“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! คนกล่าวกันว่า ‘อวิชชา-อวิชชา’ ดังนี้. ก็อวิชชานั้น เป็นอย่างไร ?
และบุคคลชื่อว่า มีอวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ? พระเจ้าข้า !”
ภิกษุ ! ในโลกนี้ บุถุชนผู้ไม่ได้ยินได้ฟัง ย่อม ไม่รู้จักรูป, ไม่รู้จัก เหตุให้เกิดของรูป,
ไม่รู้จัก ความดับไม่เหลือของรูป, ไม่รู้จัก ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของรูป ; เขาย่อมไม่รู้จัก เวทนา,
ไม่รู้จักเหตุให้เกิดของเวทนา, ไม่รู้จักความดับไม่เหลือของเวทนา, ไม่รู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของเวทนา;
เขาย่อมไม่รู้จัก สัญญา, ไม่รู้จักเหตุให้เกิดของสัญญา, ไม่รู้จักความดับไม่เหลือของสัญญา,
ไม่รู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของสัญญา ; เขาย่อมไม่รู้จักสังขารทั้งหลาย,
ไม่รู้จักเหตุให้เกิดของสังขารทั้งหลาย, ไม่รู้จักความดับไม่เหลือของสังขารทั้งหลาย,
ไม่รู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของสังขารทั้งหลาย ; เขาย่อมไม่รู้จัก วิญญาณ,
ไม่รู้จักเหตุให้เกิดของวิญญาณ, ไม่รู้จักความดับไม่เหลือของวิญญาณ,
ไม่รู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของวิญญาณ, (ความดับอุปาทานขันธ์ทั้ง 5)
ภิกษุ ! ความไม่รู้นี้ เราเรียกว่า “อวิชชา” ; และบุคคลชื่อว่า มีอวิชชาด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ แล.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๘/๓๐๐.
เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ กะรูปนั้น ,แห่งเสียงนั้น, กลิ่นนั้น,
รสนั้น, สัมผัสผิวกายนั้นและธรรมารมณ์นั้น เป็นที่น่าปรารถนาหรือไม่ถูกใจอย่างใดอย่างหนึ่ง
วิญญาณนั้น เป็นวิญญาณอันตัณหาในอารมณ์คือรูป, เสียง, กลิ่น, รส, ผิวกายและธรรมารมณ์อาศัยแล้ว
วิญญาณนั้นคืออุปาทาน.๑ ท่านผู้เป็นจอมเทพ ! ผู้มีอุปาทาน ย่อมไม่ นิพพาน..
นี้แล เป็นเหตุ นี้เป็นปัจจัย ที่ทำให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ไม่พ้นไปจากทุกข์
(๑. วิญญาณในที่นี้ หมายถึงมโนวิญญาณที่รู้สึกต่อความเพลินและความมัวเมาหรือขุ่นมัวในรูปนั้น;
ไม่ใช่จักขุวิญญาณ ที่เห็นรูปตามธรรมดา.)
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ที่เรียกกันว่า ‘อวิชชา-อวิชชา’ ดังนี้นั้น เป็นอย่างไร ?
และด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงชื่อว่า เป็นผู้ถึงซึ่งอวิชชา ? พระเจ้าข้า !”
ภิกษุ ! ในกรณีนี้ บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ไม่รู้ชัดแจ้งตามเป็นจริง ซึ่งรูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ อันมีความก่อขึ้นเป็นธรรมดา ว่า “เป็นสิ่งที่มีความก่อขึ้นเป็นธรรมดา” ดังนี้ ;
ไม่รู้ชัดแจ้งตามเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
ว่า “เป็นสิ่งที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา” ดังนี้ ; ไม่รู้ชัดแจ้งตามเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ อันมีทั้งความก่อขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
ว่า “เป็นสิ่งที่มีความก่อขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา” ดังนี้.
ภิกษุ ! ความไม่รู้นี้ เราเรียกว่า อวิชชา ; และบุคคลชื่อว่าเป็นผู้ถึงซึ่งอวิชชา ย่อมมีได้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ แล.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๐๙/๓๒๐.
