บทเรียนสอนใจ จากการสมัครเข้า "มหาวิทยาลัย" ของสหรัฐฯ .. 3/12/2560
https://ppantip.com/topic/37149942
ผมเรียน high school ที่สหรัฐฯสามปีก่อนเข้ามหาวิทยาลัยครับ ก็ผ่านกระบวนการแบบนี้ ผมโชคดีที่ไม่มีใครมาแนะนำให้ ทำให้ต้องแสวงหาและเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นทักษะที่จำเป็น และภายหลังก็มีบทบาทเป็นผู้สัมภาษณ์และประเมินผู้สมัครเข้า Harvard
สิ่งหนึ่งที่ผมได้เรียนรู้คือ ครูผู้สอนเขากระตุ้นให้ผมหาความหมาย (meaning) ของการเรียนรู้ด้วยการให้คิดอย่างวิพากษ์ (critical thinking) ตอนเกรด 10 ผมเรียน US History มีหัวข้อเรื่อง the War of 1812 ที่เขียนว่าอังกฤษมารุกรานสหรัฐฯ เผาตึกรัฐสภาและทำเนียบประธานาธิบดีที่เมืองหลวงวอชิงตันดีซี เป็นปีแรกที่ผมเรียนสหรัฐฯ ภาษาอังกฤษไม่ดีนักแต่ก็คิดเป็นได้ว่าเหตุผลที่ตำราเขียนนั้นเป็นไปไม่ได้ ผมก็ตั้งข้อสงสัย (inquiry) ในห้องกับอาจารย์ผู้สอนว่าตำราอาจเขียนไม่ชัด (คือโกหก) แทนที่ผมจะโดนดุด่าว่าท้าทาย (challenge) ตำรา อาจารย์ผมก็ถามผมว่ามีเหตุผลอะไร ผมก็ตอบด้วยภาษาอังกฤษที่ไม่ดีนัก อาจารย์ก็รับฟัง และให้ผมทำรายงานวิชา (term paper) ให้เหตุผลว่าทำไมตำราเขียนผิด ผมก็ไปค้นคว้าที่ห้องสมุดรัฐสภาสหรัฐฯ (US Library of Congress) ได้หลักฐานมาเขียนและผ่านวิชานี้ไปได้ ถ้าเรียนเมืองไทยอาจตกวิชานี้และไม่จบมัธยมเพราะไปท้าทายตำราหรืออำนาจนิยมนั่นเอง
ไปอ่านบทความนี้ข้างล่างครับ
.. สรายุทธ อาทิตย์ 3/12/2560
===
บทเรียนสอนใจ จากการสมัครเข้า "มหาวิทยาลัย" มีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตในภายหน้า
2 ธ.ค. 60 23.00 น.
http://campus.sanook.com/1387665/
การเริ่มต้นค้นหาตนเองสำหรับการเลือกเรียนมหาวิทยาลัยคือก้าวสำคัญของความสำเร็จและความสุขในชีวิต นอกจากนั้นยังสอนบทเรียนหลายอย่างให้แก่นักเรียนที่สามารถนำติดตัวไปใช้ในวัยผู้ใหญ่ได้
ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการศึกษา Jennifer Simons จากมหาวิทยาลัย Northeastern University ที่นครบอสตัน ให้สัมภาษณ์กับวีโอเอว่า นักเรียนมัธยมปลายในอเมริกาใช้เวลาก่อนเข้ามหาวิทยาลัยสองปี ตอบคำถามสำคัญๆ เช่น อะไรคือความเป็นตัวตนของเราที่แท้จริง เรามีจุดอ่อนและจุดแข็งด้านใดบ้าง และสิ่งที่ต้องการที่ได้จากชีวิตคืออะไร
Jennifer Simons ที่เป็นผู้คัดนักเรียนเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัย Northeastern กล่าวว่า วิธีศึกษาตนเองเพื่อหาคำตอบให้กับคำถามสำคัญเหล่านี้อาจเริ่มต้นด้วยการจดบันทึกเหตุการณ์ที่อยู่ในความสนใจ และแสดงความคิดเห็นกับเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านั้น
การเข้าใจตนเองมีประโยชน์หลายอย่าง ความกระจ่างในสิ่งที่ตนต้องการในชีวิตช่วยให้เลือกเส้นทางที่นำไปสู่ความสุขได้ เพราะจะสามารถทำให้ตนเองมองข้ามปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ เช่น ชื่อเสียง เงินทอง และภาพลักษณ์ภายนอก ซึ่งมักสำคัญน้อยกว่าความพอใจและเป็นสุขในชีวิต
ข้อเขียนบางเรื่องอาจนำมาประยุกต์เป็นเรียงความเข้ามหาวิทยาลัยได้อีกด้วย
หลังจากนั้นนักเรียนเริ่มวางแผนว่ามีสิ่งอะไรอีกบ้างที่ต้องทำในการสมัครเรียน นั่นหมายความว่าพวกเขาจะได้ฝึกทักษะการจัดการงานต่างๆ อย่างเป็นขั้นตอน
