วันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี นอกจากจะเป็นวันรัฐธรรมนูญของไทยแล้ว ยังเป็น
วันสิทธิมนุษยชน Human Rights Day อีกด้วย
คำจำกัดความง่ายๆของวันนี้ตามความหมายที่ UN ให้ไว้คือ
ให้ทุกคนตระหนักและเล็งเห็นถึง
สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
เป็นวันที่ทุกคนจะช่วยกัน
ส่งเสริม ให้โลกเป็นสังคมที่มนุษย์ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้โดยสันติสุข
เวลาเราพูดถึงเรื่องสิทธิ เสรีภาพ สิ่งแรกๆที่เรามองก็คือ เสรีภาพของสื่อ และสื่อที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ
"หนังสือพิมพ์"
วันนี้ก็อยากเสนอ 2 เรื่องที่เกี่ยวกับ
ผู้มีอำนาจแบบเบ็ดเสร็จ กับ สื่อหนังสือพิมพ์ในขณะนั้น
หลังจากอ่านจบทั้งสองเรื่อง ก็อยากรบกวนผู้ที่อ่านตอบในใจว่า
"ผู้นำคนไหนใจกว้าง ใจถึง เข้าใจถึงเรื่องสิทธิมนุษยชนมากกว่ากัน"
เรื่องที่ 1 นรินทร์ (กลึง )คนขวางโลก
นายนรินทร์ (กลึง) หรือ นรินทร์ ภาษิต เป็นนักสู้ที่ทรหดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์
ตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาจนถึงระบอบเผด็จการประชาธิปไตย
แม้จะผ่านการติดคุกครั้งแล้วครั้งเล่า
แต่นรินทร์ ก็ไม่ยอมศิโรราบให้กับความ อยุติธรรม
นรินทร์ (กลึง) ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เคยรับราชการเกือบได้ตำแหน่งพระยา แต่
ยอมสละแม้แต่ตำแหน่งเจ้าเมือง
เพื่อออกมาต่อสู้ มีความคิดล้ำยุคจนถูกหาว่า
เป็นพวกขวางโลก
ช่วงปลายชีวิตของ นรินทร์
ที่เข้าออกคุกเป็นว่าเล่น ต้องเจอกับเผด็จการใหญ่คับเมืองไทยในขณะนั้น นั่นคือ
จอมพล ป พิบูลสงคราม
นรินทร์ (กลึง ) ออกใบปลิวคัดค้านการที่จอมพล ป.จะ
ยืดบทเพาะกาลในรัฐธรรมนูญออกไป
และใช้ถ้อยคำรุนแรง เลยโดนข้อหาเดิมอีกครั้ง คือกบฏ ต้องกลับเข้าไปอยู่ในคุกอีก ๒ ปี
พ้นโทษออกมาในเดือนกรกฎาคม ๒๔๘๕ นรินทร์ ไม่เข็ด ส่งจดหมายถึงจอมพล ป.โดยตรง
ด่าอย่างสาดเสียเทเสีย และเรียกร้องให้
ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และถ้อยคำที่นรินทร์
ใช้เขียนถึงจอมพล ป ใครได้อ่านก็สะดุ้งไปตามๆกัน โดยมีข้อความอันหนึ่งว่า
“มุงมันจองหองพองขน ประดุจอ้ายพวกกิ้งก่าได้ทองโดยแท้”
ข้อความแบบนี้ เขียนส่งให้จอมพล ป ในยุคเรืองอำนาจที่สุด ใครอ่านก็รู้ว่า
"ไอ้หมอนี่ รนหาที่ชัดๆ"