ว่าด้วยบุคคลผู้ถึงซึ่งอวิชชา
และบุคคลชื่อว่า มีอวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ? พระเจ้าข้า !”
ภิกษุ ! ในโลกนี้ บุถุชนผู้ไม่ได้ยินได้ฟัง ย่อม ไม่รู้จักรูป, ไม่รู้จัก เหตุให้เกิดของรูป,
ไม่รู้จัก ความดับไม่เหลือของรูป, ไม่รู้จัก ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของรูป ; เขาย่อมไม่รู้จัก เวทนา,
ไม่รู้จักเหตุให้เกิดของเวทนา, ไม่รู้จักความดับไม่เหลือของเวทนา, ไม่รู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของเวทนา;
เขาย่อมไม่รู้จัก สัญญา, ไม่รู้จักเหตุให้เกิดของสัญญา, ไม่รู้จักความดับไม่เหลือของสัญญา,
ไม่รู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของสัญญา ; เขาย่อมไม่รู้จักสังขารทั้งหลาย,
ไม่รู้จักเหตุให้เกิดของสังขารทั้งหลาย, ไม่รู้จักความดับไม่เหลือของสังขารทั้งหลาย,
ไม่รู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของสังขารทั้งหลาย ; เขาย่อมไม่รู้จัก วิญญาณ,
ไม่รู้จักเหตุให้เกิดของวิญญาณ, ไม่รู้จักความดับไม่เหลือของวิญญาณ,
ไม่รู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของวิญญาณ, (ความดับอุปาทานขันธ์ทั้ง 5)
ภิกษุ ! ความไม่รู้นี้ เราเรียกว่า “อวิชชา” ; และบุคคลชื่อว่า มีอวิชชาด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ แล.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๘/๓๐๐.
เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ กะรูปนั้น ,แห่งเสียงนั้น, กลิ่นนั้น,
รสนั้น, สัมผัสผิวกายนั้นและธรรมารมณ์นั้น เป็นที่น่าปรารถนาหรือไม่ถูกใจอย่างใดอย่างหนึ่ง
วิญญาณนั้น เป็นวิญญาณอันตัณหาในอารมณ์คือรูป, เสียง, กลิ่น, รส, ผิวกายและธรรมารมณ์อาศัยแล้ว
วิญญาณนั้นคืออุปาทาน.๑ ท่านผู้เป็นจอมเทพ ! ผู้มีอุปาทาน ย่อมไม่ นิพพาน..
นี้แล เป็นเหตุ นี้เป็นปัจจัย ที่ทำให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ไม่พ้นไปจากทุกข์
(๑. วิญญาณในที่นี้ หมายถึงมโนวิญญาณที่รู้สึกต่อความเพลินและความมัวเมาหรือขุ่นมัวในรูปนั้น;
ไม่ใช่จักขุวิญญาณ ที่เห็นรูปตามธรรมดา.)
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ที่เรียกกันว่า ‘อวิชชา-อวิชชา’ ดังนี้นั้น เป็นอย่างไร ?
และด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงชื่อว่า เป็นผู้ถึงซึ่งอวิชชา ? พระเจ้าข้า !”
ภิกษุ ! ในกรณีนี้ บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ไม่รู้ชัดแจ้งตามเป็นจริง ซึ่งรูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ อันมีความก่อขึ้นเป็นธรรมดา ว่า “เป็นสิ่งที่มีความก่อขึ้นเป็นธรรมดา” ดังนี้ ;
ไม่รู้ชัดแจ้งตามเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
ว่า “เป็นสิ่งที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา” ดังนี้ ; ไม่รู้ชัดแจ้งตามเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ อันมีทั้งความก่อขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
ว่า “เป็นสิ่งที่มีความก่อขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา” ดังนี้.
ภิกษุ ! ความไม่รู้นี้ เราเรียกว่า อวิชชา ; และบุคคลชื่อว่าเป็นผู้ถึงซึ่งอวิชชา ย่อมมีได้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ แล.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๐๙/๓๒๐.