คณะวิจัยวิทยาศาสตร์นำโดยมหาวิทยาลัย Exeter ได้ใช้ทฤษฎีเกมในการอธิบายพฤติกรรมแปลกๆของฝูงอีกา ซึ่งเป็นนกที่มีอายุไม่มากที่อยู่ใน North Wales โดยได้มีการสังเกตกลยุทธ์วิธีการค้นหาอาหารของฝูงนก โดยงานวิจัยใหม่ได้อธิบายถึงพฤติกรรมนี้ว่า สามารถคาดคะเนได้โดยการปรับรูปแบบให้เข้ากับสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์นำไปใช้ในการวิเคราะห์แนวโน้มทางการเงิน
ในช่วงแรกการวิเคราะห์ด้วยหลักทฤษฎีเกมก็ประสบความสำเร็จในการคาดการณ์พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตในโลกแห่งความเป็นจริงได้ นักวิจัยหลายคนเชื่อว่าการวิเคราะห์นี้จะช่วยทำความเข้าใจกลยุทธ์การค้นหาอาหารของสิ่งมีชีวิตที่มีสปีชี่ส์ไม่เหมือนกัน
อีกาจะกินอาหารประเภทซากสัตว์ใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่พวกมันจะอาศัยอยู่ตามป่า เมื่ออีกาแต่ละตัวได้ทำการค้นหาซากสัตว์ใหญ่ และเมื่อพบซากสัตว์พวกมันก็จะทำการปกป้องโดยอีกาที่เป็นผู้ใหญ่ ในทางกลับกันอีกาที่ยังเป็นหนุ่มสาวอยู่นั้นก็จะทำการเกาะอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ โดยพวกมันจะคอยดูอีกาแต่ละตัวที่ทำการค้นหาซากสัตว์ใหญ่ และก็ส่งตัวแทนของมันเฝ้าดูที่ Anglesey พวกมันมีหน้าที่ไม่เหมือนกัน โดยอีกาที่มีอายุไม่มากจะทำการค้นหาอาหารเป็นกลุ่ม พฤติกรรมการทำงานร่วมกันยังไม่เป็นที่เข้าใจนักก่อนที่อีกาจะรวมกันเป็นกลุ่ม
นักวิจัยหลายคนได้ทำการสร้างรูปแบบการคำนวณทางด้านคณิตศาสตร์ขึ้นมาเพื่อที่จะทำความเข้าใจว่า พฤติกรรมพวกนี้มีวิวัฒนาการอย่างไรและเพราะอะไรอีกาบางตัวถึงต้องเกาะตามที่ต่างๆด้วย และทำไมอีกาตัวอื่นไม่ทำแบบนั้น รูปแบบนี้ได้ออกแบบเพื่อที่จะทำการวิจัยโดยมียึดหลักรูปแบบจำลองทางทฤษฎีเกมที่จะช่วยทำการวินิจฉัยพฤติกรรมของอีกาแต่ละตัวที่ตักตวงผลประโยชน์ของตัวเองมากที่สุดในสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไปจนถึงคาดการณ์ความคืบหน้าในผลตอบแทนที่ได้รับ
จากการศึกษาได้เผยให้เห็นถึงกลยุทธ์ 2 รูปแบบที่เป็นประโยชน์ในการค้นหาอาหารของอีกาได้มากที่สุด รูปแบบที่หนึ่งนั้น นกจะทำการค้นหาอาหารอย่างอิสระและก็ส่งตัวแทนค้นหาอาหารพร้อมๆกัน ส่วนอีกรูปแบบหนึ่งก็จะเป็นนกที่ทำการค้นหาอาหารแบบกลุ่ม
จากการวิจัยชี้ว่านกที่รวมกลุ่มจะมีโอกาสหาอาหารได้ก็ต่อเมื่ออีกาแต่ละตัวไม่สามารถค้นหาอาหารได้ดีกว่าการรวมกันเป็นกลุ่ม มีความเป็นไปได้ว่าหากอีกาเกาะตามพื้นที่ต่างๆ ก็จะทำให้อีกาสามารถสำรวจอาหารได้กว้างขึ้นในแต่ละวัน ซึ่งการตัดไม้ทำลายป่าก็อาจจะเป็นเงื่อนไขปัจจัยที่เข้ามา
