ทฤษฎีเกมได้อธิบายถึงการปฎิสัมพันธ์ทางสังคมของเซลล์มะเร็ง



นักวิจัยหลายคนจากมหาวิทยาลัยบาเซิลกับมหาวิทยาลัย East Anglia สามารถคาดการณ์การปฎิสัมพันธ์ของเซลล์มะเร็งด้วยหลักทฤษฎีเกมได้ ผลลัพธ์ที่ออกมานี้ได้มีการตีพิมพ์ในนิตยสาร PNAS

เนื้องอกก็จะประกอบไปด้วยกลุ่มเซลล์ที่มีลักษณะที่แตกต่างกันในแต่ละตัวที่แข่งขันชิงพื้นที่และทำการแย่งธาตุอาหารระหว่างกัน อย่างไรก็ตามเซลล์มะเร็งก็มีการช่วยเหลือกันและกันเพื่อให้พวกมันดำรงอยู่รอดต่อไปโดยมีการแชร์โมเลกุลไม่ว่าจะเป็นโกรทแฟคเตอร์ เซลล์ต่างๆจะไม่มีการผลิตโกรทแฟคเตอร์ตัวมันเอง ซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากพวกมันสามารถใช้แฟคเตอร์ในการผลิตเซลล์เพื่อนบ้านโดยที่ไม่ต้องเสียต้นทุนการผลิตอะไร ทำให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างเซลล์เนื้องอกที่มาพร้อมกับปัญหาและทำให้เซลล์เนื้องอกเติบโตมากขึ้นโดยไม่ให้ได้รับการบำบัดทางการแพทย์


การเกาะกินของเซลล์มะเร็ง

การเล่นเกมที่ดีก็ถือเป็นส่วนหนึ่งในทฤษฎีเกมและทฤษฎีเกมก็ได้มีการนำไปใช้ในการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจเกี่ยวกับสินค้าทั่วไป ยังมีเรื่องของการขาดดุลในสินค้าโภคภัณฑ์ระหว่างจัดเตรียมสินค้ากับต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆ และต้นทุนที่ไม่ได้ใช้จ่ายแต่นำไปล้างผลาญ สถานการณ์นี้ก็เป็นที่รู้จักกันในปัญหาการเกาะกิน

นักวิจัยหลายคนตอนนี้ก็ได้ทำการประยุกต์ทฤษฎีเกมระหว่างการผลิตกับการไม่ผลิตเพิ่มของเซลล์มะเร็ง ในการวิเคราะห์นั้น หากรูปแบบสามารถนำไปปรับใช้ได้กับกระบวนการต่างๆทางด้านชีววิทยา อย่างเช่นกลไกการเกิดมะเร็ง การจำลองด้วยคอมพิวเตอร์นั้น นักวิจัยหลายคนสามารถที่จะทำการคำนวณดุลยภาพในระยะยาวระหว่างการผลิตเซลล์ต่างๆกับเซลล์ “เกาะกิน” จากนั้นก็ทำการทดลองกับเซลล์มะเร็งตับอ่อนไปจนถึงทดสอบประเมินผล ผลลัพธ์ที่ออกมาก็คาดการณ์ได้จากโมเดลทฤษฎีเกม

“นอกจากนั้นแล้วยังมีการค้นพบว่า กระบวนการต่างๆทางด้านชีววิทยาสามารถคาดการณ์ได้โดยการจำลองทางคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ออกมาพวกเราก็ได้อธิบายว่า การปฎิสัมพันธ์ทางสังคมของเซลล์มะเร็งอาจเผยให้เห็นถึงการเคลื่อนที่ของมะเร็งและหวังว่าจะงานวิจัยนี้จะช่วยต่อยอดบำบัดรักษาได้” กล่าวโดย Gerhard Christofori ซึ่งเป็นอาจารย์คณะชีวการแพทย์จากมหาวิทยาลัยบาเซิล

ผู้แปล : Mr.lawrence10

ที่มา : sciencedaily.com
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่