มีคนปรึกษาว่า
เพื่อนไปเข้าสำนักนาป่าพง อยากชักนำให้เพื่อนถอยออกมา แต่ไม่รู้จะพูดยังไง
ข้าพเจ้าก็เลยเขียนๆ ไปให้ตามสมควร ถูกๆ ผิดๆ ไม่ได้อ้างอิงแหล่งที่มาอะไรเลย
ส่งไปให้คนที่เขาต้องการแล้วก็นำมาให้สมาชิกพิจารณากัน เผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อไปบ้าง
กรณีของพระคึกฤทธิ์วัดนาป่าพงนั้น เป็นปัญหามานานหลายปีแล้ว
เรื่องก็คือ
ภิกษุต้องการตั้งตนให้โดดเด่น จึงสร้าง "จุดขาย" ขึ้นมา โดยนำพระธรรมวินัยมาบิดเบือน เผยแพร่ให้คนหลงผิดตามไป
สมัยก่อนมีกรณีสันติอโศก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้โพธิรักษ์ประพฤติล่วงละเมิดพุทธบัญญัติเป็นอาจิณ คือโพธิรักษ์อวดอ้างว่าตนเป็นพระอริยะ เป็นโสดาบัน สกทาคามี เป็นพระอรหันต์ แล้วก็ประกาศว่าตนเป็นพระโพธิสัตว์ด้วยในเวลาเดียวกัน เท่ากับกล่าวขัดแย้งกันเอง เพราะว่าพระโพธิสัตว์ยังบำเพ็ญบารมีเพื่อการตรัสรู้ จึงยังไม่บรรลุอรหันต์ ..
อีกทั้งการบอกอุตริมนุสธรรมว่าตนเป็นพระอรหันต์เป็นต้น ถ้าอุตริมนุสธรรมนั้นมีจริง แม้จะบอกแก่อนุปสัมบัน (คนอื่นนอกจากภิกษุภิกษุณี คือคฤหัสถ์หรือชาวบ้าน) ภิกษุนั้นก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แต่โพธิรักษ์ก็ไม่ยอมรับตามพระวินัย โพธิรักษ์บัญญัติความหมายของอนุปสัมบันที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้แล้วขึ้นมาใหม่ว่า อนุปสัมบัน คือ คนที่ยังมีภูมิธรรมไม่ถึงขั้น ฉะนั้นตนจึงอวดอุตริฯแก่ชาวบ้านก็ได้ ..
การกระทำอย่างนี้เรียกว่าลบล้างพระวินัยบัญญัติของพระพุทธเจ้า ตัวโพธิรักษ์นั้นยอมรับเองเลยว่า ที่บวชเข้ามาเพียงเพื่อใช้เพศพระภิกษุเป็นเครื่องสร้างความเชื่อถือที่จะทำให้ประชาชนเลื่อมใสในลัทธิคำสอนของตนได้ง่าย เมื่อบวชแล้วจึงไม่ศึกษาพระธรรมวินัย แต่ดำเนินการเผยแพร่ลัทธิคำสอนของตนที่เชื่อถือมาตั้งแต่เป็นคฤหัสถ์ สิ่งใดที่พูดเอาเองตนก็อ้างว่ารู้ได้ด้วยญาณ พุทธพจน์ใดเข้ากับตนได้ก็ยกอ้างขึ้นมาสนับสนุน แต่หลักธรรมใดไม่เข้ากับของตนก็ลบล้างดัดแปลงเอา
นอกจากนี้โพธิรักษ์ยังตั้งตนเป็นพระอุปัชฌาย์ บวชพระเอาเองโดยไม่ได้รับตราตั้ง จึงผิดกฎหมาย สุดท้ายโพธิรักษ์ก็นำสาวกที่ตัวเองบวชให้เองอย่างผิดๆ ไม่เป็นภิกษุจริง สละผ้าเหลืองไปจัดทำเครื่องนุ่งห่มเอาเองเพื่อไม่ให้ถูกข้อหาแต่งกายเลียนแบบสงฆ์ กลายเป็นสำนักสันติอโศกมาจนทุกวันนี้
ต่อมาก็มี กรณีธรรมกาย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ที่กระทำสัทธรรมปฏิรูป คือบิดเบือนพระธรรมวินัยทำให้วิปริตไป โดยสอนว่า “นิพพานเป็นอัตตา” เป็นสถานที่ มีดินแดน เรียกว่า อายตนนิพพาน แล้วก็มีพระพุทธเจ้าอยู่เต็มไปหมด สอนว่าวิชชาธรรมกายเคยมีในพระไตรปิฎก แต่สูญหายไปหลังพุทธกาล ๕๐๐ ปี สอนว่าผู้เข้าถึงธรรมกายขั้นสูงจะสามารถนำกายละเอียดของผู้ที่ไปร่วมพิธีในวัดธรรมกาย ขึ้นไปถวายข้าวในอายตนนิพพาน โดยไม่ต้องรู้ตัวว่ากายละเอียดของตนขึ้นไปที่อายตนนิพพานแล้ว ..
