คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 20
เพจนี้ให้ความเห็นชัดเจนและเป็นประโยชน์มากๆครับ
เครดิต : Wattana Stock Page
https://www.facebook.com/wattana.stock.page/posts/733496250178493
DTAC - รอเซ็นสัญญาปีหน้า
28 ธ.ค. 2560 / 13.00 น.
กสทช โอเคกับ DTAC ในการเข้าทำสัญญากับ TOT บนคลื่น 2300 แต่ว่ายังต้องรอผ่านความเห็นชอบจากอีก 3 หน่วยงาน ซึ่งการเซ็นสัญญาก็คงต้องเป็นปีหน้า
ราคาหุ้น DTAC ดีดตัวกลับขึ้นมาถึงระดับ 50 บาท ในเช้าวันนี้ แต่จะยืนได้หรือไม่คงต้องรอดูสภาพตลาดในช่วงบ่ายประกอบด้วย
ถามว่า การได้คลื่น 2300 มาจะมีประโยชน์อย่างไร
คลื่น 2300 ที่ได้มานั้น อยู่บนเงื่อนไขว่าให้บริการได้เฉพาะด้าน data พูดง่ายๆก็คือเอามาให้ทำ 4G นั่นล่ะ ไม่อนุญาตให้ใช้งานด้านเสียง
ดังนั้น การใช้งานด้านเสียง DTAC จำเป็นจะต้องโรมมิ่งกลับไปใช้คลื่นเดิมของตนเองอยู่ดี ซึ่งถ้าไม่นับคลื่น 1800 และ 900 ที่จะหมดสัมปทาน ก็จะเหลือเพียงคลื่น 2100
หลายคนบอกว่า การได้คลื่น 2300 มานั้นจะทำให้ DTAC มีความจำเป็นในการเข้าประมูลคลื่น 1800 น้อยลง ?? แต่จะเป็นเช่นนั้นจริงหรือ
ถ้าเป็นเช่นนั้นหมายความว่า DTAC จะต้องให้บริการ 4G บนคลื่น 2300 และบริการ 3G บนคลื่น 2100 เท่านั้น
คลื่น 2300 เป็นคลื่นที่มีความถี่สูง แต่ความยาวคลื่นสั้น ทำให้ส่งสัญญาณได้ไม่ไกล ไม่ได้เหมาะกับการนำไปใช้งานในพื่นที่ห่างไกล เพราะเสาสัญญาณจะต้องวางถี่มาก และอาจไม่คุ้มค่ากับจำนวนผู้ใช้บริการในพื้นที่ห่างไกล
แต่หากเลือกที่จะไม่บริการ 4G ในพื้นที่ห่างไกล DTAC ก็จะเสียเปรียบคู่แข่งที่ปัจจุบันพัฒนา 4G บนคลื่น 1800 บนพื้นฐานของใบอนุญาตกันไปแล้ว
โดยส่วนตัวเชื่อว่า ยังไงเสีย DTAC ก็จำเป็นต้องประมูลคลื่น 1800 กลับมาให้ได้ 1 slot และนำมาให้บริการ 4G ควบคู่กันไป โดยเช่าอุปกรณ์ต่างๆกลับมาจาก CAT ซึ่งเป็นคู่สัมปทานเดิม
ส่วนคลื่น 2300 คาดว่าน่าจะใช้เฉพาะในเขตเมือง หรือเขตที่มีผู้ใช้บริการหนาแน่นเท่านั้น
นอกจากนั้นประเด็นเรื่องมือถือที่รองรับก็ยังคงเป็นปัญหาเช่นกัน เพราะมือถือรุ่นเก่าที่ออกมาเกินกว่า 2 - 3 ปี บางรุ่นไม่สามารถรองรับคลื่น 2300 ได้
มีคนกล่าวว่า DTAC เหมือนจะโกงที่ได้คลื่น 2300 มาโดยไม่ต้องประมูล อันนี้จะว่า DTAC ก็ไม่ได้ เพราะว่ามติของ กสทช เองที่พิจารณาว่าให้คลื่น 2300 ยังคงเป็นของ TOT ไปจนถึงปี 2568
ทำให้ TOT สามารถนำคลื่นที่ตนเองมีอยู่ออกมาทำประโยชน์ได้
แต่อย่าลืมนะว่า อายุของสัญญาจะสิ้นสุดเพียงวันที่ 3 ส.ค. 2568 เท่านั้น ไม่ได้ยาวนานเหมือนคลื่น 1800
