สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
ก่อนอื่น ขอบอกทัศนะของผู้ตอบก่อนว่า สังคมผู้สูงอายุนั้นเป็นภาพมายา และปัญหาของสังคมผู้สูงอายุไม่ใช่มาจากคนสูงอายุ
แต่เดิมมา ครอบครัวไทยเป็นครอบครัวใหญ่ จะอยู่กันตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายายมาจนถึงลูกหลานเหลน มีเกิดมีตายภายในบ้านนั้นๆหลายรุ่น ในบ้านจึงจะมีคนทุกช่วงอายุ ซึ่งมีความต้องการและการดูแลแตกต่างกันไป และทัศนะของคนไทยเกี่ยวกับการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย นั้น เป็นไปตามหลักธรรมของศาสนา นั่นคือมันเป็นธรรมชาติ
คนโบราณจะว่าโชคดีหรือโชคร้ายก็ไม่ทราบ ที่การแพทย์ไม่ได้เจริญก้าวหน้ามากนัก ผู้สูงอายุที่ป่วย หากกินไม่ได้ ไม่รู้สึกตัว ไม่กี่วันก็จะเสียชีวิต ธรรมชาติให้ความช่วยเหลือไว้ชนิดที่คนสมัยใหม่อาจจะคาดไม่ถึง แม้แต่คนไม่สูงอายุ หากป่วยจนถึงขั้นไม่ได้สติ งัดปากกรอกยากรอกน้ำไม่ได้ ไม่นานก็จะเสียชีวิต ด้วยกลไกบางอย่างของสังขาร เพียงแค่เสมหะไหลลงไปอุดหลอดลม ก็สิ้นใจได้ในเวลาไม่นาน
ภาวะการเลี้ยงดูผู้สูงอายุแบบติดเตียง จึงไม่เกิดขึ้น และไม่มีปัญหายืดเยื้อยาวนาน ปัจจุบันนี้ ผู้ป่วยขนาดไม่รู้สึกตัว นอนเป็นผัก ก็สามารถฟีดอาหารทางสายยาง ให้น้ำเกลือ ดูดเสมหะมิให้ไปอุดหลอดลม มียาช่วยต่างๆนาๆ สามารถนอนเป็นผักเป็นหญ้าไปได้นานเท่านาน จนกว่าจะถึงจะดที่สังขารเองก็ไม่ไหวแล้ว ติดเชื้อในกระแสโลหิต ปอดบวม และก็เสียชีวิตในที่สุด
ด้วยความทันสมัยทางวิทยาการ และมายาของความกตัญญู ทำให้ภาระการยื้อชีวิตของผู้สูงอายุมีมากขึ้น และด้วยสังคมชนิดพิเศษ อุดมไปด้วยคนสองประเภท คือหนึ่งชอบแส่เรื่องชาวบ้าน และอีกหนึ่งวิตกกังวลกับเสียงชาวบ้านมากจนเกินไป ทำให้ความกตัญญู แปรเปลี่ยนเป็นธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ ยืดชีวิตผู้สูงอายุ และก็ติดกับกตัญญูกันจนเสียสมดุลย์ของธรรมชาติ เกิดปัญหาการสร้างมายาสังคมผู้สูงอายุขึ้น และวุ่นวายกันมาจนบัดนี้
ฟังแล้วเหมือนอกตัญญูเนอะ
และด้วยสภาพสังคมทุนนิยม คนที่ยังมีโอกาสทำงาน ก็จะต้องทำงานหัวปักหัวปำ ส่วนคนที่อายุมากแต่ยังทำงานไหว กลับไม่มีโอกาสได้ทำงาน ถูกตัดออกจากสังคมการงาน ด้วยข้อหาชราภาพ ดูได้จากประกาศรับสมัครงานทั่วไป ที่มักจะกำหนดอายุสูงสุดของผู้สมัครที่ไม่เกิน 35 ปี +/- 5 ปี และความด้อยปัญญาทางการบริหารประเทศชาติ ที่ปล่อยให้มีการนำเข้าแรงงานต่างด้าว ส่งผลให้คนในชาติเองตกงาน ถูกกดขี่แรงงาน มีรายได้น้อยไม่เพียงพอต่อการเผื่ออนาคตของตนเอง ขาดศักยภาพในการดูแลบุพการีผู้สูงอายุ
และมันก็บานปลายเป็นปัญหาที่กำลังจะใหญ่ขึ้น ทั้งๆที่มันไม่ควรจะมีปัญหา
เรื่องของญี่ปุ่น ญี่ปุ่นเองมีผู้สูงอายุจำนวนมาก ซึ่งภาวะนี้เกิดแบบเดียวกับบ้านเรา นั่นคือคนในรุ่น Boomer ที่มีจำนวนมากกำลังชราลงพร้อมๆกัน ปัญหานี้จะมีอยู่สักยี่สิบปี คนรุ่นนี้ก็จะเริ่มตายกันจนเกือบหมด และลดจำนวนลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งจะส่งผลให้ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ มีปัญหาแบบเดียวกับโรงเรียนอนุบาล โรงเรียนประถม ในบางพื้นที่ ซึ่งขาดแคลนนักเรียน ในอนาคตไม่นานนัก ธุรกิจดูแลคนชราก็จะขาดคนชราซึ่งเป็นลูกค้า
