เสนอแนวทางปรับปรุงโครงการรับจำนำข้าว แบบที่ไม่มีใครต้องเจ็บ


พอดีเห็นตารางนี้ในเวป ธกส. http://www.baac.or.th/content-report.php ดูแล้วตรงกับที่ตัวเองคาดการณ์ไว้ คือ  เกษตรกรส่วนใหญ่ที่เข้าโครงการรับจำนำข้าวเป็นเกษตรกรรายย่อย  มีผลผลิตเหลือเข้าโครงการรับจำนำอยู่ในระดับเฉลี่ย 10 ตัน/ราย ( 14.2 ล้านตัน / 1.5 ล้านราย ) คิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยต่อรายได้ราวๆ 1.5 แสนบาท/ราย ( 2.29 แสนล้าน / 1.5 ล้านราย )  เมื่อมีตัวเองที่ค่อนข้างแน่ชัดแบบนี้ ( เฉลี่ยในทุกช่วงก็ไม่ต่างกันจนมีนัยยะสำคัญ) จึงคิดว่ารัฐบาลควรมีมาตราการและเงื่อนไขในการดำเนินโครงการรับจำนำ  ปรับปรุงเพิ่มเติมจากเดิมที่พยายามทำอยู่

โดยผมเสนอให้ทำการเปิดรับจำนำโดยกำหนดเงื่อนไขปริมาณและราคารับจำนำแบบผกผันกัน  ซึ่งจำทำให้รัฐบาลยังคงนโยบายรับจำนำทุกเมล็ดและในราคา 15000 บาท/ตัน ตามที่เคยประกาศไว้  โดยมีรายละเอียด คือ

(เอาที่ข้าวขาวก่อนคำนวนง่ายดีที่ 1.5 หมื่น/ตัน ค่าเฉลี่ยจากกราฟรวมข้าวทุกประเภท)
ปริมาณรับจำนวนต่อราย ตั้งแต่ตันที่  0  - 10 ตัน แรก รับจำนำในราคา 15000 บาท/ตัน (พื้นที่เพาะปลูกราว 10 - 20ไร่)
ปริมาณรับจำนวนต่อราย ตั้งแต่ตันที่ 11  - 20 ตัน       รับจำนำในราคา 14000 บาท/ตัน (พื้นที่เพาะปลูกราว 15 - 40ไร่)
ปริมาณรับจำนวนต่อราย ตั้งแต่ตันที่ 21  - 50 ตัน       รับจำนำในราคา 12000 บาท/ตัน (พื้นที่เพาะปลูกราว 30 - 80ไร่)
ปริมาณรับจำนวนต่อราย ตั้งแต่ตันที่ 51     ขึ้นไป      รับจำนำในราคา  10000 บาท/ตัน  (พื้นที่เพาะปลูกราว 60 -100ไร่ขึ้นไป)

(พื้นที่เพาะปลูกผมคิดคร่าวๆแล้วเห็นว่าเอาแบบกว้างๆดีกว่า เพราะปริมาณผลผลิตต่อพื้นที่เพาะปลูกมีหลายปัจจัยเกี่ยวข้อง)

กำหนดแบบนี้จะเป็นมุ่งช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยที่ยากจนแบบตรงจุดมากกว่า  อีกทั้งไม่ตัดสิทธิ์การเข้าร่วมโครงการของเกษตรกรรายปานกลาง  หรือแม้แต่เกษตรกรที่รวยมีพื้นที่เพาะปลูก  ( การรวยกว่าหรือมีที่ดินมากกว่าไม่ควรเป็นเหตุให้ตัดสิทธิ์จากการเข้าร่วมโครงการของรัฐ)

เกษตรกรรายย่อยจะไม่ได้รับผลกระทบกับการกำหนดเงื่อนไขการรับจำนำแบบใหม่นี้เลย  ส่วนรายขนาดกลางๆก็ได้รับผลกระทบไม่มากนัก  เพราะ 10 ตันแรกก็ยังจำนำได้ 15000 อยู่ 10 ตันต่อมาก็ยังคงได้ในราคาที่สูงคือ 14000 บาท รึแม้หากยังผลิตข้าวได้มากกว่า 20 ตันส่วนที่เหลือก็ยังจำนำได้ในราคา 12000 บาท ซึ่งยังถือว่าเป็นราคาที่ไม่ขี้เหล่อะไรเลย  ส่วนรายใหญ่ๆที่มีผลผลิตเกินกว่า 50 ตัน  ก็อาจจะเสียส่วนต่างที่เคยได้ในรูปแบบเดิมไปค่อนค้างมาก  แต่ก็เสียไปเฉพาะส่วนที่เกิน 50 ตันเท่านั้น

ผู้ที่คิดจะจำนำอะไรเพียงแค่คิดว่าต้องไปจำนำนั้นก็หมายความว่าท่านเป็นคนที่ขาดแคลน  รึขัดสนเงินทองแล้วละ  ...แต่เกษตรกรที่มีพื้นที่เพาะปลูกมากกว่า 60 - 100 ไร่ขึ้นไป  ผลิตข้าวได้มากกว่า 50 ตันขึ้นไปในฤดูการปลูกรอบเดียว  ไม่น่าจะเรียกว่าขัดสนแล้วนะ  

