จากสภาพปัญหาที่พบว่าเราจะต้องสูญเสียเงินจาการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ การกระทำผิดวินัยของข้าราชการ การสร้างเครือข่ายผู้มีอิทธิพลในวงราชการ นับวัน เม็ดเงินดังกล่าวยิ่งสูงขึ้นทุกปี และสิ่งที่ตกเป็นข่าวก็มักจะเห็นข้าราชการ มักเป็นข้าราชโกง เพิ่มมากยิ่งขึ้น อันนี้เราควรหาวิธีปรับแก้ร่วมกันให้ดีกว่านี้
แต่ที่สงสัยก็คือ ทำไมข้าราชการาชจึงกลายเป็นข้าราชโกงได้ บางที่อาจเพราะเราไม่มีการสอบเข้ารับการศึกษาในวิชาข้าราชการโดยตรง หรืออาจเพราะหลักสูตรทางการศึกษาไม่ได้ให้ความสำคัญกับระบบข้าราชการ จึงกลายเป็นเรื่องที่ยากจะกำหนดคุณภาพข้าราชการไทยได้ เวลาจบมาก็มาสอบ สอบผ่านก็เข้ามารับราชการ แต่อุดมการณ์ ทักษะในการปฏิบัติงาน เครือข่ายในการนำความรู้มาแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า หรือการวางแผนในการปฏิบัติราชการอย่างเป็นระบบยังไม่มี ยิ่งปัจจุบัน มักจะพบว่า ระบบราชการที่ควรมีความกระชับรัดกุม รวมเร็ว แต่กลับต้องผ่านกฏหมายหลายมาตรา และไม่มีระบบสารสนเทศในการบริหารจัดการการใช้กฏหมายให้รวดเร็วตรงไปตรงมา และสามารถกำหนดวิธีปฏิบัติราชการให้เป็นไปตามที่กฏหมายกำหนดได้ แต่มักนำคำว่า โดยดุจพินิจของเจ้าหน้าที่มายกให้อยู่เหนือกฏหมายที่กำหนดเป็นลายลักษณ์อักษร
........................
จากสภาพปัญหาที่เฝ้ามองดู คิดว่า ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราควรชี้มูลแห่งปัญหา โดยเฉพาะ คำถามที่อาจเป็นเบาะแสที่สำคัญในการทำให้ข้าราชการ กลายเป็นข้าราชโกง ระบบเส้นสายเพื่อการทุจริตคอมรัปชั่นเป็นเหมือนโยงใยแมงมุมในระบบราชการไทยจนยากจะแยกออกได้ ก็เพราะ การยุบโรงเรียนข้าราชการ ที่พระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ ๕ ทรงพระราชทานไว้ใช้เป็นแนวทางในการฝึกหัดข้าราชการให้ทำงานต่างพระเนตรต่างพระกรรณ แล้วอ้างว่าได้ยกวิทยฐานะเป็นมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์แล้ว ซึ่งหากกลับมองว่า การยุบโรงเรียนข้าราชการ เป็นสิ่งที่ในหลวงรัชกาลที่ ๖ ทรงมีพระราชวินิจฉัยในเรื่องนี้ นั้นก็คือ การยกวิทยฐานะให้เป็นมหาวิทยาลัย เพื่อให้พสกนิกรสามารถเข้ารับการศึกษาได้ แต่การยุบหลักสูตรการศึกษาที่ให้ความรู้ถึงการเป็นข้าราชการเช่น คณะรัฐประสานศาสตร์ในช่วงสมัยหลังการปฏิวัติรัฐประหาร 2475 นั้น ที่มีการกราบบังคบทูลให้ยกเลิกคณะนี้เสีย โดยอ้างว่า เพราะมีนักศึกษาที่ให้ความสนใจน้อย ประกอบกับจบมาแล้วก็ทำงานในตำแหน่งที่ต่ำต่อยนั้น ก็อาจเป็นเพราะต้องการเป็นทางไปสู่การเสริมสร้างความรู้ในการบริหารผลประโยชน์ของกลุ่มการเมืองสมัยใหม่ในยุคนั้นมากกว่า (อันนี้ก็ขอใช้ความคิดเห็นส่วนตัวมาวิพากษ์วิจารณ์)
