ผู้สำคัญมั่นหมายคำว่า " รู้ "
ในระหว่างกระทบกันแห่งอายตนะภายใน อายตนะภายนอก นั้นล่ะ
คือ ผู้หลงสัญญา
------------------------
หลวงปู่เทสก์ฯ ได้ลำดับสติไว้ ๓ ระดับ
-สติรู้ตาม
-สติรู้ทัน
-สติรู้เท่า
----------------
ในความเห็นของผม ผู้ปฏิบัติจะเอาสติแบบไหนมาคุ้มครองใจ
คำว่า " สมาธิ " แปลว่า ความตั้งใจมั่น เพื่อความเข้าใจง่ายๆ สมาธิจะดีได้ก็ต้องมาจากการมี " สติ " ที่ดี
สติ แปลว่า การระลึก หรือ นึกขึ้นได้ เคยทำอะไรไหม เช่น กำลังทำงาน กำลังประชุม เล่นกีฬา แต่ใจกับไปล่องลอยไปคิดเรื่องอื่นๆ สภาวะเช่นนี้แหล่ะ ที่เรียกว่าเผลอสติกับสิ่งที่กำลังทำ อาจจะด้วยความกังวล คิดปรุงแต่ง
แต่ในความเป็นจริง ก็มีสติกันทุกคน แต่จะมากน้อยต่างกันไป ยกเว้นคนที่มีวิบากจิตเป็นกรรมบังคับ เช่น คนวิปลาส คนวิกลจริต คนโรคจิต
ขอแบ่งสติเป็นสามแบบ แบบแรก คือ สติที่ใช้ในชีวิตประจำวัน สามารถควบคุมตนเองได้ และทำอะไรๆโดยไม่ผิดกฏหมายและศีลธรรม อยู่ร่วมกับสังคมได้ แต่ก็ยังมีความหวั่นไหวต่อคำพูด ความคิด อารมณ์การแสดงออกของคนรอบข้าง จึงทำให้มี รัก โลภ โกรธ หลงเป็นเรื่องปกติ บางคนหลงวัตถุสิ่งของ นาฬิกาเรือนหมื่น รองเท้าคู่นึงหกพัน เสื้อกางเกงชุดเรือนแสน รสชาดอาหาร ชมชอบดารานักร้อง สะสมบัตรเกมส์ ฯลฯ อาการที่หลงวัตถุข้างต้นล้วนมาจากอารมณ์สุขเป็นตัวนำพาส่วนตัวทุกข์ วิตก เคลียด ดีใจ เสียใจ ผิดหวัง ก็มีประกอบตามเหตุปัจจัยต่างกันไป
สติแบบที่สอง
สติใช้สำหรับภาวนา
การฝึกสติ เพื่อการภาวนานั้น มีความสำคัญมาก เพราะจะเป็นพื้นฐานในการควบคุม อารมณ์ ความคิด ไม่ให้ตัวเราเผลอ หรือ หลุดไปคิดเรื่องอื่นๆ ระหว่างการทำสมาธิ เมื่อเราฝึก(สร้าง)สติ ได้ถึงระดับหนึ่ง พอทำสมาธิแล้วสามารถสงบจิตได้ คือ จิตนิ่งไม่มีอารมณ์ความคิดอื่นใดเข้าแทรก จิตเบา จะมีผลเกิด คือ คิดอ่านอะไรๆใน ชีวิตประจำวัน จะค่อยๆดีขึ้น ส่วนพอกลับมาใช้ชีวิตแล้ว ก็ต้องมาดูอีกว่า เวลาโดนกระทบผู้ที่ฝึกสมาธิมาอย่างดีจะคุมอารมณ์ได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้แสดงว่า สอบตก เพราะจุดประสงค์การทำสมาธิ เพื่อนำมาใช้ปรามอารมณ์ให้จิตใจปกติ เวลาประสพความทุกข์แล้ววางเป็น แต่โดยหลักแล้ว การวางใจไม่ลงบางทีสมาธิตื้นๆก็วางไม่ได้ จำต้องมีอุบายวิธีมาช่วยเสริม เพื่อให้เราละวางอารมณ์นั้นได้
สติแบบที่สาม
