ในแง่ของประวัติการเมืองไทยสมัยใหม่ ภาพของการต่อสู้ระหว่าง 2 ขั้ว นั่นคือ ระหว่าง “ประชาธิปไตยกับเผด็จการ” หรือระหว่าง “ทหารกับพลเรือน” ระหว่าง “ธรรมะกับอธรรม” หรือท้ายที่สุดระหว่าง “เทพกับมาร” นั้น ดูเหมือนจะได้รับการตอกย้ำและยอมรับกันโดยทั่วไป
ดังนั้น เรื่องราวของ 2475 จึงเป็นการต่อสู้ระหว่าง “คณะเจ้า” กับ “คณะราษฎร” หรือระหว่าง “สมบูรณาญาสิทธิราชย์” กับ “ประชาธิปไตย” และเมื่อการเมืองไทยเข้าสู่ “วัฏจักรแห่งความชั่วร้าย” ของการ “ปฏิวัติและรัฐประหาร” ก็กลายเป็นเรื่องของการต่อสู้ของ “เสรีประชาธิปไตย” กับ “เผด็จการทหาร”
หรือแม้กระทั่งเป็นเรื่องของ “ฝ่าย” และ/หรือ “ค่าย” เช่น “ฝ่ายจอมพล ป. พิบูลสงคราม” กับ “ฝ่ายนายปรีดี พนมยงค์” และ/หรือ “ค่ายสี่เสาเทเวศร์” (ของสฤษดิ์ ธนะรัชต์) กับ “ค่ายซอยราชครู” (ของผิน ชุณหะวัณ และเผ่า ศรียานนท์) เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม หากจะมองให้ลึกลงไปแล้ว จะพบว่ามีหลายครั้งหลายหน ที่มีความพยายามที่จะสร้างกลุ่มก้อนทางการเมืองขึ้นใหม่ หรือให้มีทางเลือกที่มากกว่า 2 ให้เป็นทางออกของประชามหาชน แต่ความพยายามและกลุ่มก้อนดังกล่าวก็ถูกทำลายพิฆาตฆ่า ทำให้ไม่สามารถจะเติบโตขึ้นมาได้ในแผ่นดินนี้
กรณีของ “4 ส.ส. รัฐมนตรีอีสาน + 1” เป็นตัวอย่างอันชัดเจนที่จะนำมาศึกษาหาความรู้ให้เห็นภาพของการเมืองไทยให้กระจ่างชัดยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงของการปิดงานการเฉลิมฉลอง 100 ปีชาตกาลของ ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ 11 พฤษภาคม 2544/2001
ในยุคที่ประชาธิปไตยเริ่มจะเบ่งบานขึ้นภายหลังการปฏิวัติ 2475 นั้น ในช่วงของการเมืองในระบบรัฐสภา ที่มีสภานิติบัญญัติ มีการเลือกตั้ง และ/หรือมีพรรคการเมือง นับตั้งแต่ปี 2476 ที่มีการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก จนกระทั่งถึงต้นทศวรรษ 2490 อันเป็นช่วงเวลาเข้าสู่ “ยุคทมิฬ” และ/หรือ “วิสามัญฆาตกรรมทางการเมือง” ที่อำนาจ “รัฐตำรวจ” (ในสมัยของการเมือง “คณะรัฐประหาร” ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม และจอมพล ผิน ชุณหะวัณ) ที่ในส่วนของการจัดการ “รักษาความสงบเรียบร้อย” (ซึ่งแปลได้ตรงตัวตามลายลักษณ์อักษรว่า ฆ่าและปราบปราม นำโดยเผ่า ศรียานนท์ และบรรดา “อัศวิน”) ได้กระทำต่อบุคคลที่ไม่ลงรอยทางการเมืองกับตนจำนวนมากนั้น
กล่าวได้ว่า กลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร “อีสาน” ดูจะโดดเด่นเป็นพิเศษในฐานะที่พยายามทำหน้าที่เป็นตัวแทนของคนส่วนใหญ่ จาก “วงนอก” และจาก “ชายขอบ” เป็นปากเสียงและต่อรองให้ผู้ที่อยู่นอกศูนย์กลางของอำนาจ (กรุงเทพฯ)
4 ส.ส. รัฐมนตรีอีสาน
4 ส.ส. รัฐมนตรีอีสาน คือ นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ (อุบลราชธานี เกิด 2449-ตาย 2492) นายจำลอง ดาวเรือง (มหาสารคาม 2453-2492) นายถวิล อุดล (ร้อยเอ็ด 2452-2492) และนายเตียง ศิริขันธ์ (สกลนคร 2452-2495) ส่วน + 1 ก็คือ ดร.ทองเปลว ชลภูมิ (สมุทรสาคร 2454-2492)
