เห็นบทความเก่าๆหลายบทความน่าสนใจดี ลองเอาอันนี้มาให้อ่านเล่นๆมองย้อนจากปัจจุบันไปเราได้อะไรบ้าง
*****จากนิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2533***
และแล้วโครการทางรถไฟยกระดับของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่บริษัทโฮปเวลล์จากฮ่องกงอาสาเข้ามาเป็นผู้ลงทุนให้ ก็เดินหน้าไปอีกก้าวหนึ่งเมื่อมีการเซ็นสัญญาสัมปทานระหวางโฮปเวลล์ ประเทศไทยกับกระทรวงคมนาคมและการรถไฟ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา
งานนี้ถือได้ว่าเป็นงานช้างที่มุบคคลในวงการธุรกิจนับร้อยมาเป็นสักขีพยานจนแน่นห้องวิภาวดีของโรงแรมเซ้นทรัลพลาซารวมไปถึงสื่อมวลชนจากฮ่องกงราว 80 คนซึ่งโฮปเวลล์ควักกระเป๋าให้มาทำข่าวนี้เป็นการเฉพาะ
เรียกได้ว่างานนี้เป็นเรื่องของการสร้างภาพพจน์ของโฮปเวลล์ หลังจากที่ดครงการซูปเอร์ไฮเวย์ทางตอนใต้ของจีน ได้รับความกระทบกระเทือนจากวิกฤติการณ์เทียนอันเหมินเมื่อปีที่แล้ว จนมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับความมั่นคงในทางการเงินของโฮปเวลล์ตามมา
"ผมขอให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ และขออย่าให้มีใครมาคิดร้ายต่อโครงการนี้" พรข้อท้ายสุดของมนตรี พงษ์พานิช เจ้ากระทรวงคมนาคมฟังดูเหมือนจะกระทบกระเทียบไปถึงเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่ตั้งข้อสงสัยต่อความเป็นไปได้ขอโครงการนี้ตลอดมา
"คือโครงการมันใหญ่ ไม่ได้คิดว่าจะมีใครมาให้ร้าย เพียงแต่ขออย่าให้มีเท่านั้น" คนใจบุญสุนทานอยางมนตรีตอบคำถามของนักข่าวทีวีคนหนึ่งที่ข้องใจเป็นหนักหนาว่าทำไมต้องให้พรกันแบบนี้
มูลค่าการลงทุนในโครงการนี้สูงถึง 80,000 ล้านบาทสำหรับการก่อสร้างทางรถไฟยกระดับในเขตกรุงเทพมหานครมีความยาวทั้งสิ้น 60.1 กิโลเมตรโดยมีเส้นทางหลักสองเส้นทางคือ สายเหนือ-ใต้ จากรังสิตข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วเลยวงเวียนใหญ่ไปสิ้นสุดที่สถานีโพธิ์นิมิต
อีกเส้นทางหนึ่งคือตะวันออก-ตะวันตก จากสถานีหัวหมากไปถึงสถานีตลิ่งชัน บนรางรถไฟที่ยกระดับขึ้นมาสูงจากพื้นถนนยังจะมีรถไฟชุมชนซึ่งเป็นระบบขนส่งมวลชนซึ่งโอปเวลล์อ้างว่าขนผู้โดยสารได้วันละ 3 ลานคนรวมอยู่ด้วย โดยจะเก็บค่าโดยสารเพียงกิโลเมตรละ 60 สตางค์เท่านั้น แต่โฮปเวลล์ สามารถปรับค่าโดยสารได้ตามภาวะเงินเฟ้อไม่เกินสองเท่าในเวลา 15 ปี
ถัดขึ้นไปจากทางรถไฟยกระดับอีกชั้นหนึ่งคือทางด่วน 3 เลนคู่สำหรับรถยนต์ เก็บค่าผ่านทางในราคาห้าสลึงต่อหนึ่งกิโลเมตร
