พรุ่งนี้ซานต้าลุงตู่จะนำคณะครม.สัญจรลงพื้นที่สุโขทัยและพิษณุโลกเพื่อติดตามการบริหารจัดการน้ำ
บางระกำโมเดล 60 แจกความสุขให้ประชาชน
มารู้จักบางระกำโมเดล 60 กันค่ะ....🌞🌞🌞🌞🌞
นายบรรดิษฐ์ อินต๊ะ ผู้อำนวยการ โครงการชลประทานพิษณุโลก กล่าวว่า บางระกำโมเดลเป็นนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่อยากให้เกษตรกรเพาะปลูกโดยหลีกเลี่ยงการสูญเสียจากการถูกน้ำท่วมผลผลิต จึงได้จัดปฏิทินการเพาะปลูกมาช่วงเดือนเมษายน ซึ่งปัจจุบันโมเดลดังกล่าวได้ขยายไปยังพื้นที่ลุ่มต่ำอื่นๆ ถือว่าเป็นความสำเร็จของคนพิษณุโลก
สำหรับ “โครงการบางระกำโมเดล” มีพื้นที่ 4 อำเภอ จำนวน 265,000 ไร่ เกษตรกรปลูกข้าวในพื้นที่ 97% โดยทุกหน่วยงานและประชาชนได้ร่วมกันบริหารจัดการน้ำ ด้วยการจัดปฏิทินการเพาะปลูกซึ่งจะเริ่มปลูกข้าวช่วงเดือนเมษายน และจะเกี่ยวข้าวประมาณเดือนกรกฎาคม ส่งผลให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้นไม่เสี่ยง ต่อการถูกน้ำท่วม สำหรับผลผลิตที่ได้ในปีนี้ประมาณ 200,000 ตัน เฉลี่ยมูลค่าประมาณ 120 ล้านบาท
ทั้งนี้ กระบวนการดำเนินงานของโครงการบางระกำโมเดล มีทั้งหมด 4 ขั้นตอนในการบริหารจัดการน้ำ ระยะเวลา 9 เดือนต่อปี “พื้นที่นา 8 เดือน พื้นที่น้ำ 4 เดือน” ซึ่งเป็นโอกาสที่เกษตรกรได้ใช้พื้นที่อย่างเต็มศักยภาพ ดังนี้
1. เดือนมีนาคม การเตรียมพื้นที่ทำการส่งน้ำ
2. เดือนเมษายน – กรกฎาคม เริ่มเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว
3. เดือนสิงหาคม – ตุลาคม เริ่มการหน่วงน้ำให้เกษตรกรมีอาชีพใหม่ จากการเกษตรเป็นการทำประมง
4. เดือนพฤศจิกายน ดำเนินการเร่งระบายน้ำ
นอกจากนี้ ประโยชน์ของการบริหารจัดการน้ำคือการพักดินช่วงน้ำท่วม 4 เดือน ได้แก่ มีปุ๋ยอินทรีย์ ให้ดิน มีการกำจัดศัตรูพืช เช่น ข้าวดีด ข้าวเด้งเน่า ไล่หนูนาและไล่งูเห่า เป็นต้น พร้อมทั้งลดการใช้ปุ๋ย และลดการใช้สารเคมี ด้านนายศรีโรจน์ นิมมานพัชรินทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ได้กล่าวสรุปถึงการ ถอดบทเรียนบางระกำโมเดลที่ผ่านมาว่า พลโท วิจักขฐ์ สิริบรรสพ แม่ทัพภาคที่ 3 ได้ให้แนวคิดแก่การประชุมถอดบทเรียน “โครงการบางระกำโมเดล 60” โดยให้แนวทางในการปฏิบัติ 4 ข้อ ได้แก่
1. สามัคคีคือพลัง โดยขอให้ทุกคน มีความรักสามัคคีกันในการร่วมมือแก้ปัญหา
2. การหันหน้าเข้าหากัน เพื่อร่วมใจในการแก้ไข้ปัญหา เช่น ปีที่ผ่านมาปลายน้ำได้น้ำช้า การที่จะปลูกข้าวได้ในช่วง 1 เมษายนก็จะไม่สามารถทำได้ เพราะต้นน้ำดึงน้ำไปใช้หมดก่อน ดังนั้น ในปีต่อไปจะเริ่มปล่อยน้ำตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม เพื่อให้น้ำไปถึงปลายทางจึงจะเริ่มใช้น้ำ 1 เมษายน พร้อมกัน
3. พลิกวิกฤติ กล่าวคือ การนำปัญหาที่เกิดขึ้นมาใช้เป็นโอกาส นอกจากอาชีพประมงแล้วสามารถปลูกพืชน้ำที่สร้างรายได้เพิ่มเติม
4. Do it now คือ ทำเดี๋ยวนี้ ไม่ผลัดวันประกันพรุ่ง ถ้าทำตามนี้ ทั้งหมดจะทำให้ทุกอย่างผ่านไปได้ด้วยดี