กระบวนการสำคัญอีกขั้นหนึ่งคือการขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น เช่น ขอให้อาจารย์เขียนจดหมายสนับสนุนการสมัครเรียนมหาวิทยาลัยของนักเรียน หรือขอความเห็นจากคนรู้จักที่เรียนอยู่ที่สถาบันซึ่งตนเองสนใจสมัคร
ในส่วนนี้นักเรียนจะได้ฝึกการสร้างเครือข่าย ได้ทำความรู้จักกับคนในสังคมที่กว้างขึ้น ซึ่งเป็นพื้นฐานของการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่นในวัยทำงานต่อไปในอนาคตด้วย
เมื่อถึงวันส่งใบสมัคร หลังจากที่เตรียมการมาอย่างดีที่สุดแล้ว บทเรียนชีวิตที่ควรจดจำคือ เราสามารถควบคุมบางเรื่องบางสิ่งได้ แต่ต้องจำไว้เสมอว่ายังมีอีกหลายเรื่องที่เหนือการควบคุมของเรา
สิ่งที่เป็นตัวอย่างในประเด็นนี้คือ การแข่งขันที่สูงในสถาบันชั้นนำที่ทำให้จำนวนผู้สมัครมีมากกว่าจำนวนที่มหาวิทยาลัยรับได้หลายเท่า ซึ่งเป็นสัจธรรมที่เหนือการควบคุมของนักเรียน
บทเรียนสำคัญมากประการสุดท้ายคือ เมื่อถูกปฏิเสธจากสถาบันที่นักเรียนเคยปักใจว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่ต้องเข้าให้ได้ พวกเขาควรเรียนรู้ว่าความสุขของการเรียนมหาวิทยาลัยไม่จำเป็นว่าจะเกิดขึ้นที่สถาบันเพียงแห่งเดียว
การรู้จักจัดการกับความผิดหวังเมื่อถูกปฏิเสธ และเรียนรู้ที่จะก้าวผ่านความเสียใจนั้น จึงเป็นเรื่องที่คุณ Jennifer Simons กล่าวว่าเป็นสิ่งสอนใจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับนักเรียนในกระบวนการสมัครเข้ามหาวิทยาลัยเลยทีเดียว
บทเรียนสอนใจ จากการสมัครเข้า "มหาวิทยาลัย" ของสหรัฐฯ .. 3/12/2560 สรายุทธ กันหลง
https://ppantip.com/topic/37149942
ผมเรียน high school ที่สหรัฐฯสามปีก่อนเข้ามหาวิทยาลัยครับ ก็ผ่านกระบวนการแบบนี้ ผมโชคดีที่ไม่มีใครมาแนะนำให้ ทำให้ต้องแสวงหาและเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นทักษะที่จำเป็น และภายหลังก็มีบทบาทเป็นผู้สัมภาษณ์และประเมินผู้สมัครเข้า Harvard
สิ่งหนึ่งที่ผมได้เรียนรู้คือ ครูผู้สอนเขากระตุ้นให้ผมหาความหมาย (meaning) ของการเรียนรู้ด้วยการให้คิดอย่างวิพากษ์ (critical thinking) ตอนเกรด 10 ผมเรียน US History มีหัวข้อเรื่อง the War of 1812 ที่เขียนว่าอังกฤษมารุกรานสหรัฐฯ เผาตึกรัฐสภาและทำเนียบประธานาธิบดีที่เมืองหลวงวอชิงตันดีซี เป็นปีแรกที่ผมเรียนสหรัฐฯ ภาษาอังกฤษไม่ดีนักแต่ก็คิดเป็นได้ว่าเหตุผลที่ตำราเขียนนั้นเป็นไปไม่ได้ ผมก็ตั้งข้อสงสัย (inquiry) ในห้องกับอาจารย์ผู้สอนว่าตำราอาจเขียนไม่ชัด (คือโกหก) แทนที่ผมจะโดนดุด่าว่าท้าทาย (challenge) ตำรา อาจารย์ผมก็ถามผมว่ามีเหตุผลอะไร ผมก็ตอบด้วยภาษาอังกฤษที่ไม่ดีนัก อาจารย์ก็รับฟัง และให้ผมทำรายงานวิชา (term paper) ให้เหตุผลว่าทำไมตำราเขียนผิด ผมก็ไปค้นคว้าที่ห้องสมุดรัฐสภาสหรัฐฯ (US Library of Congress) ได้หลักฐานมาเขียนและผ่านวิชานี้ไปได้ ถ้าเรียนเมืองไทยอาจตกวิชานี้และไม่จบมัธยมเพราะไปท้าทายตำราหรืออำนาจนิยมนั่นเอง
ไปอ่านบทความนี้ข้างล่างครับ
.. สรายุทธ อาทิตย์ 3/12/2560
===
บทเรียนสอนใจ จากการสมัครเข้า "มหาวิทยาลัย" มีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตในภายหน้า
2 ธ.ค. 60 23.00 น.