โปรดสังเกตว่าปีเกิดของบุคคลเหล่านี้อยู่ในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 ต้นรัชกาลที่ 6 หรือราวๆ ค.ศ. 1910 ทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษใหม่ อายุอ่อนกว่า ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ (เกิด 2444/1900) ประมาณ 10 ปีเช่นกัน
1. ทองอินทร์ ภูริพัฒน์
เป็น ส.ส. จากอุบลราชธานี รวม 4 ครั้ง นับตั้งแต่มีการเลือกตั้งครั้งแรก พ.ศ. 2476, 2480, 2481, 2489 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีถึง 6 สมัย (ชุดของนายกรัฐมนตรี ควง อภัยวงศ์, ทวี บุณยเกตุ, ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ชุดแรก, ปรีดี พนมยงค์ ชุด 3, หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ชุด 1 และ 2 และได้ควบ 2 ตำแหน่งอีกด้วย)
ทองอินทร์นับได้ว่าเป็นชนชั้นผู้นำในระดับภูมิภาค เรียนหนังสือจบมัธยม 6 จากอุบลฯ แล้วมาจบมัธยม 8 จากสวนกุหลาบฯ ได้ประกาศนียบัตรครูประโยคมัธยม ดังนั้นก็มีชีวิตรับราชการเป็นครู ก่อนที่จะย้ายไปเป็นนายอำเภอ โยกย้ายไปหลายจังหวัด ทำให้เขา “ตีนติดดิน” และมองเห็นปัญหาของสังคมในระดับของประชาชน
ทองอินทร์เป็นผู้แทนครั้งแรกเมื่ออายุ 24 (เมื่อมีการตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง มธก. เป็น “ตลาดวิชา” ครั้งแรก ทองอินทร์ก็เรียนจนได้ปริญญา “ธรรมศาสตรบัณฑิต” หรือ ธ.บ.)
กล่าวได้ว่าทองอินทร์เป็นเสมือนหัวหน้าทีมของ “4 เสืออีสาน” มีความเชี่ยวชาญในการอภิปรายอย่างมีสาระยิ่งในสภา ทองอินทร์สมรสกับเจ้าสิริบังอร ณ จัมปาศักดิ์ สร้างความสัมพันธ์สองฝั่งโขง มากเสียกว่าข้อหา “กบฏแบ่งแยกดินแดน” ที่รัฐนำมายัดเยียด ทองอินทร์เป็นพลพรรค “เสรีไทย” และถูก “วิสามัญฆาตกรรมทางการเมือง” ด้วยการ “ยิงทิ้ง” ที่ ก.ม. 14-15 บางเขน ถนนพหลโยธิน โดยผู้นำของ “รัฐตำรวจ” ของ “คณะรัฐประหาร” เมื่อ 4 มีนาคม 2492 พร้อมกับเพื่อน ส.ส. รมต. อีก 3 นาย
2. จำลอง ดาวเรือง
เป็น ส.ส. จากมหาสารคามรวม 3 ครั้ง (พ.ศ. 2480, 2481, 2489 และเป็นพฤฒิสภาสมาชิก 1 ครั้ง) เป็นรัฐมนตรี 4 สมัย (ชุดนายกรัฐมนตรีทวี, เสนีย์, ธำรงฯ) อาจจะเป็น ส.ส. ในกลุ่มที่มีฐานะทางเศรษฐกิจด้อยสุด ดังนั้น ประสบการณ์ชีวิตที่ต้องต่อสู้มานับแต่วิ่งรถในอีสาน ข้ามไปทำงานในลาว (ร่วมสร้างความสัมพันธ์สองฝั่งโขง แต่ก็ถูกข้อหา “กบฏแบ่งแยกดินแดน” ที่รัฐนำมายัดเยียดภายหลังเช่นกัน)
จำลองเคยเป็นนักมวยหาเลี้ยงชีพด้วยการเป็นครูประชาบาล จนสอบไล่ชุดครูได้ก้าวขึ้นมาเป็นเสมียนศึกษาธิการและเป็นเจ้าของกิจการโรงเรียนราษฎรแห่งแรกในจังหวัดมหาสารคามที่เปิดสอนจนถึงชั้นมัธยม
จำลองได้ธรรม ศาสตรบัณฑิต (ธ.บ.) ในภายหลังก็ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2480 เป็นผู้แทนเมื่ออายุ 27 ปี กล่าวกันว่า จำลองเก่งในเรื่องของการประสานรอยร้าวในหมู่คณะและเข้ากับผู้คนได้เป็นอย่างดี เช่นเดียวกัน จำลองเป็นพลพรรค “เสรีไทย” และถูก “วิสามัญฆาตกรรมทางการเมือง” ด้วยการ “ยิงทิ้ง” ที่ ก.ม. 14-15 บางเขน ถนนพหลโยธิน โดยผู้นำของ “รัฐตำรวจ” ของ “คณะรัฐประหาร” เมื่อ 4 มีนาคม 2492 พร้อมกับเพื่อน ส.ส. รมต. อีก 3 นาย