http://www.nuradio.nu.ac.th/th/index.php/en/eventnews/1383-11111111111258749-3
ประชุมถอดบทเรียนบริหารจัดการน้ำพื้นที่ลุ่มต่ำบางระกำโมเดล 60
เวลา 09.00 น. วันที่ 11 กันยายน 2560 ที่ห้องประชุมมณฑลทหารบกที่ 39 ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อ.เมือง จ.พิษณุโลก โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายมน่าน ได้จัดประชุมถอดบทเรียนโครงการบางระกำโมเดล 60 หรือ โครงการบริหารจัดการน้ำแบบชุมชนมีส่วนร่วมพื้นที่ทุ่งหน่วงน้ำบางระกำ โดยเชิญกลุ่มเป้าหมายผู้แทนผู้แทนท้องถิ่น ผู้แทนเกษตรกร จากอ.เมืองพิษณุโลก อ.พรหมพิราม อ.บางระกำ และอ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย มาประชุมเพื่อถอดบทเรียนการบริหารจัดการน้ำ แนวทางปัญหา และการเตรียมการในการจัดทำแผนสำหรับบริหารจัดการน้ำบางระกำโมเดล 61 ต่อไป โดยมีนายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ ผวจ.พิษณุโลก เป็นประธานในการกล่าวเปิดประชุม
นายชำนาญ ชูเที่ยง ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายมน่าน เปิดเผยว่า ในปี 2560 ทุกภาคส่วนได้ริเริ่มโครงการบางระกำโมเดล 60 หรือ โครงการบริการจัดการน้ำแบบชุมชนมีส่วนร่วมพื้นที่หน่วงน้ำบางระกำ โดยเริ่มปรับปฏิทินการเพาะปลูกข้าวให้เร็วขึ้น เริ่มเพาะปลูกในวันที่ 1 เมษายน 2560 และเก็บเกี่ยวให้ทันในช่วงเดือนสิงหาคม 2560 เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากน้ำท่วมที่เกิดประจำ หลังจากนั้น พื้นที่ต่ำจะเป็นพื้นที่เก็บเก็บน้ำ หรือพื้นที่หน่วงน้ำ ชะลอน้ำไว้ในทุ่งนา ไม่ให้มีผลกระทบกับพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง สามารถหน่วงน้ำได้สูงสุด 400 ล้านลบ.ม. และจะเริ่มทำการเพาะปลูกอีกรอบในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน
นายชำนาญ เปิดเผยต่อว่า ภาพรวมพื้นที่เป้าหมายที่เริ่มปรับปฏิทินเพาะปลูก เกษตรกรให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี โดยทำการเพาะปลูกทิ้งสิ้น 258,400 ไร่ คิดเป็น 97.50 % ของพื้นที่เป้าหมายจำนวน 265,000 ไร่ และเก็บเกี่ยวผลผลิตหมดแล้ว 100 % มีพื้นที่เสียหายจากผลกระทบจากร่องมรสุม พายุเซินการ และตาลัส จำนวน 10,400 ไร่ คิดเป็น 4 % ของพื้นที่เป้าหมาย โดยเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ข้าวพันธ์พิษณุโลก 2 และกข.41,กข.61 เป็นไปตามแผนและกำหนดการ
สำหรับพื้นที่นาข้าวที่เก็บเกี่ยวแล้ว ในช่วงที่ได้รับอิทธิพลจากพายุเซินกา กรมชลประทานได้เริ่มระบายน้ำจากแม่น้ำยมสายเก่า และแม่น้ำยมสายหลัก เข้าไปกักเก็บแล้วประมาณ 70,000 ไร่ ในพื้นที่ทุ่งแม่ระหัน ต.บ้านกร่าง อ.เมืองพิษณุโลก และบางส่วนในทุ่งยางระกำ ในต.ท่านางงาม ต.ชุมแสงสงคราม อ.บางระกำ มีปริมาณน้ำที่อยู่ทั้งในคลองในทุ่งบางระกำประมาณ 150 ล้านลบ.ม. ยังสามารถรองรับน้ำได้อีกประมาณ 250 ล้านลบ.บ.ม.