เช่นกันจากการศึกษาได้ระบุว่า การหาอาหารเป็นกุญแจสำคัญ การเกาะตามที่ต่างๆใน Anglesey ก็จะอยู่ภายใต้สถานการณ์ต่างๆที่อยู่ในพื้นที่ทำการเกษตร ซึ่งหมายความว่าซากสัตว์ใหญ่ที่อยู่ในฟาร์มบ่อยครั้งก็เป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแหล่งอาหาร เมื่อพื้นที่เต็มไปด้วยอาหาร โอกาสที่จะรุดคืบหน้าถือเป็นปัจจัยที่สำคัญ อีกาพวกนี้ดูเหมือนว่าจะไม่ค้นหาเพียงแค่อาหารเท่านั้น แต่ยังมองถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากสถานะทางสังคมด้วย ซึ่งจะช่วยให้ทำความเข้าใจอีกมุมหนึ่งของสิ่งมีชีวิต เรื่องนี้ก็รวมไปถึงการค้นหาเพื่อนๆด้วย
หัวหน้าวิจัย Dr.Sasha Dall จากมหาวิทยาลัย Exeter ได้กล่าวว่า “นี่ถือเป็นตัวอย่างศึกษาที่พบได้ยากมากว่า ทฤษฎีเกมสามารถคาดการณ์พฤติกรรมของสัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงได้ จากการศึกษาของพวกเราก็เผยให้เห็นว่า ทฤษฎีเกมดีพอที่จะช่วยให้นักชีววิทยาทำความเข้าใจโครงสร้างทางสังคมที่ไม่เหมือนกันกับวิวัฒนาการทางด้านพฤติกรรมในแต่ละสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมือนกันและการตอบสนองความเคลื่อนไหวของมนุษย์”
ผู้แปล : Mr.lawrence10
ที่มา : sciencedaily.com
พฤติกรรมแปลกๆของนกคาดคะเนได้จากหลักทฤษฎีเกม
คณะวิจัยวิทยาศาสตร์นำโดยมหาวิทยาลัย Exeter ได้ใช้ทฤษฎีเกมในการอธิบายพฤติกรรมแปลกๆของฝูงอีกา ซึ่งเป็นนกที่มีอายุไม่มากที่อยู่ใน North Wales โดยได้มีการสังเกตกลยุทธ์วิธีการค้นหาอาหารของฝูงนก โดยงานวิจัยใหม่ได้อธิบายถึงพฤติกรรมนี้ว่า สามารถคาดคะเนได้โดยการปรับรูปแบบให้เข้ากับสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์นำไปใช้ในการวิเคราะห์แนวโน้มทางการเงิน
ในช่วงแรกการวิเคราะห์ด้วยหลักทฤษฎีเกมก็ประสบความสำเร็จในการคาดการณ์พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตในโลกแห่งความเป็นจริงได้ นักวิจัยหลายคนเชื่อว่าการวิเคราะห์นี้จะช่วยทำความเข้าใจกลยุทธ์การค้นหาอาหารของสิ่งมีชีวิตที่มีสปีชี่ส์ไม่เหมือนกัน
อีกาจะกินอาหารประเภทซากสัตว์ใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่พวกมันจะอาศัยอยู่ตามป่า เมื่ออีกาแต่ละตัวได้ทำการค้นหาซากสัตว์ใหญ่ และเมื่อพบซากสัตว์พวกมันก็จะทำการปกป้องโดยอีกาที่เป็นผู้ใหญ่ ในทางกลับกันอีกาที่ยังเป็นหนุ่มสาวอยู่นั้นก็จะทำการเกาะอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ โดยพวกมันจะคอยดูอีกาแต่ละตัวที่ทำการค้นหาซากสัตว์ใหญ่ และก็ส่งตัวแทนของมันเฝ้าดูที่ Anglesey พวกมันมีหน้าที่ไม่เหมือนกัน โดยอีกาที่มีอายุไม่มากจะทำการค้นหาอาหารเป็นกลุ่ม พฤติกรรมการทำงานร่วมกันยังไม่เป็นที่เข้าใจนักก่อนที่อีกาจะรวมกันเป็นกลุ่ม
