The Killing Of A Sacred Deer (2017) - Yorgos Lanthimos
Cast : Colin Farrell, Nicole Kidman, Barry Keoghan
หยิบตำนานมาเล่าขานความปั่นป่วน
.
ก่อนหน้านี้ผู้กำกับของเรื่องอย่าง Yorgos Lanthimos ได้ออกมาเปิดเผยว่าภาพยนตร์เรื่อง The Killing Of A Sacred Deer ของเขา ได้แรงบันดาลใจมาจากตำนานกรีก Iphigenia in Aulis ของ Euripides ซึ่งถ้าดูตามเนื้อเรื่องแล้วก็ต้องบอกว่า "ใช่" แต่ไม่เสียทั้งหมด
.
ต้องเท้าความก่อนสำหรับตำนานเรื่อง Iphigenia in Aulis ว่าเป็นเรื่องราวโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นก่อนสงครามกรุงทรอย เนื่องจาก Agamemnon ผู้ที่เป็นทั้งกษัตริย์และผู้นำชาวกรีกจะมุ่งหน้าไปทำการรบที่กรุงทรอย ได้บังเอิญไปฆ่า "กวาง" อันเป็นสัตว์ประจำตัวของเทพี Artemis เสียก่อน ซึ่งแน่นอนว่าเลือดย่อมต้องแลกด้วยเลือดเสมอ หาก Agamemnon ไม่สังเวยชีวิตลูกสาวคนใดคนหนึ่งในบ้าน กองทัพกรีกแจะต้องพ่ายแพ้และตายในสงครามที่สุด และลูกสาวที่ถูกเลือกคือ Iphigenia ผู้ที่ถูกสังเวยชีวิตที่ Aulis จุดรวมพลของนักรบกรีก อันเป็นเรื่องราวที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับ Yorgos Lanthimos ครั้งนี้
.
เรื่องวุ่นวายทั้งหลายเกิดขึ้นหลังจากศัลยแพทย์หรือหมอผ่าตัดอย่าง Steven (Colin Farrell) พลั้งมือ "ฆ่า" คนไข้ผ่าตัดของเขาโดยไม่ได้ตั้งใจ จนกระทั่งได้พบและทำความรู้จักกับ Martin (Barry Keoghan) เด็กหนุ่มผู้เป็นลูกชายของคนไข้ที่ตายไปค่อยๆคลืบคลานเข้ามามีบทบาทในบ้านและครอบครัวของ Steven ไม่ว่าจะผ่านทางภรรยา (Nicole Kidman) หรือลูกทั้ง 2 คนของเขา ยิ่ง Martin เข้าใกล้พวกเขามากเท่าไหร่ เรื่องราวพิศวงก็ยิ่งปรากฎให้เห็นชัดมากขึ้นเท่านั้น จนนำไปสู่การตัดสินใจครั้งใหญ่ที่ Steven ต้องเผชิญและแก้ปัญหาเพื่อเลือกที่จะรักษาคนในครอบครัวของเขาไว้
.
อย่างที่ได้บอกไปก่อนหน้านี้ว่า แม้หนังจะได้แรงบันดาลใจมากจากตำนานกรีกก็จริงอยู่ แต่เรื่องราวที่ผู้กำกับถ่ายทอดออกมามันกลับตาลปัตร ปั่นป่วน และซับซ้อนมากกว่าที่เราคาดการณ์ไปหลายขั้น เพราะต่อให้เราเคยอ่านต้นฉบับอย่าง Iphigenia in Aulis มาก่อนหน้านี้ ก็ไม่ได้การันตีเลยว่าเราจะเดาทิศทางของหนังได้ถูกเลย เพราะที่จริงแล้วผู้กำกับหยิบเอาแกนหลักของมันมาต่อยอดความบิดเบี้ยวบ้าบิ่นของตัวละครตามสไตล์ตัวเองมากกว่า ซึ่งมันเป็นวิธีการเล่าเรื่องที่แหวกแนวแต่มีเสน่ห์น่าหลงใหลชวนให้เราติดตามอยู่ตลอดเวลา เรียกได้ว่าละสายตาจากความแปลกประหลาดตรงหน้านี้ไม่ได้เลยแม้แต่วินาทีเดียว
.