แต่จอมพล ป.ทำในสิ่งที่คนคาดไม่ถึงคือ ส่งจดหมายฉบับนี้คืนให้แก่ นรินทร์ เท่านั้น
แต่นรินทร์ ก็ส่งไปอีกที พร้อมขออนุญาตนำจดหมายฉบับนี้พิมพ์เผยแพร่
จอมพล ป.ก็ส่งจดหมายคืนอีก พร้อมบันทึกต่อท้ายในจดหมายมาด้วยว่า
“...การขออนุญาตพิมพ์จดหมายนั้น ว่าตามหลักประชาธิปไตย ท่านทำได้ ผมก็อนุญาตให้ท่านทำ
แต่จะผิด ก.ม.อย่างไรไม่ทราบ สุดแต่ทางเจ้าหน้าที่ปกครองจะวินิจฉัย
สิทธิเสรีภาพของมนุษย์นั้น ผมได้นับถือมานานแล้ว และอยากจะเริ่มส่งเสริมให้รุ่งเรืองยิ่งขึ้น
ฉะนั้นด้วยหลักการนี้ ผมจึงไม่ขัดข้อง หวังว่าคงจะสบาย หมั่นทำบุญตักบาตร ท่านจะสุขยิ่งขึ้น
เคารพรัก
ป.พิบูลสงคราม
บั้นปลายของชีวิต นรินทร์ (กลึง)
สิ้นลมด้วยหัวใจวายเมื่อวันที่
๒๓ ธันวาคม ๒๔๙๓ ขณะมีอายุได้ ๗๗ ปี
มาถึงเรื่องที่ 2
ยุคจอมพลสฤษดิ์ เรืองอำนาจใครๆก็รู้ว่าเด็ดขาดแค่ไหน วลีที่ว่า
"ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว" สื่อความหมายว่าพร้อมทำทุกอย่างเพื่อรักษาอำนาจตัวเอง
แต่ก็มีสื่อฉบับหนึ่งกล้าลองดีกับจอมพลผู้มีอำนาจสูงสุดอย่าง สฤษดิ์ สื่อที่ว่าคือ
"หนังสือพิมพ์ อิสระ"
อิสระ ด่าจอมพลสฤษดิ์ทุกวัน คำด่าแต่ละคำสุดที่จะบรรยาย ประมาณว่า
“ไอ้ลิงม้ามแตก” “ไอ้ลิงบ้ากาม” “ไอ้พวกชาติสังคัง” ฯลฯ
ครั้งหนึ่ง จอมพลสฤษดิ์ กล่าวหา น.ส.พ อิสระ ว่าเป็นคอมมูนิสต์ และรับงานจะมาล้มตน
น.ส.พ อิสระ โต้รุนแรงทันทีภายใต้ข้อความว่า
ฟัง! สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในฐานะอั๊วกับลื้อก็เป็นคนไทยเหมือนกัน หลักฐานของลื้อแน่ไหม
ถ้าแน่ขอให้แสดงหลักฐานโดยเปิดเผยภายใน ๒๔ ชั่วโมงหลังจากหนังสือนี้วางตลาดแล้ว
มิฉะนั้นอั๊วจะประณามลื้อว่าเป็นอ้ายหมา ๕๐๐ ชาติ เป็นอ้ายคนทรยศต่อชาติ
ลื้อมันพูดซี้ซั้ว เหมือนไม่มีเลือดไทยติดสัน ดา. แสดงหลักฐานเร็วโว้ย”
เขียนกันถึงขั้นนี้ จอมพลสฤษดิ์ มีหรือจะยอม
วันรุ่งขึ้น จอมพลสฤษดิ์บุกไปถึงโรงพิมพ์ แล้วตะโกนเรียกเด็กในสำนักงานว่า
“ไปบอกไอ้หง่าว่าอั๊วมาตามคำท้าแล้ว ออกมาเร็วๆหน่อยๆ”
แป๊บเดียว บุรุษร่างอ้วนพุงพลุ้ย อายุอยู่ในวัย ๔๐ เศษ ชื่อ
นายประยูร ชื่นสวัสดิ์ ผู้อำนวยการ ซึ่งออกมารับหน้าแทน
พร้อมกับเข้าไปยกมือไหว้ประหลกๆ และเจรจากับ ฯพณฯ อยู่พักหนึ่ง ท่านจอมพลจึงกลับไปด้วยความหงุดหงิด
แต่หลังจากที่จอมพลสฤษดิ์ กลับไปไม่นาน
มีรถจิ๊ปกลาง ๒ คันมีผ้าใบปิดป้ายทะเบียน มีชายฉกรรจ์ราว ๑๕ คนพร้อมปืนกลตรงเข้าไปข้างใน