การแก้ปัญหานี้มันไม่ได้ยากเย็นอะไร ผู้สูงอายุต้องการปัจจัยในการดำรงชีวิตเช่นเดียวกับผู้ไม่สูงอายุ นั่นคือ ต้องกิน ต้องมีที่อยู่ มีบริการสาธารณสุข ดูแลชีวิตส่วนตัวเช่น ซักผ้า ดูแลที่นอน ห้องน้ำ แต่อาจจะต้องมีความช่วยเหลือพิเศษสำหรับคนที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้แล้ว หรือน้อยมาก ซึ่งคนที่จะมาดูแลสิ่งเหล่านี้แต่ก่อนก็คือคนในบ้านของผู้สูงอายุ แต่เนื่องจากครอบครัวของเราเล็กลง ทำให้ขาดคนดูแลตรงจุดนี้ จะจ้างคนมาดูแลก็ค่าใช้จ่ายสูง ทั้งๆที่คนตกงานจำนวนมาก แต่งานแบบนี้กลับหาคนทำไม่ได้ เหตุก็เพราะเรื่องนิดเดียว ค่าจ้างไม่คุ้มกับแรงงาน
ปัญหามันก็จะเป็นงูกินหาง ว่าทำไมถึงจ้างคนทำงานในราคาสูงเพียงพอจะจูงใจให้อยากมาทำไม่ได้ ก็เพราะคนที่จะจ้างมีรายได้ไม่พอจะจ้าง และทำไมคนที่จะจ้างคนมาดูแลผู้สูงอายุถึงไม่มีรายได้พอที่จะจ้าง ก็เพราะฐานรายได้มันถูกกำหนดด้วยค่าแรงขั้นต่ำ รายได้แต่ละลำดับชั้นมันจะใช้ฐานค่าแรงขั้นต่ำเป็นพื้น หากค่าแรงขั้นต่ำน้อย ค่าแรงงานลำดับบนๆต่อไปมันก็จะน้อย และทำไมถึงเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำให้มากขึ้น เพื่อที่ลำดับชั้นค่าแรงขั้นต่อๆไปจะเพิ่มมากขึ้นไม่ได้ ก็เป็นเพราะมีแรงงานต่างด้าวเข้ามาแย่งแรงงานบ้านเรา ปัญหาก็จะวนกันไปไม่รู้จบ ตัดแรงงานต่างด้าวได้เมื่อไร ปัญหาตรงจุดนี้ก็จะแก้ได้ (ซึ่งมันยังมีประเด็นเรื่องนักลงทุน นายทุน นักการเมือง เข้ามาเกี่ยวข้องอีกมาก คงจะเป็นประเด็นทางเศรษฐกิจมากไป)
แต่จะแก้ปัญหาผู้สูงอายุได้อย่างไรในเวลานี้ รัฐนั้นแก้ไม่ได้ และประชาชนก็แก้ไม่ได้ เอกชนช่วยแก้โดยการเปิดบริการรับดูแลผู้สูงอายุ แต่ค่าใช้จ่ายนั้นคนชั้นกลางยังรับไม่ค่อยจะได้ ค่าใช้จ่ายดูแลคนชราญี่ปุ่นกับไทยในเมืองไทยไม่แตกต่างกัน เพราะใช้มาตรฐานเดียวกัน
เหลือทางเดียวที่ผู้ตอบคิดว่าอาจจะช่วยได้ นั่นคือระบบสหกรณ์ กลุ่มคนที่มีผู้สูงอายุอยู่ในความดูแล จะต้องร่วมมือกันเองในแต่ละพื้นที่ ตั้งสหกรณ์ดูแลผู้สูงอายุขึ้นมา แชร์ค่าใช้จ่ายร่วมกัน และสละแรงงานของตนในวันหยุดร่วมกันมาช่วยทำงานดูแล หาอาสาสมัครในพื้นที่ ซึ่งเป็นลูกหลานของคนในพื้นที่นั้นๆ เช่นนักเรียน นักศึกษา เข้ามาเสียสละแรงงานช่วยเหลือ ผู้สูงอายุที่ไม่ถึงขั้นติดเตียง ใช้ระบบเช้าไปเย็นกลับ ถึงขนาดติดเตียงต้องดูแลกันมาก ก็คงต้องมีที่พักที่ศูนย์ ผู้สูงอายุที่ยังทำงานได้ ก็ช่วยงานในศูนย์นั้น ต้องลงเรือลำเดียวกัน และช่วยกันพาย จึงจะพากันไปรอด
ยังคงมีความเห็นในการบริหารจัดการสหกรณ์นี้อีก แต่มันคงจะยาว ขอสรุปเพียงว่า การแก้ปัญหานี้ และการแก้ปัญหาอื่นๆในประเทศนี้ ต้องการความสามัคคี และอย่าใช้เงินเป็นตัวตั้ง เพราะทุกวันนี้เราขาดความสามัคคี และหน้าเงินกันไปแทบจะหมดแล้ว ทำอะไรก็มีเงินเป็นตัวตั้งกันไปหมด ตกหลุมทุนนิยมจนมิดหัวมิดหูไปแล้ว
