เนื่องจากกระผมในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ ได้มีปัญหาต้องขึ้นศาลมีคดีความอย่างต่อเนื่อง จนได้พบว่า การแพ้หรือชนะคดีความในศาล ความจริงไม่มีความสำคัญเลย เพราะศาลได้รับแต่ข้อเท็จจริง ที่อัยการหรือทนายความเป็นคนกำหนด หัวข้อซักถาม ปรุงแต่งคำซักถามหรือซักค้านหรือถามนำหือถามติง จากโจทก์หรือจำเลย เพื่อให้ศาลรับฟังเพื่อบันทึกลงไปในเป็นคำเบิกในกระดาษ ผมผ่านกระบวนการนี้ซ้ำๆแบบนี้จนแน่ใจว่า เหตุการณ์หรือข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจริง นั้นศาลท่านไม่ได้ต้องการเลย ท่านเชื่อหรือรับฟังจากอัยการหรือทนายความเพียงเท่านั้น และความรู้สึกส่วนตัวที่มีต่อโจทก์หรือจำเลยคือสาเหตุหลักในการตัดสินและเขียนลงเป็นคำพิพากษาแพ้หรือชนะ แสดงว่าขึ้นอยู่กับทนายความเก่งหรือไม่ การเบิกความในศาล เมื่อเราอยู่ในฐานะโจทก์หรือจำเลยก็ตาม ได้เบิกความอะไรก็ตาม แล้วศาลท่านไม่บันทึก หรือบันทึกแบบที่ท่านเข้าใจ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่เราเบิกไปความไป เรามีโอกาสแพ้ได้ทันที เพียงแค่บันทึกข้อความที่ผิดพลาด ทุกท่านมีความเห็นต่อเรื่องนี้อย่างไรบ้างครับ และด้วยการที่เราเคารพศาลก็เป็นเหตุที่ทำให้เราไม่กล้าที่จะไปขอให้ศาลบันทึกใหม่ หรือแก้ไขคำที่ศาลได้บันทึกไป เพราะแม้แต่ทนายความเอง ยังเกรงใจศาลเลย คำถามสุดท้าย ชีวิตหรืออิสรภาพของเรานั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวเราเอง ไม่ได้เกี่ยวกับความจริงที่เกิดขึ้น แต่ต้องไปฝากไว้กับทนายความเก่งหรือไม่ ศาลท่านมีสมาธิที่ดีพอที่จะสามารถรับฟังและเข้าใจคำเบิกความที่เราเบิกความได้อย่างถูกต้องหรือไม่ เพราะท่านอาจจะบันทึกตามที่ท่านเข้าใจ หรือไม่บันทึกคำเบิกความในส่วนที่ท่านคิดว่าไม่สำคัญ หรือท่านรับฟังแต่เข้าใจไปอีกทางหนึ่ง นั่นหมายถึงชีวิตและอิสรภาพของเราเลยนะ
วันนี้เราเห็นชาวบ้านเมื่อมีคดีต้องต่อสู้ ก็แพ้แน่นอนสิครับ ทนายแค่ไม่ถามคำถามที่เป็นประโยชน์ หรือไม่ช่วยถามติงในกรณีที่อัยการหรือทนายอีกฝั่งค้านหลุดนอกกรอบไป แค่นี้ก็แพ้แล้วครับ
ความเห็นส่วนตัวของผมต่อเรื่องนี้ คือ เหตุใดถึงไม่ให้คู่กรณีบอกกล่าวเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง คล้ายๆกับการแจ้งความตอนพบพนักงานสอบสวน หรือ ร้อยเวร คือเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นจริงว่า เกิดอะไรขึ้น มีพยานมั้ย มีหลักฐานอะไร แล้วก็ควรให้มีผู้พิพากษาหลายคน (ปัจจุบันมี 2 ท่านแต่ควรจะมี4-5ท่านเพื่อความยุติธรรม) มารับฟังแล้วก็ซักถามโจทก์หรือจำเลยเอง จนหายสงสัย หรือหากสงสัยอยู่ ก็อาจจะให้ไปเอาพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมได้ เพื่อให้ได้ความจริงมากที่สุด ถึงจะพิพากษาตัดสินลงโทษหรือยกฟ้อง แต่ความจริงของประเทศไทย คือ ใครที่มีความสามารถทำให้ข้อเท็จจริงนั้นมีความน่าเชื่อถือมากกว่าความจริงผู้นั้นก็จะชนะ