บางพวกขึ้นไปชั้น ๒ ซึ่งเป็นกองบรรณาธิการ ทุบทุกอย่างในกองบรรณาธิการ เช่น
พิมพ์ดีด โทรศัพท์ พัดลม ส่วนพวกอยู่ข้าล่าง ก็ทำลาย แท่นพิมพ์ ฯลฯ ทุกอย่างยับเยินไม่มีเหลือ
ภายหลังเรื่องก็เงียบไป ในเวลาอีกไม่นาน น.ส.พ อิสระ ก็กลับมาเปิดได้อีก โดยมีเบื้องหลังคือ
จอมพลสฤษดิ์ ที่ไม่ชอบเป็นศัตรูกับใคร และชอบใช้วิธีที่ทำให้
ศัตรูกลับมาเป็นมิตร
ได้ให้เงินปลอบขวัญ แก่ ผอ.ประยูร ชื่นสวัสดิ์ จำนวน
หนึ่งแสนสองหมื่นบาท พร้อมกับแนบโน๊ตสั้นๆไปด้วยว่า
“จงอโหสิกรรมให้แก่กัน และเป็นมิตรกันต่อไป”
รูปนักเขียนที่เป็นต้นตอของเรื่อง
สง่า สุทธิพันธ์ กับ ฉัตรแก้ว ราชบดินทร์
ป.ล ในความเป็นเผด็จการ บางครั้งก็มีความน่ารักในตัวของมันเหมือนกัน
ป.ล 2 ไม่รู้เพื่อนๆที่อ่านชอบเรื่องไหนมากกว่ากัน
ป.ล 3 ในเม้นท์ย่อย จะมีรายละเอียดของทั้งสองเรื่อง อีกทั้งเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยมาเล่าให้ฟัง
ป.ล 4 วันนี้ เมื่อปีที่แล้ว ก็เขียนเกี่ยวกับ รัฐธรรมนูญ แต่มาอ่านใหม่ ถ้าเอาเนื้อเรื่องปีที่แล้ว
มาเขียนในปีนี้คงไม่ผ่าน 555
ป.ล 5 คนระดับจอมเผด็จการยังโดนจิกด่ารายวัน ประชาชนอย่างเราๆ จะโดนบ้างไม่เห็นแปลก
วันสิทธิมนุษยชน....อ่านแล้วคิดว่า......(เผด็จการ) คนไหนใจกว้างกว่ากัน cnck
วันสิทธิมนุษยชน Human Rights Day อีกด้วย
คำจำกัดความง่ายๆของวันนี้ตามความหมายที่ UN ให้ไว้คือ
ให้ทุกคนตระหนักและเล็งเห็นถึงสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
เป็นวันที่ทุกคนจะช่วยกันส่งเสริม ให้โลกเป็นสังคมที่มนุษย์ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้โดยสันติสุข
เวลาเราพูดถึงเรื่องสิทธิ เสรีภาพ สิ่งแรกๆที่เรามองก็คือ เสรีภาพของสื่อ และสื่อที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ "หนังสือพิมพ์"
วันนี้ก็อยากเสนอ 2 เรื่องที่เกี่ยวกับ ผู้มีอำนาจแบบเบ็ดเสร็จ กับ สื่อหนังสือพิมพ์ในขณะนั้น
หลังจากอ่านจบทั้งสองเรื่อง ก็อยากรบกวนผู้ที่อ่านตอบในใจว่า
"ผู้นำคนไหนใจกว้าง ใจถึง เข้าใจถึงเรื่องสิทธิมนุษยชนมากกว่ากัน"
เรื่องที่ 1 นรินทร์ (กลึง )คนขวางโลก
นายนรินทร์ (กลึง) หรือ นรินทร์ ภาษิต เป็นนักสู้ที่ทรหดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์
ตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาจนถึงระบอบเผด็จการประชาธิปไตย