เหนื่อย จบดีกว่า
แต่เดิมมา ครอบครัวไทยเป็นครอบครัวใหญ่ จะอยู่กันตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายายมาจนถึงลูกหลานเหลน มีเกิดมีตายภายในบ้านนั้นๆหลายรุ่น ในบ้านจึงจะมีคนทุกช่วงอายุ ซึ่งมีความต้องการและการดูแลแตกต่างกันไป และทัศนะของคนไทยเกี่ยวกับการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย นั้น เป็นไปตามหลักธรรมของศาสนา นั่นคือมันเป็นธรรมชาติ
คนโบราณจะว่าโชคดีหรือโชคร้ายก็ไม่ทราบ ที่การแพทย์ไม่ได้เจริญก้าวหน้ามากนัก ผู้สูงอายุที่ป่วย หากกินไม่ได้ ไม่รู้สึกตัว ไม่กี่วันก็จะเสียชีวิต ธรรมชาติให้ความช่วยเหลือไว้ชนิดที่คนสมัยใหม่อาจจะคาดไม่ถึง แม้แต่คนไม่สูงอายุ หากป่วยจนถึงขั้นไม่ได้สติ งัดปากกรอกยากรอกน้ำไม่ได้ ไม่นานก็จะเสียชีวิต ด้วยกลไกบางอย่างของสังขาร เพียงแค่เสมหะไหลลงไปอุดหลอดลม ก็สิ้นใจได้ในเวลาไม่นาน
ภาวะการเลี้ยงดูผู้สูงอายุแบบติดเตียง จึงไม่เกิดขึ้น และไม่มีปัญหายืดเยื้อยาวนาน ปัจจุบันนี้ ผู้ป่วยขนาดไม่รู้สึกตัว นอนเป็นผัก ก็สามารถฟีดอาหารทางสายยาง ให้น้ำเกลือ ดูดเสมหะมิให้ไปอุดหลอดลม มียาช่วยต่างๆนาๆ สามารถนอนเป็นผักเป็นหญ้าไปได้นานเท่านาน จนกว่าจะถึงจะดที่สังขารเองก็ไม่ไหวแล้ว ติดเชื้อในกระแสโลหิต ปอดบวม และก็เสียชีวิตในที่สุด
ด้วยความทันสมัยทางวิทยาการ และมายาของความกตัญญู ทำให้ภาระการยื้อชีวิตของผู้สูงอายุมีมากขึ้น และด้วยสังคมชนิดพิเศษ อุดมไปด้วยคนสองประเภท คือหนึ่งชอบแส่เรื่องชาวบ้าน และอีกหนึ่งวิตกกังวลกับเสียงชาวบ้านมากจนเกินไป ทำให้ความกตัญญู แปรเปลี่ยนเป็นธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ ยืดชีวิตผู้สูงอายุ และก็ติดกับกตัญญูกันจนเสียสมดุลย์ของธรรมชาติ เกิดปัญหาการสร้างมายาสังคมผู้สูงอายุขึ้น และวุ่นวายกันมาจนบัดนี้
ฟังแล้วเหมือนอกตัญญูเนอะ
และด้วยสภาพสังคมทุนนิยม คนที่ยังมีโอกาสทำงาน ก็จะต้องทำงานหัวปักหัวปำ ส่วนคนที่อายุมากแต่ยังทำงานไหว กลับไม่มีโอกาสได้ทำงาน ถูกตัดออกจากสังคมการงาน ด้วยข้อหาชราภาพ ดูได้จากประกาศรับสมัครงานทั่วไป ที่มักจะกำหนดอายุสูงสุดของผู้สมัครที่ไม่เกิน 35 ปี +/- 5 ปี และความด้อยปัญญาทางการบริหารประเทศชาติ ที่ปล่อยให้มีการนำเข้าแรงงานต่างด้าว ส่งผลให้คนในชาติเองตกงาน ถูกกดขี่แรงงาน มีรายได้น้อยไม่เพียงพอต่อการเผื่ออนาคตของตนเอง ขาดศักยภาพในการดูแลบุพการีผู้สูงอายุ
และมันก็บานปลายเป็นปัญหาที่กำลังจะใหญ่ขึ้น ทั้งๆที่มันไม่ควรจะมีปัญหา
เรื่องของญี่ปุ่น ญี่ปุ่นเองมีผู้สูงอายุจำนวนมาก ซึ่งภาวะนี้เกิดแบบเดียวกับบ้านเรา นั่นคือคนในรุ่น Boomer ที่มีจำนวนมากกำลังชราลงพร้อมๆกัน ปัญหานี้จะมีอยู่สักยี่สิบปี คนรุ่นนี้ก็จะเริ่มตายกันจนเกือบหมด และลดจำนวนลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งจะส่งผลให้ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ มีปัญหาแบบเดียวกับโรงเรียนอนุบาล โรงเรียนประถม ในบางพื้นที่ ซึ่งขาดแคลนนักเรียน ในอนาคตไม่นานนัก ธุรกิจดูแลคนชราก็จะขาดคนชราซึ่งเป็นลูกค้า