3. ถวิล อุดล
เป็น ส.ส. จากร้อยเอ็ดรวม 2 ครั้ง (พ.ศ. 2480, 2481 และเป็นพฤฒิสภา 1 ครั้ง) เป็นรัฐมนตรี 2 สมัย (ชุดนายกรัฐมนตรีทวี, เสนีย์) ถวิลเข้ามาเรียนจบมัธยม 8 จากสวนกุหลาบฯ และในปี 2473 ยังจบโรงเรียนกฎหมายของกระทรวงยุติธรรมอีกด้วย ถวิลออกไปทำงานเป็นทนายความในอีสาน และ รับราชการในกรมราชทัณฑ์ในเวลาต่อมา จนกระทั่ง ได้เป็นผู้ตรวจการเทศบาลอุบลฯ แล้วก็สมัคร ส.ส. เป็นครั้งแรกในปี 2480 เป็นผู้แทนเมื่ออายุ 28 ปี
ถือกันว่านายถวิลเป็นเหรัญญิกของกลุ่ม มีความชำนาญในการขีดเขียนโต้ตอบจดหมาย และร่างนโยบาย เช่นเดียวกัน ถวิลเป็นพลพรรค “เสรีไทย” ถูก “วิสามัญฆาตกรรมทางการเมือง” ด้วยการ “ยิงทิ้ง” ที่ ก.ม. 14-15 บางเขน ถนนพหลโยธิน โดยผู้นำของ “รัฐตำรวจ” ของ “คณะรัฐประหาร” เมื่อ 4 มีนาคม 2492 พร้อมกับเพื่อน ส.ส. รมต. อีก 3 นาย
4. เตียง ศิริขันธ์
เป็น ส.ส. จากสกลนครรวม 5 ครั้ง (2480, 2481, 2489, 2492 และ 2495) เตียงได้เป็นรัฐมนตรี 3 สมัย (ชุดนายกรัฐมนตรีทวี, เสนีย์ และธำรงฯ) เตียงเรียนจบชั้นมัธยม 6 จากโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล เรียนต่อในโรงเรียนฝึกหัดครูวัดบวรนิเวศน์ และได้ประกาศนียบัตรประโยคมัธยมจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เคยรับราชการเป็นผู้ช่วยครูใหญ่ที่โรงเรียนเก่าของตนที่อุดรฯ เคยถูกจับในข้อหาคอมมิวนิสต์ ถูกขัง 3 เดือนเมื่อปี 2476 เตียงเคยเรียน มธก. แต่ไม่จบ ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ครั้งแรกเมื่ออายุได้ 28 ปี
ถือกันว่าในกลุ่มอีสานนี้ เตียงเป็นประหนึ่งเลขาธิการ มีความเชี่ยวชาญในการวางแผน เป็นผู้ประสานงาน “เสรีไทย” ในอีสานให้ ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ เตียงมีรหัสชื่อลับว่า “พลูโต” ทำการก่อสร้างสนามบินเพื่อรับเครื่องบินและอาวุธ (เอาซ่อนไว้ในถ้ำที่ภูพาน) จากฝ่ายสัมพันธมิตร ได้รับฉายาว่า “ขุนพลภูพาน” หนึ่งในบรรดาผู้ร่วมงาน “กู้ชาติ” ครั้งนั้นคือ ครอง จันดาวงศ์ (ที่ถูกจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประหารชีวิตด้วยการ “ยิงเป้า” ด้วยมาตรา 12)
กล่าวกันว่าเตียงรู้จักกับจิม ทอมป์สัน สายลับของอเมริกาเป็นอย่างดีในช่วงงาน “เสรีไทย” ผู้ที่ต่อมาเป็น “ราชาไหมไทย” เคยไปพักที่บ้านของเตียงถึง 3 ครั้ง เตียงเล่นบทผู้นำของภูมิภาค “อุษาคเนย์” ด้วยการตั้งและเป็นประธาน Southeast Asian League หรือสันนิบาตเอเชียอาคเนย์ (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) เมื่อสิงหาคม 2490 ที่มาก่อนกาลเวลาของ ASEAN ถึง 10 กว่าปี
เมื่อเพื่อน ส.ส. อีสานถูก “วิสามัญฆาตกรรมทางการเมือง” ด้วยการ “ยิงทิ้ง” ที่ ก.ม. 14-15 บางเขน ถนนพหลโยธิน เมื่อ 4 มีนาคม 2492 นั้น เตียง ศิริขันธ์ หลุดรอดไปได้ (บ้างกล่าวว่าเพราะภรรยาของเขา คือ นิวาศน์ พิชิตรณการ นั้นเกี่ยวดองกับเผ่า ศรียานนท์ กล่าวคือ น้าของนิวาศน์เป็นภรรยาคนหนึ่งของบิดาของเผ่า)
