จากงานสัมมนา "ชาวชลบุรี ได้อะไรจาก อีอีซี"
โครงการของ EEC ได้เริ่มต้นพัฒนาเรื่องบุคลากร เนื่องจากเรื่องนี้เป็นพื้นฐานของการพัฒนาในทุกๆ ด้าน โดยร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนา จะผลิตบุคลากรอย่างไร และสร้างความรู้อย่างไร ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ร่วมถึงสรรหาสถาบันการศึกษาระดับนานาชาติ เพื่อสนองตอบต่อความต้องการแรงงาน
ทั้งนี้โครงการ EEC ยังมี 8 ความก้าวหน้าสำคัญ อาทิ
• การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ
• ระเบียบการร่วมลงทุนรัฐ-เอกชน
• การชักชวนการลงทุน และการท่องเที่ยว ฯลฯ
โดยจาก 8 ความก้าวหน้าสำคัญดังกล่าวจะทำให้คุณภาพความเป็นอยู่ของประชาชน จ.ชลบุรี มีแนวโน้มที่จะดีขึ้น และจะสามารถเห็นภาพรวมของโครงการ EEC เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นได้ในปี พ.ศ.2561
รองเลขาธิการสายงานปฏิบัติการเชิงพื้นที่ สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ.) ระบุ
“โครงการ EEC เป็นตัวเร่ง เป็นกลไกเร่งให้เราหลุดพ้นจากกับดัก คือ การหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง กับดักในส่วนของความเหลื่อมล้ำ รวมถึงกับดักในส่วนของความไม่สมดุลในด้านต่างๆ ซึ่ง ณ วันนี้ ทุกภาคส่วนระดมความคิด ระดมสมองในการทำงานมาเพื่อผลักดัน โครงการพวกนี้ให้ประสบความสำเร็จ”
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ควอลิตี้เฮาส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า
“อีอีซีมีโครงการจำนวนมาก ทำให้เอกชนสับสน ไม่รู้ว่าจะโฟกัสโครงการไหน กำหนดเป้าหมายยาก อาจต้องเลือกบางธุรกิจ การท่องเที่ยวต้องทำให้ดี พัฒนาเนื้อหา ในอนาคตถนนเป็นตัวกำหนดอสังหาริมทรัพย์ในระยะสั้นและระยะกลาง อีกหนึ่งสิ่งที่ขับเคลื่อนคือ สนามบินอู่ตะเภา ซึ่งใช้เป็นตัวเชื่อมโลกได้ แต่ต้องทำเนื้อหาจังหวัดให้ดี สนามบินสวยแค่ไหน ถ้าท้องถิ่นไม่มีเรื่องราวก็จบ อย่าหวังรถไฟความเร็วสูงมาก เพราะใช้เวลา การมาไม่ใช่ง่าย รถไฟต้องอาศัยการสร้างเมืองใหม่ แต่คิดว่าเมืองใหม่ยังไม่เกิด ไม่เชื่อว่ารัฐทำได้ เอกชนต้องทำ ในต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่นมีรถไฟ และเมืองโดยรอบ จึงจะได้ใช้ประโยชน์จากรถไฟความเร็วสูงจริงๆ
โครงสร้างพื้นฐานเป็นแค่เครื่องมือสร้างมูลค่า ตัวมันเองไม่ได้มีค่า เทียบได้กับครกสาก ถ้าไม่ได้นำมาตำน้ำพริกก็ไม่มีความหมาย ซึ่งต้องหาเครื่องปรุงในท้องถิ่น คำถามว่าชาวชลบุรีได้อะไรจากอีอีซี ความจริงแล้วต้องตั้งคำถามว่า จะหากินหรือสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างไร ภาครัฐทำธุรกิจไม่เป็น ดังนั้นภาคเอกชนต้องเข้มแข็งและช่วยรัฐกำหนดนโยบาย อนาคตต้องพิจารณาว่าอีอีซีจะอยู่ร่วมกับคนส่วนใหญ่ได้อย่างไรและจะก้าวไปอย่างไรโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง คนท้องถิ่นต้องได้ประโยชน์ด้วย ไม่ใช่เฉพาะนักลงทุนที่ได้ประโยชน์"
พลเรือตรีลือชัย ศรีเอี่ยมกูล ผอ.การท่าอากาศยานอู่ตะเภา กล่าวว่า