การแก้ปัญหานี้มันไม่ได้ยากเย็นอะไร ผู้สูงอายุต้องการปัจจัยในการดำรงชีวิตเช่นเดียวกับผู้ไม่สูงอายุ นั่นคือ ต้องกิน ต้องมีที่อยู่ มีบริการสาธารณสุข ดูแลชีวิตส่วนตัวเช่น ซักผ้า ดูแลที่นอน ห้องน้ำ แต่อาจจะต้องมีความช่วยเหลือพิเศษสำหรับคนที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้แล้ว หรือน้อยมาก ซึ่งคนที่จะมาดูแลสิ่งเหล่านี้แต่ก่อนก็คือคนในบ้านของผู้สูงอายุ แต่เนื่องจากครอบครัวของเราเล็กลง ทำให้ขาดคนดูแลตรงจุดนี้ จะจ้างคนมาดูแลก็ค่าใช้จ่ายสูง ทั้งๆที่คนตกงานจำนวนมาก แต่งานแบบนี้กลับหาคนทำไม่ได้ เหตุก็เพราะเรื่องนิดเดียว ค่าจ้างไม่คุ้มกับแรงงาน
ปัญหามันก็จะเป็นงูกินหาง ว่าทำไมถึงจ้างคนทำงานในราคาสูงเพียงพอจะจูงใจให้อยากมาทำไม่ได้ ก็เพราะคนที่จะจ้างมีรายได้ไม่พอจะจ้าง และทำไมคนที่จะจ้างคนมาดูแลผู้สูงอายุถึงไม่มีรายได้พอที่จะจ้าง ก็เพราะฐานรายได้มันถูกกำหนดด้วยค่าแรงขั้นต่ำ รายได้แต่ละลำดับชั้นมันจะใช้ฐานค่าแรงขั้นต่ำเป็นพื้น หากค่าแรงขั้นต่ำน้อย ค่าแรงงานลำดับบนๆต่อไปมันก็จะน้อย และทำไมถึงเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำให้มากขึ้น เพื่อที่ลำดับชั้นค่าแรงขั้นต่อๆไปจะเพิ่มมากขึ้นไม่ได้ ก็เป็นเพราะมีแรงงานต่างด้าวเข้ามาแย่งแรงงานบ้านเรา ปัญหาก็จะวนกันไปไม่รู้จบ ตัดแรงงานต่างด้าวได้เมื่อไร ปัญหาตรงจุดนี้ก็จะแก้ได้ (ซึ่งมันยังมีประเด็นเรื่องนักลงทุน นายทุน นักการเมือง เข้ามาเกี่ยวข้องอีกมาก คงจะเป็นประเด็นทางเศรษฐกิจมากไป)
แต่จะแก้ปัญหาผู้สูงอายุได้อย่างไรในเวลานี้ รัฐนั้นแก้ไม่ได้ และประชาชนก็แก้ไม่ได้ เอกชนช่วยแก้โดยการเปิดบริการรับดูแลผู้สูงอายุ แต่ค่าใช้จ่ายนั้นคนชั้นกลางยังรับไม่ค่อยจะได้ ค่าใช้จ่ายดูแลคนชราญี่ปุ่นกับไทยในเมืองไทยไม่แตกต่างกัน เพราะใช้มาตรฐานเดียวกัน
เหลือทางเดียวที่ผู้ตอบคิดว่าอาจจะช่วยได้ นั่นคือระบบสหกรณ์ กลุ่มคนที่มีผู้สูงอายุอยู่ในความดูแล จะต้องร่วมมือกันเองในแต่ละพื้นที่ ตั้งสหกรณ์ดูแลผู้สูงอายุขึ้นมา แชร์ค่าใช้จ่ายร่วมกัน และสละแรงงานของตนในวันหยุดร่วมกันมาช่วยทำงานดูแล หาอาสาสมัครในพื้นที่ ซึ่งเป็นลูกหลานของคนในพื้นที่นั้นๆ เช่นนักเรียน นักศึกษา เข้ามาเสียสละแรงงานช่วยเหลือ ผู้สูงอายุที่ไม่ถึงขั้นติดเตียง ใช้ระบบเช้าไปเย็นกลับ ถึงขนาดติดเตียงต้องดูแลกันมาก ก็คงต้องมีที่พักที่ศูนย์ ผู้สูงอายุที่ยังทำงานได้ ก็ช่วยงานในศูนย์นั้น ต้องลงเรือลำเดียวกัน และช่วยกันพาย จึงจะพากันไปรอด
ยังคงมีความเห็นในการบริหารจัดการสหกรณ์นี้อีก แต่มันคงจะยาว ขอสรุปเพียงว่า การแก้ปัญหานี้ และการแก้ปัญหาอื่นๆในประเทศนี้ ต้องการความสามัคคี และอย่าใช้เงินเป็นตัวตั้ง เพราะทุกวันนี้เราขาดความสามัคคี และหน้าเงินกันไปแทบจะหมดแล้ว ทำอะไรก็มีเงินเป็นตัวตั้งกันไปหมด ตกหลุมทุนนิยมจนมิดหัวมิดหูไปแล้ว
เหนื่อย จบดีกว่า
แสดงความคิดเห็น
การแก้ปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ธุรกิจเกี่ยวกับการดูแลคนชรา ความกตัญญูกับการดูแลเอง เป็นปัญหาด้วยหรือ?
