สวัสดีครับ, รบกวนสอบถามเกี่ยวกับเงินประกันการเข้าทำงานครับ
คือ ระเบียบบริหารงานบุคคลขององค์กรผม ระบุไว้ว่า
“ข้อ 30 เงินประกัน หรือหลักประกัน ในการบรรจุและแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ต้องทำหนังสือสัญญาจ้างไว้เป็นหลักฐานตามแบบที่กำหนด ต้องมีเงินประกันหรือหลักประกันตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
30.1 บริษัทเรียกเงินประกันการทำงาน ไม่เกินหกสิบเท่าของอัตราค่าจ้างรายวัน โดยเฉลี่ยในวันทำสัญญาจ้าง”
คำถาม : สมมุติ นาย ก. ขณะเริ่มงานมีเงินเดือน 15,000.- บาท และต้องจ่ายเงินประกันการเข้าทำงาน 30,000.- บาท (หกสิบเท่าของอัตราค่าจ้างรายวัน) พอระยะเวลาผ่านไป 2 ปี นาย ก. เงินเดือนขึ้นเป็น 20,000.- บาท เช่นนี้ ทางฝ่าย HR ควรจะเรียกเก็บเงินประกันการเข้าทำงานของนาย ก. เพิ่มขึ้นตามระดับเงินเดือน ที่ 40,000.- บาทหรือไม่? ตามกฎหมายแรงงานให้สิทธิตรงนี้เอาไว้ว่าอย่างไรบ้างครับ? และหลักปฏิบัติที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร?
ขอบคุณครับ
++ สอบถามเกี่ยวกับการเรียกเก็บเงินประกันการเข้าทำงานครับ ต้องปรับอยู่เสมอหรือไม่? ++
คือ ระเบียบบริหารงานบุคคลขององค์กรผม ระบุไว้ว่า
“ข้อ 30 เงินประกัน หรือหลักประกัน ในการบรรจุและแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ต้องทำหนังสือสัญญาจ้างไว้เป็นหลักฐานตามแบบที่กำหนด ต้องมีเงินประกันหรือหลักประกันตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
30.1 บริษัทเรียกเงินประกันการทำงาน ไม่เกินหกสิบเท่าของอัตราค่าจ้างรายวัน โดยเฉลี่ยในวันทำสัญญาจ้าง”
คำถาม : สมมุติ นาย ก. ขณะเริ่มงานมีเงินเดือน 15,000.- บาท และต้องจ่ายเงินประกันการเข้าทำงาน 30,000.- บาท (หกสิบเท่าของอัตราค่าจ้างรายวัน) พอระยะเวลาผ่านไป 2 ปี นาย ก. เงินเดือนขึ้นเป็น 20,000.- บาท เช่นนี้ ทางฝ่าย HR ควรจะเรียกเก็บเงินประกันการเข้าทำงานของนาย ก. เพิ่มขึ้นตามระดับเงินเดือน ที่ 40,000.- บาทหรือไม่? ตามกฎหมายแรงงานให้สิทธิตรงนี้เอาไว้ว่าอย่างไรบ้างครับ? และหลักปฏิบัติที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร?
ขอบคุณครับ