น 316 ที่นั่ง ต่อ พรรคฝ่ายค้านเพียงพรรคเดียว คือ พรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 164 ที่นั่ง

วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 26 มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 เสียก่อน ในเรื่องที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง จึงเป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 500 คน มากกว่าครั้งก่อน 20 คน โดยแบ่งเป็นการเลือกตั้งผู้แทนตามเขตเล็กรวมกัน 375 เขต มีผู้แทนราษฎรได้เขตละ 1 คน จำนวน 375 คน และเลือกผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อพรรคโดยเอาประเทศไทยเป็นเขตเลือกตั้งได้ทั้งหมดอีก 125 คน พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย

วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไปครั้งที่ 27 เกิดการบอยคอตเลือกตั้งจากพรรคประชาธิปัตย์และมีการปิดล้อมคูหาเลือกตั้งจากกลุ่มมวลชน กปปส. ต่อมาวันที่ 21 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยด้วยคะแนนเสียงหกต่อสามว่า เมื่อพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรกำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 แต่การเลือกตั้งไม่สามารถแล้วเสร็จทั่วประเทศภายในวันดังกล่าวได้ พระราชกฤษฎีกาจึงขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรคสอง ที่กำหนดให้การเลือกตั้งต้องเป็นวันเดียวกันทั่วประเทศ และเมื่อพระราชกฤษฎีกาในส่วนที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งนี้จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญไปด้วย
หลังจากนั้นก็เกิดรัฐประหารจาก คสช. พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนถึงปัจจุบัน

MC นำเสนอเพียงข้อมูลคร่าวๆเท่านั้น ส่วนรายละเอียดปลีกย่อย คำวิจารณ์ใดๆ หรือสิ่งไหนที่อยากจะทำให้สังคม-การเมือง-เศรษฐกิจ ของไทยดีขึ้น เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องต่อสู้ร่วมกันต่อไป และ MC จะหาเวลาออกไปนำเสนอในกระทู้ที่หน้าบอร์ดต่อไปครับผม
ขอบพระคุณ สถาบันพระปกเกล้า, วิกิพิเดีย
แสดงความคิดเห็น
ห้องเพลง *คนรากหญ้า* พักยกการเมือง มุมนี้ไม่มีสี ไม่มีกลุ่ม...มีแต่เสียง 2/02/2018 "บันทึกสีดำ พฤษภาทมิฬ"
ถอดความจากคลิป
" นิทานเรื่องซ้ำๆซากๆ ปิศาจครองเมือง ตัวละครมี2ฝ่ายครับ ฝ่ายแรกชื่อว่า ประชาชน
ฝ่ายที่ 2 ชื่อว่า ผู้รับใช้ประชาชน เรื่องราวจะเป็นเช่นไร ขอเชิญท่านรับฟังได้ ณ บัดนี้ "...
เกิดเป็นคน เป็นคนโดยธรรมชาติ
ความคิด จิตใจยังสามารถ รู้ขาดรู้สู้รู้ซึ้ง
ชั่วชีวิต คิดหวังตั้งใจไว้มาก
ประชาธิปไตย ในไทยชาติ เต็มใบเต็มที่เต็มร้อย
จึงออกตามหา ประชาธิปไตยดังว่า
เพื่อน ร่วมอุดมการณ์หลายหลาก สิบร้อยพันหมื่นแสนล้าน
(ดนตรี...)
มี มือปีศาจ เข่นฆ่าให้ล้มหายตายจาก
แย่งชิงสิ่งหวังอันสูงค่า กระชากลงอเวจี
ความรู้สึก คับแค้นนั้นไปถึงข้างใน
คืบคลานเข้ามารุม สุมใจ เห็นเพื่อนล้มตายลงอย่างนี้
ผู้บริสุทธิ์ สองมือสองแขนว่างเปล่า
ร่วง กราวลงกองแทบสองบาท ปีศาจร้ายนั่งบนเก้าอี้...