อาจเพราะด้วยความเชื่อว่า คณะผู้ก่อการในปี 2475 นั้น มุ่งหวังว่าจะริบรอนพระราชอำนาจของกษัตริย์ (พระเจ้าแผ่นดินในรัชกาลที่ ๙ แห่งกรุงสยาม) โดยเฉพาะการออกกฏหมายเวรยามให้ข้าราชการประจำเวรยาม เพื่อป้องกันเหตุการจราจล ในช่วงหลักปฏิวัติรัฐประหาร 2475 นั้น สะท้อนความขาดเขลาที่อ้างประชาธิปไตยเพื่อการยึดอำนาจพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะกฏหมายเวรยามดังกล่าว ไม่ได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการในปัจจุบันเลย ซ้ำยังเป็นการขัดหลักมนุษยธรรม การใช้แรงงาน อีกด้วย สะท้อนถึงวิสัยทัศน์ของผู้ก่อการปฏิวัติรัฐประหารในยุคนั้นว่ากฏขี่ข้าราชการ เพียงเพราะเห็นว่าข้าราชการเป็นเบี้ยล่างของพวกตนแล้วก็เท่านั้น
----------------
แต่อย่างไรก็ดี ก็อยากให้โรงเรียนข้าราชการถือกำเนิดขึ้นมาใหม่ เพราะทหารตำรวจหมอพยาบาลก็ยังมีโรงเรียน ขนาดโรงเรียนกีฬายังมีได้ ทำไมโรงเรียนข้าราชการจึงมีไม่ได้ ทั้งๆ ที่ข้าราชการคือกลไกที่จะช่วยงานราชการต่างพระเนตรต่างพระกรรณ ซึ่งหากรัฐไม่ให้ความสำคัญในการฝึกหัดข้าราชการให้พร้อมรับราชการ ซ้ำยังไม่จัดหลักสูตรระบบราชการในหลักสูตรทางการศึกษาทั่วไปของชาติ ให้ประชาชนได้ตระหนัก และเข้าใจกลไกดังกล่าวอย่างเท่าเทียม ก็อาจเป็นช่วงโหว่ที่ประชาชนจะถูกหลอกใช้เป็นเครื่องมือในการซื้อสิทธิขายเสียง และเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการฉ้อราษฎร์บังหลวงในวงการราชการเรื่อยไปยากจะแก้ไข จนชาวบ้านเชื่อว่า "ไม่มีใครเขาไม่โกงกันหรอก มีแค่ว่าโกงมากหรือโกงน้อย โกงแล้วจับได้ หรือไม่ได้ก็แค่นั้น"
ดังนั้นก็หวังว่า หากเรามีการรื้อฟื้นโรงเรียนข้าราชการขึ้นมาใหม่ หรือจัดหลักสูตรระบบราชการในทุกระดับให้มีการเรียนการสอนกันตั้งแต่ชั้นประถมวัย จนถึงชั้นปริญญา ให้เป็นแก่นในการเรียนรู้ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับระบบบราชการได้อย่างถูกต้องเป็นธรรม ก็คงเป็นอานิสงค์ในการเลือกตั้งให้ได้คนดีมีความสามารถ มายิ่งขึ้นๆ
ทำไมเราไม่รื้อฟื้นโรงเรียนข้าราชการขึ้นมาใหม่ หรือจัดหลักสูตรระบบราชการในโรงเรียนทั่วไป
แต่ที่สงสัยก็คือ ทำไมข้าราชการาชจึงกลายเป็นข้าราชโกงได้ บางที่อาจเพราะเราไม่มีการสอบเข้ารับการศึกษาในวิชาข้าราชการโดยตรง หรืออาจเพราะหลักสูตรทางการศึกษาไม่ได้ให้ความสำคัญกับระบบข้าราชการ จึงกลายเป็นเรื่องที่ยากจะกำหนดคุณภาพข้าราชการไทยได้ เวลาจบมาก็มาสอบ สอบผ่านก็เข้ามารับราชการ แต่อุดมการณ์ ทักษะในการปฏิบัติงาน เครือข่ายในการนำความรู้มาแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า หรือการวางแผนในการปฏิบัติราชการอย่างเป็นระบบยังไม่มี ยิ่งปัจจุบัน มักจะพบว่า ระบบราชการที่ควรมีความกระชับรัดกุม รวมเร็ว แต่กลับต้องผ่านกฏหมายหลายมาตรา และไม่มีระบบสารสนเทศในการบริหารจัดการการใช้กฏหมายให้รวดเร็วตรงไปตรงมา และสามารถกำหนดวิธีปฏิบัติราชการให้เป็นไปตามที่กฏหมายกำหนดได้ แต่มักนำคำว่า โดยดุจพินิจของเจ้าหน้าที่มายกให้อยู่เหนือกฏหมายที่กำหนดเป็นลายลักษณ์อักษร
........................