แต่เนื่องจากกระทู้เก่าเรา(กระทู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย) [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ มีคนเอาข่าวเกี่ยวกับศูนย์ฝึกอบรมผู้ดูแลคนชราในไทยมาให้อ่าน ในเนื้อข่าวมองว่า ความกตัญญูและการดูแลเองเป็นปัญหา เราเลยเกิดข้อสงสัยขึ้นในใจ(ซึ่งตอนนี้ก็เขียนออกมาแล้วอ่ะนะคะ) ความเห็นของเราอาจจะเป็นทัศนะส่วนตัวที่ยังคับแคบ
เราอยากลองฟังทัศนะของท่านอื่นๆว่ามองแนวทางการแก้ไขปัญหาสังคมผู้สูงอายุของไทยไว้อย่างไร ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในไทยควรเป็นไปในลักษณะไหน และความกตัญญู การดูแลเองเป็นปัญหาจริงหรือ?
เราจะรักษาความสมดุลระหว่างหลักเศรษศาสตร์และหลักคุณธรรมอย่างไรดี?
กระทู้นี้ไม่ได้มีเจตนาจะตำหนิฝ่ายใดหรือธุรกิจใดนะคะ แต่อยากหาทางออกที่เป็นผลดีกับทุกฝ่ายค่ะ ทั้งฝ่ายผู้ประกอบการ ภาครัฐ และฝ่ายผู้ใช้บริการ
ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ
ข่าวที่ว่าคือข่าวนี้ค่ะ (เราจะใส่เนื้อข่าวอยู่ในความเห็นที่1นะคะ ใส่ในนี้ไม่ได้ เนื่องจากจะทำให้ข้อความเกิน10000ตัวอักษร)
ญี่ปุ่นตั้งศูนย์ฝึกอบรมผู้ดูแลคนชราในไทย หวังเปลี่ยนค่านิยม “กตัญญู ดูแลเอง”
https://mgronline.com/japan/detail/9600000127912
เราแสดงความคิดเห็นไว้ในกระทู้นั้น ดังนี้นะคะ
การมีศูนย์ฝึกอบรมการดูแลผู้สูงอายุเป็นเรื่องที่ดีนะคะ
แต่วิธีการเขียนข่าวนี้(ไม่แน่ใจว่านี่เป็นแนวคิดของศูนย์หรือเป็นแนวคิดของผู้เขียนเอง)ที่พยายามทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่า"ความกตัญญู"เป็นปัญหา การดูแลเองหรือจ้างคนมาช่วยดูแลที่บ้านเป็นปัญหา เราว่ามันดูแปร่งๆ ไม่รู้ว่าเราอ่านแล้วรู้สึกไปเองรึเปล่า
ความกตัญญูคงไม่เป็นปัญหาสำหรับผู้ที่มีความเจริญงอกงามในจิตใจหรอกค่ะ แต่อาจจะเป็นปัญหาต่อการเติบโตหรือผลกำไรของธุรกิจนี้
("วิธี"การแสดงความกตัญญูต่างหากที่อาจเป็นปัญหา ถ้าเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง)
ถ้าเป็นธุรกิจที่ส่งเสริมให้ผู้คนเข้าใจความกตัญญูอย่างถูกต้องและช่วยอำนวยให้"ลูกค้า"ได้แสดงความกตัญญูอย่างเหมาะสม ช่วยสอนวิธีการดูแลที่ถูกต้อง ช่วยอำนวยความสะดวกดูแลให้ในเวลาที่ลูกหลานไม่สะดวก หรือช่วยดูแลผู้สูงวัยที่โดดเดี่ยว เราสนับสนุนค่ะ
แต่ถ้าเป็นธุรกิจที่พยายามหากำไรด้วยการสร้างค่านิยมให้ผู้คนล้มเลิกความกตัญญู แล้วมีผู้คนเห็นดีเห็นงามด้วย ก็คงเป็นเรื่องน่าเศร้าอ่ะค่ะ
ในข่าวไม่มีคำที่บอกว่าให้เลิกกตัญญูตรงๆหรอกค่ะ เพียงแต่ตั้งคำถามว่า กตัญญูแล้วดูแลเองแน่ใจหรือว่าถูก? มันกำกวม
อาจตีความได้ว่ากำลังถามว่า
"ความกตัญญูเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือ?" (ผู้ที่เคยซาบซึ้งในความสุขจากการรับ และรู้ความหมายของความสุขจากการให้ คงไม่ต้องตั้งคำถามกับสิ่งนี้)
หรืออาจตีความได้ว่า "การดูแลเองเพื่อแสดงความกตัญญูนั้นถูกต้องแล้วหรือ?"
