💰💗~มาลาริน~เคาะแล้วการขึ้นค่าแรงในรัฐบาลลุงตู่ใช้เวลานาน 7ชั่วโมง ผลออกมาเป็นที่พอใจดีกว่าครั้ง 300 บาทสมัยป้าปูมากค่ะ




17 ม.ค.61 -  เวลา 22.30  น.นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานประธานคณะกรรมการในคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 19  เปิดเผยถึงผลการพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำ หลังจากใช้เวลาในการหารือกันนานกว่า 7 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 16.00 น.ว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปเรื่องการปรับค่าจ้างขั้นต่ำตั้งแต่ 5-22 บาท โดยแบ่งเป็น 7 ระดับ

เป็นการปรับใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ นราธิวาส ยะลา และปัตตานี อัตราขั้นต่ำอยู่ที่ 308 บาท ระดับ

ปรับขึ้นจำนวน 22 จังหวัด ได้แก่ สิงห์บุรี ลำพูน สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร อุทัยธานี ศรีษะเกศ ตาก ชัยภูมิ อำนาจเจริญ แพร่ ราชบุรี ระนอง มหาสารคาม ชุมพร สตูลตรัง แม่ฮ่องสอน เชียงราย  ลำปาง นครศรีธรรมราช และหนองบัวลำภู อัตราขั้นต่ำอยู่ที่ 310 บาท

ปรับขึ้น 21 จังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด นครสวรรค์ พัทลุง อุตรดิตถ์ อุดรธานี นครพนม สุรินทร์ เพชรบุรี พิษณุ โลก เพชรบูรณ์ ชัยนาท เลย ยโสธร พะเยา บึงกาฬ กาญจนบุรี อ่างทอง สระแก้ว ประจวบคีรีขันธ์ บุรีรัมย์ และน่าน อัตราขั้นต่ำอยู่ที่ 315บาท

ปรับขึ้น 7 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสงคราม สกลนคร มุกดาหาร นครนายก กาฬสินธุ์ ปราจีนบุรี และจันทบุรี อัตราขั้นต่ำอยู่ที่ 318 บาท

ปรับขึ้น 14 จังหวัดได้แก่ อุบลราชธานี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา หนองคาย ลพบุรี ขอนแก่น กระบี่ นครราชสีมา พังงงาเชียงใหม่ สุพรรณบุรี สงขลา สุราษฎร์ธานี และตราด เป็นต้น อัตราอยู่ที่ 320 บาท
ปรับขึ้น 7 จังหวัด อาทิ กทม. นนทบุรี ฉะเฉิงเทราสมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี และนครปฐม เป็นต้นอัตราขั้นต่ำอยู่ที่ 325 บาท

ปรับขึ้น 3 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต ชลบุรี และระยอง อัตราขั้นต่ำอยู่ที่ 330 บาท โดยค่าเฉลี่ยทั้ง 77 จังหวัดโดยมีการปรับค่าแรงต่ำสุด 5 บาท และสูงสุด 22 บาท ซึ่งค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 315.97 บาท

http://www.thaipost.net/main/detail/1272


ทั้งนี้จะมีการนำข้อสรุปดังกล่าวเสนอให้ รมว.แรงงาน พิจารณาภายในวันที่ 18 มกราคม และคาดว่าจะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบได้ภายในสัปดาห์หน้า เพื่อให้มีผลบังคับในวันที่ 1 เมษายน 2561 โดยไม่มีผลย้อนหลัง เนื่องจากไม่ต้องการให้นายจ้างได้รับผลกระทบ ในขณะเดียวกันลูกจ้างก็ปรับขึ้นค่าแรงซึ่งเป็นประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย

นายจรินทร์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังมีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ ให้สามารถใช้ค่าจ้างแรงงานไปลดหย่อนภาษีได้ 1.5 เท่า และในส่วนของสถานประกอบการที่มีลูกจ้างมากกว่า 50 คนขึ้นไป ให้มีการจัดทำโครงสร้างค่าจ้างให้ชัดเจนว่าแต่ละปีจะมีการปรับขึ้นท่าไหร่ เป็นการรับประกันว่าจะมีการปรับขึ้นค่าจ้างทุกปี ส่วนกระทรวงก็จะต้องไปแก้กฎหมายรองรับต่อไป

http://www.naewna.com/politic/315017


พบว่าผลการสำรวจของ เอแบคโพล เรื่อง เสียงสะท้อนของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และประชาชนต่อนโยบายค่าจ้าง 300 บาท และเงินเดือน 15,000 บาท

พบว่า เอสเอ็มอีส่วนมากหรือร้อยละ 86.7 ระบุได้รับผลกระทบมากจากการปรับค่าแรงขั้นต่ำ มีเพียงร้อยละ 13.3 เท่านั้นที่บอกว่ากระทบเล็กน้อย

