มองตนให้เป็น ตอน ใจ คืออะไร มีหน้าที่อะไร มีลักษณะอย่างไร ?

มองตนให้เป็น ตอน ใจ คืออะไร มีหน้าที่อะไร มีลักษณะอย่างไร ? โดยหลวงพ่อทัตตชีโว

ใจ ทำงานประสานกับประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ถ้าใจผ่องใส
การรับรู้ผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น และการสัมผัสทางกาย ย่อมเลือกรับแต่สิ่งที่ดี
จึงรักจะคิดแต่สิ่งดี ๆ แล้วสั่งกายให้พูดดี - ทำดี ตามมา ก่อให้เกิดบุญ - ความสุขขึ้นได้ทันที
อ่านรายละเอียดได้ที่ http://winne.ws/n21956


ทำอย่างไร ? จึงจะมองหาตนเป็น เห็นตนชัด พัฒนาตนได้ มีตนเป็นที่พึ่งที่แสนปลอดภัย
ทั้งตนและคนรอบข้างต่างสุขทั้งกายใจ เพราะต่างได้ที่พึ่งตนของตนตลอดกาล
นี่คือที่มาของ มองตนให้เป็น

องค์ประกอบของชีวิต มนุษย์ขณะมีชีวิต ประกอบด้วย กาย ใจ กิเลส ธรรม

         ใจ เป็นธาตุละเอียด ชนิดหนึ่ง มีอำนาจในการรู้ จึงรู้เรื่องราวต่าง ๆ ได้ เช่น รู้ธรรม รู้จักดีชั่ว รู้จักดีใจเสียใจ รู้จักเพื่อน ฯลฯ

         ใจ มีลักษณะเป็นดวงกลม ปกติจะผ่องใส มีความสว่างอยู่ภายใน ตาธรรมดาของมนุษย์จะมองไม่เห็น แต่จะเห็นได้ด้วยตาทิพย์

         ใจ มีปกติชอบเที่ยว เที่ยวไปได้ไกล ๆ ไปได้เร็วมาก

          ใจ ชอบคิด ช่างคิด เปลี่ยนเรื่องคิดเร็วมาก ห้ามคิดก็ยากมาก ถ้าไม่ฝึกให้สงบ ก็มักคิดในเรื่องไม่ควรคิด ซึ่งจะนำทุกข์มาให้

          ใจ ทำหน้าที่ควบคุมกาย สั่งให้กายพูดและทำตามต้องการได้

          ใจ ทำงานประสานกับประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ถ้าใจผ่องใส การรับรู้ผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น
และการสัมผัสทางกาย ย่อมเลือกรับแต่สิ่งที่ดี จึงรักจะคิดแต่สิ่งดี ๆ แล้วสั่งกายให้พูดดี - ทำดี ตามมา
ก่อให้เกิดบุญ - ความสุขขึ้นได้ทันที

          ใจ ถ้ามีกิเลสจรเข้ามาจะขุ่นมัว จึงมักชอบรับรู้แต่สิ่งไม่ดีผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
การคิด - พูด - ทำต่าง ๆ จึงผิดพลาดตาม กลายเป็นกรรมชั่ว - เกิดบาป - เกิดทุกข์ แก่ผู้ทำตามมา

          ใจ ไม่เที่ยงและก็ไม่สูญ แต่มีการเกิด - ดับ ตลอดเวลา สัตว์โลกตายแล้วจึงยังต้องไปเกิดอีกตามกรรมที่ตนทำไว้
ใครชอบทำกรรมดี บุญย่อมนำไปเกิดในที่ดี ใครชอบทำกรรมชั่ว บาปย่อมนำไปเกิดในที่ทราม เป็นไปตามกฎแห่งกรรม


จากหนังสือ มองตนให้เป็น หน้า 12-13 โดย ทตฺตชีโว ภิกขุ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่