อีกสิ่งที่เราชอบมากคือ Yorgos Lanthimos ยังคงความวิปริตในผลงานอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นตัวละครเพี้ยนๆ บทสนทนาแปลกๆ หรือแม้แต่ดนตรีประกอบที่ไม่มีความเข้ากันกับสถานการณ์เลยแม้แต่น้อย คิดจะดังตอนไหนก็ดัง แผ่วตอนไหนก็แผ่ว แต่แปลกที่มันกลับเร้าอารมณ์ และบีบคั้นความรู้สึกเราจนมวนท้อง ปั่นป่วน และเสียสติตามหนังไปด้วยอย่างเลี่ยงไม่ได้ รวมไปถึงฉากความรุนแรงแบบดิบเถื่อนที่ตัวละครมักชอบทำร้ายตัวเองอย่างเจ็บแสบที่เราได้เห็นกันจากผลงานก่อนๆอย่าง Dogtooth และ The Lobster ก็ยังโผล่มาให้เห็นด้วยเช่นกัน จนต้องรอขอในใจให้พอเถอะ พอเถอะ เพราะถ้าถามว่าเจ็บแทนได้ไหม ตอบเลยว่าไม่ได้ ฮ่าๆ
.
โดยรวมแล้ว The Killing Of A Sacred Deer ไม่ใช่หนังที่ดูยากมากนัก แม้ผู้กำกับอาจทิ้งสัญลักษณ์บางอย่างในบางฉากที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวในตำนานไว้ให้คนดู แต่ทั้งหมดก็ถูกถ่ายทอดออกมาตามที่ตัวหนังเองต้องการจะสื่ออย่างชัดเจน ก่อนเดินออกจากโรงหนังเราได้ยินคนต่างชาติพูดขึ้นว่า "It's weird" เราก็ได้แต่ยิ้มในใจ ใช่ หนังมันแปลกและบ้าบอมาก แต่สิ่งที่แปลกยิ่งกว่าคือเรากลับชอบ หลงใหล และสลัดมันออกไปจากหัวไม่ได้เหมือนกัน
ภวังค์หนัง
http://bit.ly/2AlL6hA
[CR] [Review] The Killing Of A Sacred (2017) - ภาพยนตร์ที่หยิบเอาตำนานมาเล่าขานอย่างปั่นป่วน
Cast : Colin Farrell, Nicole Kidman, Barry Keoghan
หยิบตำนานมาเล่าขานความปั่นป่วน
.
ก่อนหน้านี้ผู้กำกับของเรื่องอย่าง Yorgos Lanthimos ได้ออกมาเปิดเผยว่าภาพยนตร์เรื่อง The Killing Of A Sacred Deer ของเขา ได้แรงบันดาลใจมาจากตำนานกรีก Iphigenia in Aulis ของ Euripides ซึ่งถ้าดูตามเนื้อเรื่องแล้วก็ต้องบอกว่า "ใช่" แต่ไม่เสียทั้งหมด
.
ต้องเท้าความก่อนสำหรับตำนานเรื่อง Iphigenia in Aulis ว่าเป็นเรื่องราวโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นก่อนสงครามกรุงทรอย เนื่องจาก Agamemnon ผู้ที่เป็นทั้งกษัตริย์และผู้นำชาวกรีกจะมุ่งหน้าไปทำการรบที่กรุงทรอย ได้บังเอิญไปฆ่า "กวาง" อันเป็นสัตว์ประจำตัวของเทพี Artemis เสียก่อน ซึ่งแน่นอนว่าเลือดย่อมต้องแลกด้วยเลือดเสมอ หาก Agamemnon ไม่สังเวยชีวิตลูกสาวคนใดคนหนึ่งในบ้าน กองทัพกรีกแจะต้องพ่ายแพ้และตายในสงครามที่สุด และลูกสาวที่ถูกเลือกคือ Iphigenia ผู้ที่ถูกสังเวยชีวิตที่ Aulis จุดรวมพลของนักรบกรีก อันเป็นเรื่องราวที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับ Yorgos Lanthimos ครั้งนี้
.