"จากรังสิตเข้ามาที่หัวลำโพงใช้เวลาเดินทาง 25 นาทีโดยเสียค่าโดยสาร 17 บาท จากตลิ่งชันไปถึงหัวหมากใช้เวลา 36 นาทีเสียค่าโดยสาร 16 บาทเท่านั้น" ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของการรถไฟท่านหนึ่งวาดภาพความสะดวกสบายในราคาย่อมเยาที่จะเกิดึ้นจากโครงการนี้ซึ่งจะเปิดใช้ได้ในเวลา 4 ปีและจะสมบูรณ์ทั้งโครงการอีก 8 ปีข้างหน้า
โฮปเวลล์จะเป็นคนลงทุนเองทั้งหมดโดยรัฐบาลไม่ต้องควักกระเป๋าเลย แถมยังจะได้ค่าตอบแทนตลอดระยะเวลา 38 ปีซึ่งเป็นระยะเวลาของสัมปทานจากโฮปเวลล์เป็นเงินรวมกัน 54,110 ล้านบาท
ผลประโยชน์ที่โฮปเวลล์จะได้คือสิทธิในการพัฒนาที่ดนิของการรถไฟประมาณ 10 แปลงซึ่งรวมเอาที่แปลงใหญ่อย่างที่หัวลำโพงนิคมมักกะสันและบางซื่อเอาไว้ด้วย
โครงการดี ๆ อย่างนี้จะมีใครมาคิดร้าย แม้จะมีข้อท้วงติงกันบ้างในเรื่องให้ผลประโยชน์การพัฒนาที่ดินกับโฮปเวลล์มากเกินไป ก็ต้องคิดเสียว่าเป็นการลงทุนเพื่อแก้ไขปัยหาการจราจรของกรุงเทพซึ่งเป็นไปไมได้ที่ใครจะมาทำให้ฟรี ๆ
ข้อวิพากษ์วิจารณ์นั้นอยู่ที่การดำเนินงานที่เป็นไปอย่างรวดเร็วนับจากวันที่โฮปเวลล์ยื่นข้อเสนอต่อกระทรวงคมนาคม จนถึงวันที่มีการเซ็นสัญญาใช้เวลาเพียงปีเดียวเท่านั้น จนมีการตั้งข้อสังเกตว่าเป็นโชคดีของโฮปเวลล์ที่เข้าถูกกระทรวง
เบื้องหลังของความรวดเร็วนั้นได้รับการอธิบายจากมนตรีว่า โครงการนี้ไม่ตอ้งมีการเวนคืนที่ดินเพราะสร้างตามแนวทางรถไฟที่มีอยู่แล้ว และไม่มีเงื่อนไขที่รัฐจะต้องเข้ามาลงทุนด้วย จึงไม่ต้องเสียเวลาหมด ก็เพราะว่าถึงคุณจะมีเงินตอนนี้หกพันล้าน ก็ยังทำอะไรไม่ได้ ต้องดำเนินการไปตามขั้นตอน จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินมากขนาดนั้นในตอนนี้" กอร์ดอน วู กล่าว
ก่อนหน้าที่จะมีการเซ็นสัญญา กรมอัยการได้ตั้งข้อสังเกตเอาไว้ข้อหนึ่งว่า คู่สัญญานั้นคือ บริษัทโฮปเวลล์ ประเทศไทย แต่ตอนที่เสนอโครงการนั้นผู้เสนอคือโฮปเวลล์ โฮลตดิ้ง (ฮ่องกง) ซึ่งกรมอัยการมีความเห็นว่าโฮปเวลล์ โฮลดิ้งควรจะเข้ามาผูกพันโครงการนี้ด้วยหรืออย่างน้อยควรจะกำหนดสัดส่วนที่จะเข้ามาลงทุนในบริษัทใหม่ให้ชัดเจน
โฮปเวลล์ ประเทศไทยในตอนนี้นั้นยังถือหุ้นโดยโฮปเวลล์ ฮ่องกง 100 เปอร์เซ็นต์และจะกระจายให้ผู้ถือหุ้นในประเทศในตอนหลัง "เราก็ยังไม่รู้ว่าจะเป็นใคร เราต้องการผู้ร่วมทุนที่สามารถผูกพันตัวเองข้าวกับโครงการแบบนี้ได้" วู ตอบได้เพียงแค่นี้ในเรื่องโครงสร้างผู้ถือหุ้น เช่นเดียวกับแหล่งเงินกู้ซึ่งในข่าวประชาสัมพันธ์ระบุว่าจะใช้เงินกู้ในประเทศ 85,000 ล้านบาทและเงินต่างประเทศอีก 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐนั้น เขาบอกว่าโฮปเวลล์จะใช้เงินทุนของตัวเองก่อน หลังจากนั้นแล้วค่อยคุยกันเรื่องเงินกู้จากสถาบันการเงิน
