. ในอดีต...เมื่อกล่าวถึง “เมืองอัจฉริยะ” เรามักนึกถึงภาพเมืองที่มีเทคโนโลยีอันทันสมัยในต่างประเทศและดูเหมือนจะเป็นเรื่องไกลตัวของคนไทย จนเราแทบจะนึกภาพไม่ออกว่า “เมืองอัจฉริยะ” ในบริบทของสังคมไทยนั้นจะเป็นอย่างไร แต่นับตั้งแต่ที่มี
โครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities – Clean Energy) ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อเดือนสิงหาคม 2559 โดยเป็นโครงการที่เกิดจากการผลักดันของ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน และสถาบันอาคารเขียวไทย สนับสนุนโดย กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ทำให้ภาพของ “เมืองอัจฉริยะ” ในประเทศไทยเริ่มมีความชัดเจนยิ่งขึ้นเรื่อยๆ
จากข้อเสนอแนวคิด 36 โครงการที่เป็นเพียงความฝันของคนกลุ่มเล็กๆ ได้ก่อให้เกิดกระแสตื่นตัวทางสังคม จนนำไปสู่ข้อเสนอแนวคิดเมืองอัจฉริยะที่หลากหลายและเป็นรูปธรรมอย่างยิ่งในเวลานี้ ล่าสุด เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2560 โครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities – Clean Energy) ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นมาจนถึงขั้นตอนที่ 3 แล้ว นั่นคือการจัดทำโมเดลธุรกิจ (Business Model) ซึ่งต่อจากนี้ไปจะเข้าสู่การจัดหาผู้ร่วมทุนและพัฒนาเมืองอัจฉริยะให้เสร็จสมบูรณ์ต่อไป โดยมีโครงการที่ผ่านขั้นตอนการคัดเลือกอย่างเข้มข้นจากคณะกรรมการทั้งสิ้น 6 โครงการ ได้แก่
1. นิด้า :มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ รู้รักษ์พลังงาน สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
2. มช.(เมือง) มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ พลังงานสะอาด
3. เมืองจุฬาฯ อัจฉริยะ
4. ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต :ต้นแบบเมืองมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ
5. วิสซ์ดอม วัน-โอ-วัน
6. ขอนแก่น Smart City (ระยะที่ 1) :ขนส่งสาธารณะเปลี่ยนเมือง
แต่สิ่งสำคัญที่ถือได้ว่าเป็นพลังขับเคลื่อนให้
โครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities – Clean Energy) ประสบความสำเร็จอย่างเกินความคาดหมาย ไม่ได้มีเพียงแนวคิดอัจฉริยะของหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการเท่านั้น ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน นั่นคือพลังประชารัฐที่ก่อให้เกิดการผลักดันร่วมกันฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ เพื่อสร้าง “เมืองอัจฉริยะ” ให้เกิดขึ้นจริงได้ในประเทศไทย ซึ่งนับเป็นความสำเร็จที่แท้จริงและอยู่เหนือความคาดหมายใดๆ ของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานส่วนท้องถิ่น มหาวิทยาลัย และองค์กรเอกชนจากทั่วประเทศ
ในวันนี้ ประเทศไทยได้เดินหน้าพัฒนา “เมืองอัจฉริยะ”หรือ“Smart City” อย่างเต็มกำลัง เพื่อเตรียมความพร้อม สร้างสังคมเมืองให้สอดรับกับจำนวนประชากรของประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนทำให้เมืองขนาดใหญ่มีความซับซ้อนกว่าในอดีต และจะเป็นเรื่องน่ายินดีหากเราทุกคนจะช่วยกันส่งเสริมให้ชุมชนเมืองมีสังคมและเศรษฐกิจที่มีคุณภาพ มีการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งด้วยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ และมีการสนับสนุนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เชื่อแน่ว่าในอนาคตอันใกล้นี้ การพัฒนา “เมืองอัจฉริยะ”จะช่วยลดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม ช่วยส่งเสริมสภาพแวดล้อมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตลอดจนนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ และช่วยบ่มเพาะให้เกิดการพัฒนาธุรกิจใหม่ได้ในอนาคต
แม้ความสำเร็จในวันนี้ของ
โครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities – Clean Energy) จะยังมิใช่จุดหมายปลายทางที่สิ้นสุดของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย แต่นี่ก็ถือเป็นหนทางสำคัญที่คนไทยควรจะได้ร่วมยินดีและร่วมเป็นกำลังใจ เพราะนี่คือหนทางมุ่งตรงสู่เส้นชัย หนทางที่จะนำพาคนไทยเดินไปยังเป้าหมายเดียวกัน คือการสร้างสังคมคุณภาพให้เกิดขึ้นจริง ด้วย “เมืองอัจฉริยะ” ที่จะรองรับการขยายตัวของสังคมเมือง ช่วยเสริมสร้างศักยภาพของประเทศ และเพิ่มโอกาสในการต่อยอดทางธุรกิจ จนเป็นเมืองที่สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนจากนี้และตลอดไป.