พิธีอย่างนี้จะได้บุญอย่างมากเพราะว่าพระพุทธเจ้ารับประเคนโดยตรง แม้สำนักวัดที่ไหนๆ ในโลกนี้ก็ทำไม่ได้ มีที่วัดธรรมกายที่เดียว สมัยก่อนวัดธรรมกายจะโฆษณาว่า แม่ชีจันทร์ ขนนกยูง ที่ชาววัดเรียกว่า คุณยายอาจารย์ เป็นผู้นำกายทิพย์ของทุกคนที่มาวัดธรรมกายต้นเดือน ขึ้นไปถวายข้าวพระพุทธเจ้าในอายตนนิพพาน วัดธรรมกายสร้างเรื่องสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ให้แม่ชีจันทร์เป็นผู้ได้ธรรมกายขั้นสูง มีอิทธิฤทธิ์เหาะขึ้นไปปัดระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรไม่ให้ทิ้งลงมาในวัดปากน้ำ และยังเป็นผู้ที่หลวงพ่อสดวัดปากน้ำใช้ให้ทำวิชชาธรรมกายไปปัดระเบิดปรมาณูของอเมริกาให้พ้นไปจากเมืองไทย จนไปลงที่ญี่ปุ่นแทน
ยิ่งกว่านั้น วัดธรรมกายยังสอนกันว่า ในอายตนนิพพานมีพระพุทธเจ้าฝ่ายดำฝ่ายขาว แปลว่ามีพระพุทธเจ้าฝ่ายมาร แล้วก็บอกว่าเจ้าสำนักวัดธรรมกายคือหลวงพ่อ(ธัมมชโย)คือพระพุทธเจ้าองค์ปฐม ที่มีบารมีสูงที่สุด สูงยิ่งกว่าพระพุทธเจ้าโคดมหรือพระพุทธเจ้าของเรา แล้วพระพุทธเจ้าองค์ปฐมนี้ก็ลงมาจากอายตนนิพพาน มาเกิดเป็นหลวงพ่อธัมมชโย เพื่อมานำสานุศิษย์ทุกคนไปอยู่ดุสิตบุรี ไปเสวยสุขเพื่อรอให้หลวงพ่อได้มาตรัสรู้ในอนาคต จะได้พาสัตว์ทั้งหลายไปนิพพานให้หมดทั้งโลกธาตุ ซึ่งพระพุทธเจ้าพระองค์ไหนๆ ก็ไม่อาจทำได้
สำนักธรรมกายทำให้ผู้คนหลงเชื่อโดยหลงไปตามรูปแบบที่สร้างสรรค์จัดการอย่างเป็นระบบ สะอาด มีระเบียบวินัย สิ่งปลูกสร้างใหญ่โต ฯลฯ แล้วก็นำบุญมาขาย บุญเป็นสินค้า ทำมากได้มาก ไม่ได้ต้องได้ ทุ่มสุดฤทธิ์ปิดเจดีย์ เปิดสหกรณ์ให้คนกู้เงินไป "ผ่อนบุญ" ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ซื้อบุญจนสิ้นเนื้อประดาตัวเพื่อชีวิตในดุสิตบุรีโลกหน้า เกิดอีกชาติเดียวจะได้พบพระพุทธเจ้าธัมมชโย ไม่ต้องฟังเทศน์อะไร เพียงท่านหันมาสบตาด้วยก็จะบรรลุธรรมกายอรหัตทันที สิ้นสุดสังสารวัฏ จึงคุ้มยิ่งกว่าคุ้ม ฯลฯ
กรณีสันติอโศก กรณีธรรมกาย อย่างนี้คือการสร้างจุดขาย สร้างการตลาด
โพธิรักษ์นั้นแต่งตั้งให้ลูกศิษย์ที่ตนบวชให้เป็นพระอริยะลำดับต่างๆ แล้วแสดงตนถือเคร่ง ไม่กินเนื้อสัตว์ สร้างเอกลักษณ์ดึงดูดให้คนมาเลื่อมใส
ส่วนธรรมกายก็กระทำสัทธรรมปฏิรูป นิพพานเป็นอัตตา เป็นสถานที่ดินแดน วิชชาธรรมกายสามารถไปถวายข้าวทิพย์แก่พระพุทธเจ้าในอายตนนิพพาน สร้างนิยายพระพุทธเจ้าองค์ปฐม ต้นธาตุต้นธรรม อวตารลงมาเป็นหลวงพ่อธัมมชโย มาขายบุญ ล่อหลอกให้คนกู้เงินจองวิมานไว้บนดุสิตบุรีวงบุญพิเศษ ..