แม้จะผ่านการติดคุกครั้งแล้วครั้งเล่าแต่นรินทร์ ก็ไม่ยอมศิโรราบให้กับความ อยุติธรรม
นรินทร์ (กลึง) ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เคยรับราชการเกือบได้ตำแหน่งพระยา แต่ยอมสละแม้แต่ตำแหน่งเจ้าเมือง
เพื่อออกมาต่อสู้ มีความคิดล้ำยุคจนถูกหาว่า เป็นพวกขวางโลก
ช่วงปลายชีวิตของ นรินทร์ ที่เข้าออกคุกเป็นว่าเล่น ต้องเจอกับเผด็จการใหญ่คับเมืองไทยในขณะนั้น นั่นคือ
จอมพล ป พิบูลสงคราม
นรินทร์ (กลึง ) ออกใบปลิวคัดค้านการที่จอมพล ป.จะยืดบทเพาะกาลในรัฐธรรมนูญออกไป
และใช้ถ้อยคำรุนแรง เลยโดนข้อหาเดิมอีกครั้ง คือกบฏ ต้องกลับเข้าไปอยู่ในคุกอีก ๒ ปี
พ้นโทษออกมาในเดือนกรกฎาคม ๒๔๘๕ นรินทร์ ไม่เข็ด ส่งจดหมายถึงจอมพล ป.โดยตรง
ด่าอย่างสาดเสียเทเสีย และเรียกร้องให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และถ้อยคำที่นรินทร์
ใช้เขียนถึงจอมพล ป ใครได้อ่านก็สะดุ้งไปตามๆกัน โดยมีข้อความอันหนึ่งว่า
“มุงมันจองหองพองขน ประดุจอ้ายพวกกิ้งก่าได้ทองโดยแท้”
ข้อความแบบนี้ เขียนส่งให้จอมพล ป ในยุคเรืองอำนาจที่สุด ใครอ่านก็รู้ว่า
"ไอ้หมอนี่ รนหาที่ชัดๆ"
แต่จอมพล ป.ทำในสิ่งที่คนคาดไม่ถึงคือ ส่งจดหมายฉบับนี้คืนให้แก่ นรินทร์ เท่านั้น
แต่นรินทร์ ก็ส่งไปอีกที พร้อมขออนุญาตนำจดหมายฉบับนี้พิมพ์เผยแพร่
จอมพล ป.ก็ส่งจดหมายคืนอีก พร้อมบันทึกต่อท้ายในจดหมายมาด้วยว่า
“...การขออนุญาตพิมพ์จดหมายนั้น ว่าตามหลักประชาธิปไตย ท่านทำได้ ผมก็อนุญาตให้ท่านทำ
แต่จะผิด ก.ม.อย่างไรไม่ทราบ สุดแต่ทางเจ้าหน้าที่ปกครองจะวินิจฉัย
สิทธิเสรีภาพของมนุษย์นั้น ผมได้นับถือมานานแล้ว และอยากจะเริ่มส่งเสริมให้รุ่งเรืองยิ่งขึ้น
ฉะนั้นด้วยหลักการนี้ ผมจึงไม่ขัดข้อง หวังว่าคงจะสบาย หมั่นทำบุญตักบาตร ท่านจะสุขยิ่งขึ้น
เคารพรัก
ป.พิบูลสงคราม
บั้นปลายของชีวิต นรินทร์ (กลึง)
สิ้นลมด้วยหัวใจวายเมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๔๙๓ ขณะมีอายุได้ ๗๗ ปี
มาถึงเรื่องที่ 2
ยุคจอมพลสฤษดิ์ เรืองอำนาจใครๆก็รู้ว่าเด็ดขาดแค่ไหน วลีที่ว่า
"ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว" สื่อความหมายว่าพร้อมทำทุกอย่างเพื่อรักษาอำนาจตัวเอง
แต่ก็มีสื่อฉบับหนึ่งกล้าลองดีกับจอมพลผู้มีอำนาจสูงสุดอย่าง สฤษดิ์ สื่อที่ว่าคือ "หนังสือพิมพ์ อิสระ"
อิสระ ด่าจอมพลสฤษดิ์ทุกวัน คำด่าแต่ละคำสุดที่จะบรรยาย ประมาณว่า
