เท่าที่ดูจากเหตุการณ์ตอนนี้ dtac ก็ลงทุนกับคลื่น 2300 พอสมควร ตั้งเป้าทำ massive mimo บนคลื่น 2300 มากกว่า 3,000 สถานีฐานขึ้นไป เข้าใจว่าที่ทำนี่ก็เยอะแล้ว แต่ก็ยังไม่สุด ถ้าทำให้สุดก็คงมีสถานีฐาน massive mimo เยอะกว่าบอกไว้ แต่ที่ทำเท่านี้เพราะคลื่น 2300 เป็นคลื่นของ tot ที่จะหมดอายุสัมปทานในปี 68 เหลือเวลาประมาณ 5 ปีเท่านั้นที่จะต้องประมูลใหม่
Dtac คงไม่อยากจะลงทุนกับ 2300 อย่างเต็มที่ เพราะเกรงว่าถ้า 5 ปีข้างหน้าไม่สามารถประมูลคลื่น 2300 กลับมาได้ ก็จะเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่าเท่าไรนัก
เรื่องความคุ้มค่านี้ก็ต้องมาดูเงื่อนไขการประมูลในปี 68 ก่อนว่า ในปีนั้นมีคลื่นอะไรที่ต้องประมูลบ้าง
คลื่นที่จะออกประมูล ได้แก่
2100 ais&tot จำนวน 15 mhz หมดอายุปี 68
2300 dtac&tot จำนวน 60 mhz หมดอายุปี 68
850 true&cat จำนวน 10 mhz หมดอายุปี 68
เมื่อคลื่นที่กล่าวมาหมดอายุแล้ว ก็จะทำให้คลื่นที่มีมาประมูลมีหลายคลื่นให้เลือก แต่ละค่ายยังไงก็ต้องเล็งคลื่นที่ตัวเองเคยใช้งานไว้ก่อนอยู่แล้ว เพราะยังไงก็มีฐานลูกค้าเดิมอยู่ในคลื่นนั้น
ภาพการประมูลในปี 68 ที่ออกมา ก็น่าจะเป็นในลักษณะนี้
ais ได้คลื่น 2100 เดิมจำนวน 15 mhz ที่เคยใช้งานในสัมปทาน tot
dtac ได้คลื่น 2300 เดิมจำนวน 60 mhz ที่เคยใช้งานในสัมปทาน tot
true และ nt(cat&tot) ได้คลื่น 850 แบ่งกันไปเจ้าละ 5 mhz
เนื่องจากคลื่น 850 มีอยู่ 10 mhz ถ้าเอามาประมูล 10 mhz ก็คงจะมีราคาสูง ส่งผลให้อาจไม่มีใครเอาคล้าย 1800 ปี 61 ที่กสทช.เอามาประมูลทีเดียว 15 mhz ราคา 37,000 ล้าน สุดท้ายไม่มีใครเข้าประมูล ต้องเอามาซอยใบละ 5 mhz ถึงมีผู้ยอมเข้าประมูล
กรณีของ true กับ nt ในอีก 5 ปีข้างหน้าก็น่าจะคล้ายๆประมูล 1800 ปี 61 นั่นแหละ เอามา 10 mhz เต็มผืน ก็ไม่น่ามีใครเข้าประมูล จากการพิจารณาสถานะทางการเงินของทั้ง 2 ค่ายและจากทรัพยากรคลื่นที่มีอยู่ในขณะนี้
ตอนนี้ true มีคลื่น 700/900 อยู่อย่างละ 10 mhz ความจำเป็นที่จะต้องใช้ 850 ให้เต็มผืน 10 mhz มีน้อยลง
ส่วน nt(cat&tot ในอนาคต)มีคลื่น 700 แล้ว ความต้องการ 850 เต็มผืน 10 mhz ก็ลดลง แถมก่อนที่จะได้ประมูล 850 ในอีก 5 ปีข้างหน้า ก็น่าจะมีคลื่น 1800/3500 มาให้ประมูลอีก ซึ่งเป็นคลื่นที่มีความสำคัญในยุค 5G
ทาง nt ก็น่าจะหมดเงินก้อนใหญ่ไปในคลื่น 1800/3500 mhz ไม่น่าจะมาประมูล 850 ได้เต็มผืน 10 mhz หรอก น่าจะประมูลได้แค่ 5 mhz มารองรับฐานลูกค้าเก่า เอาไว้รองรับ voice และเน็ต 3G เท่านั้น
หากกสทช.ตั้งราคา 850 ให้เหมาะสม true,nt ก็คงเอา 850 เจ้าละ 5 mhz อย่างแน่นอน
การประมูลปี 68 ก็น่าจะมีแค่ 4 เจ้า เพราะคิดว่าภาครัฐคงไม่ไปหาบริษัทอะไรมาประมูลใหม่ ในช่วงเวลาที่ทาง nt พึ่งจะก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาได้ ต้องรอให้ nt ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจมีความมั่นคงซักระยะนึงก่อน ประคองตัวได้ในตลาดจริงๆก่อน ถึงค่อยหารายใหม่ที่มาเข้าประมูลได้
