ห้องเพลง**คนรากหญ้า** พักยกการเมือง มุมนี้ไม่มีสี ไม่มีกลุ่ม...มีแต่เสียง 13/12/2017 คนญี่ปุ่น..ที่น่ารัก cnck

วันนี้เมื่อ 80 ปีที่แล้ว ตรงกับวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ 1937 (พ.ศ 2480)

โลกได้บันทึกเหตุการณ์ที่น่าเศร้าสลดไว้ว่า

เป็นวันที่กองทัพญี่ปุ่นบุกเข้ายึดกรุงนานกิง (หนานจิง 南京) เมืองหลวงของจีน

หลังจากที่เข้ายึดแล้ว กองทัพญี่ปุ่นได้เข้าทำการทารุณ โหดร้ายอย่างป่าเถื่อน คาดกันว่า

มีคนจีนตายถึง 200,000 ถึง 300,000 คน ยังไม่นับผู้หญิงและเด็กที่ถูกข่มขืน

และ ถูกทารุณทางเพศ อีกนับไม่ถ้วน จนเหตุการณ์นี้ได้ชื่อว่า "ข่มขืนนานกิง Rape of Nanking"



[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้



ตอนแรกว่าจะเขียนถึงความเลวร้ายของสงครามครั้งนี้ แต่เมื่อดูสมาชิกในนี้มีเด็กและเยาวชนค่อนข้างมาก จุ๊บๆ

อีกอย่างสถานการณ์โลกช่วงนี้อยู่ในช่วงใฝ่หาสันติ ไม่อยากเห็นภาพความรุนแรงและโหดร้าย

จึงเปลี่ยนแนวมาเป็นอีกมุมมองหนึ่ง ที่จะกล่าวถึงคนญี่ปุ่นในแง่มุมที่น่ารัก

ต้นคริสต์มาสต้นคริสต์มาสต้นคริสต์มาสต้นคริสต์มาสต้นคริสต์มาสต้นคริสต์มาสต้นคริสต์มาสต้นคริสต์มาส


ช่วงทหารญี่ปุ่นบุกเข้ายึดกรุงนานกิง  มีแพทย์ทหารญี่ปุ่นคนหนึ่งในกองทัพที่เรียกว่า "ฝูงปีศาจ"

ไม่อาจทนดูความวิปริตที่เพื่อนทหารของตนกระทำต่อชาวเมืองผู้ไร้ทางต่อสู้ ที่สุดจึงได้หาทางหลบหนีออกจากกองทัพ

แพทย์ทหารผู้นี้มีชื่อว่า ฮิโรชิ ยามาซากิ



ยามาซากิ เล่าถึงเหตุการณ์นั้นว่า

"แรกเริ่มเดิมที ผมไม่เคยคิดจะเป็นทหาร แต่ด้วยเหตุที่รัฐบาลญี่ปุ่นออกกฎหมายบังคับ
ให้ทุกครอบครัวต้องส่งลูกชายหนึ่งคนเข้าเกณฑ์ไปรบ ดังนั้น
เพื่อไม่ให้พี่ชายที่เพิ่งแต่งงานมีครอบครัวต้องเสี่ยงชีวิต
ผมซึ่งเป็นลูกชายคนสุดท้องของครอบครัว ตอนนั้นอายุ 31 ปี
ทำงานเป็นแพทย์และยังไม่มีครอบครัว จึงรับหมายเกณฑ์มาเป็นทหาร"
       
ยามาซากิถูกส่งตัวไปประจำการอย่างเร่งด่วน ในกองพลที่ปฏิบัติการรบบนสะพานมาร์โค โปโล
(เสียงปืนนัดแรกของสงครามจีน ญี่ปุ่น เริ่มที่นี่)
หลังจากศึกครั้งนั้น เขาได้พบเห็นเพื่อนทหารญี่ปุ่นกลายสภาพเป็นปีศาจสงคราม
สังหารผู้คนเพื่อความบันเทิง ครั้งหนึ่งเขาเห็นเด็กทารกชาวจีนถูกทหารญี่ปุ่นกระหน่ำแทง
ด้วยดาบปลายปืนอย่างสนุกสนานเหมือนแทงกระสอบซ้อมมือ
ยามาซากิ พยายามเข้าไปยับยั้งความบ้าคลั่งและช่วยชีวิตทารกน้อยคนนั้น แต่สายเกินไป




เหตุการณ์ครั้งนั้น ทำให้ ยามาซากิ สุดที่จะทน จึงตัดสินใจหนีทัพทันที

ด้วยความที่ไม่ได้กินอาหาร เป็นเวลา 4 วัน 4 คืน ในที่สุดก็ล้มหมดสติไป"
       
"ผมตื่นขึ้นมาอีกครั้ง ก็พบว่า ตนเองอยู่ในบ้านของชาวนาจีนแก่ๆ ครอบครัวหนึ่ง
ซึ่งช่วยชีวิตและให้ที่พักกับอาหาร เมื่อผมสามารถลุกเดินได้ คู่สามีภรรยาวัยชรา
ให้เสื้อผ้าชุดใหม่กับผม มันเป็นชุดใหม่ๆ สะอาด ชุดเดียวที่พวกเขามีอยู่
ผมมองดูเสื้อผ้านี้ด้วยความรู้สึกที่บอกไม่ถูก ทำได้เพียงแค่โค้งคำนับเขา

       
"นอกจากนั้น พวกเขายังยอมสละแป้งข้าว ที่มีสำรองเพียงน้อยนิดมาทำอาหารให้ผมเก็บไว้กินตอนเดินทาง"
       