ข้าวส่วนที่เกินปริมาณในขั้นไหนใครคิดว่าราคาถูกไป  ก็เอาข้าวส่วนนั้นเก็บไว้รอราคาตลาดเหมือนที่เคยทำกันมา  ราคาไม่ขึ้นก็สีขายในพื้นที่  ราคาตลาดขึ้นเกิน 10000 เมื่อไหร่ก็คิดคำนวนเอาว่าจะเก็บไว้รึขายโรงสี  เพราะถือว่ามันเป็นกำไรแล้ว  จากที่เข้าโครงการได้แค่ 10000 บาท
การที่รัฐบาลจะเอาแนวคิดนี้มาปรับใช้  จะมีประโยชน์ต่อรัฐเองหลายอย่าง อาทิ

1. ใช้เม็ดเงินในโครงการลดลงอย่างน้อยๆ ก็น่าจะราว 10 - 20 % คิดเป็นเม็ดเงินนับหมื่นล้านอยู่ (โดยที่มีผลกระทบกับเกษตรกรส่วนใหญ่ และในกรณีที่ปริมาณข้าวเข้าร่วมโครงการเท่าเดิม)

2. รัฐบาลยังคงดำเนินโครงการตามที่ประกาศไว้  คือ รับจำนำทุกเมล็ด  และในราคาเริ่มต้น 15000 บาท/ตัน น่าจะช่วยให้ลดความเสี่ยงในแง่การถูกโจมตีทางการเมืองได้มาก

3. ปริมาณข้าวที่รัฐรับจำนำจะลดลงอัตโนมัติไม่มากก็น้อย  อาจลดลงจากกรณีเกษตรกรรายขนาดกลาง  รายใหญ่  ไม่สนใจนำข้าวส่วนเกิน 50 ตันเข้าร่วมโครงการ  หากลดลงก็จะช่วยให้รัฐไม่ต้องแบกรับภาระในการสต็อกและแปรสภาพ  รวมถึงเม็ดเงินที่ใช้จำนำก็จะลดลงตาม

4.การสวมสิทธิ์จะทำได้ยุ่งยากมากขึ้น  จากที่หากต้องทำเอกสารขึ้นทะเบียนให้เกษตรกรรายย่อยมีพื้นที่ปลูกเพียง 10 - 15 ไร่ ผลผลิตส่งเข้าจำนำได้แค่ 10 ตัน  เดิมก็หาทางเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกมาลงทะเบียนเพิ่มจากที่ปลูกจริง ( การให้ผู้นำชุมชนรับรองพื้นที่เพาะปลูกจากพื้นที่ๆไม่มีเอกสาร ไม่สามารถตรวจสอบได้แน่ชัดอย่าง ภบท.5 รึรับรองพื้นที่เพาะปลูกซ้ำซ้อนกับพื้นที่รกร้าง  พื้นที่ปลูกพืชหรือทำกิจกรรมอย่างอื่นที่ไม่ได้ปลูกข้าวจริง )  เพื่อเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกในการลงทะเบียนให้ได้อีกรายละ 50 - 200 ไร่  หวังว่าจะสวมสิทธิ์จำนวนเพิ่มได้รายละ 20 - 50 ตัน รับ 15000 บาทต่อตันเต็มๆ  มันจะทำได้ยากและได้เงินส่วนต่างน้อยกว่าที่เคย  หากอยากได้เงินมากเท่าเดิมต้องเพิ่มรายในการสวมสิทธิ์มากขึ้นกว่าเดิมเยอะ  ซึ่งจะทำให้เป็นการเปิดทางในการตรวจสอบการทุจริตทำได้ง่ายขึ้น


สรุป  นี่เป็นแนวคิดส่วนตัวที่คิดว่าสามารถนำมาใช้ได้จริง  เพียงแต่ในด้านปริมาณและราคาจำนำที่กำหนดตามขั้นต่างๆอาจต้องดูให้ละเอียดมากขึ้นหากนำมาใช้จริง  หากใครมีข้อติติงรึเสนอแนะก็เชิญครับ  หากมีข้อวิจารย์ที่สมเหตุสมผลว่าไม่มีประโยชน์หรือเป็นผลเสียผมจะได้แก้ไข  เพราะผมส่ง mail ข้อคิดเห็นนี้ไปที่กระทรวงพาณิชย์ กับกระทรวงเกษตรด้วย  จริงๆไม่มีอะไรหรอกแต่หากมันแย่จริงๆจะได้ส่ง mail ไปแก้ไข (อายเขา)

ปล. กระทู้นี้ไม่ได้ตั้งมาเพื่อหวังให้ใครโพสรูปเสียดสีกระแหนะกระแหน  หรือกล่าวโทษบุคคล  รัฐบาล หน่วยงานรับ  รึแม้แต่พรรคการเมือง  เพียงอยากให้ทั้งคนที่เชียร์   คนไม่ชอบโครงการ  รวมถึงขั่วการเมืองต่างๆ    มองข้ามการเอาชนะคะคานกันทางการเมือง  ด้วยคำพูดรึอะไรก็แล้วแต่  แต่หันมาถกเถียงกันเพื่อหาทางออกและแก้ไขในสิ่งที่เราเห็นว่าควรปรับปรุง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่