"เดิมจากที่อู่ตะเภาเป็นสนามบินสำรอง ไม่ใช่เส้นทางหลัก ปัจจุบันสายการบินแอร์เอเชียเปิดเส้นทางการบิน ทำให้จำนวนผู้โดยสารก้าวกระโดดอย่างมากจากเดิมปีละ 200,000 ราย ล่าสุดมีถึงล้านคนแล้ว รัฐบาลจะสร้างให้อู่ตะเภาเป็นเกตเวย์ของประเทศซึ่งกองทัพเรือมีโครงการคู่ขนานกับรัฐบาล โดยกำลังจะลงนามว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาออกแบบสนามบินให้รองรับอีอีซี จะมีการสร้างรันเวย์ที่สองขนานกับรันเวย์เดิมเนื่องจากมีผู้โดยสารจำนวนมากขึ้นตามลำดับ
มองว่าชาวชลบุรีจะได้โอกาสในการแข่งขัน เมื่อเรามีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี บุคลากรได้รับการฝึกฝนพัฒนาความสามารถ รายได้จะสูงกว่าปัจจุบัน ชุมชนจะได้รับการรักษาพยาบาลที่ดีขึ้น ขยายขีดความสามารถด้านต่างๆ ซึ่งเรามีโครงการต่อเนื่องคือการสร้างศูนย์ซ่อมอากาศยานที่จะเปิดให้บริการในปี 2566 รวมถึงโครงการศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรด้านการบิน และคาร์โก ซึ่งกองทัพเรือร่วมกับการบินไทย"
นายธีรินทร์ ธัญญวัฒนกุล เลขาธิการหอการค้าจังหวัดชลบุรี กล่าวว่า
"ชลบุรีเต็มไปด้วยธุรกิจเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัด มีชาวต่างชาติมาลงทุนประกอบธุรกิจ 122 ประเทศ เมื่อรัฐบาลสนับสนุนการลงทุนเชื่อว่าตัวเลขอาจก้าวกระโดดหลายเท่า โดยหอการค้าชลบุรีมุ่งมั่นนวัตกรรม เพราะไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นทางรอด
สิ่งที่ขายได้วันนี้ ไม่สามารถการันตีว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร เมื่ออีอีซีมาจะมีคู่แข่ง ชลบุรีเหมือนสเต็กที่ทุกคนอยากกิน อยากแบ่ง เราจึงต้องสร้างนวัตกรรมเอง โดยหอการค้ามีส่วนในการผลักดันให้นวัตกรรมเกิดขึ้นจริง ล่าสุดเซ็นเอ็มโอยูกับม.บูรพา โดยจะเป็นตัวกลางให้ผู้ประกอบการเข้าถึงนวัตกรรม”
ที่มา :
มติชนออน์ไลน์
EEC มา ... ชาวชลบุรีจะได้อะไร ???
โครงการของ EEC ได้เริ่มต้นพัฒนาเรื่องบุคลากร เนื่องจากเรื่องนี้เป็นพื้นฐานของการพัฒนาในทุกๆ ด้าน โดยร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนา จะผลิตบุคลากรอย่างไร และสร้างความรู้อย่างไร ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ร่วมถึงสรรหาสถาบันการศึกษาระดับนานาชาติ เพื่อสนองตอบต่อความต้องการแรงงาน
ทั้งนี้โครงการ EEC ยังมี 8 ความก้าวหน้าสำคัญ อาทิ
• การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ
• ระเบียบการร่วมลงทุนรัฐ-เอกชน
• การชักชวนการลงทุน และการท่องเที่ยว ฯลฯ
โดยจาก 8 ความก้าวหน้าสำคัญดังกล่าวจะทำให้คุณภาพความเป็นอยู่ของประชาชน จ.ชลบุรี มีแนวโน้มที่จะดีขึ้น และจะสามารถเห็นภาพรวมของโครงการ EEC เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นได้ในปี พ.ศ.2561
รองเลขาธิการสายงานปฏิบัติการเชิงพื้นที่ สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ.) ระบุ
“โครงการ EEC เป็นตัวเร่ง เป็นกลไกเร่งให้เราหลุดพ้นจากกับดัก คือ การหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง กับดักในส่วนของความเหลื่อมล้ำ รวมถึงกับดักในส่วนของความไม่สมดุลในด้านต่างๆ ซึ่ง ณ วันนี้ ทุกภาคส่วนระดมความคิด ระดมสมองในการทำงานมาเพื่อผลักดัน โครงการพวกนี้ให้ประสบความสำเร็จ”
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ควอลิตี้เฮาส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า
