สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
คือว่า .... ต้นตอของเรื่องนี้ มาจากการพยายามเชื่อมโยงเอาสภาวะการณ์ที่สำคัญในอดีตอย่างนึงครับ
คือ เหตุการณ์ Maunder minimum ที่เกิดในช่วงปี 1650 - 1700 .... ซึ่งในช่วงนั้น มันเผอิญไปตรงกับ
สภาพของโลกที่หนาวเย็นมาก ๆ ในหลายพื้นที่ครับ ทำให้เกิดการเชื่อมโยง และ สันนิษฐานไปเอง ว่า
สภาพ Low activity ของดวงอาทิตย์ ซึ่งดวงอาทิตย์จะมี Sun spot น้อย เนี่ย คือสาเหตุที่ทำให้โลกเย็นลงมาก
ซึ่งความจริงแล้ว .... การที่ดวงอาทิตย์จะเข้าสู่ช่วง Low activity นี้ ทาง NASA (และหน่วยงานดาราศาสตร์ประเทศอื่น ๆ )
ได้มีผลการศึกษาวิจัยออกมาตรงกัน ว่า Solar activity ทั้งขาขึ้น และ ขาลง นี้ ไม่มีนัยสำคัญต่อสิ่งที่เรียกว่า
The Total Solar Irradiance (TSI) เลย TSI คือ พลังงานรวมที่ดวงอาทิตย์ปล่อยออกมาจนถึงจุดตรวจวัด
ที่บรรยากาศชั้นบนของโลกครับ มีดาวเทียมถึงเกือบ 10 ดวง ที่รายงานตรงกัน ว่า ระหว่างที่เกิด Low หรือ High activity นี้
ค่า TSI ที่ตรวจวัดได้ นั้น มีค่าเปลี่ยนแปลงระหว่าง 1360 ถึง 1370 W/m2.... ซึ่งตัวเลขนี้ถือว่าไม่มีนัยสำคัญ
ที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลกได้ครับ
ในทางตรงกันข้าม ช่วงการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ในช่วง Aphelion - Perihelion
จะมีผลกับ TSI มากกว่า Solar cycle อย่างเห็นได้ชัดครับ โดยช่วง Aphelion ซึ่งโลกโคจรไกลสุด
ค่า TSI จะอยู่ที่ 1,322 W/m2 ส่วนช่วง Perihelion ที่โคจรใกล้สุด ค่า TSI จะอยู่ที่ 1,415 W/m2
ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มากกว่า Solar cycle นับสิบเท่า ทีเดียวครับ
คือ เหตุการณ์ Maunder minimum ที่เกิดในช่วงปี 1650 - 1700 .... ซึ่งในช่วงนั้น มันเผอิญไปตรงกับ
สภาพของโลกที่หนาวเย็นมาก ๆ ในหลายพื้นที่ครับ ทำให้เกิดการเชื่อมโยง และ สันนิษฐานไปเอง ว่า
สภาพ Low activity ของดวงอาทิตย์ ซึ่งดวงอาทิตย์จะมี Sun spot น้อย เนี่ย คือสาเหตุที่ทำให้โลกเย็นลงมาก
ซึ่งความจริงแล้ว .... การที่ดวงอาทิตย์จะเข้าสู่ช่วง Low activity นี้ ทาง NASA (และหน่วยงานดาราศาสตร์ประเทศอื่น ๆ )
ได้มีผลการศึกษาวิจัยออกมาตรงกัน ว่า Solar activity ทั้งขาขึ้น และ ขาลง นี้ ไม่มีนัยสำคัญต่อสิ่งที่เรียกว่า
The Total Solar Irradiance (TSI) เลย TSI คือ พลังงานรวมที่ดวงอาทิตย์ปล่อยออกมาจนถึงจุดตรวจวัด
ที่บรรยากาศชั้นบนของโลกครับ มีดาวเทียมถึงเกือบ 10 ดวง ที่รายงานตรงกัน ว่า ระหว่างที่เกิด Low หรือ High activity นี้
ค่า TSI ที่ตรวจวัดได้ นั้น มีค่าเปลี่ยนแปลงระหว่าง 1360 ถึง 1370 W/m2.... ซึ่งตัวเลขนี้ถือว่าไม่มีนัยสำคัญ
ที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลกได้ครับ
ในทางตรงกันข้าม ช่วงการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ในช่วง Aphelion - Perihelion
จะมีผลกับ TSI มากกว่า Solar cycle อย่างเห็นได้ชัดครับ โดยช่วง Aphelion ซึ่งโลกโคจรไกลสุด
ค่า TSI จะอยู่ที่ 1,322 W/m2 ส่วนช่วง Perihelion ที่โคจรใกล้สุด ค่า TSI จะอยู่ที่ 1,415 W/m2
ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มากกว่า Solar cycle นับสิบเท่า ทีเดียวครับ
แสดงความคิดเห็น
ตกลงโลกจะร้อน หรือโลกจะเย็น?
"ดวงอาทิตย์ที่กำลังอยู่ในโหมดจำศีล แผ่ความร้อนน้อยลง ดึงโลกเข้าภาวะ Global Cooling อุณหภูมิลดลงต่อเนื่อง และสู่ยุค Little Ice Age ปี 2030"
เนื่องจากบทความที่อ้างถึง ขัดกับบทความอีกจำนวนมาก สัดส่วนราวๆ 100:1 ที่เป็นหลักฐานว่าโลกมีแนวโน้มร้อนขึ้น จึงสงสัยว่าตกลงโลกกำลังจะร้อนขึ้นหรือเย็นลงครับ