มีพื้นฐานมาจากแบบที่สอง เพื่อฝึกหัดสติ ให้รู้ทันอารมณ์ มีความรู้สึกทันต่ออารมณ์ที่มีผัสสะจาก อายตนะหกคู่ ตาหูจมูกลิ้นกายใจ หรือ รูปหนึ่ง นามสี่ หรือ ขันธ์ห้า คือ สิ่งเดียวกัน สติไต่อันดับความละเอียดลงไปทันกับความไวของจิต ที่มีอารมณ์มากระทบ ที่เรียกว่า สภาวธรรม ฯลฯ
#อุบายควบคุมผัสสะ
ถ้าอารมณ์ไม่สบายใจผุดขึ้นเอง = มาจากสัญญาอุปาทาน
ถ้าจากคนรอบข้าง บางครั้งสมาธิที่มีอยู่ในขณะนั้นก็เอาชนะอารมณ์ที่เกิดขึ้นต่อหน้าไม่ได้
ต้องฝึกใช้อุบาย ดูต้นเหตุของการเกิดอารมณ์
สภาวธรรมอารมณ์ เกิดจากอายตนะผัสสะ 6 คู่ กระทบกัน เช่น ได้ยินเสียงแล้วเกิดไม่พอใจ
สภาวธรรมารมณ์ไม่พอใจ ที่เกิดเป็นปัจจยาการ (สืบเนื่องกัน) =
หู ได้ยิน เสียง = เกิดโสตวิญญาน (รู้ทางหู)
โสตวิญญาน + สัญญาอุปาทาน ในความหมายของคำที่ได้ยิน
เกิดผัสสะที่ใจ
ใจเกิดเวทนา ไม่พอใจ
ไล่แบบปฏิโลม แล้วก็อนุโลมถอยหลังกลับ
ไม่พอใจ มาจากเวทนา
เวทนา มาจากอุปาทานสัญญา ที่ได้ยิน
ได้ยินมาจากหู
ณ.ตอนนั้น ขณะพิจรณา ปฏิโลม อนุโลม จบแล้ว
ถ้าสติไม่พอ จะรู้สึกได้ด้วยตนเองว่า อารมณ์ไม่พอใจ มันยังคลุกกรุ่น
แต่ถ้าสติดีมาก จิตจะวางอารมณ์ไม่พอใจ ออกทันที
เพราะ สติสามารถอยู่เหนือจิต คุมจิตลงไปให้เห็นสภาพตามความเป็นจริง
ที่จิตหลงยึดอารมณ์ไม่พอใจมาเป็นตน เป็นของตน
เมื่อวางได้ทันทีแล้ว เรายังมีความรู้สึก สงสารคนที่พูดใส่เราอีกว่า
เค้าอ่อนต่อธรรมะ แม้จะโตแต่ธรรมะเค้ายังไม่รู้เรื่อง
เรายังมีความรู้สึกที่ดีกับเขาต่อไป
อีกอุบาย คือ
ในขณะที่เกิดความไม่พอใจ ให้รีบรู้สึกตัวว่า
อารมณ์ไม่พอใจเกิดขึ้นแล้ว
ให้วางความรู้สึกนั้น ด้วยการดึงความรู้สึกมาอยู่กลางๆ
คำว่า ดึง คือ ให้มี สติระลึก ให้ความรู้สึก
กลับมาอยู่กลางๆ
ถ้าไม่ดึงกลับมา
จะกลายเป็นว่า
เราปล่อยความรู้สึก(ปล่อยจิต)ให้แช่อยู่ใน อารมณ์ไม่พอใจ
ยิ่งแช่นาน ยิ่งเป็นโมหะ
เมื่อ(พยายาม)ดึงจิต
หรือ ดึงความรู้สึก
กลับมาได้แล้ว
ให้พิจารณาทันทีว่า
อารมณ์ไม่พอใจ ที่เป็นเมื่อครู่นี้ เป็นสุข หรือ ทุกข์
บุญ หรือ บาป
เรียกว่า เอาสติอบรมจิต
ให้ยอมรับตามความเป็นจริง
เอ่อ เป็นแบบนี้มันทุกข์
เมื่ออบรมบ่อยๆ ถึงจุดๆหนึ่ง
จิตจะยอมรับความจริง
ต่อไปเวลาจิตมีอารมณ์ใดๆเกิดขึ้น (มีผัสสะ)
เขาจะวางของเขาเอง
โดยที่ไม่ต้องบังคับ(พิจารณา)
เราจะชำนาญขึ้น
เมื่อเราเห็นจิตของเรา
จะเห็นเลยว่า คนที่กำลังพูดกับเรานั้น คนๆนั้น
พูดเพราะ สังขารจิต
พูดออกมาเพราะหลงตามความคิด
ทำอะไรๆอยู่ เพราะหลงทำตามความคิด
คือ เรียกว่า สิ่งที่เขาทำ ทำไปเพราะว่าเป็น
กิริยาจิต แค่นั้นเอง
