การฝากครรภ์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณแม่ ไม่ว่าจะเป็นคุณแม่มือใหม่ หรือคุณแม่ที่ผ่านประสบการณ์มาแล้วก็ตาม เนื่องจากสูตินรีแพทย์จะเข้ามาช่วยในการดูแลสุขภาพให้กับคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกให้ปลอดภัยในทุก ๆ ด้าน เพื่อติดตามพัฒนาการของทารกในครรภ์ว่ามีการเจริญเติบโตตามปกติหรือไม่ มีภาวะแทรกซ้อนหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นหรือไม่ และเพื่อให้ได้รับคำแนะนำในการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี
การฝากครรภ์ควรฝากกับสูตินรีแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ เพื่อตรวจประเมินปัจจัยเสี่ยง และทำการรักษาได้อย่างทันท่วงทีหากมีภาวะที่อาจส่งผลต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์
เตรียมตัวอย่างไรก่อนไปฝากครรภ์
สำหรับการเตรียมตัวในการฝากครรภ์ ควรเตรียมเอกสารต่าง ๆ ให้พร้อมตั้งแต่เริ่มต้น เช่น การจดบันทึกเกี่ยวกับสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์ ประวัติทางการแพทย์ของคนในครอบครัวที่เกี่ยวข้องกับโรคต่าง ๆ ไปจนถึงประวัติการตั้งครรภ์ของผู้ตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็น
🔸ประวัติสุขภาพทั่วไป ได้แก่ น้ำหนัก ส่วนสูง ความดันโลหิต ประจำเดือนครั้งสุดท้าย
🔸ประวัติการคุมกำเนิด การตั้งครรภ์ การคลอด การแท้งบุตร และภาวะตกเลือด
🔸อาการแพ้ท้อง หากมีอาการแพ้ท้องระหว่างตั้งครรภ์ ควรแจ้งให้สูตินรีแพทย์ทราบว่ามีอาการอย่างไรบ้าง
🔸ประวัติการฉีดวัคซีน โดยเฉพาะวัคซีนป้องกันหัดเยอรมัน วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี และวัคซีนป้องกันบาดทะยัก
🔸ประวัติการใช้ยา
🔸ประวัติการแพ้ยา โดยเฉพาะประวัติการแพ้ยาชา ยาปฏิชีวนะต่าง ๆ เพื่อให้แพทย์หลีกเลี่ยงการใช้
🔸ประวัติอุบัติเหตุ โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่กระทบบริเวณอุ้งเชิงกรานและอวัยวะเพศ
🔸ประวัติการผ่าตัด เช่น การผ่าตัดมดลูก ปากมดลูก ช่องคลอด เพื่อให้สูตินรีแพทย์ระมัดระวังและดูแลระหว่างการคลอด
🔸ประวัติความเจ็บป่วยของคุณแม่ตั้งครรภ์และคนในครอบครัว โดยเฉพาะญาติทางตรงของฝั่งผู้ตั้งครรภ์ เนื่องจากมีโรคและความเจ็บป่วยบางชนิดที่อาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์ได้ เช่น โรคทางพันธุกรรม ลูกแฝด ไปจนถึงความพิการตั้งแต่กำเนิด เป็นต้น
เอกสารอะไรบ้างที่ต้องใช้
🔸 บัตรประชาชนของคุณแม่และคุณพ่อ
🔸 ประวัติการเจ็บป่วย การแพ้ยา การคลอดลูก โรคประจำตัว ความเสี่ยงต่อโรคทางพันธุกรรม และการรับวัคซีน (ถ้ามี)
🔸 สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก หรือใบฝากครรภ์ (นำไปทุกครั้งที่มีนัดฝากครรภ์)
คำถามสำคัญที่ห้ามลืมถามสำหรับพ่อแม่มือใหม่
เมื่อไปพบสูตินรีแพทย์ที่ดูแลครรภ์ โดยเฉพาะในครั้งแรก ควรที่จะต้องสอบถามรายละเอียดต่าง ๆ ให้ครบถ้วน เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ สามารถดูแลสุขภาพได้อย่างดีระหว่างตั้งครรภ์ เช่น
🔸 กำหนดคลอดคือเมื่อไหร่ และวิธีการคลอด เพื่อวางแผนและเตรียมตัวใหม่เหมาะสม
🔸 อาหารการกิน ควรกินอะไร หรือห้ามกินอะไรบ้าง เนื่องจากสุขภาพและน้ำหนักของทารกจะขึ้นอยู่กับอาหารของคุณแม่
🔸 ยาชนิดใดเป็นอันตรายต่อเด็ก เนื่องจากยาบางชนิดอาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องสอบถามสูตินรีแพทย์ทุกครั้ง แม้จะเป็นยาที่ใช้ประจำก็ตาม
🔸 สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในระหว่างการตั้งครรภ์
🔸 รูปแบบการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับช่วงสัปดาห์ของครรภ์
🔸 นัดตรวจครรภ์ครั้งต่อไปเมื่อไหร่
🔸 ต้องตรวจอัลตราซาวนด์หรือไม่ โดยส่วนใหญ่แล้วคุณหมอจะแนะนำให้ตรวจอัลตราซาวนด์ร่วมด้วย เพื่อดูการเจริญเติบโตของทารก และกำหนดอายุครรภ์ได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น
