3 จังหวัดในพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ซึ่งเป็นพื้นที่นำร่องในการพัฒนาอุตสาหกรรมของภูมิภาค เป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรม และฐานการผลิตภาคอุตสาหกรรมจำนวนมาก จึงมีการประมาณการณ์ว่า จะมีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 1 แสนคน หรืออาจเพิ่มได้มากถึง 2 แสนคน หากอุตสาหกรรมเป้าหมายสามารถเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแรงงานที่ต้องการเกือบทั้งหมด เป็นแรงงานระดับกึ่งฝีมือและแรงงานฝีมือ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมดิจิตอล และอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร
ข้อมูลของสำนักจัดหางานเผยว่า ตลาดแรงงานในเขตพื้นที่ 3 จังหวัดดังกล่าว มีความต้องการแรงงานรวมกันสูงถึง 8,500 อัตรา โดย
จังหวัดชลบุรี มีความต้องการแรงงานมากที่สุดถึง 4,480 อัตรา ตามมาด้วย
จังหวัดระยอง 2,534 อัตรา และ
จังหวัดฉะเชิงเทรา 1,474 อัตรา
ส่วนประเภทงานที่ต้องการแรงงานมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่
1. งานผลิต/ควบคุมคุณภาพ จำนวน 1,499 อัตรา
2. งานวิศวกรรม จำนวน 967 อัตรา
3. งานขาย จำนวน 795 อัตรา
4. งานโลจิสติกส์และซัพพลายเชน จำนวน 433 อัตรา
5. งานบัญชี/การเงิน 348 อัตรา
นอกจากนี้ ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ยังเผยข้อมูล
ภาพรวมความต้องการแรงงานระดับอาชีวศึกษา ของอุตสาหกรรมกลุ่ม First S-Curve & New S-Curve ระหว่างปี 2560 – 2564 ว่า มีความต้องการแรงงานทั้งหมดกว่าแสนตำแหน่ง โดยจำแนกตามกลุ่มอุตสาหกรรม
•
First S-Curve ได้แก่ ยานยนต์สมัยใหม่ 34,311 อัตรา, อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 33,820 อัตรา, การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 20,553 อัตรา, การแปรรูปอาหาร 8,018 อัตรา, เกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ 6,806 อัตรา
รวมความต้องการแรงงานในกลุ่มนี้ทั้งสิ้น 103,508 อัตรา
•
New S-Curve ได้แก่ หุ่นยนต์ 15,860 อัตรา, การบินและโลจิสติกส์ 11,331 อัตรา, เชื้อเพลิงและเคมีชีวภาพ 35,023 อัตรา, ดิจิทัล 9,768 อัตรา, การแพทย์ครบวงจร 35 อัตรา อัตรา
รวมความต้องการแรงงานในกลุ่มนี้ 72,017 อัตรา
แม้ความต้องการแรงงานในสายงานที่เกี่ยวข้องกับด้านอุตสาหกรรมยังมีความต้องการสูงอยู่ตลอดเวลา แต่ปัจจุบันแรงงานกลุ่มนี้ยังมีไม่เพียงพอกับความต้องการ ซึ่งการพัฒนาแรงงานเพื่อตอบสนองความต้องการในพื้นที่ ไม่ได้มีแค่การผลิตแรงงานให้มีจำนวนเพียงพอเท่านั้น แต่ยังควรต้องยกระดับทักษะฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมายด้วย เพื่อตอบโจทย์ให้ครบสมบูรณ์
สายงานอุตสาหกรรมดาวเด่นตลาดแรงงานอีอีซี
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ข้อมูลของสำนักจัดหางานเผยว่า ตลาดแรงงานในเขตพื้นที่ 3 จังหวัดดังกล่าว มีความต้องการแรงงานรวมกันสูงถึง 8,500 อัตรา โดยจังหวัดชลบุรี มีความต้องการแรงงานมากที่สุดถึง 4,480 อัตรา ตามมาด้วยจังหวัดระยอง 2,534 อัตรา และจังหวัดฉะเชิงเทรา 1,474 อัตรา
ส่วนประเภทงานที่ต้องการแรงงานมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่
1. งานผลิต/ควบคุมคุณภาพ จำนวน 1,499 อัตรา
2. งานวิศวกรรม จำนวน 967 อัตรา
3. งานขาย จำนวน 795 อัตรา
4. งานโลจิสติกส์และซัพพลายเชน จำนวน 433 อัตรา
5. งานบัญชี/การเงิน 348 อัตรา
นอกจากนี้ ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ยังเผยข้อมูลภาพรวมความต้องการแรงงานระดับอาชีวศึกษา ของอุตสาหกรรมกลุ่ม First S-Curve & New S-Curve ระหว่างปี 2560 – 2564 ว่า มีความต้องการแรงงานทั้งหมดกว่าแสนตำแหน่ง โดยจำแนกตามกลุ่มอุตสาหกรรม
• First S-Curve ได้แก่ ยานยนต์สมัยใหม่ 34,311 อัตรา, อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 33,820 อัตรา, การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 20,553 อัตรา, การแปรรูปอาหาร 8,018 อัตรา, เกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ 6,806 อัตรา รวมความต้องการแรงงานในกลุ่มนี้ทั้งสิ้น 103,508 อัตรา
• New S-Curve ได้แก่ หุ่นยนต์ 15,860 อัตรา, การบินและโลจิสติกส์ 11,331 อัตรา, เชื้อเพลิงและเคมีชีวภาพ 35,023 อัตรา, ดิจิทัล 9,768 อัตรา, การแพทย์ครบวงจร 35 อัตรา อัตรา รวมความต้องการแรงงานในกลุ่มนี้ 72,017 อัตรา
แม้ความต้องการแรงงานในสายงานที่เกี่ยวข้องกับด้านอุตสาหกรรมยังมีความต้องการสูงอยู่ตลอดเวลา แต่ปัจจุบันแรงงานกลุ่มนี้ยังมีไม่เพียงพอกับความต้องการ ซึ่งการพัฒนาแรงงานเพื่อตอบสนองความต้องการในพื้นที่ ไม่ได้มีแค่การผลิตแรงงานให้มีจำนวนเพียงพอเท่านั้น แต่ยังควรต้องยกระดับทักษะฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมายด้วย เพื่อตอบโจทย์ให้ครบสมบูรณ์