อุบายธรรม แก้ผัสสะ
ในระหว่างกระทบกันแห่งอายตนะภายใน อายตนะภายนอก นั้นล่ะ
คือ ผู้หลงสัญญา
------------------------
หลวงปู่เทสก์ฯ ได้ลำดับสติไว้ ๓ ระดับ
-สติรู้ตาม
-สติรู้ทัน
-สติรู้เท่า
----------------
ในความเห็นของผม ผู้ปฏิบัติจะเอาสติแบบไหนมาคุ้มครองใจ
คำว่า " สมาธิ " แปลว่า ความตั้งใจมั่น เพื่อความเข้าใจง่ายๆ สมาธิจะดีได้ก็ต้องมาจากการมี " สติ " ที่ดี
สติ แปลว่า การระลึก หรือ นึกขึ้นได้ เคยทำอะไรไหม เช่น กำลังทำงาน กำลังประชุม เล่นกีฬา แต่ใจกับไปล่องลอยไปคิดเรื่องอื่นๆ สภาวะเช่นนี้แหล่ะ ที่เรียกว่าเผลอสติกับสิ่งที่กำลังทำ อาจจะด้วยความกังวล คิดปรุงแต่ง
แต่ในความเป็นจริง ก็มีสติกันทุกคน แต่จะมากน้อยต่างกันไป ยกเว้นคนที่มีวิบากจิตเป็นกรรมบังคับ เช่น คนวิปลาส คนวิกลจริต คนโรคจิต
ขอแบ่งสติเป็นสามแบบ แบบแรก คือ สติที่ใช้ในชีวิตประจำวัน สามารถควบคุมตนเองได้ และทำอะไรๆโดยไม่ผิดกฏหมายและศีลธรรม อยู่ร่วมกับสังคมได้ แต่ก็ยังมีความหวั่นไหวต่อคำพูด ความคิด อารมณ์การแสดงออกของคนรอบข้าง จึงทำให้มี รัก โลภ โกรธ หลงเป็นเรื่องปกติ บางคนหลงวัตถุสิ่งของ นาฬิกาเรือนหมื่น รองเท้าคู่นึงหกพัน เสื้อกางเกงชุดเรือนแสน รสชาดอาหาร ชมชอบดารานักร้อง สะสมบัตรเกมส์ ฯลฯ อาการที่หลงวัตถุข้างต้นล้วนมาจากอารมณ์สุขเป็นตัวนำพาส่วนตัวทุกข์ วิตก เคลียด ดีใจ เสียใจ ผิดหวัง ก็มีประกอบตามเหตุปัจจัยต่างกันไป
สติแบบที่สอง
สติใช้สำหรับภาวนา
การฝึกสติ เพื่อการภาวนานั้น มีความสำคัญมาก เพราะจะเป็นพื้นฐานในการควบคุม อารมณ์ ความคิด ไม่ให้ตัวเราเผลอ หรือ หลุดไปคิดเรื่องอื่นๆ ระหว่างการทำสมาธิ เมื่อเราฝึก(สร้าง)สติ ได้ถึงระดับหนึ่ง พอทำสมาธิแล้วสามารถสงบจิตได้ คือ จิตนิ่งไม่มีอารมณ์ความคิดอื่นใดเข้าแทรก จิตเบา จะมีผลเกิด คือ คิดอ่านอะไรๆใน ชีวิตประจำวัน จะค่อยๆดีขึ้น ส่วนพอกลับมาใช้ชีวิตแล้ว ก็ต้องมาดูอีกว่า เวลาโดนกระทบผู้ที่ฝึกสมาธิมาอย่างดีจะคุมอารมณ์ได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้แสดงว่า สอบตก เพราะจุดประสงค์การทำสมาธิ เพื่อนำมาใช้ปรามอารมณ์ให้จิตใจปกติ เวลาประสพความทุกข์แล้ววางเป็น แต่โดยหลักแล้ว การวางใจไม่ลงบางทีสมาธิตื้นๆก็วางไม่ได้ จำต้องมีอุบายวิธีมาช่วยเสริม เพื่อให้เราละวางอารมณ์นั้นได้
สติแบบที่สาม