ซึ่งจากที่สอบถามจากนักวิเคราะห์ก็บอกว่า ต้นทุนของคลื่น 2300 นั้น แพงกว่าการประมูลใบอนุญาต 1800
หากสัญญาคลื่น 2300 เซ็นกันก่อนการประมูลคลื่น 1800 อาจทำให้คู่แข่งบางรายตัดสินใจไม่ร่วมประมูลคลื่น 1800 ก็เป็นได้ โดยเฉพาะ AIS ที่ออกมาแบ่งรับแบ่งสู้ว่าราคามันแพงเกินไป (จริงๆมันก็ราคาเดียวกับครั้งที่แล้วอ่ะนะ)
หรือ TRUE เองที่จะว่าไปคลื่นในมือก็มีล้นเหลืออยู่แล้ว ถ้าเทียบกับจำนวนลูกค้าปัจจุบัน
แต่เดี๋ยวก่อน ทาง กสทช ได้บอกว่าจะใช้ ม.44 ผ่อนผันเรื่องการจ่ายเงินค่าคลื่นที่ AIS กับ TRUE จะต้องจ่าย โดยให้แบ่งจ่ายเป็นงวดๆ อันนี้ก็จะทำให้ภาระทางการเงินผ่อนคลายลง
จะว่าไปก็รู้สึกแปลกๆนะ ตอนแรกเบรกเรื่อง DTAC เอาไว้ แต่พออนุมัติเรื่อง DTAC ปุ๊บ ก็เปลี่ยนเงื่อนไขการชำระเงินให้ AIS กับ TRUE ด้วย อืมมม จะให้คิดว่าไงดีล่ะ
สำหรับการให้บริการ 5G ในอนาคตนั้น สะสมคลื่นไปตอนนี้ก็ไม่ได้ประโยชน์ เพราะว่า consensus ของทั่วโลกที่เริ่มวางแผน 5G กันแล้วนั้น เลือกที่จะใช้คลื่นความถี่สูงกว่านี้ในการพัฒนา 5G เท่ากับว่า ถ้าต่อไปบ้านเราจะเริ่มพัฒนา 5G จริง คลื่นที่ผู้ให้บริการมีอยู่ในมือขณะนี้ หากคิดจะทำจริง ก็สามารถเอามาทำได้
นั่นเพราะบางประเทศที่อยู่ใจช่วง "ทดลอง" 5G เขาก็ใช้คลื่นเดิมๆนี่ล่ะ แต่ว่าท้ายที่สุด หากต้องการได้ประสิทธิภาพที่เต็มที่จริงๆ จะเลือกใช้คลื่นที่มีความถี่สูงมาก บ้านเราก็คงต้องรอประมูลกันใหม่ ซึ่งช่วงคลื่นที่จะใช้ในการพัฒนา 5G นั้นมีการกำหนดคร่าวๆกันเอาไว้แล้ว สนใจก็เข้าไปหาข้อมูลในอากู๋ได้ครับ
credit : Wattana Stock Page
เครดิต : Wattana Stock Page
https://www.facebook.com/wattana.stock.page/posts/733496250178493
DTAC - รอเซ็นสัญญาปีหน้า
28 ธ.ค. 2560 / 13.00 น.
กสทช โอเคกับ DTAC ในการเข้าทำสัญญากับ TOT บนคลื่น 2300 แต่ว่ายังต้องรอผ่านความเห็นชอบจากอีก 3 หน่วยงาน ซึ่งการเซ็นสัญญาก็คงต้องเป็นปีหน้า
ราคาหุ้น DTAC ดีดตัวกลับขึ้นมาถึงระดับ 50 บาท ในเช้าวันนี้ แต่จะยืนได้หรือไม่คงต้องรอดูสภาพตลาดในช่วงบ่ายประกอบด้วย
ถามว่า การได้คลื่น 2300 มาจะมีประโยชน์อย่างไร
คลื่น 2300 ที่ได้มานั้น อยู่บนเงื่อนไขว่าให้บริการได้เฉพาะด้าน data พูดง่ายๆก็คือเอามาให้ทำ 4G นั่นล่ะ ไม่อนุญาตให้ใช้งานด้านเสียง
ดังนั้น การใช้งานด้านเสียง DTAC จำเป็นจะต้องโรมมิ่งกลับไปใช้คลื่นเดิมของตนเองอยู่ดี ซึ่งถ้าไม่นับคลื่น 1800 และ 900 ที่จะหมดสัมปทาน ก็จะเหลือเพียงคลื่น 2100
หลายคนบอกว่า การได้คลื่น 2300 มานั้นจะทำให้ DTAC มีความจำเป็นในการเข้าประมูลคลื่น 1800 น้อยลง ?? แต่จะเป็นเช่นนั้นจริงหรือ