ขณะนี้ก็มีค่ายสินค้าเจ้าใหม่ เพิ่งเปิดตัวไม่กี่ปี คือกรณีพระคึกฤทธิ์ สำนักนาป่าพง สร้างจุดขายว่าสำนักตนเท่านั้นที่สอนแต่คำพุทธเจ้าล้วนๆ สร้างเรื่องขึ้นมากล่าวตู่ว่า พุทธเจ้าไม่ให้ฟังคำสาวก
โดยพระคึกฤทธิ์ไปยกพระสูตรมาบิดเบือน พระสูตรนั้นพระพุทธเจ้าตรัสถึงนักบวชนอกพุทธศาสนาที่ใช้ถ้อยคำสละสลวย เป็นร้อยกรอง แต่เป็นเรื่องนอกแนว ไม่ใช่คำสอนของพระศาสดา จึงไม่ควรฟัง
เมื่อพระคึกฤทธิ์ตั้ง พุทธวจน ขึ้นมา ให้ฟังแต่คำพุทธเจ้า ก็บอกว่าพระพุทธเจ้าให้สวดปาติโมกข์เพียง ๑๕๐ ข้อ ไม่ใช่ ๒๒๗ ข้อตามที่สวดๆ กันทุกวันนี้ แล้วอ้างพระสูตรว่า พระพุทธเจ้าให้สวดปาติโมกข์ ๑๕๐ ถ้วน..
เรื่องสวดปาติโมกข์ ๑๕๐ ที่พระคึกฤทธิ์ชูขึ้นเป็นจุดขายของสำนักนาป่าพงนั้น มีต้นเค้ามาจากพระไตรปิฎกฉบับแปลภาษาไทยที่เรียกว่า ฉบับหลวง ที่จัดพิมพ์เมื่อปี ๒๕๐๐ ซึ่งพระคึกฤทธิ์อ้างพระสูตร ๔ แห่ง (วัชชีบุตรสูตร, เสขสูตรที่ ๒, -ที่ ๓, -ที่ ๔) เป็นเนื้อความตอนที่ภิกษุวัชชีบุตรกราบทูลพระพุทธเจ้า ที่ว่า “สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้” ซึ่งแปลมาจากบาลีว่า สาธิกมิทํ ภันฺเต ทิยัฑฺฒสิกฺขาปทสตํ .. ปัญหาคือคำแปล สาธิกํ ว่า "ถ้วน" นั้นแปลผิด (สาธิกมิทํ = สาธิกํ + อิทํ, อิทํ แปลว่า นี้) ที่ถูกคือจะต้องแปลว่า เกินกว่า ดังนั้น ข้อความดังกล่าวก็จะแปลว่า “สิกขาบท ๑๕๐ ทั้งยังมีเกินขึ้นไปอีกนี้” ซึ่งพระไตรปิฎกพม่า หรือพระไตรปิฎกภาษาอังกฤษที่แปลโดยสมาคมบาลีปกรณ์ ก็แปลถูกต้องตรงกันว่า เกินกว่า แม้แต่พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับพิมพ์ครั้งเดียวกันนี้เอง ก็มีคำแปล สาธิกํ ปรากฏอยู่หลายแห่ง ล้วนแปลว่า เกิน ไม่มีที่ใดแปลว่า ถ้วน
จะเป็นเพราะผู้แปลพระไตรปิฎกติดคำแปล "สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้" มาจากหนังสือวินัยมุขที่นิพนธ์โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ซึ่งในหนังสือนั้นแปลว่า ถ้วน หรือว่าสมเด็จจะแปลผิด หรือช่างเรียงพิมพ์จะเรียงตัวตะกั่วผิด ก็ไม่ใช่สาระอะไร ข้อสำคัญคือสมเด็จฯท่านเองก็สวดปาติโมกข์ ๒๒๗ ข้อตามปกติ