ภายหลังวิกฤตการณ์ทางการเมืองของรัฐประหาร 2490 และกบฏวังหลวง 2492 นั้น แม้เตียงจะมีชีวิตรอดอยู่ได้ และได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส. ต่อมาอีกทั้งปี 2492 และ 2495 แต่บทบาททางการเมืองของเขาก็ลดลง และก็ “หายตัวไปอย่างลึกลับ” โดยมาปรากฏภายหลังว่าถูก “รัฐตำรวจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้การนำของอธิบดีตำรวจเผ่า ศรียานนท์ ส่ง “อัศวิน” และพรรคพวกมา “รัดคอตาย” และนำไป “ย่างศพ” ฝังทิ้งที่ป่ากาญจนบุรี เมื่อธันวาคม 2495 หรือกว่า 3 ปีต่อมาพร้อมกับอดีตเสรีไทยอย่าง ชาญ และเล็ก บุนนาค
5. ทองเปลว ชลภูมิ
เป็น ส.ส. จากปราจีนบุรี 1 ครั้ง 2489 (และเคยเป็น ส.ส. ประเภท 2 ที่มาจากการแต่งตั้ง 1 ครั้ง 2488) เป็นรัฐมนตรี 1 สมัย (ชุดนายกรัฐมนตรีหลวงธำรงฯ) ดร.ทองเปลว เกิดที่สมุทรสาคร เรียนจบมัธยม 6 จากโรงเรียนวัดเทพศิรินทร์ฯ และจบจากโรงเรียนกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม เมื่อปี 2476
หากจะเทียบกับบรรดา ส.ส. อีสานที่เขาสนิทสนมและคุ้นเคยแล้ว จัดได้ว่าทองเปลวเป็นคน “วงใน” มากกว่าคน “วงนอก” หรือคน “ชายขอบ” เพราะได้ร่วมเป็นหนึ่งในบรรดา “ผู้ก่อการ” ปฏิวัติ 2475 ดังนั้น ก็ใกล้ชิดสนิทสนมกับ ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ มาแต่แรกเริ่มได้รับราชการในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ต่อมาได้ทุนไปเรียนต่อ ณ ประเทศฝรั่งเศส จนจบปริญญาเอกทางด้านกฎหมาย ได้เป็นอาจารย์บรรยายวิชาเศรษฐศาสตร์ที่ มธก. ก้าวไปสู่ตำแหน่งสูงของการเป็นเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จนกระทั่ง มีความขัดแย้งกับจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงถูกปลดจากตำแหน่ง
ในช่วงหลังสงคราม ดร.ทองเปลวมีบทบาทมาก รับผิดชอบดูแลองค์การสรรพาหารของรัฐบาลที่ตั้งขึ้นเป็นการพิเศษ ซึ่งทำหน้าที่ในการจัดซื้อและจำหน่ายสินค้าเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนยุคสงคราม แต่องค์การนี้ก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์หนักหน่วงในเรื่องของการบริหารและคอร์รัปชัน
ภายหลังการรัฐประหาร 2490 ดร.ทองเปลวหนีไปต่างประเทศ และถูกจับครั้งหนึ่งในปี 2491 ในห้องขังนั้น เขาได้เขียนหนังสือที่น่าสนใจและได้รับการตีพิมพ์แล้ว คือ หว่องอันยื้อ รัฐบุรุษผู้ตายอย่างหมากลางถนน เป็นเรื่องราวจากพงศาวดารจีนที่นำมาสะท้อนสถานการณ์หลังสงครามของไทยและองค์การสรรพาหารได้เป็นอย่างดี
เมื่อออกจากคุก ดร.ทองเปลวก็ไปลี้ภัยทางการเมืองที่ปีนัง เขาได้ถูกลวงให้กลับมาในช่วงของ “กบฏวังหลวง 2492” (หรือที่ ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ เรียกว่า “ขบวนการประชาธิปไตย 26 กุมภาพันธ์ 2492) และท้ายที่สุดเช่นเดียวกันกับสหายอีสาน ส.ส. รมต. และพลพรรค “เสรีไทย” อีก 3 นาย เขาก็ถูก “วิสามัญฆาตกรรมทางการเมือง” ด้วยการ “ยิงทิ้ง” ที่ ก.ม. 14-15 บางเขน ถนนพหลโยธิน โดยผู้นำของ “รัฐตำรวจ” ของ “คณะรัฐประหาร” เมื่อ 4 มีนาคม 2492
