มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของประเทศลาวเรียกอาณาจักรอยุธยาว่า “ล้านเพีย” คำว่า “เพีย” มาจากไหน? แปลว่าอะไร? มีข้อสันนิษฐานอันหนึ่งที่น่าสนใจโดยบอกว่าคำว่า “เพีย” กร่อนมาจากคำว่า “พญา” หรือ “พระยา” อาณาจักรล้านเพียก็แปลว่าอาณาจักรที่เต็มไปด้วยเหล่าขุนนาง เหมือนอาณาจักรล้านช้าง(ลาวคืออาณาจักรที่เต็มไปด้วยช้าง) อาณาจักรล้านนา(อาณาจักรที่มีผืนนามากมาย) มุมมองส่วนตัวจขกท.เห็นว่าคำสันนิษฐานที่ว่า “เพีย” กร่อนมาจากคำว่าพญาก็ดูเข้าเค้าอยู่เหมือนกันนะ เพราะดูเหมือนว่าประวัติศาสตร์ไทยนับตั้งแต่อยุธยาตอนต้นเรื่อยลงมา จะมีขุนนางระดับ ขุน หลวง พระ มากมายเหลือเกิน อย่าว่าแต่มนุษย์เลยครับที่ได้กินตำแหน่งเหล่านี้ ขนาดสัตว์หรือสิ่งของก็มีสิทธิ์ได้เป็นพระยากับเขาได้เหมือนกัน เช่น พระมาลาเบี่ยง(หมวก) พระแสงดาบคาบค่าย(ดาบ) พระยาไชยานุภาพ(ช้าง) เป็นต้น จากอยุธยาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันหลายร้อยปี ดินแดนไทยแลนด์ของเราก็ยังเต็มไปด้วยพระยาในอดีตจนมาถึงปัจจุบันที่มี “นายพล” มากมายก่ายกอง ก็ยังนับว่าโชคดีอยู่บ้าง...ที่ได้มีการยกเลิกตำแหน่งนายพลจัตวาออกไปเสีย หาไม่แล้ว...เหล่าบรรดา “นายพล” ในกระทรวงกลาโหมอาจจะเหยียบกันตายมากกว่าตายในสนามรบเสียอีก
ขอตัดฉาก พาท่านๆ ไป ณ ประเทศเล็กๆ ประเทศหนึ่งของโลก ประเทศที่เคยผ่านทั้งสงครามกลางเมืองและผ่านการต่อสู้เพื่อเอกราชเพื่อให้หลุดจากการเป็นอาณานิคมของสเปนก็คือประเทศคอสตาริก้า และหลังสงครามกลางเมืองครั้งสุดท้ายสิ้นสุดเมื่อปีคศ 1949 ประธานาธิบดีคนใหม่เซ็นรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ส่งผลให้เกิดเสถียรภาพทางการเมืองให้กับคอสตาริก้ามาจนถึงปัจจุบัน รัฐธรรมนูญมาตราที่๑๒ ระบุให้ไม่มีกองทัพในประเทศอีกต่อไป!! คือยุบกองทัพกำลังทหารเงินงบประมาณทางทหารที่เคยมีทั้งหมด แล้วกระจายเงินส่วนนั้นเข้าไปช่วยและยกฐานะด้านการศึกษา สวัสดิภาพและสุขภาพของประชาชน ซึ่งผลพ่วงจากการยุบกองทัพตรงนั้นทำให้ประเทศคอสตาริก้าไม่มี “นายพล” เลย (ซึ่งต่างจากประเทศไทยมากมาย) ความจริงอย่าว่าแต่นายพลเลยแม้พลทหารหรือไอ้เณรก็ไม่มี!! เมื่อไม่มีนายพลเสียแล้ว....การปฏิวัติก็ไม่มี แม้จะเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา แต่ประชากรของประเทศนี้มีดัชนีความสุขสูงในอันดับต้นๆ ของโลก การส่งเสริมและสนับสนุนด้านการศึกษานั้นมีคุณภาพสูงกว่าอเมริกา กลางปีหน้าผมจะได้มีโอกาสไปดูงานด้านการศึกษาที่ประเทศนี้(คือไปในนามประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ไปดูงานด้านการศึกษาในประเทศที่กำลังพัฒนา ก็แปลกดีเหมือนกัน) ถ้ามีโอกาสหลังจากกลับมาแล้วจะมีรีวิวให้อ่านนะครับ