ที่มา -
https://www.phitsanulokhotnews.com/2017/09/11/108349
ติดตามซานต้าลุงตู่กันต่อในวันพรุ่งนี้นะคะ...🎄🎉🎄🎉🎄
🎄🎄🎄~มาลาริน~ พรุ่งนี้ซานต้าลุงตู่จะลงไปแจกความสุขให้ชาวสุโขทัยและชาวพิษณุโลก มารู้จักบางระกำโมเดลกันค่ะ🎄🎄🎄
พรุ่งนี้ซานต้าลุงตู่จะนำคณะครม.สัญจรลงพื้นที่สุโขทัยและพิษณุโลกเพื่อติดตามการบริหารจัดการน้ำ
บางระกำโมเดล 60 แจกความสุขให้ประชาชน
มารู้จักบางระกำโมเดล 60 กันค่ะ....🌞🌞🌞🌞🌞
นายบรรดิษฐ์ อินต๊ะ ผู้อำนวยการ โครงการชลประทานพิษณุโลก กล่าวว่า บางระกำโมเดลเป็นนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่อยากให้เกษตรกรเพาะปลูกโดยหลีกเลี่ยงการสูญเสียจากการถูกน้ำท่วมผลผลิต จึงได้จัดปฏิทินการเพาะปลูกมาช่วงเดือนเมษายน ซึ่งปัจจุบันโมเดลดังกล่าวได้ขยายไปยังพื้นที่ลุ่มต่ำอื่นๆ ถือว่าเป็นความสำเร็จของคนพิษณุโลก
สำหรับ “โครงการบางระกำโมเดล” มีพื้นที่ 4 อำเภอ จำนวน 265,000 ไร่ เกษตรกรปลูกข้าวในพื้นที่ 97% โดยทุกหน่วยงานและประชาชนได้ร่วมกันบริหารจัดการน้ำ ด้วยการจัดปฏิทินการเพาะปลูกซึ่งจะเริ่มปลูกข้าวช่วงเดือนเมษายน และจะเกี่ยวข้าวประมาณเดือนกรกฎาคม ส่งผลให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้นไม่เสี่ยง ต่อการถูกน้ำท่วม สำหรับผลผลิตที่ได้ในปีนี้ประมาณ 200,000 ตัน เฉลี่ยมูลค่าประมาณ 120 ล้านบาท
ทั้งนี้ กระบวนการดำเนินงานของโครงการบางระกำโมเดล มีทั้งหมด 4 ขั้นตอนในการบริหารจัดการน้ำ ระยะเวลา 9 เดือนต่อปี “พื้นที่นา 8 เดือน พื้นที่น้ำ 4 เดือน” ซึ่งเป็นโอกาสที่เกษตรกรได้ใช้พื้นที่อย่างเต็มศักยภาพ ดังนี้
1. เดือนมีนาคม การเตรียมพื้นที่ทำการส่งน้ำ
2. เดือนเมษายน – กรกฎาคม เริ่มเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว
3. เดือนสิงหาคม – ตุลาคม เริ่มการหน่วงน้ำให้เกษตรกรมีอาชีพใหม่ จากการเกษตรเป็นการทำประมง
4. เดือนพฤศจิกายน ดำเนินการเร่งระบายน้ำ
นอกจากนี้ ประโยชน์ของการบริหารจัดการน้ำคือการพักดินช่วงน้ำท่วม 4 เดือน ได้แก่ มีปุ๋ยอินทรีย์ ให้ดิน มีการกำจัดศัตรูพืช เช่น ข้าวดีด ข้าวเด้งเน่า ไล่หนูนาและไล่งูเห่า เป็นต้น พร้อมทั้งลดการใช้ปุ๋ย และลดการใช้สารเคมี ด้านนายศรีโรจน์ นิมมานพัชรินทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ได้กล่าวสรุปถึงการ ถอดบทเรียนบางระกำโมเดลที่ผ่านมาว่า พลโท วิจักขฐ์ สิริบรรสพ แม่ทัพภาคที่ 3 ได้ให้แนวคิดแก่การประชุมถอดบทเรียน “โครงการบางระกำโมเดล 60” โดยให้แนวทางในการปฏิบัติ 4 ข้อ ได้แก่
1. สามัคคีคือพลัง โดยขอให้ทุกคน มีความรักสามัคคีกันในการร่วมมือแก้ปัญหา
2. การหันหน้าเข้าหากัน เพื่อร่วมใจในการแก้ไข้ปัญหา เช่น ปีที่ผ่านมาปลายน้ำได้น้ำช้า การที่จะปลูกข้าวได้ในช่วง 1 เมษายนก็จะไม่สามารถทำได้ เพราะต้นน้ำดึงน้ำไปใช้หมดก่อน ดังนั้น ในปีต่อไปจะเริ่มปล่อยน้ำตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม เพื่อให้น้ำไปถึงปลายทางจึงจะเริ่มใช้น้ำ 1 เมษายน พร้อมกัน
3. พลิกวิกฤติ กล่าวคือ การนำปัญหาที่เกิดขึ้นมาใช้เป็นโอกาส นอกจากอาชีพประมงแล้วสามารถปลูกพืชน้ำที่สร้างรายได้เพิ่มเติม