วิสามัญฆาตกรรมทางการเมือง โดยรัฐตำรวจของคณะรัฐประหาร
ดังนั้น เรื่องราวของ 2475 จึงเป็นการต่อสู้ระหว่าง “คณะเจ้า” กับ “คณะราษฎร” หรือระหว่าง “สมบูรณาญาสิทธิราชย์” กับ “ประชาธิปไตย” และเมื่อการเมืองไทยเข้าสู่ “วัฏจักรแห่งความชั่วร้าย” ของการ “ปฏิวัติและรัฐประหาร” ก็กลายเป็นเรื่องของการต่อสู้ของ “เสรีประชาธิปไตย” กับ “เผด็จการทหาร”
หรือแม้กระทั่งเป็นเรื่องของ “ฝ่าย” และ/หรือ “ค่าย” เช่น “ฝ่ายจอมพล ป. พิบูลสงคราม” กับ “ฝ่ายนายปรีดี พนมยงค์” และ/หรือ “ค่ายสี่เสาเทเวศร์” (ของสฤษดิ์ ธนะรัชต์) กับ “ค่ายซอยราชครู” (ของผิน ชุณหะวัณ และเผ่า ศรียานนท์) เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม หากจะมองให้ลึกลงไปแล้ว จะพบว่ามีหลายครั้งหลายหน ที่มีความพยายามที่จะสร้างกลุ่มก้อนทางการเมืองขึ้นใหม่ หรือให้มีทางเลือกที่มากกว่า 2 ให้เป็นทางออกของประชามหาชน แต่ความพยายามและกลุ่มก้อนดังกล่าวก็ถูกทำลายพิฆาตฆ่า ทำให้ไม่สามารถจะเติบโตขึ้นมาได้ในแผ่นดินนี้
กรณีของ “4 ส.ส. รัฐมนตรีอีสาน + 1” เป็นตัวอย่างอันชัดเจนที่จะนำมาศึกษาหาความรู้ให้เห็นภาพของการเมืองไทยให้กระจ่างชัดยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงของการปิดงานการเฉลิมฉลอง 100 ปีชาตกาลของ ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ 11 พฤษภาคม 2544/2001
ในยุคที่ประชาธิปไตยเริ่มจะเบ่งบานขึ้นภายหลังการปฏิวัติ 2475 นั้น ในช่วงของการเมืองในระบบรัฐสภา ที่มีสภานิติบัญญัติ มีการเลือกตั้ง และ/หรือมีพรรคการเมือง นับตั้งแต่ปี 2476 ที่มีการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก จนกระทั่งถึงต้นทศวรรษ 2490 อันเป็นช่วงเวลาเข้าสู่ “ยุคทมิฬ” และ/หรือ “วิสามัญฆาตกรรมทางการเมือง” ที่อำนาจ “รัฐตำรวจ” (ในสมัยของการเมือง “คณะรัฐประหาร” ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม และจอมพล ผิน ชุณหะวัณ) ที่ในส่วนของการจัดการ “รักษาความสงบเรียบร้อย” (ซึ่งแปลได้ตรงตัวตามลายลักษณ์อักษรว่า ฆ่าและปราบปราม นำโดยเผ่า ศรียานนท์ และบรรดา “อัศวิน”) ได้กระทำต่อบุคคลที่ไม่ลงรอยทางการเมืองกับตนจำนวนมากนั้น
กล่าวได้ว่า กลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร “อีสาน” ดูจะโดดเด่นเป็นพิเศษในฐานะที่พยายามทำหน้าที่เป็นตัวแทนของคนส่วนใหญ่ จาก “วงนอก” และจาก “ชายขอบ” เป็นปากเสียงและต่อรองให้ผู้ที่อยู่นอกศูนย์กลางของอำนาจ (กรุงเทพฯ)
4 ส.ส. รัฐมนตรีอีสาน
4 ส.ส. รัฐมนตรีอีสาน คือ นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ (อุบลราชธานี เกิด 2449-ตาย 2492) นายจำลอง ดาวเรือง (มหาสารคาม 2453-2492) นายถวิล อุดล (ร้อยเอ็ด 2452-2492) และนายเตียง ศิริขันธ์ (สกลนคร 2452-2495) ส่วน + 1 ก็คือ ดร.ทองเปลว ชลภูมิ (สมุทรสาคร 2454-2492)