การดูแลนั้นจะไม่เป็นปัญหา ถ้าสามารถดูแลได้อย่างถูกต้อง ซึ่งก็อาจจะฝึกเพื่อดูแลเองให้เป็น หรือจ้างผู้ช่วยมาดูแลร่วมกันที่บ้านก็ได้ หรือให้ผู้สูงอายุไปใช้บริการศูนย์เหล่านี้ในกรณีที่จำเป็น (ถ้าดูแลเองเป็น หรือจ้างผู้ช่วยมาร่วมดูแลที่บ้านได้ ก็บรรลุวัตถุประสงค์ในการดูแลกายใจคนไข้ได้ โดยไม่จำเป็นต้องไปศูนย์)
กระทู้นี้เราพูดถึงการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ที่คงเหลือเวลาในชีวิตไม่มาก(อาจจะเป็นผู้ป่วยชราหรือผู้ป่วยเด็กก็ได้) ศูนย์บริการทำนองนี้อาจช่วยดูแลทางกายภาพได้ แต่คงเยียวยาจิตใจผู้ป่วยได้ไม่ดีเท่าญาติ คนใกล้ตายคงอยากใช้เวลากับคนที่เขารักมากกว่าคนแปลกหน้า
ถ้าพิจารณาแล้วว่าการที่ตัวเองอยู่ดูแลใกล้ชิดผู้ป่วยจะเป็นการทำร้ายผู้ป่วยหรือสุดกำลังความสามารถที่จะดูแลผู้ป่วยเองได้ การใช้บริการศูนย์เหล่านี้ก็คงบรรเทาปัญหาได้ และไม่ใช่เรื่องอกตัญญูอะไร
ก็ได้แต่หวังว่า นี่จะเป็นการคิดถึงผลประโยชน์ของผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยระยะสุดท้าย(ทั้งกายใจ)เป็นที่ตั้ง ไม่ใช่การคิดเอาความสุขสบายส่วนตัวหรือการเร่งหากำไรของธุรกิจเป็นที่ตั้ง
การนำเสนอธุรกิจโดยการส่งเสริมความกตัญญูและสอนวิธีแสดงความกตัญญูอย่างถูกต้อง คงเหมาะกับสังคมไทยตอนนี้มากกว่า
แต่ถ้านำเสนอธุรกิจโดยมองความกตัญญูเป็นศัตรูหรืออุปสรรคของกิจการ พยายามให้คนเลิกกตัญญูหรือตีความกตัญญูผิดเพี้ยนไป ก็คงต้องใช้เวลาเปลี่ยนค่านิยมอย่างที่เขาว่าแหละค่ะ และเราขออย่าให้สำเร็จเลย(อย่าให้มีคนคิดว่าความกตัญญูเป็นสิ่งผิดเลย แต่พิจารณาให้มากเถิดว่าวิธีกตัญญูของเรานั้นถูกต้องดีพอแล้วหรือยัง)
ขอนอกเรื่องนิดนึงนะคะ อยากเล่าเฉยๆ ไม่เกี่ยวกับศูนย์ลักษณะนี้หรอกค่ะ แต่จะขอพูดถึงสังคมผู้สูงอายุ ไหนๆก็เอาศูนย์ฝึกอบรมการดูแลผู้ชรามาให้ดูละ
การมองว่าผู้สูงอายุเป็นตัวปัญหานั้นน่าเศร้ามาก(ต่อให้เขาไม่ใช่ญาติโกโหติกาของเราก็เถอะ)
เมื่อสมัยเขายังหนุ่มสาวก็คงเคยสร้างประโยชน์ให้ครอบครัวหรือสังคมมาบ้างไม่มากก็น้อย เราเป็นคนรุ่นหลังที่ได้รับประโยชน์จากเขาเหล่านั้น(อาจจะโดยตรงหรือโดยอ้อมก็ได้) หรือแม้ไม่เคยได้รับประโยชน์อะไรเลย เขาก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งเหมือนเรา
สังคมที่มีฐานคิดแบบนี้จะไม่มองคนชราเป็นตัวปัญหา แต่จะคิดว่าคนชราเป็นผู้ที่ควรได้รับการดูแลและให้เกียรติ อย่างน้อยก็ในฐานะเพื่อนมนุษย์คนหนึ่ง
แต่สังคมที่ตีค่ามนุษย์เป็นแค่เครื่องมือทางเศรษฐกิจก็คงมองว่า คนชราที่สังขารร่วงโรยตามธรรมชาตินั้น ไม่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจใดๆให้สังคมได้อีกแล้ว แถมยังต้องใช้ทรัพยากรเพื่อมาดูแลอีกจำนวนมาก เป็นตัวปัญหาของสังคม