รายละเอียดเพิ่มเติม :
http://www.tgbi.or.th/intro.php
http://www.thailandsmartcities.com/
/////////////////////////////////////////////
“เมืองอัจฉริยะ” สู่ก้าวต่อไป...ไม่ใช่เพียงความฝัน
. ในอดีต...เมื่อกล่าวถึง “เมืองอัจฉริยะ” เรามักนึกถึงภาพเมืองที่มีเทคโนโลยีอันทันสมัยในต่างประเทศและดูเหมือนจะเป็นเรื่องไกลตัวของคนไทย จนเราแทบจะนึกภาพไม่ออกว่า “เมืองอัจฉริยะ” ในบริบทของสังคมไทยนั้นจะเป็นอย่างไร แต่นับตั้งแต่ที่มีโครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities – Clean Energy) ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อเดือนสิงหาคม 2559 โดยเป็นโครงการที่เกิดจากการผลักดันของ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน และสถาบันอาคารเขียวไทย สนับสนุนโดย กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ทำให้ภาพของ “เมืองอัจฉริยะ” ในประเทศไทยเริ่มมีความชัดเจนยิ่งขึ้นเรื่อยๆ
1. นิด้า :มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ รู้รักษ์พลังงาน สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
2. มช.(เมือง) มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ พลังงานสะอาด
3. เมืองจุฬาฯ อัจฉริยะ
4. ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต :ต้นแบบเมืองมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ
5. วิสซ์ดอม วัน-โอ-วัน
6. ขอนแก่น Smart City (ระยะที่ 1) :ขนส่งสาธารณะเปลี่ยนเมือง
แต่สิ่งสำคัญที่ถือได้ว่าเป็นพลังขับเคลื่อนให้ โครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities – Clean Energy) ประสบความสำเร็จอย่างเกินความคาดหมาย ไม่ได้มีเพียงแนวคิดอัจฉริยะของหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการเท่านั้น ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน นั่นคือพลังประชารัฐที่ก่อให้เกิดการผลักดันร่วมกันฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ เพื่อสร้าง “เมืองอัจฉริยะ” ให้เกิดขึ้นจริงได้ในประเทศไทย ซึ่งนับเป็นความสำเร็จที่แท้จริงและอยู่เหนือความคาดหมายใดๆ ของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานส่วนท้องถิ่น มหาวิทยาลัย และองค์กรเอกชนจากทั่วประเทศ
ในวันนี้ ประเทศไทยได้เดินหน้าพัฒนา “เมืองอัจฉริยะ”หรือ“Smart City” อย่างเต็มกำลัง เพื่อเตรียมความพร้อม สร้างสังคมเมืองให้สอดรับกับจำนวนประชากรของประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนทำให้เมืองขนาดใหญ่มีความซับซ้อนกว่าในอดีต และจะเป็นเรื่องน่ายินดีหากเราทุกคนจะช่วยกันส่งเสริมให้ชุมชนเมืองมีสังคมและเศรษฐกิจที่มีคุณภาพ มีการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งด้วยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ และมีการสนับสนุนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เชื่อแน่ว่าในอนาคตอันใกล้นี้ การพัฒนา “เมืองอัจฉริยะ”จะช่วยลดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม ช่วยส่งเสริมสภาพแวดล้อมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตลอดจนนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ และช่วยบ่มเพาะให้เกิดการพัฒนาธุรกิจใหม่ได้ในอนาคต
แม้ความสำเร็จในวันนี้ของ โครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities – Clean Energy) จะยังมิใช่จุดหมายปลายทางที่สิ้นสุดของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย แต่นี่ก็ถือเป็นหนทางสำคัญที่คนไทยควรจะได้ร่วมยินดีและร่วมเป็นกำลังใจ เพราะนี่คือหนทางมุ่งตรงสู่เส้นชัย หนทางที่จะนำพาคนไทยเดินไปยังเป้าหมายเดียวกัน คือการสร้างสังคมคุณภาพให้เกิดขึ้นจริง ด้วย “เมืองอัจฉริยะ” ที่จะรองรับการขยายตัวของสังคมเมือง ช่วยเสริมสร้างศักยภาพของประเทศ และเพิ่มโอกาสในการต่อยอดทางธุรกิจ จนเป็นเมืองที่สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนจากนี้และตลอดไป.
รายละเอียดเพิ่มเติม :
http://www.tgbi.or.th/intro.php
http://www.thailandsmartcities.com/