จากสภาพปัญหาที่เฝ้ามองดู คิดว่า ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราควรชี้มูลแห่งปัญหา โดยเฉพาะ คำถามที่อาจเป็นเบาะแสที่สำคัญในการทำให้ข้าราชการ กลายเป็นข้าราชโกง ระบบเส้นสายเพื่อการทุจริตคอมรัปชั่นเป็นเหมือนโยงใยแมงมุมในระบบราชการไทยจนยากจะแยกออกได้ ก็เพราะ การยุบโรงเรียนข้าราชการ ที่พระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ ๕ ทรงพระราชทานไว้ใช้เป็นแนวทางในการฝึกหัดข้าราชการให้ทำงานต่างพระเนตรต่างพระกรรณ แล้วอ้างว่าได้ยกวิทยฐานะเป็นมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์แล้ว ซึ่งหากกลับมองว่า การยุบโรงเรียนข้าราชการ เป็นสิ่งที่ในหลวงรัชกาลที่ ๖ ทรงมีพระราชวินิจฉัยในเรื่องนี้ นั้นก็คือ การยกวิทยฐานะให้เป็นมหาวิทยาลัย เพื่อให้พสกนิกรสามารถเข้ารับการศึกษาได้ แต่การยุบหลักสูตรการศึกษาที่ให้ความรู้ถึงการเป็นข้าราชการเช่น คณะรัฐประสานศาสตร์ในช่วงสมัยหลังการปฏิวัติรัฐประหาร 2475 นั้น ที่มีการกราบบังคบทูลให้ยกเลิกคณะนี้เสีย โดยอ้างว่า เพราะมีนักศึกษาที่ให้ความสนใจน้อย ประกอบกับจบมาแล้วก็ทำงานในตำแหน่งที่ต่ำต่อยนั้น ก็อาจเป็นเพราะต้องการเป็นทางไปสู่การเสริมสร้างความรู้ในการบริหารผลประโยชน์ของกลุ่มการเมืองสมัยใหม่ในยุคนั้นมากกว่า (อันนี้ก็ขอใช้ความคิดเห็นส่วนตัวมาวิพากษ์วิจารณ์)
อาจเพราะด้วยความเชื่อว่า คณะผู้ก่อการในปี 2475 นั้น มุ่งหวังว่าจะริบรอนพระราชอำนาจของกษัตริย์ (พระเจ้าแผ่นดินในรัชกาลที่ ๙ แห่งกรุงสยาม) โดยเฉพาะการออกกฏหมายเวรยามให้ข้าราชการประจำเวรยาม เพื่อป้องกันเหตุการจราจล ในช่วงหลักปฏิวัติรัฐประหาร 2475 นั้น สะท้อนความขาดเขลาที่อ้างประชาธิปไตยเพื่อการยึดอำนาจพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะกฏหมายเวรยามดังกล่าว ไม่ได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการในปัจจุบันเลย ซ้ำยังเป็นการขัดหลักมนุษยธรรม การใช้แรงงาน อีกด้วย สะท้อนถึงวิสัยทัศน์ของผู้ก่อการปฏิวัติรัฐประหารในยุคนั้นว่ากฏขี่ข้าราชการ เพียงเพราะเห็นว่าข้าราชการเป็นเบี้ยล่างของพวกตนแล้วก็เท่านั้น
----------------
แต่อย่างไรก็ดี ก็อยากให้โรงเรียนข้าราชการถือกำเนิดขึ้นมาใหม่ เพราะทหารตำรวจหมอพยาบาลก็ยังมีโรงเรียน ขนาดโรงเรียนกีฬายังมีได้ ทำไมโรงเรียนข้าราชการจึงมีไม่ได้ ทั้งๆ ที่ข้าราชการคือกลไกที่จะช่วยงานราชการต่างพระเนตรต่างพระกรรณ ซึ่งหากรัฐไม่ให้ความสำคัญในการฝึกหัดข้าราชการให้พร้อมรับราชการ ซ้ำยังไม่จัดหลักสูตรระบบราชการในหลักสูตรทางการศึกษาทั่วไปของชาติ ให้ประชาชนได้ตระหนัก และเข้าใจกลไกดังกล่าวอย่างเท่าเทียม ก็อาจเป็นช่วงโหว่ที่ประชาชนจะถูกหลอกใช้เป็นเครื่องมือในการซื้อสิทธิขายเสียง และเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการฉ้อราษฎร์บังหลวงในวงการราชการเรื่อยไปยากจะแก้ไข จนชาวบ้านเชื่อว่า "ไม่มีใครเขาไม่โกงกันหรอก มีแค่ว่าโกงมากหรือโกงน้อย โกงแล้วจับได้ หรือไม่ได้ก็แค่นั้น"
ดังนั้นก็หวังว่า หากเรามีการรื้อฟื้นโรงเรียนข้าราชการขึ้นมาใหม่ หรือจัดหลักสูตรระบบราชการในทุกระดับให้มีการเรียนการสอนกันตั้งแต่ชั้นประถมวัย จนถึงชั้นปริญญา ให้เป็นแก่นในการเรียนรู้ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับระบบบราชการได้อย่างถูกต้องเป็นธรรม ก็คงเป็นอานิสงค์ในการเลือกตั้งให้ได้คนดีมีความสามารถ มายิ่งขึ้นๆ