Book หนังสือ Homo Deus: A Brief History of Tomorrow by Harari 29/11/2560
https://ppantip.com/topic/37137656
ผู้เขียน Harari ตั้งคำถามว่าถ้ามนุษย์สามารถจัดการกับความอดหยากโรคติดต่อและสงครามได้แล้ว อะไรควรเป็นประเด็นสำคัญสำหรับอนาคต ถ้าเอาชนะความตายได้ด้วยชีวิตประดิษฐ์ (artificial life)
https://sites.google.com/site/koimoioiugrewdsd/oyirmormosoetrofeworhudsathifob-39576
.. สรายุทธ 29/11/2560
หนังสือดีหนา 500 หน้า ที่คนเก่งคนดังของโลกอย่าง มาร์ก ซัคเกอร์เบิร์ก, บิลเกตและ
โอบามา ก็อ่าน
No automatic alt text available.
Sand Nantira Pookhao Sonjai added a new photo to the album: Book review.
November 13 at 10:49am ·
Organism are Algorithm, Nationalism vs Globalism, BioTech-InfoTech, People happiness
.
ตอนที่หัวหน้าชาวออสเตรียแนะนำให้อ่านหนังสือเล่มนี้ด้วยความตื่นเต้น ก็ยังไม่ค่อยรู้สึก อินเท่าไหร่ จนพอได้ฟัง YouTube Yuval Harari ให้สัมภาษณ์ในรายการต่างๆ ก็รู้สึกว่า ดร. ชาวอิสราเอล คนนี้เป็นคนที่ลึก มีความคิดที่แหลมคมมาก และมีความเห็นหลายประเด็น ที่ชวนให้นำไปขบคิดต่อ นอกจากนี้ พอไปอ่านประวัติดู ก็พบว่า มีประวัติที่น่าสนใจทีเดียว เป็นยิว สนใจเรื่องการทำวิปัสสนา และเข้าอบรมหลักสูตรของท่านอาจารย์โกเอ็นก้า จึงไม่แปลกใจ ที่ในหนังสือ ดร.ฮารารี เขียนอุทิศความดีให้กับท่านอาจารย์ โกเอ็นก้าด้วย.
.
หนังสือ “Homo Deus : A Brief History of Tomorrow” เล่มหนาขนาด 500 หน้านี้ ติดทำเนียบหนังสือขายดีระดับโลก ที่ทั้งอดีตประธานาธิบดี โอบามา, มาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก และบิลเกต ต่างแนะนำให้เป็นหนังสือที่น่าอ่านอีกด้วย
ส่วนตัวคิดว่า จุดแข็งของ ดร. ฮารารี คือ การยกตัวอย่าง ในการเล่าเรื่องนั้นๆ ซึ่งทำให้เราเห็นภาพมากขึ้น เช่น
.
Organism are Algorithm, ประโยคนี้ของ ดร.ฮารารี อาจทำให้เรานึกถึง AI (Artificial Intelligence) แต่การยกตัวอย่างประกอบ ทำให้เราเห็นภาพมากขึ้น ว่ามนุษย์หรือสิ่งมีชีวิต มี Algorithm หรือกระบวนการตัดสินใจอยู่ในทุกๆ การกระทำ
.
หนังสือยกตัวอย่าง ลิงป่าในแอฟริกาที่กำลังหิว มองเห็นกล้วย แต่ในขณะเดียวกันก็มองเห็นสิงโตอยู่ในบริเวณเดียวกันด้วย การที่ลิงตัวนั้นจะตัดสินใจว่า จะเข้าไปกินกล้วยหรือไม่ จะมีการคำนวนหรือ Algorithm เกิดขึ้นในสมองของลิงอย่างรวดเร็วว่า ตัวมันหิวแค่ไหน ถ้าไม่กินจะอยู่ได้กี่วัน กล้วยที่เห็นสุกหรือดิบ คุ้มค่าที่จะเสี่ยงชีวิตไหม สิงโตอยู่ในอาการยังไง หลับหรือตื่น ตัวมันเอง วิ่งเร็วแค่ไหนถ้าสิงโตเกิดเห็นมันเข้า รอบๆมีต้นไม้ให้ปีนหนีไหม เป็นต้น ซึ่งการคำนวน นี้จะเกิดขึ้นเร็วมากในสมองของลิง (จะว่าไปแล้วนึกถึง หนังเรื่อง Terminator ที่ อาโนลด์ ชวา ชวาสเน็กเกอร์ แสดงเป็นหุ่นยนต์ และมีหุ่นยนต์ตัวร้าย ที่ในสมอง มีระบบการคำนวนอะไรแบบนี้)
.