“ไอ้ลิงม้ามแตก” “ไอ้ลิงบ้ากาม” “ไอ้พวกชาติสังคัง” ฯลฯ
ครั้งหนึ่ง จอมพลสฤษดิ์ กล่าวหา น.ส.พ อิสระ ว่าเป็นคอมมูนิสต์ และรับงานจะมาล้มตน
น.ส.พ อิสระ โต้รุนแรงทันทีภายใต้ข้อความว่า
ฟัง! สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในฐานะอั๊วกับลื้อก็เป็นคนไทยเหมือนกัน หลักฐานของลื้อแน่ไหม
ถ้าแน่ขอให้แสดงหลักฐานโดยเปิดเผยภายใน ๒๔ ชั่วโมงหลังจากหนังสือนี้วางตลาดแล้ว
มิฉะนั้นอั๊วจะประณามลื้อว่าเป็นอ้ายหมา ๕๐๐ ชาติ เป็นอ้ายคนทรยศต่อชาติ
ลื้อมันพูดซี้ซั้ว เหมือนไม่มีเลือดไทยติดสัน ดา. แสดงหลักฐานเร็วโว้ย”
เขียนกันถึงขั้นนี้ จอมพลสฤษดิ์ มีหรือจะยอม
วันรุ่งขึ้น จอมพลสฤษดิ์บุกไปถึงโรงพิมพ์ แล้วตะโกนเรียกเด็กในสำนักงานว่า
“ไปบอกไอ้หง่าว่าอั๊วมาตามคำท้าแล้ว ออกมาเร็วๆหน่อยๆ”
แป๊บเดียว บุรุษร่างอ้วนพุงพลุ้ย อายุอยู่ในวัย ๔๐ เศษ ชื่อนายประยูร ชื่นสวัสดิ์ ผู้อำนวยการ ซึ่งออกมารับหน้าแทน
พร้อมกับเข้าไปยกมือไหว้ประหลกๆ และเจรจากับ ฯพณฯ อยู่พักหนึ่ง ท่านจอมพลจึงกลับไปด้วยความหงุดหงิด
แต่หลังจากที่จอมพลสฤษดิ์ กลับไปไม่นาน
มีรถจิ๊ปกลาง ๒ คันมีผ้าใบปิดป้ายทะเบียน มีชายฉกรรจ์ราว ๑๕ คนพร้อมปืนกลตรงเข้าไปข้างใน
บางพวกขึ้นไปชั้น ๒ ซึ่งเป็นกองบรรณาธิการ ทุบทุกอย่างในกองบรรณาธิการ เช่น
พิมพ์ดีด โทรศัพท์ พัดลม ส่วนพวกอยู่ข้าล่าง ก็ทำลาย แท่นพิมพ์ ฯลฯ ทุกอย่างยับเยินไม่มีเหลือ
ภายหลังเรื่องก็เงียบไป ในเวลาอีกไม่นาน น.ส.พ อิสระ ก็กลับมาเปิดได้อีก โดยมีเบื้องหลังคือ
จอมพลสฤษดิ์ ที่ไม่ชอบเป็นศัตรูกับใคร และชอบใช้วิธีที่ทำให้ศัตรูกลับมาเป็นมิตร
ได้ให้เงินปลอบขวัญ แก่ ผอ.ประยูร ชื่นสวัสดิ์ จำนวน หนึ่งแสนสองหมื่นบาท พร้อมกับแนบโน๊ตสั้นๆไปด้วยว่า
“จงอโหสิกรรมให้แก่กัน และเป็นมิตรกันต่อไป”
รูปนักเขียนที่เป็นต้นตอของเรื่อง สง่า สุทธิพันธ์ กับ ฉัตรแก้ว ราชบดินทร์
ป.ล ในความเป็นเผด็จการ บางครั้งก็มีความน่ารักในตัวของมันเหมือนกัน
ป.ล 2 ไม่รู้เพื่อนๆที่อ่านชอบเรื่องไหนมากกว่ากัน
ป.ล 3 ในเม้นท์ย่อย จะมีรายละเอียดของทั้งสองเรื่อง อีกทั้งเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยมาเล่าให้ฟัง
ป.ล 4 วันนี้ เมื่อปีที่แล้ว ก็เขียนเกี่ยวกับ รัฐธรรมนูญ แต่มาอ่านใหม่ ถ้าเอาเนื้อเรื่องปีที่แล้ว
มาเขียนในปีนี้คงไม่ผ่าน 555
ป.ล 5 คนระดับจอมเผด็จการยังโดนจิกด่ารายวัน ประชาชนอย่างเราๆ จะโดนบ้างไม่เห็นแปลก