🔸 สิทธิและสวัสดิการที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ตั้งครรภ์ เช่น ค่าลดหย่อนในการตรวจครรภ์ การออกใบรับรองแพทย์ เป็นต้น
🔸 มีเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์สุขภาพสตรี
โทร. 02-734-0000 ต่อ 3200, 3204
เตรียมตัวฝากครรภ์อย่างไรให้ไร้กังวล
การฝากครรภ์ควรฝากกับสูตินรีแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ เพื่อตรวจประเมินปัจจัยเสี่ยง และทำการรักษาได้อย่างทันท่วงทีหากมีภาวะที่อาจส่งผลต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์
เตรียมตัวอย่างไรก่อนไปฝากครรภ์
สำหรับการเตรียมตัวในการฝากครรภ์ ควรเตรียมเอกสารต่าง ๆ ให้พร้อมตั้งแต่เริ่มต้น เช่น การจดบันทึกเกี่ยวกับสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์ ประวัติทางการแพทย์ของคนในครอบครัวที่เกี่ยวข้องกับโรคต่าง ๆ ไปจนถึงประวัติการตั้งครรภ์ของผู้ตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็น
🔸ประวัติสุขภาพทั่วไป ได้แก่ น้ำหนัก ส่วนสูง ความดันโลหิต ประจำเดือนครั้งสุดท้าย
🔸ประวัติการคุมกำเนิด การตั้งครรภ์ การคลอด การแท้งบุตร และภาวะตกเลือด
🔸อาการแพ้ท้อง หากมีอาการแพ้ท้องระหว่างตั้งครรภ์ ควรแจ้งให้สูตินรีแพทย์ทราบว่ามีอาการอย่างไรบ้าง
🔸ประวัติการฉีดวัคซีน โดยเฉพาะวัคซีนป้องกันหัดเยอรมัน วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี และวัคซีนป้องกันบาดทะยัก
🔸ประวัติการใช้ยา
🔸ประวัติการแพ้ยา โดยเฉพาะประวัติการแพ้ยาชา ยาปฏิชีวนะต่าง ๆ เพื่อให้แพทย์หลีกเลี่ยงการใช้
🔸ประวัติอุบัติเหตุ โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่กระทบบริเวณอุ้งเชิงกรานและอวัยวะเพศ
🔸ประวัติการผ่าตัด เช่น การผ่าตัดมดลูก ปากมดลูก ช่องคลอด เพื่อให้สูตินรีแพทย์ระมัดระวังและดูแลระหว่างการคลอด
🔸ประวัติความเจ็บป่วยของคุณแม่ตั้งครรภ์และคนในครอบครัว โดยเฉพาะญาติทางตรงของฝั่งผู้ตั้งครรภ์ เนื่องจากมีโรคและความเจ็บป่วยบางชนิดที่อาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์ได้ เช่น โรคทางพันธุกรรม ลูกแฝด ไปจนถึงความพิการตั้งแต่กำเนิด เป็นต้น
เอกสารอะไรบ้างที่ต้องใช้
🔸 บัตรประชาชนของคุณแม่และคุณพ่อ
🔸 ประวัติการเจ็บป่วย การแพ้ยา การคลอดลูก โรคประจำตัว ความเสี่ยงต่อโรคทางพันธุกรรม และการรับวัคซีน (ถ้ามี)
🔸 สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก หรือใบฝากครรภ์ (นำไปทุกครั้งที่มีนัดฝากครรภ์)
คำถามสำคัญที่ห้ามลืมถามสำหรับพ่อแม่มือใหม่
เมื่อไปพบสูตินรีแพทย์ที่ดูแลครรภ์ โดยเฉพาะในครั้งแรก ควรที่จะต้องสอบถามรายละเอียดต่าง ๆ ให้ครบถ้วน เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ สามารถดูแลสุขภาพได้อย่างดีระหว่างตั้งครรภ์ เช่น
🔸 กำหนดคลอดคือเมื่อไหร่ และวิธีการคลอด เพื่อวางแผนและเตรียมตัวใหม่เหมาะสม
🔸 อาหารการกิน ควรกินอะไร หรือห้ามกินอะไรบ้าง เนื่องจากสุขภาพและน้ำหนักของทารกจะขึ้นอยู่กับอาหารของคุณแม่
🔸 ยาชนิดใดเป็นอันตรายต่อเด็ก เนื่องจากยาบางชนิดอาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องสอบถามสูตินรีแพทย์ทุกครั้ง แม้จะเป็นยาที่ใช้ประจำก็ตาม
🔸 สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในระหว่างการตั้งครรภ์
🔸 รูปแบบการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับช่วงสัปดาห์ของครรภ์
🔸 นัดตรวจครรภ์ครั้งต่อไปเมื่อไหร่
🔸 ต้องตรวจอัลตราซาวนด์หรือไม่ โดยส่วนใหญ่แล้วคุณหมอจะแนะนำให้ตรวจอัลตราซาวนด์ร่วมด้วย เพื่อดูการเจริญเติบโตของทารก และกำหนดอายุครรภ์ได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น
🔸 สิทธิและสวัสดิการที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ตั้งครรภ์ เช่น ค่าลดหย่อนในการตรวจครรภ์ การออกใบรับรองแพทย์ เป็นต้น
🔸 มีเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้