ส่วนพระคึกฤทธิ์ก็อ้างว่าปาติโมกข์ที่สวดเกินจากนั้นอีก ๗๗ ข้อเป็นถ้อยคำของพระอุบาลี เป็นคำสาวก ไม่ใช่คำพระพุทธเจ้า จึงไม่ต้องปฏิบัติตาม ก็มีปัญหาว่า ปาติโมกข์ ๑๕๐ ข้อ ได้แก่สิกขาบทข้อใดบ้าง พระคึกฤทธิ์อ้างว่า พระปาติโมกข์มีเพียง ๑๕๐ ข้อ คือตัดอนิยต ๒ และเสขิยวัตร ๗๕ แต่พระคึกฤทธิ์ก็ไม่มี “คำพุทธเจ้า” มายืนยัน
ตรงกันข้าม กลับมีหลักฐานว่าพระผู้มีพระภาครับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายสวดอนิยต ๒ และยังตรัสตอบพระอุบาลีว่า สิกขาบทของภิกษุมาสู่อุเทศทุกวันอุโบสถรวม ๒๒๐ สิกขาบท ซึ่งครอบคลุมเสขิยวัตร ๗๕ ..
และเพื่อจะปฏิเสธคำพระสาวกให้แน่นอนอย่างที่ตัวต้องการ
พระคึกฤทธิ์ก็ดิสเครดิตพระสาวกทั้งหมด กล่าวหาว่าอรรถกถาซึ่งเป็นคำอธิบายพระไตรปิฎก เป็นคำสาวก ไม่ให้ฟัง แม้แต่ในชั้นพระสูตร ที่เป็นคำของพระสารีบุตร ผู้ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญรับรองด้วยพระองค์เองว่า แม้พระองค์ตรัสเองก็จะแสดงธรรมเช่นที่พระสารีบุตรว่าไว้อย่างนี้ๆ
กระนั้น
พระคึกฤทธิ์ก็ยังดูหมิ่นพระสารีบุตร โดยอ้างเรื่องราวที่พระพุทธเจ้ารับสั่งให้พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะไปแสดงธรรมให้ภิกษุวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลี ประมาณ ๕๐๐ รูป ที่เป็นพระบวชใหม่ ที่หลงเชื่อติดตามพระเทวทัตไป ในคราวที่พระเทวทัตทูลขอวัตถุ ๕ ประการ เช่นขอให้ภิกษุทั้งหลายไม่ฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต รูปใดฉัน ให้ต้องโทษ แต่พระพุทธเจ้าไม่อนุญาต พระเทวทัตไม่พอใจก็ยุแยงพวกภิกษุวัชชีบุตรเหล่านั้นแล้วพาแยกออกไป ทำให้สงฆ์แตกกัน เป็นอนันตริยกรรม เรื่องปรากฏในพระวินัย (สังฆเภทขันธกะ) ..
