การออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์ ทำได้ไหม??

สวัสดีครับ นี่เป็นกระทู้แรกของผมเลยที่จะมาเขียนแนวนี้ ถ้ามีอะไรผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยนะครับ คือปกติผมเขียนแต่แนวท่องเที่ยว และเครื่องบิน แต่อยากลองมาเขียนแนวนี้ดูบ้าง เพราะอุตส่าห์ หาข้อมูลมาเก็บไว้คนเดียวคงเสียดายแย่เลย หากท่านใดพบข้อผิดพลาดโปรดแจ้งเลยนะครับ เพราะนี่เป็นการอ่านและแปลของเด็กน้อยคนหนึ่งเท่านั้นเอง 555

เรื่องมีอยู่ว่าพอดี ผมเห็นดาราหลายคนกำลังแต่งงานและตั้งท้องในช่วงนี้ ร่วมกับเทรนของการออกกำลังกายที่มาแรงมาก ซึ่งมีดาราหลายคนก็ถ่ายรูปอัพลง เฟสบุ๊ค อินสตาแกรม ว่าออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์อยู่ ผมจึงสงสัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงไปหาข้อมูลมาเพิ่มเติม เลยขออนุญาต นำมาแบ่งปันกันครับ

***โปรดใช้วิจารณญาณ ก่อนการเลื่อข้อมูลนะครับ ย้ำอีกรอบ!!! หากท่านใดพบข้อผิดพลาดโปรดแจ้งเลยนะครับ***

โดยข้อมูลนี้ทั้หมดนำมาจาก The American Congress Of Obstericians and Gynecologists (ACOG) ครับ

การออกกำลังที่แนะนำสำหรับหญิงตั้งครรภ์
การออกกำลังที่แนะนำสำหรับหญิงตั้งครรภ์นั้น คือ การออกกำลังกายที่มีความหนักระดับปานกลาง อย่างน้อย 20-30 นาทีต่อวัน อย่างน้อย 5-7 วันต่อสัปดาห์
กิจกรรมที่แนะนำ คือ
    การเดิน การวิ่งเหยาะๆ
    การว่ายน้ำ
    แอโรบิคชนิดลดการกระแทก

กิจกกรมที่ควรหลีกเลี่ยง คือ
    กีฬาที่มีการกระทบกระแทก เช่น ฟุตบอล ต่อยมวย บาสเกตบอล
    กีฬาที่มีโอกาสล้มสูง
    ดำน้ำ
    โยคะร้อน
ซึ่งการออกกำลังกายในหญิงตั้งครรภ์นั้น ควรระวังในเรื่องของอุณหภูมิร่างกายที่สูงเกินไป เพราะการจัดการความร้อนของร่างกายระหว่างการตั้งครรภ์นั้น ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม


ทารกได้รับผลอย่างไร เมื่อแม่ออกกำลังกาย?
    จากการศึกษา พบว่า ทารกในครรภ์จะมีอัตราการเต้นที่เพิ่มขึ้น  10-30 ครั้งต่อนาทีขณะมารดาออกกำลังกายจากอัตราการเต้นของหัวใจในช่วงเวลาปกติ ส่วนในเรื่องของน้ำหนักของทารกในครรภ์พบว่าไม่มีความแตกต่างเมื่อเทียบกับมารดาทั่วไป ยกเว้นในกรณีที่มารดาออกกำลังกายอย่างหนักในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์จะคลอดทารกที่น้ำหนักน้อยกว่าคนปกติ 200-400 กรัม แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นพัฒนาการต่ำกว่าปกติของทารกในครรภ์

ข้อดีของการออกกำลังกายระหว่างตั้งครรภ์
การออกกำลังกายแบบแอโรบิคระหว่างการตั้งครรภ์ จะช่วยให้สุขภาพกายแข็งแรง ซึ่งมีบางการศึกษาวิจัยพบว่ามีผลดีในการลดภาวะเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ ลดอาการครรภ์เป็นพิษ ลดการผ่าตัดคลอด ลดระยะเวลาฟื้นตัวหลังคลอด โดยการออกกำลังยังเป็นทางเลือกที่ดีในการลดอาการปวดหลัง รวมถึงเป็นการลดน้ำหนักของมารดาที่เพิ่มขึ้นในมารดาที่อ้วนอีกด้วย

คุณแม่ที่ห้ามออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์
1.โรคหัวใจรุนแรง
2.โรคพังผืดที่ปอด
3.ภาวะปากมดลูกหลวม
4.ครรภ์แฝดที่ความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด
5.เลือดออกทางช่องคลอด ในไตรมาสที่ 2-3
6.ภาสะรกเกาะต่ำ หลังอายุครรภ์สัปดาห์ที่ 26
7.เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
8.น้ำเดิน
9.ครรภ์เป็นพิษ หรือ โรคความดันขณะตั้งครรภ์
10.ภาวะโลหิตจางรุนแรง

คุณแม่ที่ไม่แนะนำออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์
1.ภาวะโลหิตจาง
2.โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
3.ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
4.น้ำหนักตัวมากเกินกำหนด หรือน้อยเกิน กำหนด
5.โรคความดันโลหิตสูงหรือ เบาหวานประเภทที่1 หรือ โรคลมชัก หรือโรคไทรอยด์ที่คุมได้ไม่ดี
6.โรคทางกระดูก
7.สูบบุหรี่จัด

สัญญาณอันตราย
     หากมีสัญาณเหล่านี้ควรหยุดออกกำลังกายทันที
1.มีเลือดออกทางช่องคลอด
2.มีอาการปวดท้อง ท้องแข็ง
3.มีน้ำคร่ำไหลออกมาจากช่องคลอด
4.มีอาการหอบเหนื่อย
5.ปวดหัว
6.รู้สึกหน้ามืดหรือเวียนหัว
ึ7.เจ็บแน่นหน้าอก
8.กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่สามารถทรงตัวได้
9.ปวดหรือบวมบริเวณน่องขา


Reference : https://m.acog.org/Resources-And-Publications/Committee-Opinions/Committee-on-Obstetric-Practice/Physical-Activity-and-Exercise-During-Pregnancy-and-the-Postpartum-Period?IsMobileSet=true
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่