ความจริง"ตัวผู้สูงอายุ"ไม่ใช่ปัญหาหรอกค่ะ แต่"สัดส่วนประชากรที่เสียสมดุล"ต่างหากที่เป็นปัญหา แนวคิดและวิธีการจัดการแก้ปัญหาสังคมผู้สูงอายุคงจะสะท้อนระดับจิตใจของคนในสังคมนั้นได้ ว่าคิดโดยเอาคุณค่าของมนุษย์เป็นที่ตั้ง หรือมูลค่าทางเศรษฐกิจเป็นที่ตั้ง
สังคมไทยยังมีแนวคิดเรื่องกตัญญูหรือความเมตตาอยู่มาก ผู้ชราในไทยจึงถือว่ายังโชคดีนะคะ
แต่สังคมจีนแผ่นดินใหญ่ปัจจุบันที่เคยผ่านช่วงปฏิวัติวัฒนธรรมมา ที่ต่อต้านและล้มเลิกวัฒนธรรมขนบความคิดแบบเก่าอย่างรุนแรง จนแทบจะเรียกได้ว่าขุดรากถอนโคน (ศิษย์ทำร้ายหรือฆ่าครู ลูกทำร้ายหรือฆ่าพ่อแม่เพื่ออุดมการณ์ทางการเมือง ต่อต้านทุกศาสนาและความเชื่อ เชื่อเพียงลัทธิเหมา ฯลฯ) แม้ปัจจุบันจีนจะพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็ว แต่มาตรฐานทางจริยธรรมพัฒนาไปไม่ทันความเจริญทางวัตถุ เพราะรากวัฒนธรรมความเชื่อเดิมถูกทำลายไปแล้ว ถึงไม่สิ้นซากแต่ก็อ่อนแอไปมาก แม้จีนจะพยายามฟื้นฟูส่งเสริมขึ้นมาใหม่ ก็คงจะไม่ใช่เรื่องง่าย วัตถุทำลายแล้วยังสร้างง่าย แต่คุณค่าทางจิตใจจะสร้างใหม่คงต้องใช้เวลา อาจจะชั่วชีวิตคนรุ่นหนึ่งหรือหลายรุ่นเลยด้วยซ้ำ
บวกกับนโยบายลูกคนเดียวของรัฐ ส่งผลให้คนหนุ่มสาววัยทำงานปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นลูกคนเดียวที่ต้องดูแลญาติผู้สูงอายุของตัวเองถึงหกคน(1:6 ลูก:พ่อแม่ปู่ย่าตายาย) เมื่อยามเด็กเขาจะได้รับการประคบประหงมเอาใจอย่างดีจากพ่อแม่ปู่ย่าและตายาย เพราะเป็นลูกหลานคนเดียว แต่เมื่อถึงวัยทำงานและบุพการีเหล่านั้นแก่ชราลง เขาคนเดียวจะต้องดูแลตอบแทนบุพการีหกคน ความกดดันจึงสูงมาก นอกจากนี้ การไม่มีพี่น้อง(เพื่อนร่วมรุ่นก็ไม่มีพี่น้อง เพราะเป็นผลผลิตของนโยบายลูกคนเดียวเหมือนกัน) ทำให้พวกเขาไม่ได้เรียนรู้ความรักความสัมพันในรูปแบบพี่น้อง ซึ่งเป็นหลักคุณธรรมข้อหนึ่งของขงจื๊อ(ซึ่งมักอธิบายคู่กันกับหลักคุณธรรมข้อกตัญญู)
เราจึงมองว่า คนจีนในสังคมจีนปัจจุบันขาดองค์ประกอบหลายๆอย่างที่จะได้เรียนรู้ความงามของคุณธรรมบางประการ รากเหง้าวัฒนธรรมก็ถูกทำลายไป และต้องอยู่ในสังคมที่กดดันและมีการแข่งขันสูงมาก ถูกหล่อหลอมให้ตัวเองต้องเอาตัวรอดให้ได้ และบางคนบางครั้งก็เอาตัวรอดโดยข้ามเส้นคุณธรรมไป จึงมักเห็นข่าวเหตุการณ์ที่ทำให้เราแปลกใจว่าทำลงไปได้อย่างไร
(คนจีนที่คุณธรรมสูงก็มีไม่น้อยค่ะ ดังเช่นที่พักหลังจีนพยายามเสนอข่าวทำนองนี้เพื่อให้เป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่คนในสังคม ในขณะเดียวกันก็เป็นการแก้ภาพลักษณ์ที่คนภายนอกมักมองจีนในแง่ลบด้วย)