เมื่อพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะไปแสดงธรรมให้ภิกษุวัชชีบุตรเหล่านั้นกลับใจและผละจากพระเทวทัตกลับมาแล้ว พระสารีบุตรก็ทูลขอให้อุปสมบทใหม่แก่ภิกษุที่ประพฤติตามพระเทวทัตนั้น แต่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ไม่ต้องถึงกับบวชใหม่ แค่ให้ปลงอาบัติถุลลัจจัยว่าเทวทัตปฏิบัติแก่เธออย่างไรก็พอแล้ว ตรงนี้เองที่พระคึกฤทธิ์ยกเอามาล่วงเกินพระสารีบุตรว่า นี่แหละ สารีบุตรยังผิด ดังนั้น จึงไม่ต้องไปฟังคำสาวกแม้แต่จะเป็นสารีบุตร ให้ฟังแต่คำพุทธเจ้า
เรื่องการสวดปาติโมกข์ ๑๕๐ นี้ ที่จริงไม่มีเหตุผลหลักฐานอะไรเลย แต่พระคึกฤทธิ์ก็ชักจูงให้ภิกษุอื่นประพฤติตาม แล้วก็เผยแพร่ขยายไปทั่ว มีวัดตามหัวเมืองบางวัดประกาศเอาตามสำนักนาป่าพง คือสวดปาติโมกข์ ๑๕๐ ข้อ บ้างก็มีภิกษุจากสำนักนาป่าพงไปเข้าฟังสวดปาติโมกข์ในอุโบสถวัดอื่นแล้วประกาศว่า จะขอฟังสวดเพียง ๑๕๐ ข้อ พ้นจากนั้นแล้วก็อ้างว่าพระพุทธเจ้าไม่ให้สวดต่อ ก็ไม่พนมมือรับฟังปาติโมกข์ต่อไป นั่งเป็นเบื้อในวงหัตถบาสอยู่อย่างนั้น
นี่คือความแตกแยกระส่ำระสายที่กำลังเกิดขึ้น สภาพเช่นนี้สร้างปัญหาจนสำนักงานพระพุทธศาสนาและมหาเถรสมาคมบรรยายว่า “.. แบ่งแยกเป็นฝักฝ่าย อันอาจลุกลามเป็นการแตกแยกความสามัคคีของสงฆ์และก่อให้เกิดวิวาทะระหว่างพุทธศาสนิกชนไม่รู้จบ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนาในแผ่นดินไทย..”
***มีคนปรึกษาว่า เพื่อนไปเข้าสำนักนาป่าพง อยากชักนำให้เพื่อนถอยออกมา ... *** by ระนาดเอก คลองสามวา
ข้าพเจ้าก็เลยเขียนๆ ไปให้ตามสมควร ถูกๆ ผิดๆ ไม่ได้อ้างอิงแหล่งที่มาอะไรเลย
ส่งไปให้คนที่เขาต้องการแล้วก็นำมาให้สมาชิกพิจารณากัน เผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อไปบ้าง
กรณีของพระคึกฤทธิ์วัดนาป่าพงนั้น เป็นปัญหามานานหลายปีแล้ว
เรื่องก็คือ ภิกษุต้องการตั้งตนให้โดดเด่น จึงสร้าง "จุดขาย" ขึ้นมา โดยนำพระธรรมวินัยมาบิดเบือน เผยแพร่ให้คนหลงผิดตามไป
สมัยก่อนมีกรณีสันติอโศก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ต่อมาก็มี กรณีธรรมกาย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
กรณีสันติอโศก กรณีธรรมกาย อย่างนี้คือการสร้างจุดขาย สร้างการตลาด
โพธิรักษ์นั้นแต่งตั้งให้ลูกศิษย์ที่ตนบวชให้เป็นพระอริยะลำดับต่างๆ แล้วแสดงตนถือเคร่ง ไม่กินเนื้อสัตว์ สร้างเอกลักษณ์ดึงดูดให้คนมาเลื่อมใส
ส่วนธรรมกายก็กระทำสัทธรรมปฏิรูป นิพพานเป็นอัตตา เป็นสถานที่ดินแดน วิชชาธรรมกายสามารถไปถวายข้าวทิพย์แก่พระพุทธเจ้าในอายตนนิพพาน สร้างนิยายพระพุทธเจ้าองค์ปฐม ต้นธาตุต้นธรรม อวตารลงมาเป็นหลวงพ่อธัมมชโย มาขายบุญ ล่อหลอกให้คนกู้เงินจองวิมานไว้บนดุสิตบุรีวงบุญพิเศษ ..