ถ้าเป็นเช่นนั้นหมายความว่า DTAC จะต้องให้บริการ 4G บนคลื่น 2300 และบริการ 3G บนคลื่น 2100 เท่านั้น
คลื่น 2300 เป็นคลื่นที่มีความถี่สูง แต่ความยาวคลื่นสั้น ทำให้ส่งสัญญาณได้ไม่ไกล ไม่ได้เหมาะกับการนำไปใช้งานในพื่นที่ห่างไกล เพราะเสาสัญญาณจะต้องวางถี่มาก และอาจไม่คุ้มค่ากับจำนวนผู้ใช้บริการในพื้นที่ห่างไกล
แต่หากเลือกที่จะไม่บริการ 4G ในพื้นที่ห่างไกล DTAC ก็จะเสียเปรียบคู่แข่งที่ปัจจุบันพัฒนา 4G บนคลื่น 1800 บนพื้นฐานของใบอนุญาตกันไปแล้ว
โดยส่วนตัวเชื่อว่า ยังไงเสีย DTAC ก็จำเป็นต้องประมูลคลื่น 1800 กลับมาให้ได้ 1 slot และนำมาให้บริการ 4G ควบคู่กันไป โดยเช่าอุปกรณ์ต่างๆกลับมาจาก CAT ซึ่งเป็นคู่สัมปทานเดิม
ส่วนคลื่น 2300 คาดว่าน่าจะใช้เฉพาะในเขตเมือง หรือเขตที่มีผู้ใช้บริการหนาแน่นเท่านั้น
นอกจากนั้นประเด็นเรื่องมือถือที่รองรับก็ยังคงเป็นปัญหาเช่นกัน เพราะมือถือรุ่นเก่าที่ออกมาเกินกว่า 2 - 3 ปี บางรุ่นไม่สามารถรองรับคลื่น 2300 ได้
มีคนกล่าวว่า DTAC เหมือนจะโกงที่ได้คลื่น 2300 มาโดยไม่ต้องประมูล อันนี้จะว่า DTAC ก็ไม่ได้ เพราะว่ามติของ กสทช เองที่พิจารณาว่าให้คลื่น 2300 ยังคงเป็นของ TOT ไปจนถึงปี 2568
ทำให้ TOT สามารถนำคลื่นที่ตนเองมีอยู่ออกมาทำประโยชน์ได้
แต่อย่าลืมนะว่า อายุของสัญญาจะสิ้นสุดเพียงวันที่ 3 ส.ค. 2568 เท่านั้น ไม่ได้ยาวนานเหมือนคลื่น 1800
ซึ่งจากที่สอบถามจากนักวิเคราะห์ก็บอกว่า ต้นทุนของคลื่น 2300 นั้น แพงกว่าการประมูลใบอนุญาต 1800
หากสัญญาคลื่น 2300 เซ็นกันก่อนการประมูลคลื่น 1800 อาจทำให้คู่แข่งบางรายตัดสินใจไม่ร่วมประมูลคลื่น 1800 ก็เป็นได้ โดยเฉพาะ AIS ที่ออกมาแบ่งรับแบ่งสู้ว่าราคามันแพงเกินไป (จริงๆมันก็ราคาเดียวกับครั้งที่แล้วอ่ะนะ)
หรือ TRUE เองที่จะว่าไปคลื่นในมือก็มีล้นเหลืออยู่แล้ว ถ้าเทียบกับจำนวนลูกค้าปัจจุบัน
แต่เดี๋ยวก่อน ทาง กสทช ได้บอกว่าจะใช้ ม.44 ผ่อนผันเรื่องการจ่ายเงินค่าคลื่นที่ AIS กับ TRUE จะต้องจ่าย โดยให้แบ่งจ่ายเป็นงวดๆ อันนี้ก็จะทำให้ภาระทางการเงินผ่อนคลายลง
จะว่าไปก็รู้สึกแปลกๆนะ ตอนแรกเบรกเรื่อง DTAC เอาไว้ แต่พออนุมัติเรื่อง DTAC ปุ๊บ ก็เปลี่ยนเงื่อนไขการชำระเงินให้ AIS กับ TRUE ด้วย อืมมม จะให้คิดว่าไงดีล่ะ
สำหรับการให้บริการ 5G ในอนาคตนั้น สะสมคลื่นไปตอนนี้ก็ไม่ได้ประโยชน์ เพราะว่า consensus ของทั่วโลกที่เริ่มวางแผน 5G กันแล้วนั้น เลือกที่จะใช้คลื่นความถี่สูงกว่านี้ในการพัฒนา 5G เท่ากับว่า ถ้าต่อไปบ้านเราจะเริ่มพัฒนา 5G จริง คลื่นที่ผู้ให้บริการมีอยู่ในมือขณะนี้ หากคิดจะทำจริง ก็สามารถเอามาทำได้