"ผมเป็นวิศวกรไม่ใช่นักการเงิน" วูตัดบทเมื่อถูกซักรายละเอียดในเรื่องการเงินมาก ๆ เข้า
วูได้ซื้อว่าเป็นคนที่ทำงานไว มีความคิดที่รวดเร็ว เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ มีแผนการในเรื่องเดียวกันอยู่มากมายในหัวที่คนอื่นจะรู้ก็ต่อเมื่อเขาตัดสินใจเลือกแผนใดแผนหนึ่งแล้วเมือ่มไมีคู่แข่งที่จะเป็นเงื่อนไขให้ต้องเปิดเผยข้อมูลเพื่อสร้างการต่อรอง จึงไม่มีความจำเป็นที่เขาจะต้องผูกพันตัวเองในเรื่องใด ๆ ถ้ายังไม่ถึงเวลา
"หลังจากนี้อีกสามเดือนภาพจะชัดเจนมาก เขามีแผนไว้เยอะ และที่ผ่านมาเขาทำงานเร็วกระชั้นชิดมาก" แหล่งข่าวจากแบงก์กรุงเทพซึ่งเป็นที่ปรึกษาทางการเงินในระยะแรกนี้ให้ความเห็น
วูเชื่อว่าโครงการของเขาจะไม่ได้รับความกระทบกระเทือนใด ๆ จากการเปลี่ยนแปลงการเมือง "นี่คือการแก้ปัญหาการจราจรของกรุงเทพที่ดีที่สุดใคร ๆ ก็สนับสนุนเรา"
สำหรับคนกรุงเทพที่ต้องทุกข์ทนอยู่กับปัญหาการจราจร จนถึงวันนี้ที่การเซ็นสัญญาสร้างทางรถไฟยกระดับลุล่วงไปแล้ว อย่าเพิ่งดีใจไปว่ากอร์ดอน วู จะมาเป็นผู้ปลดเปลื้องความทุกข์นี้ให้เหพราะไม่มีข้อผูกพันอะไรที่จะต้องดำเนินการตามสัญญ อย่างมากก็แค่ยอมเสียเงิน 300 ล้านบาทที่จ่ายไปแล้วเท่านั้นเอง
กระทู้ย้อนอดีต **โฮปเวลล์ ความฝันเพิ่งเริ่มต้น **
*****จากนิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2533***
และแล้วโครการทางรถไฟยกระดับของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่บริษัทโฮปเวลล์จากฮ่องกงอาสาเข้ามาเป็นผู้ลงทุนให้ ก็เดินหน้าไปอีกก้าวหนึ่งเมื่อมีการเซ็นสัญญาสัมปทานระหวางโฮปเวลล์ ประเทศไทยกับกระทรวงคมนาคมและการรถไฟ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา
งานนี้ถือได้ว่าเป็นงานช้างที่มุบคคลในวงการธุรกิจนับร้อยมาเป็นสักขีพยานจนแน่นห้องวิภาวดีของโรงแรมเซ้นทรัลพลาซารวมไปถึงสื่อมวลชนจากฮ่องกงราว 80 คนซึ่งโฮปเวลล์ควักกระเป๋าให้มาทำข่าวนี้เป็นการเฉพาะ
เรียกได้ว่างานนี้เป็นเรื่องของการสร้างภาพพจน์ของโฮปเวลล์ หลังจากที่ดครงการซูปเอร์ไฮเวย์ทางตอนใต้ของจีน ได้รับความกระทบกระเทือนจากวิกฤติการณ์เทียนอันเหมินเมื่อปีที่แล้ว จนมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับความมั่นคงในทางการเงินของโฮปเวลล์ตามมา
"ผมขอให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ และขออย่าให้มีใครมาคิดร้ายต่อโครงการนี้" พรข้อท้ายสุดของมนตรี พงษ์พานิช เจ้ากระทรวงคมนาคมฟังดูเหมือนจะกระทบกระเทียบไปถึงเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่ตั้งข้อสงสัยต่อความเป็นไปได้ขอโครงการนี้ตลอดมา