ขณะนี้ก็มีค่ายสินค้าเจ้าใหม่ เพิ่งเปิดตัวไม่กี่ปี คือกรณีพระคึกฤทธิ์ สำนักนาป่าพง สร้างจุดขายว่าสำนักตนเท่านั้นที่สอนแต่คำพุทธเจ้าล้วนๆ สร้างเรื่องขึ้นมากล่าวตู่ว่า พุทธเจ้าไม่ให้ฟังคำสาวก โดยพระคึกฤทธิ์ไปยกพระสูตรมาบิดเบือน พระสูตรนั้นพระพุทธเจ้าตรัสถึงนักบวชนอกพุทธศาสนาที่ใช้ถ้อยคำสละสลวย เป็นร้อยกรอง แต่เป็นเรื่องนอกแนว ไม่ใช่คำสอนของพระศาสดา จึงไม่ควรฟัง
เมื่อพระคึกฤทธิ์ตั้ง พุทธวจน ขึ้นมา ให้ฟังแต่คำพุทธเจ้า ก็บอกว่าพระพุทธเจ้าให้สวดปาติโมกข์เพียง ๑๕๐ ข้อ ไม่ใช่ ๒๒๗ ข้อตามที่สวดๆ กันทุกวันนี้ แล้วอ้างพระสูตรว่า พระพุทธเจ้าให้สวดปาติโมกข์ ๑๕๐ ถ้วน..
เรื่องสวดปาติโมกข์ ๑๕๐ ที่พระคึกฤทธิ์ชูขึ้นเป็นจุดขายของสำนักนาป่าพงนั้น มีต้นเค้ามาจากพระไตรปิฎกฉบับแปลภาษาไทยที่เรียกว่า ฉบับหลวง ที่จัดพิมพ์เมื่อปี ๒๕๐๐ ซึ่งพระคึกฤทธิ์อ้างพระสูตร ๔ แห่ง (วัชชีบุตรสูตร, เสขสูตรที่ ๒, -ที่ ๓, -ที่ ๔) เป็นเนื้อความตอนที่ภิกษุวัชชีบุตรกราบทูลพระพุทธเจ้า ที่ว่า “สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้” ซึ่งแปลมาจากบาลีว่า สาธิกมิทํ ภันฺเต ทิยัฑฺฒสิกฺขาปทสตํ .. ปัญหาคือคำแปล สาธิกํ ว่า "ถ้วน" นั้นแปลผิด (สาธิกมิทํ = สาธิกํ + อิทํ, อิทํ แปลว่า นี้) ที่ถูกคือจะต้องแปลว่า เกินกว่า ดังนั้น ข้อความดังกล่าวก็จะแปลว่า “สิกขาบท ๑๕๐ ทั้งยังมีเกินขึ้นไปอีกนี้” ซึ่งพระไตรปิฎกพม่า หรือพระไตรปิฎกภาษาอังกฤษที่แปลโดยสมาคมบาลีปกรณ์ ก็แปลถูกต้องตรงกันว่า เกินกว่า แม้แต่พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับพิมพ์ครั้งเดียวกันนี้เอง ก็มีคำแปล สาธิกํ ปรากฏอยู่หลายแห่ง ล้วนแปลว่า เกิน ไม่มีที่ใดแปลว่า ถ้วน
จะเป็นเพราะผู้แปลพระไตรปิฎกติดคำแปล "สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้" มาจากหนังสือวินัยมุขที่นิพนธ์โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ซึ่งในหนังสือนั้นแปลว่า ถ้วน หรือว่าสมเด็จจะแปลผิด หรือช่างเรียงพิมพ์จะเรียงตัวตะกั่วผิด ก็ไม่ใช่สาระอะไร ข้อสำคัญคือสมเด็จฯท่านเองก็สวดปาติโมกข์ ๒๒๗ ข้อตามปกติ
ส่วนพระคึกฤทธิ์ก็อ้างว่าปาติโมกข์ที่สวดเกินจากนั้นอีก ๗๗ ข้อเป็นถ้อยคำของพระอุบาลี เป็นคำสาวก ไม่ใช่คำพระพุทธเจ้า จึงไม่ต้องปฏิบัติตาม ก็มีปัญหาว่า ปาติโมกข์ ๑๕๐ ข้อ ได้แก่สิกขาบทข้อใดบ้าง พระคึกฤทธิ์อ้างว่า พระปาติโมกข์มีเพียง ๑๕๐ ข้อ คือตัดอนิยต ๒ และเสขิยวัตร ๗๕ แต่พระคึกฤทธิ์ก็ไม่มี “คำพุทธเจ้า” มายืนยัน ตรงกันข้าม กลับมีหลักฐานว่าพระผู้มีพระภาครับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายสวดอนิยต ๒ และยังตรัสตอบพระอุบาลีว่า สิกขาบทของภิกษุมาสู่อุเทศทุกวันอุโบสถรวม ๒๒๐ สิกขาบท ซึ่งครอบคลุมเสขิยวัตร ๗๕ ..