มีพื้นฐานมาจากแบบที่สอง เพื่อฝึกหัดสติ ให้รู้ทันอารมณ์ มีความรู้สึกทันต่ออารมณ์ที่มีผัสสะจาก อายตนะหกคู่ ตาหูจมูกลิ้นกายใจ หรือ รูปหนึ่ง นามสี่ หรือ ขันธ์ห้า คือ สิ่งเดียวกัน สติไต่อันดับความละเอียดลงไปทันกับความไวของจิต ที่มีอารมณ์มากระทบ ที่เรียกว่า สภาวธรรม ฯลฯ
#อุบายควบคุมผัสสะ
ถ้าอารมณ์ไม่สบายใจผุดขึ้นเอง = มาจากสัญญาอุปาทาน
ถ้าจากคนรอบข้าง บางครั้งสมาธิที่มีอยู่ในขณะนั้นก็เอาชนะอารมณ์ที่เกิดขึ้นต่อหน้าไม่ได้
ต้องฝึกใช้อุบาย ดูต้นเหตุของการเกิดอารมณ์
สภาวธรรมอารมณ์ เกิดจากอายตนะผัสสะ 6 คู่ กระทบกัน เช่น ได้ยินเสียงแล้วเกิดไม่พอใจ
สภาวธรรมารมณ์ไม่พอใจ ที่เกิดเป็นปัจจยาการ (สืบเนื่องกัน) =
หู ได้ยิน เสียง = เกิดโสตวิญญาน (รู้ทางหู)
โสตวิญญาน + สัญญาอุปาทาน ในความหมายของคำที่ได้ยิน
เกิดผัสสะที่ใจ
ใจเกิดเวทนา ไม่พอใจ
ไล่แบบปฏิโลม แล้วก็อนุโลมถอยหลังกลับ
ไม่พอใจ มาจากเวทนา
เวทนา มาจากอุปาทานสัญญา ที่ได้ยิน
ได้ยินมาจากหู
ณ.ตอนนั้น ขณะพิจรณา ปฏิโลม อนุโลม จบแล้ว
ถ้าสติไม่พอ จะรู้สึกได้ด้วยตนเองว่า อารมณ์ไม่พอใจ มันยังคลุกกรุ่น
แต่ถ้าสติดีมาก จิตจะวางอารมณ์ไม่พอใจ ออกทันที
เพราะ สติสามารถอยู่เหนือจิต คุมจิตลงไปให้เห็นสภาพตามความเป็นจริง
ที่จิตหลงยึดอารมณ์ไม่พอใจมาเป็นตน เป็นของตน
เมื่อวางได้ทันทีแล้ว เรายังมีความรู้สึก สงสารคนที่พูดใส่เราอีกว่า
เค้าอ่อนต่อธรรมะ แม้จะโตแต่ธรรมะเค้ายังไม่รู้เรื่อง
เรายังมีความรู้สึกที่ดีกับเขาต่อไป
อีกอุบาย คือ
ในขณะที่เกิดความไม่พอใจ ให้รีบรู้สึกตัวว่า
อารมณ์ไม่พอใจเกิดขึ้นแล้ว
ให้วางความรู้สึกนั้น ด้วยการดึงความรู้สึกมาอยู่กลางๆ
คำว่า ดึง คือ ให้มี สติระลึก ให้ความรู้สึก
กลับมาอยู่กลางๆ
ถ้าไม่ดึงกลับมา
จะกลายเป็นว่า
เราปล่อยความรู้สึก(ปล่อยจิต)ให้แช่อยู่ใน อารมณ์ไม่พอใจ
ยิ่งแช่นาน ยิ่งเป็นโมหะ
เมื่อ(พยายาม)ดึงจิต
หรือ ดึงความรู้สึก
กลับมาได้แล้ว
ให้พิจารณาทันทีว่า
อารมณ์ไม่พอใจ ที่เป็นเมื่อครู่นี้ เป็นสุข หรือ ทุกข์
บุญ หรือ บาป
เรียกว่า เอาสติอบรมจิต
ให้ยอมรับตามความเป็นจริง
เอ่อ เป็นแบบนี้มันทุกข์
เมื่ออบรมบ่อยๆ ถึงจุดๆหนึ่ง
จิตจะยอมรับความจริง
ต่อไปเวลาจิตมีอารมณ์ใดๆเกิดขึ้น (มีผัสสะ)
เขาจะวางของเขาเอง
โดยที่ไม่ต้องบังคับ(พิจารณา)
เราจะชำนาญขึ้น
เมื่อเราเห็นจิตของเรา
จะเห็นเลยว่า คนที่กำลังพูดกับเรานั้น คนๆนั้น
พูดเพราะ สังขารจิต
พูดออกมาเพราะหลงตามความคิด
ทำอะไรๆอยู่ เพราะหลงทำตามความคิด
คือ เรียกว่า สิ่งที่เขาทำ ทำไปเพราะว่าเป็น
กิริยาจิต แค่นั้นเอง