"คือโครงการมันใหญ่ ไม่ได้คิดว่าจะมีใครมาให้ร้าย เพียงแต่ขออย่าให้มีเท่านั้น" คนใจบุญสุนทานอยางมนตรีตอบคำถามของนักข่าวทีวีคนหนึ่งที่ข้องใจเป็นหนักหนาว่าทำไมต้องให้พรกันแบบนี้
มูลค่าการลงทุนในโครงการนี้สูงถึง 80,000 ล้านบาทสำหรับการก่อสร้างทางรถไฟยกระดับในเขตกรุงเทพมหานครมีความยาวทั้งสิ้น 60.1 กิโลเมตรโดยมีเส้นทางหลักสองเส้นทางคือ สายเหนือ-ใต้ จากรังสิตข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วเลยวงเวียนใหญ่ไปสิ้นสุดที่สถานีโพธิ์นิมิต
อีกเส้นทางหนึ่งคือตะวันออก-ตะวันตก จากสถานีหัวหมากไปถึงสถานีตลิ่งชัน บนรางรถไฟที่ยกระดับขึ้นมาสูงจากพื้นถนนยังจะมีรถไฟชุมชนซึ่งเป็นระบบขนส่งมวลชนซึ่งโอปเวลล์อ้างว่าขนผู้โดยสารได้วันละ 3 ลานคนรวมอยู่ด้วย โดยจะเก็บค่าโดยสารเพียงกิโลเมตรละ 60 สตางค์เท่านั้น แต่โฮปเวลล์ สามารถปรับค่าโดยสารได้ตามภาวะเงินเฟ้อไม่เกินสองเท่าในเวลา 15 ปี
ถัดขึ้นไปจากทางรถไฟยกระดับอีกชั้นหนึ่งคือทางด่วน 3 เลนคู่สำหรับรถยนต์ เก็บค่าผ่านทางในราคาห้าสลึงต่อหนึ่งกิโลเมตร
"จากรังสิตเข้ามาที่หัวลำโพงใช้เวลาเดินทาง 25 นาทีโดยเสียค่าโดยสาร 17 บาท จากตลิ่งชันไปถึงหัวหมากใช้เวลา 36 นาทีเสียค่าโดยสาร 16 บาทเท่านั้น" ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของการรถไฟท่านหนึ่งวาดภาพความสะดวกสบายในราคาย่อมเยาที่จะเกิดึ้นจากโครงการนี้ซึ่งจะเปิดใช้ได้ในเวลา 4 ปีและจะสมบูรณ์ทั้งโครงการอีก 8 ปีข้างหน้า
โฮปเวลล์จะเป็นคนลงทุนเองทั้งหมดโดยรัฐบาลไม่ต้องควักกระเป๋าเลย แถมยังจะได้ค่าตอบแทนตลอดระยะเวลา 38 ปีซึ่งเป็นระยะเวลาของสัมปทานจากโฮปเวลล์เป็นเงินรวมกัน 54,110 ล้านบาท
ผลประโยชน์ที่โฮปเวลล์จะได้คือสิทธิในการพัฒนาที่ดนิของการรถไฟประมาณ 10 แปลงซึ่งรวมเอาที่แปลงใหญ่อย่างที่หัวลำโพงนิคมมักกะสันและบางซื่อเอาไว้ด้วย
โครงการดี ๆ อย่างนี้จะมีใครมาคิดร้าย แม้จะมีข้อท้วงติงกันบ้างในเรื่องให้ผลประโยชน์การพัฒนาที่ดินกับโฮปเวลล์มากเกินไป ก็ต้องคิดเสียว่าเป็นการลงทุนเพื่อแก้ไขปัยหาการจราจรของกรุงเทพซึ่งเป็นไปไมได้ที่ใครจะมาทำให้ฟรี ๆ
ข้อวิพากษ์วิจารณ์นั้นอยู่ที่การดำเนินงานที่เป็นไปอย่างรวดเร็วนับจากวันที่โฮปเวลล์ยื่นข้อเสนอต่อกระทรวงคมนาคม จนถึงวันที่มีการเซ็นสัญญาใช้เวลาเพียงปีเดียวเท่านั้น จนมีการตั้งข้อสังเกตว่าเป็นโชคดีของโฮปเวลล์ที่เข้าถูกกระทรวง