โปรดสังเกตว่าปีเกิดของบุคคลเหล่านี้อยู่ในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 ต้นรัชกาลที่ 6 หรือราวๆ ค.ศ. 1910 ทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษใหม่ อายุอ่อนกว่า ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ (เกิด 2444/1900) ประมาณ 10 ปีเช่นกัน
1. ทองอินทร์ ภูริพัฒน์
เป็น ส.ส. จากอุบลราชธานี รวม 4 ครั้ง นับตั้งแต่มีการเลือกตั้งครั้งแรก พ.ศ. 2476, 2480, 2481, 2489 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีถึง 6 สมัย (ชุดของนายกรัฐมนตรี ควง อภัยวงศ์, ทวี บุณยเกตุ, ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ชุดแรก, ปรีดี พนมยงค์ ชุด 3, หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ชุด 1 และ 2 และได้ควบ 2 ตำแหน่งอีกด้วย)
ทองอินทร์นับได้ว่าเป็นชนชั้นผู้นำในระดับภูมิภาค เรียนหนังสือจบมัธยม 6 จากอุบลฯ แล้วมาจบมัธยม 8 จากสวนกุหลาบฯ ได้ประกาศนียบัตรครูประโยคมัธยม ดังนั้นก็มีชีวิตรับราชการเป็นครู ก่อนที่จะย้ายไปเป็นนายอำเภอ โยกย้ายไปหลายจังหวัด ทำให้เขา “ตีนติดดิน” และมองเห็นปัญหาของสังคมในระดับของประชาชน
ทองอินทร์เป็นผู้แทนครั้งแรกเมื่ออายุ 24 (เมื่อมีการตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง มธก. เป็น “ตลาดวิชา” ครั้งแรก ทองอินทร์ก็เรียนจนได้ปริญญา “ธรรมศาสตรบัณฑิต” หรือ ธ.บ.)
กล่าวได้ว่าทองอินทร์เป็นเสมือนหัวหน้าทีมของ “4 เสืออีสาน” มีความเชี่ยวชาญในการอภิปรายอย่างมีสาระยิ่งในสภา ทองอินทร์สมรสกับเจ้าสิริบังอร ณ จัมปาศักดิ์ สร้างความสัมพันธ์สองฝั่งโขง มากเสียกว่าข้อหา “กบฏแบ่งแยกดินแดน” ที่รัฐนำมายัดเยียด ทองอินทร์เป็นพลพรรค “เสรีไทย” และถูก “วิสามัญฆาตกรรมทางการเมือง” ด้วยการ “ยิงทิ้ง” ที่ ก.ม. 14-15 บางเขน ถนนพหลโยธิน โดยผู้นำของ “รัฐตำรวจ” ของ “คณะรัฐประหาร” เมื่อ 4 มีนาคม 2492 พร้อมกับเพื่อน ส.ส. รมต. อีก 3 นาย
2. จำลอง ดาวเรือง
เป็น ส.ส. จากมหาสารคามรวม 3 ครั้ง (พ.ศ. 2480, 2481, 2489 และเป็นพฤฒิสภาสมาชิก 1 ครั้ง) เป็นรัฐมนตรี 4 สมัย (ชุดนายกรัฐมนตรีทวี, เสนีย์, ธำรงฯ) อาจจะเป็น ส.ส. ในกลุ่มที่มีฐานะทางเศรษฐกิจด้อยสุด ดังนั้น ประสบการณ์ชีวิตที่ต้องต่อสู้มานับแต่วิ่งรถในอีสาน ข้ามไปทำงานในลาว (ร่วมสร้างความสัมพันธ์สองฝั่งโขง แต่ก็ถูกข้อหา “กบฏแบ่งแยกดินแดน” ที่รัฐนำมายัดเยียดภายหลังเช่นกัน)
จำลองเคยเป็นนักมวยหาเลี้ยงชีพด้วยการเป็นครูประชาบาล จนสอบไล่ชุดครูได้ก้าวขึ้นมาเป็นเสมียนศึกษาธิการและเป็นเจ้าของกิจการโรงเรียนราษฎรแห่งแรกในจังหวัดมหาสารคามที่เปิดสอนจนถึงชั้นมัธยม
จำลองได้ธรรม ศาสตรบัณฑิต (ธ.บ.) ในภายหลังก็ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2480 เป็นผู้แทนเมื่ออายุ 27 ปี กล่าวกันว่า จำลองเก่งในเรื่องของการประสานรอยร้าวในหมู่คณะและเข้ากับผู้คนได้เป็นอย่างดี เช่นเดียวกัน จำลองเป็นพลพรรค “เสรีไทย” และถูก “วิสามัญฆาตกรรมทางการเมือง” ด้วยการ “ยิงทิ้ง” ที่ ก.ม. 14-15 บางเขน ถนนพหลโยธิน โดยผู้นำของ “รัฐตำรวจ” ของ “คณะรัฐประหาร” เมื่อ 4 มีนาคม 2492 พร้อมกับเพื่อน ส.ส. รมต. อีก 3 นาย