จะเห็นว่า การตัดสินใจของสิ่งมีชีวิต มีกระบวนการเหล่านี้อยู่แทบทั้งสิ้น ดังนั้น หากเรามองไปที่ AI การทำหุ่นยนต์ให้มีกระบวนการ ในการตัดสินใจแบบมนุษย์ เป็นเรื่องที่เป็นไปได้แน่นอน ถ้าเราป้อนข้อมูลเหล่านี้ให้หุ่นยนต์ (หรือหุ่นยนต์เรียนรู้เอง) ปัจจุบัน เราก็เริ่มเห็น ตัวอย่างของหุ่นยนต์ที่สามารถพูดโต้ตอบ และแสดงความรู้สึกได้ อย่าง Sophia (
https://www.youtube.com/watch?v=S5t6K9iwcdw) หรืออีกตัวอย่าง ที่ Softbank ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่ของญี่ปุ่น ที่ลงทุนใน บริษัทดังๆ หลายแห่งทั้ง Alibaba, Uber ก็กำลังเข้ามาเล่นเรื่องนี้ ในโครงการที่ชื่อว่า Singularity เพื่อทำ Super AI ซึ่งมีแผนผลิตหุ่นยนต์ที่มีระดับความฉลาดใกล้เคียง หรือเเทียบเท่ามนุษย์ (ติดตามชมคร่าวๆ ได้ที่
https://www.youtube.com/watch?v=fmeAGcvt9u8)
.
Nationalism vs Globalism, เรื่องนี้ ก็เป็นอีกหนึ่งหัวข้อที่น่าสนใจ เพราะหากเรามองในปัจจุบัน จะดูเหมือนว่า โลกจะกลับไปในใช้ระบบ ชาตินิยมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น อเมริกา, อังกฤษ หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสเปน ที่ชาวคาตาลานต้องการปกครองตนเอง ดร.ฮารารีมองว่า มองว่า เราคงไม่อาจหยุดยั้งระบบชาตินิยมได้ แต่ระบบชาตินิยม จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เป็นสากลได้ เช่น เรื่องของ ภาวะโลกร้อน (Global warming), หรือการ Distrupt Technology ด้านการปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น อเมริกา อาจจะไม่ผ่านร่างกฏหมายนี้ และไม่ทำเพราะสังคมไม่เห็นด้วย แต่ถ้าจีนทำ เกาหลีเหนือทำ รัสเซียทำ สุดท้ายอเมริกาก็ต้องทำ เพราะไม่มีใครอยากล้าหลัง สิ่งเหล่านี้ จะเกิดขึ้นได้ ด้วยความร่วมมือกันในลักษณะนานาชาติเท่านั้น เรายังชินกับการตกลงที่ทุกคน Win-Win แต่ปัญหาเรื่องของ Global Warming มันคือ Lose - Lose สำหรับทุกคน
.
Happiness, ในหนังสือพูดถึง อีกนิยามหนึ่งของความสุขว่า สิ่งที่ทำให้คนเรามีความสุขคือ การรับรู้ได้ถึงความรู้สึก หรือพลังงาน ที่เกิดขึ้นในร่างกายของคน คนนั้น ในช่วงขณะหนึ่ง (poeple are made happy by one thing and one thing only - present sensation in their body) หนังสือยกตัวอย่าง นักฟุตบอล ที่ยิงลูกเข้าประตูในช่วงทดเวลาเจ็บในฟุตบอลโลกรอบชิงชนะเลิศ จนทำให้ทีมได้แชมป์โลก ซึ่งความสุข ที่นักฟุตบอลได้รับขณะ ยิงประตูเข้านั้น เกิดจาก Sensation หรือความรู้สึก ที่เป็นพลังงาน แห่งความสุข ความดีใจ อย่างล้นหลาม จากคนดูรอบสนาม และพลังงานเหล่านี้ พุ่งเข้าสู่นักฟุตบอล ทำให้เกิดความปิติ และความสุขเท่าทวีคูณ มากไปกว่าการเตะลูกเข้าธรรมดา
.