ประเทศเพื่อนบ้านของเราอีกประเทศหนึ่งที่น่ายกย่องคืออินโดนีเซีย แม้ในอดีตทหารจะเคยมีบทบาททางการเมืองสูง แต่ยี่สิบกว่าปีให้หลังมานี้ “ช่องว่าง” ระหว่างทหารกับการเมืองในประเทศนี้ค่อยๆ ห่างขึ้นเรื่อยๆ การพัฒนาประเทศก็ค่อยๆ รุดหน้าตาม ว่าไปทำไมมี?? ประเทศเมียนมาร์ที่เราเคยประณามนักหนาว่าอยู่ใต้อิทธิพลทหารมาอย่างยาวนานไม่มีวันเจริญ เพียงแค่ระยะไม่ถึงสิบปีที่ทหารพม่าลดบทบาททางเมืองลงไป ความเจริญก็ค่อยๆ เห็น(แม้จะห่างไทยอยู่หลายปีก็ตาม) สำหรับประเทศไทยของเรา...การที่จะไม่ให้มีกองกำลังทหารนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ลำพังแค่ให้ทหารถอยห่างจากการเมืองไทยนั้น เข็นครกขึ้นยอดเขายังดูจะง่ายกว่า
ติ๊งต่างว่าเราทำได้อย่างประเทศคอสตาริก้านะ (คือออกรัฐธรรมนูญไม่ให้มีกองทัพ) แล้วเรามาลองนั่งคำนวน “เม็ดเงิน” แบบลวกๆ ที่เราจะได้กลับมาคืนมาใช้ในการพัฒนาประเทศในส่วนอื่นกี่หมื่นหรือแสนล้าน?? หรืออย่างน้อยๆ เราก็คงจะได้ไม่เห็นภาพใครบางคนมานั่งกรีดนิ้วโชว์แหวนเพชรหรา พร้อมนาฬิกาเรือนเป็นล้านแน่ๆ ขอรับ.....
ปล. สำหรับท่านที่เป็นทหารอย่างคุณโจหมี หรือระดับนายพันอย่างคุณศรอรชุน หรือแม้กระทั่ง “พลโท” อย่างคุณ “แอ๊ด ปากเกร็ด”(คนนี้ก็ชอบพอกันมานานตั้งแต่อยู่ห้องสมุด และท่านพี่แอ๊ดของผมก็ได้รับถูกเสนอชื่อให้เป็นสปช. ด้วย) หากเข้ามาอ่านบทกระทู้นี้ก็อย่าพึ่งเคืองกันซะล่ะครับ ผมก็แค่อยากเข้ามาอวดว่าจะได้โอกาสไปเที่ยวประเทศคอสตาริก้าเท่านั้นเองแหละครับ ส่วนที่เหลือถือซะว่าเป็นของแถม555
...ถ้าท.ทหารไม่อดทน แล้วประชาชนจะอดอะไร?.../วัชรานนท์
ขอตัดฉาก พาท่านๆ ไป ณ ประเทศเล็กๆ ประเทศหนึ่งของโลก ประเทศที่เคยผ่านทั้งสงครามกลางเมืองและผ่านการต่อสู้เพื่อเอกราชเพื่อให้หลุดจากการเป็นอาณานิคมของสเปนก็คือประเทศคอสตาริก้า และหลังสงครามกลางเมืองครั้งสุดท้ายสิ้นสุดเมื่อปีคศ 1949 ประธานาธิบดีคนใหม่เซ็นรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ส่งผลให้เกิดเสถียรภาพทางการเมืองให้กับคอสตาริก้ามาจนถึงปัจจุบัน รัฐธรรมนูญมาตราที่๑๒ ระบุให้ไม่มีกองทัพในประเทศอีกต่อไป!! คือยุบกองทัพกำลังทหารเงินงบประมาณทางทหารที่เคยมีทั้งหมด