3. ถวิล อุดล
เป็น ส.ส. จากร้อยเอ็ดรวม 2 ครั้ง (พ.ศ. 2480, 2481 และเป็นพฤฒิสภา 1 ครั้ง) เป็นรัฐมนตรี 2 สมัย (ชุดนายกรัฐมนตรีทวี, เสนีย์) ถวิลเข้ามาเรียนจบมัธยม 8 จากสวนกุหลาบฯ และในปี 2473 ยังจบโรงเรียนกฎหมายของกระทรวงยุติธรรมอีกด้วย ถวิลออกไปทำงานเป็นทนายความในอีสาน และ รับราชการในกรมราชทัณฑ์ในเวลาต่อมา จนกระทั่ง ได้เป็นผู้ตรวจการเทศบาลอุบลฯ แล้วก็สมัคร ส.ส. เป็นครั้งแรกในปี 2480 เป็นผู้แทนเมื่ออายุ 28 ปี
ถือกันว่านายถวิลเป็นเหรัญญิกของกลุ่ม มีความชำนาญในการขีดเขียนโต้ตอบจดหมาย และร่างนโยบาย เช่นเดียวกัน ถวิลเป็นพลพรรค “เสรีไทย” ถูก “วิสามัญฆาตกรรมทางการเมือง” ด้วยการ “ยิงทิ้ง” ที่ ก.ม. 14-15 บางเขน ถนนพหลโยธิน โดยผู้นำของ “รัฐตำรวจ” ของ “คณะรัฐประหาร” เมื่อ 4 มีนาคม 2492 พร้อมกับเพื่อน ส.ส. รมต. อีก 3 นาย
4. เตียง ศิริขันธ์
เป็น ส.ส. จากสกลนครรวม 5 ครั้ง (2480, 2481, 2489, 2492 และ 2495) เตียงได้เป็นรัฐมนตรี 3 สมัย (ชุดนายกรัฐมนตรีทวี, เสนีย์ และธำรงฯ) เตียงเรียนจบชั้นมัธยม 6 จากโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล เรียนต่อในโรงเรียนฝึกหัดครูวัดบวรนิเวศน์ และได้ประกาศนียบัตรประโยคมัธยมจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เคยรับราชการเป็นผู้ช่วยครูใหญ่ที่โรงเรียนเก่าของตนที่อุดรฯ เคยถูกจับในข้อหาคอมมิวนิสต์ ถูกขัง 3 เดือนเมื่อปี 2476 เตียงเคยเรียน มธก. แต่ไม่จบ ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ครั้งแรกเมื่ออายุได้ 28 ปี
ถือกันว่าในกลุ่มอีสานนี้ เตียงเป็นประหนึ่งเลขาธิการ มีความเชี่ยวชาญในการวางแผน เป็นผู้ประสานงาน “เสรีไทย” ในอีสานให้ ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ เตียงมีรหัสชื่อลับว่า “พลูโต” ทำการก่อสร้างสนามบินเพื่อรับเครื่องบินและอาวุธ (เอาซ่อนไว้ในถ้ำที่ภูพาน) จากฝ่ายสัมพันธมิตร ได้รับฉายาว่า “ขุนพลภูพาน” หนึ่งในบรรดาผู้ร่วมงาน “กู้ชาติ” ครั้งนั้นคือ ครอง จันดาวงศ์ (ที่ถูกจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประหารชีวิตด้วยการ “ยิงเป้า” ด้วยมาตรา 12)
กล่าวกันว่าเตียงรู้จักกับจิม ทอมป์สัน สายลับของอเมริกาเป็นอย่างดีในช่วงงาน “เสรีไทย” ผู้ที่ต่อมาเป็น “ราชาไหมไทย” เคยไปพักที่บ้านของเตียงถึง 3 ครั้ง เตียงเล่นบทผู้นำของภูมิภาค “อุษาคเนย์” ด้วยการตั้งและเป็นประธาน Southeast Asian League หรือสันนิบาตเอเชียอาคเนย์ (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) เมื่อสิงหาคม 2490 ที่มาก่อนกาลเวลาของ ASEAN ถึง 10 กว่าปี
เมื่อเพื่อน ส.ส. อีสานถูก “วิสามัญฆาตกรรมทางการเมือง” ด้วยการ “ยิงทิ้ง” ที่ ก.ม. 14-15 บางเขน ถนนพหลโยธิน เมื่อ 4 มีนาคม 2492 นั้น เตียง ศิริขันธ์ หลุดรอดไปได้ (บ้างกล่าวว่าเพราะภรรยาของเขา คือ นิวาศน์ พิชิตรณการ นั้นเกี่ยวดองกับเผ่า ศรียานนท์ กล่าวคือ น้าของนิวาศน์เป็นภรรยาคนหนึ่งของบิดาของเผ่า)
