“ตั้งครรภ์อุ่นใจ” ด้วยการตรวจอัลตราซาวนด์

“ตั้งครรภ์อุ่นใจ” ด้วยการตรวจอัลตราซาวนด์
หลังจากคุณแม่ทราบว่าเริ่มตั้งครรภ์ และได้ฝากครรภ์กับสูติ-นรีแพทย์แล้ว การตรวจอัลตราซาวนด์ในแต่ละไตรมาส ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ช่วยวินิจฉัยภาวะผิดปกติ และตรวจพัฒนาการของทารกในครรภ์ โดยการตรวจอัลตราซาวนด์ในแต่ละไตรมาสของการตั้งครรภ์ มีความสำคัญแตกต่างกันออกไป ซึ่ง พญ.จิตรนพิน ดุลยเกษม สูติ-นรีแพทย์ เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ ได้อธิบายถึงความสำคัญของการตรวจอัลตราซาวนด์ของแต่ละไตรมาส ดังนี้

การอัลตราซาวนด์ไตรมาสที่ 1
- ยืนยันการตั้งครรภ์
- ตรวจตำแหน่งการตั้งครรภ์
- ตรวจเช็คอายุครรภ์
- ตรวจสัญญาณชีพของทารก
- ตรวจความผิดปกติทางโครงสร้างขั้นต้นของทารก
- การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม
- ตรวจความผิดปกติของมดลูกและปีกมดลูก

การอัลตราซาวด์ไตรมาสที่ 2
ทารกในครรภ์เจริญเติบโตเพียงพอในการตรวจความสมบูรณ์ของอวัยวะ รวมถึงตรวจหาความพิการแต่กำเนิดบางส่วน โดยคุณแม่ควรตรวจอัลตราซาวนด์อย่างละเอียด ที่เรียกว่า Anomaly Scan ในช่วงอายุครรภ์ที่เหมาะสมคือ 18-24 สัปดาห์
- ตรวจความพิการทางโครงสร้างของทารก
- ตรวจความสมบูรณ์ของโครงสร้างศีรษะและโครงสร้างสมอง
- ตรวจความสมบูรณ์ของอวัยวะบนใบหน้า
- ตรวจความสมบูรณ์ของอวัยวะในช่องอก
- ตรวจความสมบูรณ์ของอวัยวะในช่องท้อง
- ตรวจความสมบูรณ์ของรูปทรงแขนขา
- ตรวจความสมบูรณ์ของกระดูกสันหลังและพื้นผิว
- ตรวจดูเพศของทารก
การอัลตราซาวนด์ไตรมาสที่ 3 
 ตรวจหาความพิการแต่กำเนิดบางส่วน ที่อาจพบได้ในไตรมาสสุดท้าย ตลอดจนตรวจดูการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนคลอด
- ตรวจการเจริญเติบโตของทารก
- ตรวจตำแหน่งและลักษณะของรก
- ตรวจความผิดปกติที่เกิดขึ้นช่วงหลังของการตั้งครรภ์
- การตรวจหลอดเลือดแบบพิเศษ (เฉพาะกรณีสงสัยการเจริญเติบโตผิดปกติ)
- ตรวจวัดปริมาณน้ำคร่ำ
แม้การตั้งครรภ์ จะเป็นมหัศจรรย์แห่งชีวิตที่เติมเต็มความสุขของทุกคนในครอบครัว แต่ทุกการตั้งครรภ์ย่อมมีความเสี่ยงต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ จึงควรฝากครรภ์ทันที่ที่ทราบว่าตั้งครรภ์ ตรวจครรภ์ตามนัดทุกครั้ง ตรวจอัลตราซาวนด์ รวมถึงรับการตรวจพิเศษอื่น ๆ ตามคำแนะนำของสูติ-นรีแพทย์ เพื่อการดูแลอย่างเหมาะสมตามอายุของครรภ์ เพราะหัวใจสำคัญคือความต้องการให้ลูกน้อยในครรภ์เติบโตและมีพัฒนาการที่แข็งแรงสมบูรณ์

บทความโดย พญ. จิตรนพิน ดุลยเกษม สูติ-นรีแพทย์ เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์


แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่