เบื้องหลังของความรวดเร็วนั้นได้รับการอธิบายจากมนตรีว่า โครงการนี้ไม่ตอ้งมีการเวนคืนที่ดินเพราะสร้างตามแนวทางรถไฟที่มีอยู่แล้ว และไม่มีเงื่อนไขที่รัฐจะต้องเข้ามาลงทุนด้วย จึงไม่ต้องเสียเวลาหมด ก็เพราะว่าถึงคุณจะมีเงินตอนนี้หกพันล้าน ก็ยังทำอะไรไม่ได้ ต้องดำเนินการไปตามขั้นตอน จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินมากขนาดนั้นในตอนนี้" กอร์ดอน วู กล่าว
ก่อนหน้าที่จะมีการเซ็นสัญญา กรมอัยการได้ตั้งข้อสังเกตเอาไว้ข้อหนึ่งว่า คู่สัญญานั้นคือ บริษัทโฮปเวลล์ ประเทศไทย แต่ตอนที่เสนอโครงการนั้นผู้เสนอคือโฮปเวลล์ โฮลตดิ้ง (ฮ่องกง) ซึ่งกรมอัยการมีความเห็นว่าโฮปเวลล์ โฮลดิ้งควรจะเข้ามาผูกพันโครงการนี้ด้วยหรืออย่างน้อยควรจะกำหนดสัดส่วนที่จะเข้ามาลงทุนในบริษัทใหม่ให้ชัดเจน
โฮปเวลล์ ประเทศไทยในตอนนี้นั้นยังถือหุ้นโดยโฮปเวลล์ ฮ่องกง 100 เปอร์เซ็นต์และจะกระจายให้ผู้ถือหุ้นในประเทศในตอนหลัง "เราก็ยังไม่รู้ว่าจะเป็นใคร เราต้องการผู้ร่วมทุนที่สามารถผูกพันตัวเองข้าวกับโครงการแบบนี้ได้" วู ตอบได้เพียงแค่นี้ในเรื่องโครงสร้างผู้ถือหุ้น เช่นเดียวกับแหล่งเงินกู้ซึ่งในข่าวประชาสัมพันธ์ระบุว่าจะใช้เงินกู้ในประเทศ 85,000 ล้านบาทและเงินต่างประเทศอีก 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐนั้น เขาบอกว่าโฮปเวลล์จะใช้เงินทุนของตัวเองก่อน หลังจากนั้นแล้วค่อยคุยกันเรื่องเงินกู้จากสถาบันการเงิน
"ผมเป็นวิศวกรไม่ใช่นักการเงิน" วูตัดบทเมื่อถูกซักรายละเอียดในเรื่องการเงินมาก ๆ เข้า
วูได้ซื้อว่าเป็นคนที่ทำงานไว มีความคิดที่รวดเร็ว เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ มีแผนการในเรื่องเดียวกันอยู่มากมายในหัวที่คนอื่นจะรู้ก็ต่อเมื่อเขาตัดสินใจเลือกแผนใดแผนหนึ่งแล้วเมือ่มไมีคู่แข่งที่จะเป็นเงื่อนไขให้ต้องเปิดเผยข้อมูลเพื่อสร้างการต่อรอง จึงไม่มีความจำเป็นที่เขาจะต้องผูกพันตัวเองในเรื่องใด ๆ ถ้ายังไม่ถึงเวลา
"หลังจากนี้อีกสามเดือนภาพจะชัดเจนมาก เขามีแผนไว้เยอะ และที่ผ่านมาเขาทำงานเร็วกระชั้นชิดมาก" แหล่งข่าวจากแบงก์กรุงเทพซึ่งเป็นที่ปรึกษาทางการเงินในระยะแรกนี้ให้ความเห็น
วูเชื่อว่าโครงการของเขาจะไม่ได้รับความกระทบกระเทือนใด ๆ จากการเปลี่ยนแปลงการเมือง "นี่คือการแก้ปัญหาการจราจรของกรุงเทพที่ดีที่สุดใคร ๆ ก็สนับสนุนเรา"
สำหรับคนกรุงเทพที่ต้องทุกข์ทนอยู่กับปัญหาการจราจร จนถึงวันนี้ที่การเซ็นสัญญาสร้างทางรถไฟยกระดับลุล่วงไปแล้ว อย่าเพิ่งดีใจไปว่ากอร์ดอน วู จะมาเป็นผู้ปลดเปลื้องความทุกข์นี้ให้เหพราะไม่มีข้อผูกพันอะไรที่จะต้องดำเนินการตามสัญญ อย่างมากก็แค่ยอมเสียเงิน 300 ล้านบาทที่จ่ายไปแล้วเท่านั้นเอง