ไม่เป็นธรรมทุกสิ่ง หรอก มันไม่ เป็นธรรมทุกอย่างหรอก
คนตาย คนตายลงไป คนอยู่ ก็สู้ต่อไป
ประชาชน อย่างเรา ถึงหัวใจเป็นของเรา
แต่ความเป็นธรรมเป็นจริง มันมีสิทธิ์ได้แค่บางคน
ไม่เป็นธรรมทุกสิ่งหรอก มันไม่ เป็นธรรมทุกอย่างหรอก
คนตาย คนตายลงไป คนอยู่ ก็สู้ต่อไป
ประชาชน อย่างเรา ถึงหัวใจเป็นของเรา
แต่ความเป็นธรรมเป็นจริง มันมีสิทธิ์ได้แค่บางคน...
" ท่านพูดได้อย่างไรว่าเป็นผู้รับใช้ประชาชน
ในเมื่อท่านหันปากกระบอกปืนพ่นกระสุนใส่ประชาชนอย่างไม่ขาด
ท่านและลูกหลานญาติมิตรของท่านกัดกินทรัพยากรกัดกินพื้นแผ่นดินนี้อย่างไม่เหลืออะไรแล้ว
และเมื่อไดที่ประชาชนลุกขึ้นเรียกร้องสิทธิเสรีภาพต่อต้านอำนาจผูกขาดของท่าน ท่านก็ฆ่า
เมื่อท่านฆ่าแล้วท่านบอกประชาชนอีกว่า ลืมมันเสียเถิดประชาชนที่รัก
พวกเรานั้นเป็นชาวพุทธใยเจ้าไม่รู้จักคำว่าการให้อภัย... ท่านครับ ศพแล้วศพเล่าที่ทอดร่าง
ให้ท่านเหยียบย่ำขึ้นไปเสวยอำนาจ ช่างไร้ค่าต่อท่านนัก เพียงเพราะเขาไม่ใช่ลูกหลาน
ญาติมิตร ของท่าน เท่านั้นหรือ..!!? "
** มี มือปีศาจ เข่นฆ่าให้ล้มหายตายจาก
แย่งชิงสิ่งหวังอันสูงค่า กระชากลงอเวจี
ความรู้สึก คับแค้นนั้นไปถึงข้างใน
คืบคลานเข้ามารุม สุมใจ เห็นเพื่อนล้มตายลงอย่างนี้
ผู้บริสุทธิ์ สองมือสองแขนว่างเปล่า
ร่วง กราวลงกองแทบสองบาท ปีศาจร้ายนั่งบนเก้าอี้...
สวัสดีเพื่อนๆทุกคนครับ ข้างบนนี้คือเพลงหวัง ของศิลปินเพื่อชีวิต อัลบั้มที่ 2 ของ พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ ซึ่งออกอัลบั้มนี้มาในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกับเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
ในยุคนั้นเป็นยุคที่ทั้งบทเพลงและประชาชนล้วนไขว่คว้าโหยหาสิทธิเสรีภาพ โหยหาประชาธิปไตย โหยหาผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งกันแทบจะทุกฝ่าย
สมัยชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ดำรงค์ตำแหน่งอยู่ได้ประมาณ 2 ปีครึ่ง ก่อนถูก รสช เข้าทำการยึดอำนาจ สมัยนั้นเศรษฐกิจดีมาก โดยส่วนตัวของ MC ตั้งแต่เกิดมาก็คิดว่ายุคนี้แหละที่ดีที่สุดเพราะที่บ้านทำธุรกิจเกี่ยวกับที่ดินด้วย ซื้อวันนี้อีกห้าวันขายได้กำไรเต็มๆก็มี บุคลิกนายกฯชาติชายก็จะง่ายๆสบายๆ และมีคำพูดติดปากว่า "No Problem" มีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในภาคพื้นอินโดจีนที่ได้ผลเป็นรูปธรรมนั่นคือ "เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า" จึงไม่คิดว่าจะมีการเข้ายึดอำนาจแต่อย่างใด แต่มันก็เกิดขึ้นจนได้
คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช. (National Peace Keeping Council - NPKC) เป็นคณะนายทหารที่ก่อการรัฐประหาร ยึดอำนาจจากพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 นำโดย พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก, พลเอกอิสระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก และพลอากาศเอกเกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ
คณะ รสช. ให้เหตุผลในการยึดอำนาจว่า
พฤติการณ์การฉ้อราษฎร์บังหลวง รัฐมนตรีในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ฉ้อราษฎร์บังหลวง เป็นรัฐบาล บุฟเฟ่ต์คาบิเนต ร่ำรวยผิดปกติ
ข้าราชการการเมืองใช้อำนาจกดขี่ข่มเหงข้าราชการประจำผู้ซื่อสัตย์สุจริต
รัฐบาลเป็นเผด็จการทางรัฐสภา
การทำลายสถาบันทางทหาร
การบิดเบือนคดีล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อขจัดภยันตรายที่มีต่อประเทศชาติ และสถาบันพระมหากษัตริย์ เนื่องจากรัฐบาลละเลยคดีลอบสังหารเชื้อพระวงศ์ โดยอ้างอิงคำสารภาพของ พันเอกบุลศักดิ์ โพธิเจริญ ส.ส. พรรคพลังธรรม จังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งให้การซัดทอด พลตรีมนูญ รูปขจร (พลตรีมนูญกฤต รูปขจร
หลังจากนั้น ก็ได้คลอดรัฐธรรมนูญ ปี 2534 ออกมา ท่ามกลางข้อครหาเรื่องความไม่เป็นประชาธิปไตย และการสืบทอดอำนาจของ รสช จนพลเอกสุจินดา คราประยูร ต้องออกมาพูดเพื่อลดกระแสว่าตนเองและคณะจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ภาพเมื่อครั้งพลเอกสุจินดาประกาศไม่ขอรับตำแหน่งนายกฯ
รัฐธรรมนูญ 2534 ที่มีปัญหา
แต่แล้วในที่สุดหลังจากการเลือกตั้งครั้งที่ 18 ของประเทศไทย หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม คือ นายณรงค์ วงศ์วรรณ พรรคสามัคคีธรรมถูกตั้งขึ้น เพื่อสนับสนุนแกนนำของคณะ รสช. และอาจจะกล่าวได้ว่าแกนนำของ คณะ รสช. บางคน มีส่วนสนับสนุนพรรคนี้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการสืบทอดอำนาจ หลังการเลือกตั้ง นาย ณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรมในฐานะหัวหน้าพรรคที่มีผู้แทนมากที่สุด ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ปรากฏว่า ทางโฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา นางมาร์กาเร็ต แท็ตไวเลอร์ ได้ออกมาประกาศว่า นายณรงค์ นั้นเป็นผู้หนึ่งที่ไม่สามารถขอวีซ่าเดินทางเข้าสหรัฐฯ ได้ เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับนักค้ายาเสพติด ในที่สุด จึงมีการเสนอชื่อ พล.อ. สุจินดา คราประยูร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน
พลเอกสุจินดารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พร้อมกับวาทกรรมประจำตัว "เสียสัตย์เพื่อชาติ"
วันแรกในการแถลงการณ์คณะ รมต. หุ้นตกวูบทันที 43 จุด