4. Do it now คือ ทำเดี๋ยวนี้ ไม่ผลัดวันประกันพรุ่ง ถ้าทำตามนี้ ทั้งหมดจะทำให้ทุกอย่างผ่านไปได้ด้วยดี
http://www.nuradio.nu.ac.th/th/index.php/en/eventnews/1383-11111111111258749-3
ประชุมถอดบทเรียนบริหารจัดการน้ำพื้นที่ลุ่มต่ำบางระกำโมเดล 60
เวลา 09.00 น. วันที่ 11 กันยายน 2560 ที่ห้องประชุมมณฑลทหารบกที่ 39 ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อ.เมือง จ.พิษณุโลก โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายมน่าน ได้จัดประชุมถอดบทเรียนโครงการบางระกำโมเดล 60 หรือ โครงการบริหารจัดการน้ำแบบชุมชนมีส่วนร่วมพื้นที่ทุ่งหน่วงน้ำบางระกำ โดยเชิญกลุ่มเป้าหมายผู้แทนผู้แทนท้องถิ่น ผู้แทนเกษตรกร จากอ.เมืองพิษณุโลก อ.พรหมพิราม อ.บางระกำ และอ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย มาประชุมเพื่อถอดบทเรียนการบริหารจัดการน้ำ แนวทางปัญหา และการเตรียมการในการจัดทำแผนสำหรับบริหารจัดการน้ำบางระกำโมเดล 61 ต่อไป โดยมีนายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ ผวจ.พิษณุโลก เป็นประธานในการกล่าวเปิดประชุม
นายชำนาญ ชูเที่ยง ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายมน่าน เปิดเผยว่า ในปี 2560 ทุกภาคส่วนได้ริเริ่มโครงการบางระกำโมเดล 60 หรือ โครงการบริการจัดการน้ำแบบชุมชนมีส่วนร่วมพื้นที่หน่วงน้ำบางระกำ โดยเริ่มปรับปฏิทินการเพาะปลูกข้าวให้เร็วขึ้น เริ่มเพาะปลูกในวันที่ 1 เมษายน 2560 และเก็บเกี่ยวให้ทันในช่วงเดือนสิงหาคม 2560 เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากน้ำท่วมที่เกิดประจำ หลังจากนั้น พื้นที่ต่ำจะเป็นพื้นที่เก็บเก็บน้ำ หรือพื้นที่หน่วงน้ำ ชะลอน้ำไว้ในทุ่งนา ไม่ให้มีผลกระทบกับพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง สามารถหน่วงน้ำได้สูงสุด 400 ล้านลบ.ม. และจะเริ่มทำการเพาะปลูกอีกรอบในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน
นายชำนาญ เปิดเผยต่อว่า ภาพรวมพื้นที่เป้าหมายที่เริ่มปรับปฏิทินเพาะปลูก เกษตรกรให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี โดยทำการเพาะปลูกทิ้งสิ้น 258,400 ไร่ คิดเป็น 97.50 % ของพื้นที่เป้าหมายจำนวน 265,000 ไร่ และเก็บเกี่ยวผลผลิตหมดแล้ว 100 % มีพื้นที่เสียหายจากผลกระทบจากร่องมรสุม พายุเซินการ และตาลัส จำนวน 10,400 ไร่ คิดเป็น 4 % ของพื้นที่เป้าหมาย โดยเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ข้าวพันธ์พิษณุโลก 2 และกข.41,กข.61 เป็นไปตามแผนและกำหนดการ
สำหรับพื้นที่นาข้าวที่เก็บเกี่ยวแล้ว ในช่วงที่ได้รับอิทธิพลจากพายุเซินกา กรมชลประทานได้เริ่มระบายน้ำจากแม่น้ำยมสายเก่า และแม่น้ำยมสายหลัก เข้าไปกักเก็บแล้วประมาณ 70,000 ไร่ ในพื้นที่ทุ่งแม่ระหัน ต.บ้านกร่าง อ.เมืองพิษณุโลก และบางส่วนในทุ่งยางระกำ ในต.ท่านางงาม ต.ชุมแสงสงคราม อ.บางระกำ มีปริมาณน้ำที่อยู่ทั้งในคลองในทุ่งบางระกำประมาณ 150 ล้านลบ.ม. ยังสามารถรองรับน้ำได้อีกประมาณ 250 ล้านลบ.บ.ม.
ที่มา - https://www.phitsanulokhotnews.com/2017/09/11/108349
ติดตามซานต้าลุงตู่กันต่อในวันพรุ่งนี้นะคะ...🎄🎉🎄🎉🎄