แต่ข่าวร้ายก็คือ ความสุขแบบนี้ มักเกิดขึ้น และหมดไป ซึ่งนักฟุตบอลเอง อาจมีความสุขมาก ในช่วงเวลาที่ยิงประตูเข้า เพราะเกิดความรู้สึกจากผู้คนรอบสนาม แต่หลังจากนั้น ความรู้สึกนี้ก็จะค่อยๆ จางหาย และหมดไปในที่สุด
.
คำอธิบายนี้ คล้ายๆ กับหนังสือ “Happier” ของ ดร. ทาล เบน - ชาฮาร์ (Tal Ben - Shahar, Ph.D) ซึ่งเป็น ดร. ชาวอิสราเอล เช่นเดียวกัน ที่ได้เล่าถึงความสุขของตัวเขาที่หายไป หลังจากการเป็นแชมป์สคอช ระดับชาติเพียงช่วงข้ามคืน
.
จริงๆ หนังสือ มีเนื้อหาอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกมากมาย โดยส่วนตัว คงต้องอ่านมากกว่าหนึ่งรอบแน่นอน เพราะเนื้อหาที่ต้องขบคิดเยอะมาก เช่นเดียวกับหัวหน้าที่แนะนำมา ก็ฟังหนังสือเสียงไปแล้วหลายรอบแล้วเช่นเดียวกัน
.
หนังสืออาจจะหนาหน่อยนะครับ ใครพอฟังภาษาอังกฤษได้ ลองฟังดูใน YouTube ของ Dr.Yural Harari ก็พอจะได้บทสรุปของหนังสือ หรือว่าจะสั่งเป็น Audio book ก็ได้เช่นเดียวกันครับ
26/11/2017 Reviewed by Khun Samee
Book หนังสือ Homo Deus: A Brief History of Tomorrow by Harari 29/11/2560 สรายุทธ กันหลง
Book หนังสือ Homo Deus: A Brief History of Tomorrow by Harari 29/11/2560
https://ppantip.com/topic/37137656
ผู้เขียน Harari ตั้งคำถามว่าถ้ามนุษย์สามารถจัดการกับความอดหยากโรคติดต่อและสงครามได้แล้ว อะไรควรเป็นประเด็นสำคัญสำหรับอนาคต ถ้าเอาชนะความตายได้ด้วยชีวิตประดิษฐ์ (artificial life)
https://sites.google.com/site/koimoioiugrewdsd/oyirmormosoetrofeworhudsathifob-39576
.. สรายุทธ 29/11/2560
หนังสือดีหนา 500 หน้า ที่คนเก่งคนดังของโลกอย่าง มาร์ก ซัคเกอร์เบิร์ก, บิลเกตและ
โอบามา ก็อ่าน
No automatic alt text available.
Sand Nantira Pookhao Sonjai added a new photo to the album: Book review.
November 13 at 10:49am ·
Organism are Algorithm, Nationalism vs Globalism, BioTech-InfoTech, People happiness
.
ตอนที่หัวหน้าชาวออสเตรียแนะนำให้อ่านหนังสือเล่มนี้ด้วยความตื่นเต้น ก็ยังไม่ค่อยรู้สึก อินเท่าไหร่ จนพอได้ฟัง YouTube Yuval Harari ให้สัมภาษณ์ในรายการต่างๆ ก็รู้สึกว่า ดร. ชาวอิสราเอล คนนี้เป็นคนที่ลึก มีความคิดที่แหลมคมมาก และมีความเห็นหลายประเด็น ที่ชวนให้นำไปขบคิดต่อ นอกจากนี้ พอไปอ่านประวัติดู ก็พบว่า มีประวัติที่น่าสนใจทีเดียว เป็นยิว สนใจเรื่องการทำวิปัสสนา และเข้าอบรมหลักสูตรของท่านอาจารย์โกเอ็นก้า จึงไม่แปลกใจ ที่ในหนังสือ ดร.ฮารารี เขียนอุทิศความดีให้กับท่านอาจารย์ โกเอ็นก้าด้วย.