มีใครเจอปัญหาแบบผมบ้างคือ พยานหลักฐานที่ผมให้ไว้กับทนาย ซึ่งผมเชื่อว่ามีความสำคัญ แต่ทนายกลับมีมุมมองที่แตกต่าง เราจำเป็นต้องเชื่อทนาย สุดท้ายหลักฐานนั้น ก็ไม่ได้ไปสู่ศาล เราเองก็ไม่สามารถพูดอะไรได้ พูดมากไป ทนายก็ไล่เราไปหาทนายอื่น หาว่าเราเก่งก็สู้เองเลย ปัญหาพวกนี้เกิดขึ้นเสมอ
การบันทึกเสียงของคำเบิกความ ทำไมไม่บันทึกจากคำเบิกความจากปากของเราเลย ทำไมต้องไปผ่านผู้พิพากษา ซึ่งไม่ใช่คำต่อคำ ปัจจุบันสามารถบันทึกเป็นวีดีโอ ได้ทั้งภาพทั้งเสียง เหตุใดถึงไม่ทำให้ดีกว่านี้ เอาชีวิตและคำพูดความรู้สึกมาใส่ลงกระดาษแล้วก็ตีความต่อไป ถึงศาลฎีกา นี่หรือความยุติธรรม
คำถามที่อาจจะไม่มีคำตอบ ความผิดที่ไม่มีใครกล้าบอกว่าผิด ความยุติธรรมที่ไม่เคยยุติธรรม ชีวิตกูไม่ใช่ของกู ประเทศไทย?
วันนี้เราเห็นชาวบ้านเมื่อมีคดีต้องต่อสู้ ก็แพ้แน่นอนสิครับ ทนายแค่ไม่ถามคำถามที่เป็นประโยชน์ หรือไม่ช่วยถามติงในกรณีที่อัยการหรือทนายอีกฝั่งค้านหลุดนอกกรอบไป แค่นี้ก็แพ้แล้วครับ
ความเห็นส่วนตัวของผมต่อเรื่องนี้ คือ เหตุใดถึงไม่ให้คู่กรณีบอกกล่าวเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง คล้ายๆกับการแจ้งความตอนพบพนักงานสอบสวน หรือ ร้อยเวร คือเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นจริงว่า เกิดอะไรขึ้น มีพยานมั้ย มีหลักฐานอะไร แล้วก็ควรให้มีผู้พิพากษาหลายคน (ปัจจุบันมี 2 ท่านแต่ควรจะมี4-5ท่านเพื่อความยุติธรรม) มารับฟังแล้วก็ซักถามโจทก์หรือจำเลยเอง จนหายสงสัย หรือหากสงสัยอยู่ ก็อาจจะให้ไปเอาพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมได้ เพื่อให้ได้ความจริงมากที่สุด ถึงจะพิพากษาตัดสินลงโทษหรือยกฟ้อง แต่ความจริงของประเทศไทย คือ ใครที่มีความสามารถทำให้ข้อเท็จจริงนั้นมีความน่าเชื่อถือมากกว่าความจริงผู้นั้นก็จะชนะ
มีใครเจอปัญหาแบบผมบ้างคือ พยานหลักฐานที่ผมให้ไว้กับทนาย ซึ่งผมเชื่อว่ามีความสำคัญ แต่ทนายกลับมีมุมมองที่แตกต่าง เราจำเป็นต้องเชื่อทนาย สุดท้ายหลักฐานนั้น ก็ไม่ได้ไปสู่ศาล เราเองก็ไม่สามารถพูดอะไรได้ พูดมากไป ทนายก็ไล่เราไปหาทนายอื่น หาว่าเราเก่งก็สู้เองเลย ปัญหาพวกนี้เกิดขึ้นเสมอ
การบันทึกเสียงของคำเบิกความ ทำไมไม่บันทึกจากคำเบิกความจากปากของเราเลย ทำไมต้องไปผ่านผู้พิพากษา ซึ่งไม่ใช่คำต่อคำ ปัจจุบันสามารถบันทึกเป็นวีดีโอ ได้ทั้งภาพทั้งเสียง เหตุใดถึงไม่ทำให้ดีกว่านี้ เอาชีวิตและคำพูดความรู้สึกมาใส่ลงกระดาษแล้วก็ตีความต่อไป ถึงศาลฎีกา นี่หรือความยุติธรรม