นักวิจัยหลายคนได้ทำการสร้างรูปแบบการคำนวณทางด้านคณิตศาสตร์ขึ้นมาเพื่อที่จะทำความเข้าใจว่า พฤติกรรมพวกนี้มีวิวัฒนาการอย่างไรและเพราะอะไรอีกาบางตัวถึงต้องเกาะตามที่ต่างๆด้วย และทำไมอีกาตัวอื่นไม่ทำแบบนั้น รูปแบบนี้ได้ออกแบบเพื่อที่จะทำการวิจัยโดยมียึดหลักรูปแบบจำลองทางทฤษฎีเกมที่จะช่วยทำการวินิจฉัยพฤติกรรมของอีกาแต่ละตัวที่ตักตวงผลประโยชน์ของตัวเองมากที่สุดในสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไปจนถึงคาดการณ์ความคืบหน้าในผลตอบแทนที่ได้รับ
จากการศึกษาได้เผยให้เห็นถึงกลยุทธ์ 2 รูปแบบที่เป็นประโยชน์ในการค้นหาอาหารของอีกาได้มากที่สุด รูปแบบที่หนึ่งนั้น นกจะทำการค้นหาอาหารอย่างอิสระและก็ส่งตัวแทนค้นหาอาหารพร้อมๆกัน ส่วนอีกรูปแบบหนึ่งก็จะเป็นนกที่ทำการค้นหาอาหารแบบกลุ่ม
จากการวิจัยชี้ว่านกที่รวมกลุ่มจะมีโอกาสหาอาหารได้ก็ต่อเมื่ออีกาแต่ละตัวไม่สามารถค้นหาอาหารได้ดีกว่าการรวมกันเป็นกลุ่ม มีความเป็นไปได้ว่าหากอีกาเกาะตามพื้นที่ต่างๆ ก็จะทำให้อีกาสามารถสำรวจอาหารได้กว้างขึ้นในแต่ละวัน ซึ่งการตัดไม้ทำลายป่าก็อาจจะเป็นเงื่อนไขปัจจัยที่เข้ามา
เช่นกันจากการศึกษาได้ระบุว่า การหาอาหารเป็นกุญแจสำคัญ การเกาะตามที่ต่างๆใน Anglesey ก็จะอยู่ภายใต้สถานการณ์ต่างๆที่อยู่ในพื้นที่ทำการเกษตร ซึ่งหมายความว่าซากสัตว์ใหญ่ที่อยู่ในฟาร์มบ่อยครั้งก็เป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแหล่งอาหาร เมื่อพื้นที่เต็มไปด้วยอาหาร โอกาสที่จะรุดคืบหน้าถือเป็นปัจจัยที่สำคัญ อีกาพวกนี้ดูเหมือนว่าจะไม่ค้นหาเพียงแค่อาหารเท่านั้น แต่ยังมองถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากสถานะทางสังคมด้วย ซึ่งจะช่วยให้ทำความเข้าใจอีกมุมหนึ่งของสิ่งมีชีวิต เรื่องนี้ก็รวมไปถึงการค้นหาเพื่อนๆด้วย
หัวหน้าวิจัย Dr.Sasha Dall จากมหาวิทยาลัย Exeter ได้กล่าวว่า “นี่ถือเป็นตัวอย่างศึกษาที่พบได้ยากมากว่า ทฤษฎีเกมสามารถคาดการณ์พฤติกรรมของสัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงได้ จากการศึกษาของพวกเราก็เผยให้เห็นว่า ทฤษฎีเกมดีพอที่จะช่วยให้นักชีววิทยาทำความเข้าใจโครงสร้างทางสังคมที่ไม่เหมือนกันกับวิวัฒนาการทางด้านพฤติกรรมในแต่ละสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมือนกันและการตอบสนองความเคลื่อนไหวของมนุษย์”
ผู้แปล : Mr.lawrence10
ที่มา : sciencedaily.com