ทฤษฎี นักฟุตบอล

ทฤษฎี นักฟุตบอล

​ทุกท่านเคยสงสัยกันมั๊ยครับว่า เรื่องบางเรื่องเราบอกคนอื่นได้แนะนำคนอื่นได้  แต่เมื่อเป็นเรื่องของเราเราเป็นคนทำเองเล่นเองทำไมเราทำไม่ได้เหมือนกับที่เราแนะนำคนอื่น  เอาหล่ะครับ วันนี้ผมจะมาพูดถึงทฤษฎีหนึ่ง ซึ่งอาจจะมีผู้อื่นตั้งหรือพูดถึงทฤษฎีนี้กันมาแล้ว แต่เนื่องจากยังมีหลายคนที่ยังสงสัยและผมก็ยังไม่สามารถหาชื่อที่ถูกต้องของทฤษฎีนี้ได้ ผมจึงขอตั้งชื่อว่า ทฤษฎีนักฟุตบอล
​ทฤษฎีนี้เกิดจากการที่ผมสังเกตความสามารถของตัวเองและความเป็นไปของคนในสังคมประกอบกับการดูฟุตบอลผมจึงได้ข้อสรุปว่า คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ตามสภาวะความกฎดันและภาระหน้าที่ที่มี  กลุ่มที่ 1 ผู้เล่น จากการที่ผมศึกษาพฤติกรรมของคนนั้น คนบางคนเป็นบุคคลที่มีความสามารถในการปฏิบัติ เขาสามารถทำงานได้ดีภายใต้สภาวะกาลที่เปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา เขาเป็นนักปฏิบัติชั้นยอด เขาสามารถที่รับความกดดันได้ดี  ยกตัวอย่างเช่น พนักงานขาย พลทหาร ข้าราชการระดับล่าง  แต่เนื่องจากมุมมองที่เขาอยู่ในฐานะผู้ปฏิบัติเขาจึงไม่เห็นรูปเกมขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นในสังคม  ดังนั้น จึงต้องมีบุคคลกลุ่มที่ 2 โค้ช โค้ชมีหน้าที่ในการบริหารจัดการ นำองค์ประกอบของผู้เล่นแต่ละคนมาต่อกันให้กลายเป็นภาพใหญ่  โค้ชจะมองเห็นภาพใหญ่ เป็นผู้ที่รู้ถึงสิ่งที่สังคมหรือองค์กรจะเดินไปและคอยกำกับให้ผู้เล่นทุกคนต่อกันเป็นภาพในแบบต้องการ ยกตัวอย่างเช่น  นายกรัฐมนตรี ผู้บริหารต่างๆ  โค้ช มีจุดเด่นอยู่จุดหนึ่ง เขามีอำนาจ เขาสามารถสั่งการผู้เล่นได้ แต่ในขณะเดียวกัน โค้ช ก็แบกความรับผิดชอบเอาไว้บนบ่า เขามองในมุมเดียวกับผู้เล่น แค่มองได้รอบด้านกว่า  แต่เนื่องจากการแบกรับการบังคับบัญชาผู้เล่นและความรับผิดชอบที่จะต้องนำสังคมหรือองค์กรไปถึงเป้าหมาย ฉะนั้น จึงจะสังเกตได้ว่าการกระทำของคนที่เป็นลักษณะโค้ชจึงไม่ได้ถูกไปซะทั้งหมด ในบางครั้งเราจะเห็นว่า โค้ช ก็มองไม่เห็นในบางจุด ทำผิดพลาดในบางครั้ง ทั้งนี้ เพราะความกดดันในการทำงานและการโฟกัสอะไรบางอย่างจึงทำให้ โค้ช อาจจะมองไม่เห็นบางอย่างในบางมุม  เอาหล่ะครับ คราวนี้เรามาพูดกันถึงกลุ่มที่ 3 คนดู คนดูนั้นมีสิ่งพิเศษอย่างหนึ่งที่แตกต่างจากผู้เล่นและโค้ช นั่นคือ ความกดดัน คนดูไม่มีความกดดัน คนดูไม่ได้เป็นผู้ปฏิบัติหรือวางแผน เขาไม่ต้องรับผิดชอบหรือรับความกดดันหากเกิดความผิดพลาด เขาไม่ต้องไปโฟกัสลงในจุดใดจุดหนึ่งเพื่อแก้ไขปัญหา  ฉะนั้นคนดูจึงมองเห็นสถานการณ์ต่างๆในมุมที่กว้างกว่าผู้เล่นหรือโค้ช  แต่ก็ด้วยเหตุผลเดียวกัน คนดูไม่มีอำนาจ และเมื่อไม่มีอำนาจและความรับผิดชอบใดๆเขาจึงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ที่เป็นอยู่ได้ สิ่งที่เกิดขึ้นจึงเป็นไปในทิศทางการวิภาควิจารณ์มากกว่า ตัวอย่างของคนดูที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ นักวิชาการ นักวิจารณ์ต่างๆ
​จากคน 3 กลุ่มที่ได้กล่าวมาทั้งหมดแล้วนั้น ทุกท่านคงจะพอเข้าใจคนแต่ละแบบเป็นอย่างดี  รวมทั้งเข้าใจเหตุผลว่าทำไมบางครั้งการกระทำของคนบางคนจึงทำอย่างใดอย่างหนึ่งที่ไม่ตรงกับที่เราคิด  ทั้งนี้ก็เนื่องจากความรับผิดชอบ หน้าที่ และ ความกดดันต่างๆนั้นเอง  ดังนั้น เราในฐานะคนดูจึงต้องบอกว่า เราควรจะวิภาควิจารณ์ให้น้อยลงแล้วหันมาร่วมกันหาทางออกทางแก้ให้กับโค้ชหรือผู้เล่นจะดีกว่า  เพราะคนเหล่านี้ต้องการความคิดที่แปลกใหม่และหลากหลายเพื่อที่จะใช้ในการแก้ปัญหาต่อไป

บอล  ผู้ยิ่งใหญ่
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่