เพราะฉะนั้น คลื่น 2300 dtac ดูแล้วไม่น่ากังวลเท่าไร น่าจะตั้งเป้าขยาย massive mimo ให้ได้มากกว่านี้ซัก 2-3 เท่าของเป้าหมายเดิม
ส่วนเรื่องคลื่น 900 ถ้าติดตั้งยากลำบากนัก ก็พอมีหนทางออกอย่างอื่นอยู่ ก็คือขอศาลให้ยื้อ 850 ออกไปก่อน ถ้ายื้อได้เต็มที่ก็คงถึงปี 68 แล้วจ่ายค่าเยียวยาไป และขยาย 2G 1800 ที่มีระยะส่งสัญญาณประมาณ 7 กิโลซึ่งใกล้เคียงกับ 3G 900 ซัก 5,000-6,000 สถานีฐาน แค่นี้ก็น่าจะอุดช่องโหว่ของ voice ได้ทั่วประเทศแล้ว เพราะของเดิมมี 850 อยู่ราว 13,000 สถานีฐาน 1800 อยู่ราว 11,000 สถานีฐาน ก็เพิ่ม 2G 1800 ไปอีกไม่มาก voice ของ dtac ก็จะสมบูรณ์
ส่วน data ก็ให้ 700 ทำหน้าที่ไป เป็นทั้ง 4G/5G data ของ dtac ก็จะครอบคลุมทั่วประเทศด้วยคลื่น 700 นี่แหละ
แล้วเรื่องคลื่น 3500 ถามว่าจำเป็นไหมที่จะต้องรีบประมูล อันนี้ส่วนตัวคิดว่า ให้ดูวิวัฒนาการของคลื่น 28 Ghz ก่อนว่า จะสามารถทำโครงข่ายคลื่นนี้ได้ครอบคลุมขนาดไหน ถ้าพัฒนาการทางเทคโนโลยีของคลื่น 28 Ghz ไปได้ดีภายใน 1-2 ปีนี้ ก็จะเป็นการลดความสำคัญของคลื่น 3500 mhz ลงไปได้ เพราะคลื่น 28 Ghz ที่ประมูลได้มีถึง 200 mhz ถือเป็นจำนวนที่มากพอสมควรอยู่ ก็ให้รอดูต่อไป เพราะคลื่น mmwave นี้ก็ถูกต่อยอดให้พัฒนาไปยัง 6G ด้วย น่าจะได้เห็นอะไรดีๆในคลื่น 28 Ghz อีกพอสมควร
ครั้งแรกของโลก 5G ทะลุกกระจกได้ ไม่ต้องติดอุปกรณ์เสริม ญี่ปุ่น รับ-ส่งคลื่น 28 GHz เทคนิค Transparent Dynamic Metasurface
http://www.adslthailand.com/post/6359
Dtac นี่น่าทำ massive mimo 2300 ซักหมื่นเสาขึ้นไป 2300 คงประมูลคืนไม่ยาก และทำ 2G 1800 เยอะๆด้วย
Dtac คงไม่อยากจะลงทุนกับ 2300 อย่างเต็มที่ เพราะเกรงว่าถ้า 5 ปีข้างหน้าไม่สามารถประมูลคลื่น 2300 กลับมาได้ ก็จะเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่าเท่าไรนัก
เรื่องความคุ้มค่านี้ก็ต้องมาดูเงื่อนไขการประมูลในปี 68 ก่อนว่า ในปีนั้นมีคลื่นอะไรที่ต้องประมูลบ้าง
คลื่นที่จะออกประมูล ได้แก่
2100 ais&tot จำนวน 15 mhz หมดอายุปี 68
2300 dtac&tot จำนวน 60 mhz หมดอายุปี 68
850 true&cat จำนวน 10 mhz หมดอายุปี 68
เมื่อคลื่นที่กล่าวมาหมดอายุแล้ว ก็จะทำให้คลื่นที่มีมาประมูลมีหลายคลื่นให้เลือก แต่ละค่ายยังไงก็ต้องเล็งคลื่นที่ตัวเองเคยใช้งานไว้ก่อนอยู่แล้ว เพราะยังไงก็มีฐานลูกค้าเดิมอยู่ในคลื่นนั้น
ภาพการประมูลในปี 68 ที่ออกมา ก็น่าจะเป็นในลักษณะนี้
ais ได้คลื่น 2100 เดิมจำนวน 15 mhz ที่เคยใช้งานในสัมปทาน tot
dtac ได้คลื่น 2300 เดิมจำนวน 60 mhz ที่เคยใช้งานในสัมปทาน tot
true และ nt(cat&tot) ได้คลื่น 850 แบ่งกันไปเจ้าละ 5 mhz
เนื่องจากคลื่น 850 มีอยู่ 10 mhz ถ้าเอามาประมูล 10 mhz ก็คงจะมีราคาสูง ส่งผลให้อาจไม่มีใครเอาคล้าย 1800 ปี 61 ที่กสทช.เอามาประมูลทีเดียว 15 mhz ราคา 37,000 ล้าน สุดท้ายไม่มีใครเข้าประมูล ต้องเอามาซอยใบละ 5 mhz ถึงมีผู้ยอมเข้าประมูล