เรื่องวุ่นวายทั้งหลายเกิดขึ้นหลังจากศัลยแพทย์หรือหมอผ่าตัดอย่าง Steven (Colin Farrell) พลั้งมือ "ฆ่า" คนไข้ผ่าตัดของเขาโดยไม่ได้ตั้งใจ จนกระทั่งได้พบและทำความรู้จักกับ Martin (Barry Keoghan) เด็กหนุ่มผู้เป็นลูกชายของคนไข้ที่ตายไปค่อยๆคลืบคลานเข้ามามีบทบาทในบ้านและครอบครัวของ Steven ไม่ว่าจะผ่านทางภรรยา (Nicole Kidman) หรือลูกทั้ง 2 คนของเขา ยิ่ง Martin เข้าใกล้พวกเขามากเท่าไหร่ เรื่องราวพิศวงก็ยิ่งปรากฎให้เห็นชัดมากขึ้นเท่านั้น จนนำไปสู่การตัดสินใจครั้งใหญ่ที่ Steven ต้องเผชิญและแก้ปัญหาเพื่อเลือกที่จะรักษาคนในครอบครัวของเขาไว้
.
อย่างที่ได้บอกไปก่อนหน้านี้ว่า แม้หนังจะได้แรงบันดาลใจมากจากตำนานกรีกก็จริงอยู่ แต่เรื่องราวที่ผู้กำกับถ่ายทอดออกมามันกลับตาลปัตร ปั่นป่วน และซับซ้อนมากกว่าที่เราคาดการณ์ไปหลายขั้น เพราะต่อให้เราเคยอ่านต้นฉบับอย่าง Iphigenia in Aulis มาก่อนหน้านี้ ก็ไม่ได้การันตีเลยว่าเราจะเดาทิศทางของหนังได้ถูกเลย เพราะที่จริงแล้วผู้กำกับหยิบเอาแกนหลักของมันมาต่อยอดความบิดเบี้ยวบ้าบิ่นของตัวละครตามสไตล์ตัวเองมากกว่า ซึ่งมันเป็นวิธีการเล่าเรื่องที่แหวกแนวแต่มีเสน่ห์น่าหลงใหลชวนให้เราติดตามอยู่ตลอดเวลา เรียกได้ว่าละสายตาจากความแปลกประหลาดตรงหน้านี้ไม่ได้เลยแม้แต่วินาทีเดียว
.
อีกสิ่งที่เราชอบมากคือ Yorgos Lanthimos ยังคงความวิปริตในผลงานอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นตัวละครเพี้ยนๆ บทสนทนาแปลกๆ หรือแม้แต่ดนตรีประกอบที่ไม่มีความเข้ากันกับสถานการณ์เลยแม้แต่น้อย คิดจะดังตอนไหนก็ดัง แผ่วตอนไหนก็แผ่ว แต่แปลกที่มันกลับเร้าอารมณ์ และบีบคั้นความรู้สึกเราจนมวนท้อง ปั่นป่วน และเสียสติตามหนังไปด้วยอย่างเลี่ยงไม่ได้ รวมไปถึงฉากความรุนแรงแบบดิบเถื่อนที่ตัวละครมักชอบทำร้ายตัวเองอย่างเจ็บแสบที่เราได้เห็นกันจากผลงานก่อนๆอย่าง Dogtooth และ The Lobster ก็ยังโผล่มาให้เห็นด้วยเช่นกัน จนต้องรอขอในใจให้พอเถอะ พอเถอะ เพราะถ้าถามว่าเจ็บแทนได้ไหม ตอบเลยว่าไม่ได้ ฮ่าๆ
.
โดยรวมแล้ว The Killing Of A Sacred Deer ไม่ใช่หนังที่ดูยากมากนัก แม้ผู้กำกับอาจทิ้งสัญลักษณ์บางอย่างในบางฉากที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวในตำนานไว้ให้คนดู แต่ทั้งหมดก็ถูกถ่ายทอดออกมาตามที่ตัวหนังเองต้องการจะสื่ออย่างชัดเจน ก่อนเดินออกจากโรงหนังเราได้ยินคนต่างชาติพูดขึ้นว่า "It's weird" เราก็ได้แต่ยิ้มในใจ ใช่ หนังมันแปลกและบ้าบอมาก แต่สิ่งที่แปลกยิ่งกว่าคือเรากลับชอบ หลงใหล และสลัดมันออกไปจากหัวไม่ได้เหมือนกัน
ภวังค์หนัง http://bit.ly/2AlL6hA