วัยเด็ก...ของข้าพเจ้า... ลูกแมวหน้าโรงหนังลุง

วัยเด็ก...ของข้าพเจ้า... ประสบการณ์ตามวัยที่ข้าพเจ้าได้รับ

การปล่อยให้เด็กหาประสบการณ์ตามวัยในท้องถิ่นที่เขาอยู่มันทำให้เขาได้เรียนรู้ประสบการณ์ตามวัย


"ครั้งหนึ่งยามฤดูฝนแรกมาเยือนการผุดของหน่อไม้

(หน่อไม้ไผ่ เด็กชายบ้านนอก บ้านอยู่ชายคลองที่มีต้นกำเนิดจากเทือกเขานครศรีฯ ในเขต อ.ลานสกา อยากให้มา

ถึงวันเสาร์ โดยเร็ว เพราะนั้นคือการได้มาซึ่งสตางค์ที่จะได้นำไปซื้อยางวงมาเล่นเป่ากบ และของเล่นส่วนใหญ่จะเป็น นูยาง (หนังสติก) )


เมื่อเช้าวันเสาร์มาถึง กระสอบปุ๋ยหนึ่งลูก เสียมหนึ่งอัน บางครั้งก็ได้พร้าไป เพราะหาเสียม ไม่พบ ถ้าจะหาอยู่ก็ไม่ทันเพื่อน

(รู้จักใช้สิ่งของทดแทน เมื่อไม่มีขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, รู้จักการวางแผน การจัดเก็บเครื่องใช้)

เดินทางไกลออกจากบ้านไปไม่น้อยกว่า 3 กม. เริ่มต้นจากก่อไม้ไผ่ริมคลอง ที่เคยเข้าไปหาแล้วได้เยอะ

(เรียนรู้ว่าไม่มีสิ่งใดได้มาง่าย ๆ ,จดจำจากประสบการณ์ที่ทำมาจากครั้งก่อน ๆ)

เดินดูหน่อไม้ไผ่ที่อยู่บนดิน และที่ขึ้นเป็นลำความสูงไม่เกินหัวหรือสูงกว่านั้น ก็จะตัดเอาส่วนยอดซึ่งยังอ่อน ส่วนที่โผล่

พ้นดินขึ้นมานิดหน่อย ก็ต้องลงมือขุด ลงไป เพื่อให้ถึงส่วนที่แตกออกมาจากกอ ซึ่งก็ต้องเริ่มแทงตรงส่วนนั้น

จำได้ครั้งแรก ๆ ที่ไปหาจะแทงหน่อไม้ไผ่อ่อนกว่าเพื่อน ๆ มาขาย ซึ่งจะไม่ได้น้ำหนัก และได้จำนวนน้อย ต่อมาก็เริ่มเรียนรู้มากขึ้น...

(การเรียนรู้จากเพื่อนวัยเดียวกันที่ได้จากการลงมือทำ)



ครั้งหนึ่ง ไปหาหน่อไม้กับเพื่อน ไปถึงก่อนเพื่อนที่ไปด้วยกัน ทำเครื่องหมายหน่อไม้ที่เห็นก่อนไว้ ว่าตนเองจอง แล้วก็เดินรอบก่อไผ่แบบลวก ๆ

ไม่ยอมเขี่ยใบไม้ไผ่ออกดู เพื่อหาดูว่าหน่อไม้ไผ่ที่เพิ่ง จะแทงดินขึ้นมามีอีกหรือไม่

“หน่อไม้ไผ่ เริ่มแทงหน่อ กาบหน่อไม้จะเริ่มแทงพ้นหน้าดินขึ้นมาประมาณ 1 คืบ ถูกปกปิดด้วยใบไม้ไผ่ หรือบ้างครั้งจะใช้เสียมแตกลงไปในดิน

ที่มองเห็นหน้าดินแตก ถ้าได้ยินเสียงเสียมกระทบดัง “กึก” ก็จะลงมือขุดดูว่าเป็นหน่อไม้ไผ่หรือ หัวไผ่ “

(เรียนรู้การแยกแยะเรื่องเสียง และการตัดสินใจ บางครั้งการลงมือขุดจะสูญเปล่าไม่ได้อะไร )


เมื่อเพื่อนมาถึงก็ลงมือทำเขี่ยใบไม้ไผ่ เขี่ยไปเขี่ยมา และใช้เสียมแทงลงไปในดิน ทำทำมาได้มากกว่าผมที่ลงมือขุดหน่อไม้อยู่ และมาถึงก่อน

(เรียนรู้จากเพื่อนว่าคราวหลังต้องละเอียดและต้องดูให้ทุกซอกทุกมุม)



ที่เล่ามาทั้งหมดก็เพียงแต่อยากบอกว่าการทำงานในวัยเด็ก นั้นสำคัญมาก

เพราะมันคือประสบการณ์ที่เขาจะมีติดตัวไป ตลอดชีวิต

เด็กทุกวันนี้คงไม่เคยทำจานกินข้าวแตก เมื่อเขาไม่เคยทำจานข้าวแตกเขาจะรู้ได้อย่างไร ว่าการรักษาจานข้าวไม่ให้แตกนั้น เขาทำกันอย่างไร

ซึ่งหมายความรวมถึงสภาพจิตใจที่ต้องสำนึกผิด เมื่อคราวทำของเสียหาย ซึ่งจะต้องถูกพ่อแม่ตำหนิ หรือพ่อแม่บางคน ก็ดุด่า

แต่ในคำต่อว่านั้นมาพร้อมกับคำสอนวิธีการล้างจานไม่ให้แตก


“การทำผิดไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่การทำอย่างไร ไม่ให้ทำผิดนั้น เป็น เรื่องใหญ่กว่า”

ครั้งหนึ่งเคยอ่านหนังสือเจอบทความหนึ่ง เขียนไว้ว่า

การจะสอนให้เด็กรู้จักความสะอาดนั้น จักต้องให้เด็กรู้จักความสกปรกก่อน

..............

ในยุค รมต.ศึกษาหัวดี ยุค 4.0 เราคงเห็นเด็กบ้านนอกดูงานทำจรวด เด็กในเมืองดูงานทำนา-ตัดยาง

มันผิดฝาผิดตัวตั้งแต่รมต.แหล้วพี่น้องเห้อ

..............
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่