เราเคยนั่งรถเมล์ในจีน และเห็นเด็กประถมคนหนึ่งเลิกเรียนขึ้นรถมาพร้อมผู้ปกครอง แล้วไม่ให้คนชราแก่หง่อมคนหนึ่งนั่ง เด็กคนนั้นพูดออกมาทำนองว่า ทำไมต้องให้คนแก่นั่งด้วย คนแก่ทำงานอะไรก็ไม่ได้ เดี๋ยวก็ตายแล้ว เขาสิสมควรได้นั่ง เขาต้องลำบากเรียนหนังสือและต่อไปก็ยังต้องทำงาน (คงไม่ใช่เด็กจีนทุกคนที่คิดอย่างนี้หรอก)
เราฟังแล้วเศร้านะ ที่เด็กมีชุดความคิดแบบนี้ ในสังคมที่อดีตเคยให้ความสำคัญกับความกตัญญูและการเคารพผู้ใหญ่เป็นอย่างมาก แต่วันนี้กลับถูกครอบด้วยชุดความคิดที่ตีค่ามนุษย์เป็นแค่วัตถุทางสังคมชิ้นหนึ่ง มองแค่มูลค่า แต่มองไม่เห็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์
หวังว่าจะไม่เกิดสิ่งเหล่านี้ในสังคมไทย
คุณธรรมบางอย่างไม่อาจสอนได้ด้วยตัวอักษร แต่ต้องรู้ด้วยความรู้สึกของตัวเอง เราอาจจะอ่านออก จำได้ท่องได้ ตีความตัวอักษรได้ แต่อาจจะไม่เข้าใจมันเลยก็ได้ สังคมที่อบอวลไปด้วยคุณธรรมเหล่านั้นจะเอื้อให้มีสภาพแวดล้อมที่ทำให้เราเข้าใจและเข้าถึงความรู้สึกของคุณธรรมนั้นได้ง่ายขึ้น
จีนเองก็กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และอาจจะรับมือยากกว่าไทยด้วย เพราะผลจากนโยบายลูกคนเดียวทำให้สัดส่วนประชากรเสียสมดุลไปมาก ผลจากการปฏิวัติวัฒนธรรมและการสร้างจีนใหม่ทำให้สังคมพร่องคุณธรรมแบบเดิมไป และค่านิยมใหม่ก็ไม่แน่ว่าผู้คนจะเข้าถึงการเห็นคุณค่าของมนุษย์ว่าเท่าเทียมกันหรือไม่ รัฐมีความพร้อมที่จะให้สวัสดิการในการดูแลผู้สูงอายุแค่ไหน (จากเดิมที่อาจจะไม่เคยต้องคิดเรื่องนี้มากนัก เพราะสามารถผลักภาระบางส่วนไปที่บุตรหลานผู้มีความกตัญญูได้)
การหลงลืมความกตัญญูหรือการมีค่านิยมใหม่ที่เบียดบังการแสดงความกตัญญูเป็นปัญหาจนถึงขนาดที่ผู้นำจีนต้องออกมาบังคับใช้"กฎหมายกตัญญู"ในปี2556
ซึ่งก็ตลกดี คุณธรรมต้องทำออกมาจากใจ ไม่อาจบังคับได้ด้วยกฎหมาย พฤติกรรมที่ถูกขับเคลื่อนด้วยข้อบังคับทางกฏหมายนั้น เป็นเพียงการกระทำเพราะกลัวความผิดตามกฎหมาย ไม่ใช่การกระทำเพราะความเจริญงอกงามของจิตใจ
สิ่งที่สะท้อนให้เห็นชัดว่าอำนาจทางกฎหมายไม่สามารถเสริมสร้างคุณธรรมให้ผู้คนได้ ก็คือการกำเนิดขึ้นของธุรกิจ"รับจ้างเยี่ยมพ่อแม่" ซึ่งเป็นธุรกิจที่ช่วยสนองความต้องการของลูกค้าที่กลัวการถูกลงโทษตามกฎหมายกตัญญูเท่านั้น ไม่ใช่ทำเพราะความกตัญญูที่ปรารถนาให้บุพการีมีความสุข
ปล.บทความนี้พอจะช่วยให้มองเห็นภาพกฎหมายกตัญญูของจีนได้ค่ะ
http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/517912