กรณีของ true กับ nt ในอีก 5 ปีข้างหน้าก็น่าจะคล้ายๆประมูล 1800 ปี 61 นั่นแหละ เอามา 10 mhz เต็มผืน ก็ไม่น่ามีใครเข้าประมูล จากการพิจารณาสถานะทางการเงินของทั้ง 2 ค่ายและจากทรัพยากรคลื่นที่มีอยู่ในขณะนี้
ตอนนี้ true มีคลื่น 700/900 อยู่อย่างละ 10 mhz ความจำเป็นที่จะต้องใช้ 850 ให้เต็มผืน 10 mhz มีน้อยลง
ส่วน nt(cat&tot ในอนาคต)มีคลื่น 700 แล้ว ความต้องการ 850 เต็มผืน 10 mhz ก็ลดลง แถมก่อนที่จะได้ประมูล 850 ในอีก 5 ปีข้างหน้า ก็น่าจะมีคลื่น 1800/3500 มาให้ประมูลอีก ซึ่งเป็นคลื่นที่มีความสำคัญในยุค 5G
ทาง nt ก็น่าจะหมดเงินก้อนใหญ่ไปในคลื่น 1800/3500 mhz ไม่น่าจะมาประมูล 850 ได้เต็มผืน 10 mhz หรอก น่าจะประมูลได้แค่ 5 mhz มารองรับฐานลูกค้าเก่า เอาไว้รองรับ voice และเน็ต 3G เท่านั้น
หากกสทช.ตั้งราคา 850 ให้เหมาะสม true,nt ก็คงเอา 850 เจ้าละ 5 mhz อย่างแน่นอน
การประมูลปี 68 ก็น่าจะมีแค่ 4 เจ้า เพราะคิดว่าภาครัฐคงไม่ไปหาบริษัทอะไรมาประมูลใหม่ ในช่วงเวลาที่ทาง nt พึ่งจะก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาได้ ต้องรอให้ nt ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจมีความมั่นคงซักระยะนึงก่อน ประคองตัวได้ในตลาดจริงๆก่อน ถึงค่อยหารายใหม่ที่มาเข้าประมูลได้
เพราะฉะนั้น คลื่น 2300 dtac ดูแล้วไม่น่ากังวลเท่าไร น่าจะตั้งเป้าขยาย massive mimo ให้ได้มากกว่านี้ซัก 2-3 เท่าของเป้าหมายเดิม
ส่วนเรื่องคลื่น 900 ถ้าติดตั้งยากลำบากนัก ก็พอมีหนทางออกอย่างอื่นอยู่ ก็คือขอศาลให้ยื้อ 850 ออกไปก่อน ถ้ายื้อได้เต็มที่ก็คงถึงปี 68 แล้วจ่ายค่าเยียวยาไป และขยาย 2G 1800 ที่มีระยะส่งสัญญาณประมาณ 7 กิโลซึ่งใกล้เคียงกับ 3G 900 ซัก 5,000-6,000 สถานีฐาน แค่นี้ก็น่าจะอุดช่องโหว่ของ voice ได้ทั่วประเทศแล้ว เพราะของเดิมมี 850 อยู่ราว 13,000 สถานีฐาน 1800 อยู่ราว 11,000 สถานีฐาน ก็เพิ่ม 2G 1800 ไปอีกไม่มาก voice ของ dtac ก็จะสมบูรณ์
ส่วน data ก็ให้ 700 ทำหน้าที่ไป เป็นทั้ง 4G/5G data ของ dtac ก็จะครอบคลุมทั่วประเทศด้วยคลื่น 700 นี่แหละ
แล้วเรื่องคลื่น 3500 ถามว่าจำเป็นไหมที่จะต้องรีบประมูล อันนี้ส่วนตัวคิดว่า ให้ดูวิวัฒนาการของคลื่น 28 Ghz ก่อนว่า จะสามารถทำโครงข่ายคลื่นนี้ได้ครอบคลุมขนาดไหน ถ้าพัฒนาการทางเทคโนโลยีของคลื่น 28 Ghz ไปได้ดีภายใน 1-2 ปีนี้ ก็จะเป็นการลดความสำคัญของคลื่น 3500 mhz ลงไปได้ เพราะคลื่น 28 Ghz ที่ประมูลได้มีถึง 200 mhz ถือเป็นจำนวนที่มากพอสมควรอยู่ ก็ให้รอดูต่อไป เพราะคลื่น mmwave นี้ก็ถูกต่อยอดให้พัฒนาไปยัง 6G ด้วย น่าจะได้เห็นอะไรดีๆในคลื่น 28 Ghz อีกพอสมควร
ครั้งแรกของโลก 5G ทะลุกกระจกได้ ไม่ต้องติดอุปกรณ์เสริม ญี่ปุ่น รับ-ส่งคลื่น 28 GHz เทคนิค Transparent Dynamic Metasurface
http://www.adslthailand.com/post/6359