“อีอีซีมีโครงการจำนวนมาก ทำให้เอกชนสับสน ไม่รู้ว่าจะโฟกัสโครงการไหน กำหนดเป้าหมายยาก อาจต้องเลือกบางธุรกิจ การท่องเที่ยวต้องทำให้ดี พัฒนาเนื้อหา ในอนาคตถนนเป็นตัวกำหนดอสังหาริมทรัพย์ในระยะสั้นและระยะกลาง อีกหนึ่งสิ่งที่ขับเคลื่อนคือ สนามบินอู่ตะเภา ซึ่งใช้เป็นตัวเชื่อมโลกได้ แต่ต้องทำเนื้อหาจังหวัดให้ดี สนามบินสวยแค่ไหน ถ้าท้องถิ่นไม่มีเรื่องราวก็จบ อย่าหวังรถไฟความเร็วสูงมาก เพราะใช้เวลา การมาไม่ใช่ง่าย รถไฟต้องอาศัยการสร้างเมืองใหม่ แต่คิดว่าเมืองใหม่ยังไม่เกิด ไม่เชื่อว่ารัฐทำได้ เอกชนต้องทำ ในต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่นมีรถไฟ และเมืองโดยรอบ จึงจะได้ใช้ประโยชน์จากรถไฟความเร็วสูงจริงๆ
โครงสร้างพื้นฐานเป็นแค่เครื่องมือสร้างมูลค่า ตัวมันเองไม่ได้มีค่า เทียบได้กับครกสาก ถ้าไม่ได้นำมาตำน้ำพริกก็ไม่มีความหมาย ซึ่งต้องหาเครื่องปรุงในท้องถิ่น คำถามว่าชาวชลบุรีได้อะไรจากอีอีซี ความจริงแล้วต้องตั้งคำถามว่า จะหากินหรือสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างไร ภาครัฐทำธุรกิจไม่เป็น ดังนั้นภาคเอกชนต้องเข้มแข็งและช่วยรัฐกำหนดนโยบาย อนาคตต้องพิจารณาว่าอีอีซีจะอยู่ร่วมกับคนส่วนใหญ่ได้อย่างไรและจะก้าวไปอย่างไรโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง คนท้องถิ่นต้องได้ประโยชน์ด้วย ไม่ใช่เฉพาะนักลงทุนที่ได้ประโยชน์"
พลเรือตรีลือชัย ศรีเอี่ยมกูล ผอ.การท่าอากาศยานอู่ตะเภา กล่าวว่า
"เดิมจากที่อู่ตะเภาเป็นสนามบินสำรอง ไม่ใช่เส้นทางหลัก ปัจจุบันสายการบินแอร์เอเชียเปิดเส้นทางการบิน ทำให้จำนวนผู้โดยสารก้าวกระโดดอย่างมากจากเดิมปีละ 200,000 ราย ล่าสุดมีถึงล้านคนแล้ว รัฐบาลจะสร้างให้อู่ตะเภาเป็นเกตเวย์ของประเทศซึ่งกองทัพเรือมีโครงการคู่ขนานกับรัฐบาล โดยกำลังจะลงนามว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาออกแบบสนามบินให้รองรับอีอีซี จะมีการสร้างรันเวย์ที่สองขนานกับรันเวย์เดิมเนื่องจากมีผู้โดยสารจำนวนมากขึ้นตามลำดับ
มองว่าชาวชลบุรีจะได้โอกาสในการแข่งขัน เมื่อเรามีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี บุคลากรได้รับการฝึกฝนพัฒนาความสามารถ รายได้จะสูงกว่าปัจจุบัน ชุมชนจะได้รับการรักษาพยาบาลที่ดีขึ้น ขยายขีดความสามารถด้านต่างๆ ซึ่งเรามีโครงการต่อเนื่องคือการสร้างศูนย์ซ่อมอากาศยานที่จะเปิดให้บริการในปี 2566 รวมถึงโครงการศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรด้านการบิน และคาร์โก ซึ่งกองทัพเรือร่วมกับการบินไทย"
นายธีรินทร์ ธัญญวัฒนกุล เลขาธิการหอการค้าจังหวัดชลบุรี กล่าวว่า
"ชลบุรีเต็มไปด้วยธุรกิจเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัด มีชาวต่างชาติมาลงทุนประกอบธุรกิจ 122 ประเทศ เมื่อรัฐบาลสนับสนุนการลงทุนเชื่อว่าตัวเลขอาจก้าวกระโดดหลายเท่า โดยหอการค้าชลบุรีมุ่งมั่นนวัตกรรม เพราะไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นทางรอด
สิ่งที่ขายได้วันนี้ ไม่สามารถการันตีว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร เมื่ออีอีซีมาจะมีคู่แข่ง ชลบุรีเหมือนสเต็กที่ทุกคนอยากกิน อยากแบ่ง เราจึงต้องสร้างนวัตกรรมเอง โดยหอการค้ามีส่วนในการผลักดันให้นวัตกรรมเกิดขึ้นจริง ล่าสุดเซ็นเอ็มโอยูกับม.บูรพา โดยจะเป็นตัวกลางให้ผู้ประกอบการเข้าถึงนวัตกรรม”
ที่มา : มติชนออน์ไลน์