นั่นเพราะบางประเทศที่อยู่ใจช่วง "ทดลอง" 5G เขาก็ใช้คลื่นเดิมๆนี่ล่ะ แต่ว่าท้ายที่สุด หากต้องการได้ประสิทธิภาพที่เต็มที่จริงๆ จะเลือกใช้คลื่นที่มีความถี่สูงมาก บ้านเราก็คงต้องรอประมูลกันใหม่ ซึ่งช่วงคลื่นที่จะใช้ในการพัฒนา 5G นั้นมีการกำหนดคร่าวๆกันเอาไว้แล้ว สนใจก็เข้าไปหาข้อมูลในอากู๋ได้ครับ
credit : Wattana Stock Page
แสดงความคิดเห็น
อะไรคือความได้เปรียบเมื่อ Dtac ได้ทำคลื่น 2300 Mhz ร่วมกับ TOT
มีผลทำให้ราคาหนูดี วันนี้พุ่งกระฉูด กันเลยที่เดียว
เนื้อหาที่มาข่าวตามนี้
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า ความรู้เกี่ยวกับคลื่นความถี่ผม ยังงูๆปลาๆ ใครมีความรู้ที่ถูกต้องมาแย้งได้ครับ
ปัจจุบันDtacและอีก 2 คู่แข่งได้ครอบครองคลื่นความถี่ตามนี้
สิ่งแรกที่ผมเห็นความได้เปรียบของ dtac คือ
1.การได้คลื่น 2300 ทำให้ความกังวลในการหมดคลื่น 1800 ที่จะหมดปีหน้านี้ หมดไป
dtac สามารถให้บริการลูกค้าได้ต่อทั้งลูกค้าเก่าและใหม่ในอนาคต
ตามรูปนี้จะเห็นว่าของ dtac หลังปี 2561 ไป dtac จะเหลือแค่คลื่น 2100 หากได้ 2300
ที่จะทำร่วมกับ TOT อยู่ จะเป็นอะไรที่ส่งเสริมกันมากๆในการทำเน็ตความเร็วสูงและทะลุทะลวงกว่ามาก
(แต่ส่งได้ไม่ไกล อันนี้ต้องขยายสถานีส่งเอาแบบถี่ๆเพิ่มขึ้น)
2.การได้ bandwidth ที่กว้าง 60 Mhz ที่จะทำร่วมกับ TOT ทำให้หากรวมกับ 2100 ที่ครอบครองอยู่ 15Mhz
ก็จะครอบครองร่วม 75 Mhz โดยที่ของเดิมตอนปัจจุบันนี้มี 50 Mhz เป็นอะไรที่เรียกว่าต่อลมหายใจ Dtac
และมีความได้เปรียบกับคู่แข่งรายอื่นได้อยู่ 1 ช่วงตัว (ถ้านับกันเฉพาะความกว้างความถี่นะ)
ซึ่ง ณ ตอนนี้ Ais มี 40 True มี 55 Mhz พิจารณาตามรูปนี้
3.การได้คลื่น 2300 นี่คือความได้เปรียบในเรื่องเทคโนโลยี ที่อนาคตจะเรียกว่า ยุค 4Gแท้ หรือเรียก 5G ก็ได้ด้วยเน็ตความเร็วสูง
นอกจากจะได้ทำในเทคโนยีที่สูงกว่าคู่แข่งแล้ว การทำร่วมกับ TOT ที่มีลูกค้าเน็ต Fiber2U แล้ว ก็มีโอกาส
อันดีมากๆในการไปทำเน็ต FiberOptic ได้อีก แน่นอนว่าเทคโนยีใหม่มันต้องลงทุนสูง และรอมือถือรองรับ
แต่หากนับกันในทางธุรกิจ การที่ได้ครอบครองโอกาสในเทคโนโลยีที่สูงกว่าเป็นอะไรที่เรียกว่า ได้เปรียบสูงกว่าอยู่แล้ว
ลองดูภาพวิวัฒนาการวงการมือถือ ตามภาพนี้นะครับ TOT กับ Dtac จับมือกันครอบครอง ความถี่สูง ที่รองรับอนาคตข้างหน้ากันเลย
เพื่อนชาวพันทิปท่านใด มีความเห็นอย่างไร ขอลงความเห็นและแลกเปลี่ยนความรู้กันครับ