       
ยังมีคนจีนอีกหลายคนที่ช่วยยามาซากิตลอดการเดินทาง ซึ่งในที่สุด ก็เดินไปจนถึงเมืองจี่หนัน
เขาเปลี่ยนชื่อของตน เป็น ซัน จี่ หง 山济宏 ระหว่างที่รอข้ามทะเลกลับญี่ปุ่น
เขาได้งานเป็นคนเฝ้าโกดังเก็บเสบียงของกองทัพญี่ปุ่นที่สถานีรถไฟ



จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของ ยามาซากิ ที่ไม่กลับไปญี่ปุ่นคือ ครั้งหนึ่ง

เขาแอบเปิดประตูให้คนงานจีนขโมยอาหารประทังชีวิต รวมถึงเสบียงยังชีพอื่นๆ

จนถูกจับได้ จึงโดนสอบสวนโบยตีอย่างทรมาน แต่เขาไม่ยอมเอ่ยปากซัดทอดหรือเป็นพยานว่ามีคนงานจีนคนไหนที่เกี่ยวข้อง
       
การยอมรับโทษเพียงลำพังในครั้งนั้น ทำให้คนจีนรู้สึกนับถือเขาเสมือนหนึ่งเป็นพี่ชาย

ถึงขนาดที่มีเพื่อนจีนคนหนึ่งได้แนะนำหญิงจีนให้เขารู้จัก เธอซึ่งต่อมาก็ได้กลายเป็นคู่ชีวิตเขา



หลังจากตัดสินใจปักหลักอยู่ที่ จี๋หนาน 济南 ยามาซากิ ได้ตัดสินใจว่าจะประยุกต์ความรู้ทางการแพทย์ที่ตนมี

และศึกษาเกี่ยวกับการแพทย์แผนจีนอย่างคร่ำเคร่ง เพื่อเปิดคลีนิคหมอรักษาผู้ป่วยชาวจีนที่ยากจน

โดยไม่คิดค่ารักษา และไม่ยอมกลับญี่ปุ่นอีกเลยแม้ว่าสงครามระหว่างจีน - ญี่ปุ่นจะยุติไปแล้ว




บั้นปลายชีวิตของ ยามาซากิ  จะอุทิศเงินสวัสดิการที่ตนได้รับจากรัฐบาลญี่ปุ่นให้กับชาวจีน

เขายังได้สอนภาษาญี่ปุ่นให้กับนักเรียนจีนที่สนใจ โดยไม่คิดเงินทอง

และออกเดินทำงานกวาดถนนหนทางสาธารณะรอบๆ ที่พักของตน ทุกวัน  

อีกทั้งอุทิศหนังสือและอุปกรณ์การแพทย์ที่ซื้อมาจากญี่ปุ่นจำนวนมากแก่ห้องสมุดและโรงพยาบาลในเมืองจี่หนัน

ที่สำคัญ ยามาซากิ ยังรับอาสาเป็นทูตสันถวไมตรีระหว่างบ้านเกิดของเขากับเมืองจี่หนานจนสำเร็จ

แม้กระทั่งวันสิ้นชีวิต ยามาซากิ ยังอุทิศร่างกายให้กับโรงพยาบาลเพื่อเป็น

อาจารย์ใหญ่ให้กับนักเรียนแพทย์ได้ศึกษาต่อไป


ฮิโรชิ ยามาซากิ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ 2010 อายุ 103 ปี

ทิ้งไว้ซึ่งเหตุผลที่เขาเลือกหนทางนี้ในการอยู่ในประเทศจีนว่า

เขาเชื่อว่า หนทางที่ดีที่สุดที่จะขอโทษ และชดใช้กับความรู้สึกผิดที่ตนและทหารญี่ปุ่นในครั้งนั้น (หมายถึงที่ นานกิง)
มีแต่เพียงการชดใช้ด้วยการทำความดีต่อคนจีนให้มากยิ่งๆ ขึ้นไปเท่านั้น



และในความเห็นของหลายๆคนที่ได้อ่านประวัติของ ยามาซากิ เชื่อเหลือเกินว่า

"สิ่งที่คุณทำนั้น ได้ชดเชยสิ่งต่างๆได้หมดสิ้นแล้ว หลับให้สบายเถอะครับ คนดีที่มีเพียงน้อยนิดในโลกใบนี้"


ป.ล ข้อมูลตัวหนังสือเอียงได้มาจาก ผู้จัดการออนไลน์

ป.ล 2 สุภาษิตจีนในรูปสุดท้าย (อ่านจากขวาไปซ้าย) มาจากประโยคเต็มว่า

大道无门 千差有路. ต้า เต้า อู๋ เหมิน , เชียน ชือ โหย่ว ลู่.

ประโยคนี้เป็นคำในศาสนาพุทธ แต่ความหมายแล้วแต่ แต่ละสำนักจะแปล แต่คร่าวๆคือ

ทางที่จะบรรลุนั้น เดินทางใหญ่ไม่มี มีแต่เดินทางเล็กทางน้อยที่จะบรรลุได้

ป.ล 3 วันนี้อยากฟังเพลงญี่ปุ่นเก่าๆ เช่น ซันชิโร่ หน้ากากเสือ โจโจ้ซัง ซูบารุ 7 night in japan

เพื่อนๆจัดให้หน่อย คืนนี้ไม่อยู่ จะฟังจากมือถือ

ป.ล 4 คืนนี้ ถ้ากลับมาทัน จะเขียนเรื่องราวดีๆในช่วงสงครามต่อท้ายกระทู้นี้อีก ใครว่างกลับมาอ่าน

พรุ่งนี้ได้นะ flower

cnck
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่