แต่เรื่องที่น่าเป็นห่วง คือ ตัวอย่างเอสเอ็มอีจำนวนมาก หรือร้อยละ 85.5 ระบุรัฐบาลยังไม่มีความชัดเจนในมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาล และผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ร้อยละ 78

คิดว่านโยบายนี้เป็นนโยบายประชานิยมมุ่งเพียงการหาเสียงมากกว่า ขณะเดียวกันยังมีความเคลือบแคลงว่าจะเอาใจแต่บริษัทยักษ์ใหญ่เท่านั้น

นอกจากนี้ ร้อยละ 90.5 ระบุว่า การขึ้นค่าจ้างครั้งนี้ทำให้ราคาสินค้าและค่าบริการได้เพิ่มสูงไปก่อนหน้านี้แล้ว ร้อยละ 65.6 ระบุว่าต้นทุนนายจ้างเพิ่มสูงขึ้น ร้อยละ 60.8 ระบุว่า

คนงานถูกเลิกจ้าง ร้อยละ 55.8 ระบุว่า บริษัทและโรงงานขนาดเล็กจะปิดตัวลง และร้อยละ 1.5 ระบุว่า ต้องทำงานให้ได้มากขึ้น

แต่ความเป็นกังวลต่างๆนั้น ไม่ใช่เรื่องเกินเลย เพราะตอนนี้ หลายธุรกิจที่พยายามปรับตัวก็พบว่า ไม่ง่ายที่จะบริหารจัดการให้ลงตัว ทำให้ไม่นานมานี้ กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน ได้ออกหนังสือเวียนไปยังผู้ประกอบการต่างๆ สั่งห้ามไม่ให้มีการเซ็นชื่อไม่รับสิทธิรับค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท เพราะมีกระแสข่าวออกมาว่า บางสถานประกอบการ ให้ลูกจ้างเลือกเอาว่าจะรับค่าแรงวันละ 300 บาท โดยตัดสิทธิสวัสดิการต่างๆ อาทิ งดให้บริการรถรับส่ง ยกเลิกสวัสดิการอาหารกลางวัน ต้องจ่ายค่าเครื่องแบบเอง รวมทั้งลดการทำโอที ซึ่งส่วนใหญ่พบได้ตามลูกจ้างรายวันในโรงงานต่างๆ

https://money.sanook.com/2900/



อย่างไรก็ดี หากมองให้ลึกลงไป จะพบว่ามีแรงงานจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้รับประโยชน์จากนโยบาย ซึ่งเห็นได้จากการบังคับใช้กฎหมายที่ยังมีปัญหาอยู่มาก นอกจากนั้น การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในอัตราที่สูงมาก ๆ แบบฉับพลัน มีโอกาสเกิดผลเสีย โดยเฉพาะสำหรับภาคธุรกิจที่ไม่เข้มแข็งพอ ซึ่งงานวิจัยพบว่าส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดย่อม และ เอสเอ็มอี ในส่วนของแรงงาน เราพบว่ากลุ่มแรงงานที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยถูกเลิกจ้าง หรือถูกผลักไปสู่สภาพการทำงานที่แย่ลง และไม่ได้รับการคุ้มครองดูแลตามกฎหมาย คือกลุ่มแรงงานทักษะต่ำที่มีประสบการทำงานไม่มากนัก

งานศึกษานี้ยังชี้ให้เห็นด้วยว่า หากเรามองผลกระทบของนโยบายจากตัวเลขอัตราการว่างงานเพียงอย่างเดียว เราจะสรุปแบบผิด ๆ ว่านโยบายนี้ไม่มีผลทำให้คนตกงาน แต่ในความเป็นจริงนั้น มีแรงงานจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานหนุ่มสาวที่มีทักษะต่ำ ที่ต้องออกจากกำลังแรงงานไปเนื่องจากนโยบายนี้

https://thaipublica.org/2016/11/pier-14/



"ทีดีอาร์ไอ" กล่าวว่า...

"นอกจากนี้แล้วมีการคาดการณ์ว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอาจส่งผลให้หลายธุรกิจต้องปิดกิจการหรือย้ายฐานการผลิตไปสู่ประเทศอื่น ๆ อันจะนำไปสู่การลดลงของความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน"

นโยบายหาเสียงจากนักการเมืองก็มีผลเสียอย่างนี้เองค่ะ...😖😖😖


มาเห็นรัฐบาลนี้ทำงานแตกต่างกันมากเลยนะคะ...😉😉😉

ชื่นชมค่ะ..


ยินดีกับแรงงานทุกท่านนะคะ...💐💐💐

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่