และเพื่อจะปฏิเสธคำพระสาวกให้แน่นอนอย่างที่ตัวต้องการ พระคึกฤทธิ์ก็ดิสเครดิตพระสาวกทั้งหมด กล่าวหาว่าอรรถกถาซึ่งเป็นคำอธิบายพระไตรปิฎก เป็นคำสาวก ไม่ให้ฟัง แม้แต่ในชั้นพระสูตร ที่เป็นคำของพระสารีบุตร ผู้ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญรับรองด้วยพระองค์เองว่า แม้พระองค์ตรัสเองก็จะแสดงธรรมเช่นที่พระสารีบุตรว่าไว้อย่างนี้ๆ
กระนั้น พระคึกฤทธิ์ก็ยังดูหมิ่นพระสารีบุตร โดยอ้างเรื่องราวที่พระพุทธเจ้ารับสั่งให้พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะไปแสดงธรรมให้ภิกษุวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลี ประมาณ ๕๐๐ รูป ที่เป็นพระบวชใหม่ ที่หลงเชื่อติดตามพระเทวทัตไป ในคราวที่พระเทวทัตทูลขอวัตถุ ๕ ประการ เช่นขอให้ภิกษุทั้งหลายไม่ฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต รูปใดฉัน ให้ต้องโทษ แต่พระพุทธเจ้าไม่อนุญาต พระเทวทัตไม่พอใจก็ยุแยงพวกภิกษุวัชชีบุตรเหล่านั้นแล้วพาแยกออกไป ทำให้สงฆ์แตกกัน เป็นอนันตริยกรรม เรื่องปรากฏในพระวินัย (สังฆเภทขันธกะ) ..
เมื่อพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะไปแสดงธรรมให้ภิกษุวัชชีบุตรเหล่านั้นกลับใจและผละจากพระเทวทัตกลับมาแล้ว พระสารีบุตรก็ทูลขอให้อุปสมบทใหม่แก่ภิกษุที่ประพฤติตามพระเทวทัตนั้น แต่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ไม่ต้องถึงกับบวชใหม่ แค่ให้ปลงอาบัติถุลลัจจัยว่าเทวทัตปฏิบัติแก่เธออย่างไรก็พอแล้ว ตรงนี้เองที่พระคึกฤทธิ์ยกเอามาล่วงเกินพระสารีบุตรว่า นี่แหละ สารีบุตรยังผิด ดังนั้น จึงไม่ต้องไปฟังคำสาวกแม้แต่จะเป็นสารีบุตร ให้ฟังแต่คำพุทธเจ้า
เรื่องการสวดปาติโมกข์ ๑๕๐ นี้ ที่จริงไม่มีเหตุผลหลักฐานอะไรเลย แต่พระคึกฤทธิ์ก็ชักจูงให้ภิกษุอื่นประพฤติตาม แล้วก็เผยแพร่ขยายไปทั่ว มีวัดตามหัวเมืองบางวัดประกาศเอาตามสำนักนาป่าพง คือสวดปาติโมกข์ ๑๕๐ ข้อ บ้างก็มีภิกษุจากสำนักนาป่าพงไปเข้าฟังสวดปาติโมกข์ในอุโบสถวัดอื่นแล้วประกาศว่า จะขอฟังสวดเพียง ๑๕๐ ข้อ พ้นจากนั้นแล้วก็อ้างว่าพระพุทธเจ้าไม่ให้สวดต่อ ก็ไม่พนมมือรับฟังปาติโมกข์ต่อไป นั่งเป็นเบื้อในวงหัตถบาสอยู่อย่างนั้น นี่คือความแตกแยกระส่ำระสายที่กำลังเกิดขึ้น สภาพเช่นนี้สร้างปัญหาจนสำนักงานพระพุทธศาสนาและมหาเถรสมาคมบรรยายว่า “.. แบ่งแยกเป็นฝักฝ่าย อันอาจลุกลามเป็นการแตกแยกความสามัคคีของสงฆ์และก่อให้เกิดวิวาทะระหว่างพุทธศาสนิกชนไม่รู้จบ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนาในแผ่นดินไทย..”