.
หนังสือ “Homo Deus : A Brief History of Tomorrow” เล่มหนาขนาด 500 หน้านี้ ติดทำเนียบหนังสือขายดีระดับโลก ที่ทั้งอดีตประธานาธิบดี โอบามา, มาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก และบิลเกต ต่างแนะนำให้เป็นหนังสือที่น่าอ่านอีกด้วย
ส่วนตัวคิดว่า จุดแข็งของ ดร. ฮารารี คือ การยกตัวอย่าง ในการเล่าเรื่องนั้นๆ ซึ่งทำให้เราเห็นภาพมากขึ้น เช่น
.
Organism are Algorithm, ประโยคนี้ของ ดร.ฮารารี อาจทำให้เรานึกถึง AI (Artificial Intelligence) แต่การยกตัวอย่างประกอบ ทำให้เราเห็นภาพมากขึ้น ว่ามนุษย์หรือสิ่งมีชีวิต มี Algorithm หรือกระบวนการตัดสินใจอยู่ในทุกๆ การกระทำ
.
หนังสือยกตัวอย่าง ลิงป่าในแอฟริกาที่กำลังหิว มองเห็นกล้วย แต่ในขณะเดียวกันก็มองเห็นสิงโตอยู่ในบริเวณเดียวกันด้วย การที่ลิงตัวนั้นจะตัดสินใจว่า จะเข้าไปกินกล้วยหรือไม่ จะมีการคำนวนหรือ Algorithm เกิดขึ้นในสมองของลิงอย่างรวดเร็วว่า ตัวมันหิวแค่ไหน ถ้าไม่กินจะอยู่ได้กี่วัน กล้วยที่เห็นสุกหรือดิบ คุ้มค่าที่จะเสี่ยงชีวิตไหม สิงโตอยู่ในอาการยังไง หลับหรือตื่น ตัวมันเอง วิ่งเร็วแค่ไหนถ้าสิงโตเกิดเห็นมันเข้า รอบๆมีต้นไม้ให้ปีนหนีไหม เป็นต้น ซึ่งการคำนวน นี้จะเกิดขึ้นเร็วมากในสมองของลิง (จะว่าไปแล้วนึกถึง หนังเรื่อง Terminator ที่ อาโนลด์ ชวา ชวาสเน็กเกอร์ แสดงเป็นหุ่นยนต์ และมีหุ่นยนต์ตัวร้าย ที่ในสมอง มีระบบการคำนวนอะไรแบบนี้)
.
จะเห็นว่า การตัดสินใจของสิ่งมีชีวิต มีกระบวนการเหล่านี้อยู่แทบทั้งสิ้น ดังนั้น หากเรามองไปที่ AI การทำหุ่นยนต์ให้มีกระบวนการ ในการตัดสินใจแบบมนุษย์ เป็นเรื่องที่เป็นไปได้แน่นอน ถ้าเราป้อนข้อมูลเหล่านี้ให้หุ่นยนต์ (หรือหุ่นยนต์เรียนรู้เอง) ปัจจุบัน เราก็เริ่มเห็น ตัวอย่างของหุ่นยนต์ที่สามารถพูดโต้ตอบ และแสดงความรู้สึกได้ อย่าง Sophia (https://www.youtube.com/watch?v=S5t6K9iwcdw) หรืออีกตัวอย่าง ที่ Softbank ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่ของญี่ปุ่น ที่ลงทุนใน บริษัทดังๆ หลายแห่งทั้ง Alibaba, Uber ก็กำลังเข้ามาเล่นเรื่องนี้ ในโครงการที่ชื่อว่า Singularity เพื่อทำ Super AI ซึ่งมีแผนผลิตหุ่นยนต์ที่มีระดับความฉลาดใกล้เคียง หรือเเทียบเท่ามนุษย์ (ติดตามชมคร่าวๆ ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=fmeAGcvt9u8)
.