http://campus.sanook.com/1387665/
การเริ่มต้นค้นหาตนเองสำหรับการเลือกเรียนมหาวิทยาลัยคือก้าวสำคัญของความสำเร็จและความสุขในชีวิต นอกจากนั้นยังสอนบทเรียนหลายอย่างให้แก่นักเรียนที่สามารถนำติดตัวไปใช้ในวัยผู้ใหญ่ได้
ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการศึกษา Jennifer Simons จากมหาวิทยาลัย Northeastern University ที่นครบอสตัน ให้สัมภาษณ์กับวีโอเอว่า นักเรียนมัธยมปลายในอเมริกาใช้เวลาก่อนเข้ามหาวิทยาลัยสองปี ตอบคำถามสำคัญๆ เช่น อะไรคือความเป็นตัวตนของเราที่แท้จริง เรามีจุดอ่อนและจุดแข็งด้านใดบ้าง และสิ่งที่ต้องการที่ได้จากชีวิตคืออะไร
Jennifer Simons ที่เป็นผู้คัดนักเรียนเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัย Northeastern กล่าวว่า วิธีศึกษาตนเองเพื่อหาคำตอบให้กับคำถามสำคัญเหล่านี้อาจเริ่มต้นด้วยการจดบันทึกเหตุการณ์ที่อยู่ในความสนใจ และแสดงความคิดเห็นกับเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านั้น
การเข้าใจตนเองมีประโยชน์หลายอย่าง ความกระจ่างในสิ่งที่ตนต้องการในชีวิตช่วยให้เลือกเส้นทางที่นำไปสู่ความสุขได้ เพราะจะสามารถทำให้ตนเองมองข้ามปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ เช่น ชื่อเสียง เงินทอง และภาพลักษณ์ภายนอก ซึ่งมักสำคัญน้อยกว่าความพอใจและเป็นสุขในชีวิต
ข้อเขียนบางเรื่องอาจนำมาประยุกต์เป็นเรียงความเข้ามหาวิทยาลัยได้อีกด้วย
หลังจากนั้นนักเรียนเริ่มวางแผนว่ามีสิ่งอะไรอีกบ้างที่ต้องทำในการสมัครเรียน นั่นหมายความว่าพวกเขาจะได้ฝึกทักษะการจัดการงานต่างๆ อย่างเป็นขั้นตอน
กระบวนการสำคัญอีกขั้นหนึ่งคือการขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น เช่น ขอให้อาจารย์เขียนจดหมายสนับสนุนการสมัครเรียนมหาวิทยาลัยของนักเรียน หรือขอความเห็นจากคนรู้จักที่เรียนอยู่ที่สถาบันซึ่งตนเองสนใจสมัคร
ในส่วนนี้นักเรียนจะได้ฝึกการสร้างเครือข่าย ได้ทำความรู้จักกับคนในสังคมที่กว้างขึ้น ซึ่งเป็นพื้นฐานของการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่นในวัยทำงานต่อไปในอนาคตด้วย
เมื่อถึงวันส่งใบสมัคร หลังจากที่เตรียมการมาอย่างดีที่สุดแล้ว บทเรียนชีวิตที่ควรจดจำคือ เราสามารถควบคุมบางเรื่องบางสิ่งได้ แต่ต้องจำไว้เสมอว่ายังมีอีกหลายเรื่องที่เหนือการควบคุมของเรา
สิ่งที่เป็นตัวอย่างในประเด็นนี้คือ การแข่งขันที่สูงในสถาบันชั้นนำที่ทำให้จำนวนผู้สมัครมีมากกว่าจำนวนที่มหาวิทยาลัยรับได้หลายเท่า ซึ่งเป็นสัจธรรมที่เหนือการควบคุมของนักเรียน
บทเรียนสำคัญมากประการสุดท้ายคือ เมื่อถูกปฏิเสธจากสถาบันที่นักเรียนเคยปักใจว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่ต้องเข้าให้ได้ พวกเขาควรเรียนรู้ว่าความสุขของการเรียนมหาวิทยาลัยไม่จำเป็นว่าจะเกิดขึ้นที่สถาบันเพียงแห่งเดียว
การรู้จักจัดการกับความผิดหวังเมื่อถูกปฏิเสธ และเรียนรู้ที่จะก้าวผ่านความเสียใจนั้น จึงเป็นเรื่องที่คุณ Jennifer Simons กล่าวว่าเป็นสิ่งสอนใจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับนักเรียนในกระบวนการสมัครเข้ามหาวิทยาลัยเลยทีเดียว