ความสะดวกสบาย ความเป็นอยู่ที่ดีในอนาคต หนึ่งในความต้องการของประเทศกำลังพัฒนา
จากจำนวนประชากรโลกที่มีจำนวน 7,400 ล้านคน และคาดว่าว่าจะเพิ่มเป็น 9,600 ล้านคนในปี2593 โดย 2 ใน 3 หรือประมาณกว่า 6,400 ล้านคนจะอาศัยอยู่ในชุมชนเมืองทำให้เมืองมีขนาดใหญ่ และซับซ้อนมากขึ้นในขณะที่ทรัพยากรจำกัดและก่อให้เกิดปัญหา จึงมีความจำเป็นในการส่งเสริมให้ชุมชนเมืองมีระบบการขนส่งและการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพ มีสุขพลานามัยที่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพ สะดวก สะอาด ปลอดภัย รองรับสังคมในอนาคต
ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ในฐานะแม่งาน โครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities-Clean Energy) เล่าถึงการส่งเสริมสนับสนุนการออกแบบ Smart Cityช่วยลดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหามลภาวะทางอากาศ น้ำเสีย ขยะ การระบายน้ำ ช่วยส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ดี คุณภาพ อากาศที่ดี เพิ่มพื้นที่สีเขียว และลดปรากฏการณ์เกาะความร้อน (Heat Island Effect) โดยใช้รูปแบบการแข่งขัน เพื่อสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ออกแบบและพัฒนาเมือง หรือโครงการในลักษณะชุมชนเมือง เช่น Complex ขนาดใหญ่ไปสู่เมืองอัจฉริยะ
ทั้งนี้ 7 โครงการที่เข้ารอบคือ โครงการ นิด้า : มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ รู้รักษ์พลังงาน สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน, มช. (เมือง) มหาวิทยาลัยอัจฉริยะพลังงานสะอาด, เมืองจุฬาฯ อัจฉริยะ, ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต : ต้นแบบเมืองมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ, วิสซ์ดอม วัน-โอ-วัน, ขอนแก่น Smart City (ระยะที่ 1) : ขนส่งสาธารณะเปลี่ยนเมือง และโครงการเมืองใหม่อัจฉริยะบ้านฉาง และได้รับการสนับสนุนรายละไม่เกิน 10 ล้านบาท เพื่อจัดทำโมเดลธุรกิจสำหรับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ครอบคลุมการจัดทำแบบ ประเมินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ วิเคราะห์ความเหมาะสมด้านวิศวกรรมและการลงทุน
Cr.BrandAge Online
#wolfproperty
https://www.facebook.com/WOLF-Property-153327115290422
Smart City เมืองอัจฉริยะ
ความสะดวกสบาย ความเป็นอยู่ที่ดีในอนาคต หนึ่งในความต้องการของประเทศกำลังพัฒนา
จากจำนวนประชากรโลกที่มีจำนวน 7,400 ล้านคน และคาดว่าว่าจะเพิ่มเป็น 9,600 ล้านคนในปี2593 โดย 2 ใน 3 หรือประมาณกว่า 6,400 ล้านคนจะอาศัยอยู่ในชุมชนเมืองทำให้เมืองมีขนาดใหญ่ และซับซ้อนมากขึ้นในขณะที่ทรัพยากรจำกัดและก่อให้เกิดปัญหา จึงมีความจำเป็นในการส่งเสริมให้ชุมชนเมืองมีระบบการขนส่งและการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพ มีสุขพลานามัยที่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพ สะดวก สะอาด ปลอดภัย รองรับสังคมในอนาคต
ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ในฐานะแม่งาน โครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities-Clean Energy) เล่าถึงการส่งเสริมสนับสนุนการออกแบบ Smart Cityช่วยลดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหามลภาวะทางอากาศ น้ำเสีย ขยะ การระบายน้ำ ช่วยส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ดี คุณภาพ อากาศที่ดี เพิ่มพื้นที่สีเขียว และลดปรากฏการณ์เกาะความร้อน (Heat Island Effect) โดยใช้รูปแบบการแข่งขัน เพื่อสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ออกแบบและพัฒนาเมือง หรือโครงการในลักษณะชุมชนเมือง เช่น Complex ขนาดใหญ่ไปสู่เมืองอัจฉริยะ
ทั้งนี้ 7 โครงการที่เข้ารอบคือ โครงการ นิด้า : มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ รู้รักษ์พลังงาน สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน, มช. (เมือง) มหาวิทยาลัยอัจฉริยะพลังงานสะอาด, เมืองจุฬาฯ อัจฉริยะ, ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต : ต้นแบบเมืองมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ, วิสซ์ดอม วัน-โอ-วัน, ขอนแก่น Smart City (ระยะที่ 1) : ขนส่งสาธารณะเปลี่ยนเมือง และโครงการเมืองใหม่อัจฉริยะบ้านฉาง และได้รับการสนับสนุนรายละไม่เกิน 10 ล้านบาท เพื่อจัดทำโมเดลธุรกิจสำหรับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ครอบคลุมการจัดทำแบบ ประเมินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ วิเคราะห์ความเหมาะสมด้านวิศวกรรมและการลงทุน
Cr.BrandAge Online
#wolfproperty
https://www.facebook.com/WOLF-Property-153327115290422