Nationalism vs Globalism, เรื่องนี้ ก็เป็นอีกหนึ่งหัวข้อที่น่าสนใจ เพราะหากเรามองในปัจจุบัน จะดูเหมือนว่า โลกจะกลับไปในใช้ระบบ ชาตินิยมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น อเมริกา, อังกฤษ หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสเปน ที่ชาวคาตาลานต้องการปกครองตนเอง ดร.ฮารารีมองว่า มองว่า เราคงไม่อาจหยุดยั้งระบบชาตินิยมได้ แต่ระบบชาตินิยม จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เป็นสากลได้ เช่น เรื่องของ ภาวะโลกร้อน (Global warming), หรือการ Distrupt Technology ด้านการปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น อเมริกา อาจจะไม่ผ่านร่างกฏหมายนี้ และไม่ทำเพราะสังคมไม่เห็นด้วย แต่ถ้าจีนทำ เกาหลีเหนือทำ รัสเซียทำ สุดท้ายอเมริกาก็ต้องทำ เพราะไม่มีใครอยากล้าหลัง สิ่งเหล่านี้ จะเกิดขึ้นได้ ด้วยความร่วมมือกันในลักษณะนานาชาติเท่านั้น เรายังชินกับการตกลงที่ทุกคน Win-Win แต่ปัญหาเรื่องของ Global Warming มันคือ Lose - Lose สำหรับทุกคน
.
Happiness, ในหนังสือพูดถึง อีกนิยามหนึ่งของความสุขว่า สิ่งที่ทำให้คนเรามีความสุขคือ การรับรู้ได้ถึงความรู้สึก หรือพลังงาน ที่เกิดขึ้นในร่างกายของคน คนนั้น ในช่วงขณะหนึ่ง (poeple are made happy by one thing and one thing only - present sensation in their body) หนังสือยกตัวอย่าง นักฟุตบอล ที่ยิงลูกเข้าประตูในช่วงทดเวลาเจ็บในฟุตบอลโลกรอบชิงชนะเลิศ จนทำให้ทีมได้แชมป์โลก ซึ่งความสุข ที่นักฟุตบอลได้รับขณะ ยิงประตูเข้านั้น เกิดจาก Sensation หรือความรู้สึก ที่เป็นพลังงาน แห่งความสุข ความดีใจ อย่างล้นหลาม จากคนดูรอบสนาม และพลังงานเหล่านี้ พุ่งเข้าสู่นักฟุตบอล ทำให้เกิดความปิติ และความสุขเท่าทวีคูณ มากไปกว่าการเตะลูกเข้าธรรมดา
.
แต่ข่าวร้ายก็คือ ความสุขแบบนี้ มักเกิดขึ้น และหมดไป ซึ่งนักฟุตบอลเอง อาจมีความสุขมาก ในช่วงเวลาที่ยิงประตูเข้า เพราะเกิดความรู้สึกจากผู้คนรอบสนาม แต่หลังจากนั้น ความรู้สึกนี้ก็จะค่อยๆ จางหาย และหมดไปในที่สุด
.
คำอธิบายนี้ คล้ายๆ กับหนังสือ “Happier” ของ ดร. ทาล เบน - ชาฮาร์ (Tal Ben - Shahar, Ph.D) ซึ่งเป็น ดร. ชาวอิสราเอล เช่นเดียวกัน ที่ได้เล่าถึงความสุขของตัวเขาที่หายไป หลังจากการเป็นแชมป์สคอช ระดับชาติเพียงช่วงข้ามคืน
.
จริงๆ หนังสือ มีเนื้อหาอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกมากมาย โดยส่วนตัว คงต้องอ่านมากกว่าหนึ่งรอบแน่นอน เพราะเนื้อหาที่ต้องขบคิดเยอะมาก เช่นเดียวกับหัวหน้าที่แนะนำมา ก็ฟังหนังสือเสียงไปแล้วหลายรอบแล้วเช่นเดียวกัน
.
หนังสืออาจจะหนาหน่อยนะครับ ใครพอฟังภาษาอังกฤษได้ ลองฟังดูใน YouTube ของ Dr.Yural Harari ก็พอจะได้บทสรุปของหนังสือ หรือว่าจะสั่งเป็น Audio book ก็ได้เช่นเดียวกันครับ
26/11/2017 Reviewed by Khun Samee