7 พ.ค. 2535 พลเอกสุจินดาชี้แจงพูดถึงเหตุผลที่เข้ารับตำแหน่งว่า เพราะ หนึ่ง รัฐธรรมนูญไม่ได้ห้ามไว้สอง กล่าวพาดพิงถึง พล.อ. ชวลิต ว่าเลื่อมใสในระบอบประชาธิปไตยแบบสภาเปรซิเดียมและ กลุ่มที่เคลื่อนไหวนอกสภาก็เพื่อนำประเทศไทยไปสู่การปกครองแบบนี้ สาม ได้รับการขอร้องจากชาวพุทธที่กำลังถูกกลุ่มหนึ่งก่อตั้งศาสนาใหม่ และ สี่ การที่นายกฯ เป็นคนกลางจะทำให้ควบคุมการคอรัปชันได้ดีที่สุด ในขณะที่นายกฯ ชี้แจงอยู่นั้น ได้มีเสียงตะโกนและเสียงโห่แสดงความไม่พอใจของ ส.ส. ฝ่ายค้านตลอดเวลา หลังจากชี้แจงแล้ว ประธานรัฐสภาได้กล่าวปิดการประชุมทันที
จนเป็นที่มาของเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เมื่อ ปี 2535
ดังคลิปนี้ "พฤษภาทมิฬ 2535 บันทึกสีดำ" MC ขออนุญาตไม่ถ่ายทอดเรื่องราวในคลิปเป็นตัวหนังสือเพราะมันเยอะ หลากหลายเรื่องราว
ลำดับเหตุการณ์คร่าวๆ
ลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ถึง พ.ศ. 2535
· 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 - คณะ รสช.ยึดอำนาจจากรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
· 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 - มีการเลือกตั้งใหญ่ทั่วประเทศ พรรคสามัคคีธรรม ของนายณรงค์ วงศ์วรรณ ได้รับเลือกตั้งมาเป็นลำดับหนึ่ง แต่ถูกขึ้นบัญชีดำผู้ค้ายาเสพย์ติดจากสหรัฐอเมริกา
· 7 เมษายน - พล.อ.สุจินดา คราประยูร ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
· 8 เมษายน - ร.ต.ฉลาด วรฉัตร เริ่มอดอาหารประท้วงวันแรก
· 17 เมษายน - มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่
· 20 เมษายน - พรรคฝ่ายค้านเริ่มการปราศรัยที่ลานพระบรมรูปทรงม้า
· 4 พฤษภาคม - พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เริ่มอดอาหารประท้วงวันแรก
· 6 พฤษภาคม - พล.อ.สุจินดา แถลงนโยบายต่อรัฐสภา แต่พรรคฝ่ายค้านไม่เข้าร่วม ขณะเดียวกันบริเวณหน้ารัฐสภามีผู้ชุมนุมร่วมประท้วง จนต้องมีการปิดประชุมโดยกระทันหัน
· 8 พฤษภาคม - พล.อ.สุจินดา แถลงถึงเหตุผลที่ต้องมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
· 9 พฤษภาคม - นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภาประสานให้พรรคร่วมรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านร่วมกันตกลงว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญบางประการ และ พล.ต.จำลอง ประกาศเลิกอดอาหาร แต่ต่อมาพรรคร่วมรัฐบาลได้ปฏิเสธการแก้ไขรัฐธรรมนูญในภายหลัง
· 11 พฤษภาคม - พล.ต.จำลอง ประกาศสลายการชุมนุมและประกาศชุมนุมใหม่อีกครั้งในวันที่ 17 พฤษภาคม
· 17 พฤษภาคม - รัฐบาลจัดคอนเสิร์ตต้านภัยแล้งสกัดม็อบที่สนามกีฬากองทัพบกและวงเวียนใหญ่ โดยขนรถสุขาของกรุงเทพ ฯ มาไว้ที่นี่หมด ช่วงเที่ยงคืนเริ่มเกิดการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมกับทหาร ต่อเนื่องถึงเช้าวันที่ 18 พฤษภาคม
· 18 พฤษภาคม - ก่อนรุ่งสาง รัฐบาลเริ่มจัดการกับผู้ชุมนุมอย่างรุนแรงและประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เวลาบ่าย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และผู้ชุมนุมบางส่วนถูกจับกุม
