"......โจเซฟ แคมป์เบล (นักวิชาการด้านศาสนาเปรียบเทียบและผู้เชี่ยวชาญด้านเทพปกรณัม ชาวอเมริกัน: วชรน) มีคำอธิบายที่สมเหตุสมผลว่ามายาคติของมนุษย์ที่ทำให้ต้องสวมหน้ากากของเทวะตลอดที่ยังมีชีวิตอยู่ เกิดจากรากเหง้าของจิตสำนึกนับแต่พัฒนาการลิงไพรเมตแล้ว ได้ตั้งอยู่บนการตระหนักว่า ปลายทางสุดท้ายของมนุษย์ไม่ใช่อมตภาพ (อ่านว่า อำ-มะ-ตะ-พาบ: วชรน) เลย
บนเส้นทางที่คดเคี้ยวไปสู่ความตาย มนุษย์จึงพยายามหลบหนี 2 สำคัญได้แก่การขาดแคลนทางวัตถุ และความทุกข์ทางจิต เครื่องมือและวิธีการที่ง่ายและสารพัดนึกซึ่งมนุษย์ทุกสังคมกระทำคือ สร้างมายาคติในรูปของนิทานไร้เวลาว่าด้วยเทพ ปีศาจ และวีรชน เพื่อทำหน้าที่เป็นหน้ากากาแห่งอมตภาพและความรุ่งโรจน์ เพ่อประยุกต์จิตสำนึกและภูมิปัญญาผ่านศิลปะและวัฒนธรรมต่างๆ เสมือนดนตรีของจิตวิญญาณ ให้ตนเองและคนรอบข้างมีกำลังใจต่อสู้เอาชนะกิเลสด้านมืดของตนเองจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
วิวัฒนาการของทุกยุคของหน้ากากแห่งจิตสำนึกภูมิปัญญา สรุปไดสั้นที่สุดด้วยปรัชญาอุปนิษัทที่ว่า
อาตมันมีแค่ 1 เดียว แต่มีหลายชื่อและรูป โดยที่หน้ากากนี้อธิบายว่า ทำไมมนุษย์จึงมีหน้าตา บุคลิกภาพ ผิว พันธ์ุและชื่อต่างกัน
มายาคติของหน้ากากเทวะถูกถ่ายทอดผ่านกาลเวลาจากมือของหมอผี สู่นักบวช สู่ราชสำนัก สู่ปัญญาชน และสู่คนผลิตสื่อ ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้วาดภาพแห่งจินตนาการของหน้ากากเทวะ โดยหาได้สำนึกไม่ว่า ยิ่งปฏิบัติมากเท่าใด ยิ่งเสมือนการก่อกำแพงอำพรางความขี้ขลาดทางศีลธรรมของตนเองและกักขังความดีของตนเองท่ามกลางเสียงแผดร้องโหยหวนอย่างสิ้นหวังแบบเดียวกับโศลก “คีตาญชลี” ของ รพินทรนาถ ตะกอร์
หากอาศัยแค่มุมมองเหมารวมของแคป์เบลอย่างเดียว เราคงต้องยอมรับโดยดุษณีว่าคนอย่าง โยเซฟ ก็อบเบิ้ลเจ้าของคำขวัญ “โกหกครั้งเดียวไม่เชื่อ ก็ต้องโกหกซ้ำเรื่อยๆ “ ก็คงจะเป็นวีรชนผู้เปี่ยมนวัตกรรมในการผลิตสื่อพกลมที่ควรแก่การสร้างอนุสาวรีย์หน้าคณะสื่อสารมวลชนทุกแขนงในฐานะบิดาของการประดิษฐ์ข้อเท็จจริงไปนานแล้ว ......"
บทความ “หน้ากากของเทวะ” ของคุณ วิษณุ โชลิตกุล จากมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 31 ธ.ค. 2553 - 6 ม.ค.2554 ฉบับที่ 1585
——————————————————
….หน้ากากของเทวะ.../วัชรานนท์
บนเส้นทางที่คดเคี้ยวไปสู่ความตาย มนุษย์จึงพยายามหลบหนี 2 สำคัญได้แก่การขาดแคลนทางวัตถุ และความทุกข์ทางจิต เครื่องมือและวิธีการที่ง่ายและสารพัดนึกซึ่งมนุษย์ทุกสังคมกระทำคือ สร้างมายาคติในรูปของนิทานไร้เวลาว่าด้วยเทพ ปีศาจ และวีรชน เพื่อทำหน้าที่เป็นหน้ากากาแห่งอมตภาพและความรุ่งโรจน์ เพ่อประยุกต์จิตสำนึกและภูมิปัญญาผ่านศิลปะและวัฒนธรรมต่างๆ เสมือนดนตรีของจิตวิญญาณ ให้ตนเองและคนรอบข้างมีกำลังใจต่อสู้เอาชนะกิเลสด้านมืดของตนเองจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
วิวัฒนาการของทุกยุคของหน้ากากแห่งจิตสำนึกภูมิปัญญา สรุปไดสั้นที่สุดด้วยปรัชญาอุปนิษัทที่ว่า อาตมันมีแค่ 1 เดียว แต่มีหลายชื่อและรูป โดยที่หน้ากากนี้อธิบายว่า ทำไมมนุษย์จึงมีหน้าตา บุคลิกภาพ ผิว พันธ์ุและชื่อต่างกัน
มายาคติของหน้ากากเทวะถูกถ่ายทอดผ่านกาลเวลาจากมือของหมอผี สู่นักบวช สู่ราชสำนัก สู่ปัญญาชน และสู่คนผลิตสื่อ ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้วาดภาพแห่งจินตนาการของหน้ากากเทวะ โดยหาได้สำนึกไม่ว่า ยิ่งปฏิบัติมากเท่าใด ยิ่งเสมือนการก่อกำแพงอำพรางความขี้ขลาดทางศีลธรรมของตนเองและกักขังความดีของตนเองท่ามกลางเสียงแผดร้องโหยหวนอย่างสิ้นหวังแบบเดียวกับโศลก “คีตาญชลี” ของ รพินทรนาถ ตะกอร์
หากอาศัยแค่มุมมองเหมารวมของแคป์เบลอย่างเดียว เราคงต้องยอมรับโดยดุษณีว่าคนอย่าง โยเซฟ ก็อบเบิ้ลเจ้าของคำขวัญ “โกหกครั้งเดียวไม่เชื่อ ก็ต้องโกหกซ้ำเรื่อยๆ “ ก็คงจะเป็นวีรชนผู้เปี่ยมนวัตกรรมในการผลิตสื่อพกลมที่ควรแก่การสร้างอนุสาวรีย์หน้าคณะสื่อสารมวลชนทุกแขนงในฐานะบิดาของการประดิษฐ์ข้อเท็จจริงไปนานแล้ว ......"
บทความ “หน้ากากของเทวะ” ของคุณ วิษณุ โชลิตกุล จากมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 31 ธ.ค. 2553 - 6 ม.ค.2554 ฉบับที่ 1585