แล้วกระจายเงินส่วนนั้นเข้าไปช่วยและยกฐานะด้านการศึกษา สวัสดิภาพและสุขภาพของประชาชน ซึ่งผลพ่วงจากการยุบกองทัพตรงนั้นทำให้ประเทศคอสตาริก้าไม่มี “นายพล” เลย (ซึ่งต่างจากประเทศไทยมากมาย) ความจริงอย่าว่าแต่นายพลเลยแม้พลทหารหรือไอ้เณรก็ไม่มี!! เมื่อไม่มีนายพลเสียแล้ว....การปฏิวัติก็ไม่มี แม้จะเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา แต่ประชากรของประเทศนี้มีดัชนีความสุขสูงในอันดับต้นๆ ของโลก การส่งเสริมและสนับสนุนด้านการศึกษานั้นมีคุณภาพสูงกว่าอเมริกา กลางปีหน้าผมจะได้มีโอกาสไปดูงานด้านการศึกษาที่ประเทศนี้(คือไปในนามประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ไปดูงานด้านการศึกษาในประเทศที่กำลังพัฒนา ก็แปลกดีเหมือนกัน) ถ้ามีโอกาสหลังจากกลับมาแล้วจะมีรีวิวให้อ่านนะครับ
ประเทศเพื่อนบ้านของเราอีกประเทศหนึ่งที่น่ายกย่องคืออินโดนีเซีย แม้ในอดีตทหารจะเคยมีบทบาททางการเมืองสูง แต่ยี่สิบกว่าปีให้หลังมานี้ “ช่องว่าง” ระหว่างทหารกับการเมืองในประเทศนี้ค่อยๆ ห่างขึ้นเรื่อยๆ การพัฒนาประเทศก็ค่อยๆ รุดหน้าตาม ว่าไปทำไมมี?? ประเทศเมียนมาร์ที่เราเคยประณามนักหนาว่าอยู่ใต้อิทธิพลทหารมาอย่างยาวนานไม่มีวันเจริญ เพียงแค่ระยะไม่ถึงสิบปีที่ทหารพม่าลดบทบาททางเมืองลงไป ความเจริญก็ค่อยๆ เห็น(แม้จะห่างไทยอยู่หลายปีก็ตาม) สำหรับประเทศไทยของเรา...การที่จะไม่ให้มีกองกำลังทหารนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ลำพังแค่ให้ทหารถอยห่างจากการเมืองไทยนั้น เข็นครกขึ้นยอดเขายังดูจะง่ายกว่า
ติ๊งต่างว่าเราทำได้อย่างประเทศคอสตาริก้านะ (คือออกรัฐธรรมนูญไม่ให้มีกองทัพ) แล้วเรามาลองนั่งคำนวน “เม็ดเงิน” แบบลวกๆ ที่เราจะได้กลับมาคืนมาใช้ในการพัฒนาประเทศในส่วนอื่นกี่หมื่นหรือแสนล้าน?? หรืออย่างน้อยๆ เราก็คงจะได้ไม่เห็นภาพใครบางคนมานั่งกรีดนิ้วโชว์แหวนเพชรหรา พร้อมนาฬิกาเรือนเป็นล้านแน่ๆ ขอรับ.....
ปล. สำหรับท่านที่เป็นทหารอย่างคุณโจหมี หรือระดับนายพันอย่างคุณศรอรชุน หรือแม้กระทั่ง “พลโท” อย่างคุณ “แอ๊ด ปากเกร็ด”(คนนี้ก็ชอบพอกันมานานตั้งแต่อยู่ห้องสมุด และท่านพี่แอ๊ดของผมก็ได้รับถูกเสนอชื่อให้เป็นสปช. ด้วย) หากเข้ามาอ่านบทกระทู้นี้ก็อย่าพึ่งเคืองกันซะล่ะครับ ผมก็แค่อยากเข้ามาอวดว่าจะได้โอกาสไปเที่ยวประเทศคอสตาริก้าเท่านั้นเองแหละครับ ส่วนที่เหลือถือซะว่าเป็นของแถม555