ภายหลังวิกฤตการณ์ทางการเมืองของรัฐประหาร 2490 และกบฏวังหลวง 2492 นั้น แม้เตียงจะมีชีวิตรอดอยู่ได้ และได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส. ต่อมาอีกทั้งปี 2492 และ 2495 แต่บทบาททางการเมืองของเขาก็ลดลง และก็ “หายตัวไปอย่างลึกลับ” โดยมาปรากฏภายหลังว่าถูก “รัฐตำรวจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้การนำของอธิบดีตำรวจเผ่า ศรียานนท์ ส่ง “อัศวิน” และพรรคพวกมา “รัดคอตาย” และนำไป “ย่างศพ” ฝังทิ้งที่ป่ากาญจนบุรี เมื่อธันวาคม 2495 หรือกว่า 3 ปีต่อมาพร้อมกับอดีตเสรีไทยอย่าง ชาญ และเล็ก บุนนาค
5. ทองเปลว ชลภูมิ
เป็น ส.ส. จากปราจีนบุรี 1 ครั้ง 2489 (และเคยเป็น ส.ส. ประเภท 2 ที่มาจากการแต่งตั้ง 1 ครั้ง 2488) เป็นรัฐมนตรี 1 สมัย (ชุดนายกรัฐมนตรีหลวงธำรงฯ) ดร.ทองเปลว เกิดที่สมุทรสาคร เรียนจบมัธยม 6 จากโรงเรียนวัดเทพศิรินทร์ฯ และจบจากโรงเรียนกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม เมื่อปี 2476
หากจะเทียบกับบรรดา ส.ส. อีสานที่เขาสนิทสนมและคุ้นเคยแล้ว จัดได้ว่าทองเปลวเป็นคน “วงใน” มากกว่าคน “วงนอก” หรือคน “ชายขอบ” เพราะได้ร่วมเป็นหนึ่งในบรรดา “ผู้ก่อการ” ปฏิวัติ 2475 ดังนั้น ก็ใกล้ชิดสนิทสนมกับ ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ มาแต่แรกเริ่มได้รับราชการในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ต่อมาได้ทุนไปเรียนต่อ ณ ประเทศฝรั่งเศส จนจบปริญญาเอกทางด้านกฎหมาย ได้เป็นอาจารย์บรรยายวิชาเศรษฐศาสตร์ที่ มธก. ก้าวไปสู่ตำแหน่งสูงของการเป็นเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จนกระทั่ง มีความขัดแย้งกับจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงถูกปลดจากตำแหน่ง
ในช่วงหลังสงคราม ดร.ทองเปลวมีบทบาทมาก รับผิดชอบดูแลองค์การสรรพาหารของรัฐบาลที่ตั้งขึ้นเป็นการพิเศษ ซึ่งทำหน้าที่ในการจัดซื้อและจำหน่ายสินค้าเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนยุคสงคราม แต่องค์การนี้ก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์หนักหน่วงในเรื่องของการบริหารและคอร์รัปชัน
ภายหลังการรัฐประหาร 2490 ดร.ทองเปลวหนีไปต่างประเทศ และถูกจับครั้งหนึ่งในปี 2491 ในห้องขังนั้น เขาได้เขียนหนังสือที่น่าสนใจและได้รับการตีพิมพ์แล้ว คือ หว่องอันยื้อ รัฐบุรุษผู้ตายอย่างหมากลางถนน เป็นเรื่องราวจากพงศาวดารจีนที่นำมาสะท้อนสถานการณ์หลังสงครามของไทยและองค์การสรรพาหารได้เป็นอย่างดี
เมื่อออกจากคุก ดร.ทองเปลวก็ไปลี้ภัยทางการเมืองที่ปีนัง เขาได้ถูกลวงให้กลับมาในช่วงของ “กบฏวังหลวง 2492” (หรือที่ ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ เรียกว่า “ขบวนการประชาธิปไตย 26 กุมภาพันธ์ 2492) และท้ายที่สุดเช่นเดียวกันกับสหายอีสาน ส.ส. รมต. และพลพรรค “เสรีไทย” อีก 3 นาย เขาก็ถูก “วิสามัญฆาตกรรมทางการเมือง” ด้วยการ “ยิงทิ้ง” ที่ ก.ม. 14-15 บางเขน ถนนพหลโยธิน โดยผู้นำของ “รัฐตำรวจ” ของ “คณะรัฐประหาร” เมื่อ 4 มีนาคม 2492