· 19 พฤษภาคม - กลุ่มผู้ชุมนุมที่ไม่ได้ถูกจับกุมย้ายสถานที่ชุมนุมไปที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง
· 20 พฤษภาคม - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งให้ผู้นำทั้งสองฝ่าย คือ พล.อ.สุจินดา และ พล.ต.จำลอง เข้าเฝ้า โดยผู้ที่นำเข้าเฝ้าคือ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
· 24 พฤษภาคม - พล.อ.สุจินดา และ พล.ต.จำลอง แถลงการณ์ร่วมกันผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยและ พล.อ.สุจินดาได้ลาออกและประกาศยุบสภา
· 10 มิถุนายน - นายอานันท์ ปันยารชุน กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
· 13 กันยายน - มีการเลือกตั้งใหญ่ทั่วทั้งประเทศ พรรคประชาธิปัตย์ได้รับคะแนนเสียงมาเป็นลำดับหนึ่ง นายชวน หลีกภัย ได้เป็นนายกรัฐมนตรี
เก็บตก ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬนี้นอกจากเสียสัตย์เพื่อชาติแล้ว ยังเป็นที่มาของฉายาในสภา มีดโกนอาบน้ำผึ้งของคุณชวน หลีกภัย มีเรื่องราวมากมายเช่นไอ้แหลมวิทยุป่วนทหาร พรรคเทพ-พรรคมาร ม็อบมือถือ ม็อบมอเตอร์ไซค์ รวมไปถึงศิลปะข้างกำแพงที่พ่นต่อต้านรัฐบาลขณะนั้นมากมาย ตามหน้าสื่อโทรทัศน์กับวิทยุถูกรัฐบาลควบคุมไว้ได้หมด แต่สื่อทางหน้าหนังสือพิมพ์กลับรายงานโดยไม่กลัวการคุกคามจากรัฐแต่อย่างใด ตามร้านขายวีดีโอในเขตชุมชนต่างๆเปิดคลิปเหตุการณ์การชุมนุมให้ผู้คนสัญจรได้ดู ไทยมุงยืนดูให้ความสนใจเป็นจำนวนมากเพราะหาดูไม่ได้จากสื่อช่องหลัก
จบก่อนละกันครับ เอาเท่านี้พอ วันนี้ครับ
ห้องเพลงคนรากหญ้าเปิดขึ้นมามีวัตถุประสงค์ เพื่อ
1. มีพื้นที่ให้เพื่อนๆ ได้มาพบปะ พูดคุยระหว่างกัน ในภาวะที่ต้องระมัดระวังการโพสการเมืองอย่างเคร่งครัด
2. เป็นพื้นที่ พักผ่อน ลดความเครียดทางการเมือง ให้เพื่อนๆ มีกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกัน
3. สร้างมิตรภาพและความปรองดอง ซึ่งเราหวังให้สังคมไทยเป็นเช่นนี้ แม้นคิดต่างกัน แต่เมื่อคุยกันแล้วก็เป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม
กระทู้ห้องเพลงเป็นกระทู้เปิด มิได้ปิดกั้นผู้หนึ่งผู้ใด "ขอให้มาดี เราคือเพื่อนกัน" ซึ่งก็เหมือนกับกระทู้ทั่วไป ที่เราไม่จำเป็นต้องทราบว่า User ท่านไหนเป็นใครมาจากไหน ...ดังนั้น หากมีบุคคลใดที่มีการโพสสิ่งผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดีของสังคมนั้น หรือสิ่งรบกวนใดๆ ในบอร์ด เป็นเรื่องส่วนบุคคล ทางห้องเพลงจึงขอแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น....
ประชาธิปไตย - คาราบาว (คลิป by ทาซาน)
ขอบพระคุณ
https://www.youtube.com/watch?v=H2AMkgADlbY
Free4thai news Station
https://th-th.facebook.com/free4thai/posts/401877753333090
http://www.soccersuck.com/boards/topic/937914