ธนาคารโลกเลื่อนอันดับไทยเป็นประเทศน่าลงทุนทำธุรกิจ จากอันดับที่ 46 ของโลกเมื่อปีก่อน ขึ้นเป็นอันดับที่ 26 ในปีนี้ ด้วยเหตุผลที่เห็นว่า ไทยสามารถเอื้ออำนวยความสะดวกในการเข้ามาทำธุรกิจได้ง่ายมากขึ้น อย่างมีนัยสำคัญในรอบ 14 ปี และยังถือเป็นอันดับ 3 ของประเทศในอาเซียนรองจากสิงคโปร์และมาเลเซียเท่านั้น ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีต่อการลงทุนและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
งานนี้ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งรับทราบรายงานเรื่องนี้จากที่ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงการคลัง และคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร.) ประเมินว่าเป็นผลมาจากการที่นายรัฐมนตรีให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ และใช้คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติตามมาตรา 44 ในการแก้ไขกฎหมายเพิ่มเติมเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ รวมทั้งประเทศไทยได้ทำงานร่วมกับธนาคารโลกอย่างใกล้ชิดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จึงคาดว่าการขยับอันดับที่ดีขึ้นดังกล่าวจะส่งผลดีต่อการเข้ามาลงทุนในประทศไทยมากขึ้น และได้มอบหมายให้สภาพัฒน์ไปเร่งดำเนินการด้านต่างๆเพื่อให้การจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยขยับดีขึ้นอีกในปีหน้า
ขณะที่ นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ ก.พ.ร. บอกว่าประเทศไทยได้รับการจัดอันดับดีขึ้น เพราะสามารถลดระยะเวลาในการจัดตั้งธุรกิจ ลดกระบวนการขอใช้ไฟฟ้า การชำระภาษีและการได้รับสินเชื่อ ให้เกิดความสะดวกรวดเร็วขึ้น รวมถึงยังมีการออกกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจใหม่ เพิ่มสิทธิผู้ลงทุนรายย่อยทำให้ฟ้องร้องง่ายขึ้น ตลอดจนการใช้ระบบยื่นฟ้อง จ่ายค่าธรรมเนียมศาลได้ทางอิเล็กทรอนิกส์และสามารถแก้ไขปัญหาการล้มละลายได้ง่ายขึ้น ทำให้มีคะแนนที่ดีขึ้น
อันดับของประเทศไทยในการเป้นประเทศน่าลงทุนในปี 2018 (2561)อยู่ที่อันดับ 26 ของโลกปรับขึ้นจากอันดับ 46 ปี 2017 (2560) จากการจัดอันดับ 190 ประเทศทั่วโลก โดยมีคะแนนรวม 77.44 คะแนน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 72.53 คะแนน โดยธนาคารโลกยังยกให้ไทยเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่มีการปรับปรุงมากที่สุด
และเมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียน ไทยมีอันดับดีขึ้นมากกว่าทุกประเทศด้วย โดยอินโดนีเซียมีอันดับดีขึ้น จาก 91 เป็น 72 / บรูไน ดีขึ้นจาก 72 เป็น 56 ขณะที่เวียดนาม ปรับจาก 82 เป็นเป็น 68 มีเพียงมาเลเซียที่ถูกปรับลง 1 อันดับ จาก 23 เป็น 24 ซึ่งไทยถือว่าอยู่อันดับ 3 ของอาเซียน รองจากสิงคโปร์ ซึ่งอยู่อันดับ 2 ของโลก และมาเลเซีย
สำหรับตัวชี้วัดที่ธนาคารโลกใช้ในการจัดอันดับแต่ละด้านมี 10 ตัวชี้วัด และไทยมีผลการจัดอันดับดีขึ้น 6 ด้าน คือ
การเริ่มต้นธุรกิจ จากอันดับ 78 ขึ้นมาอยู่ที่ 26
ด้านการขอใช้ไฟฟ้า ดีขึ้นจากอันดับ 37 มาอยู่ที่ 13
ด้านการได้รับสินเชื่อดีขึ้นจาก อันดับ 82 มาอยู่ที่ 42
ด้านการคุ้มครองผู้ลงทุนเสียงข้างน้อย จาก อันดับ 27 มาอยู่ที่ 16
ด้านการชำระภาษี จากอันดับ 109 มาอยู่ที่ 67
ด้านการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง จากอันดับ 51 มาอยู่ที่ 34
ส่วนที่อันดับคงที่ คือด้านการจดทะเบียนทรัพย์สิน อยู่ที่อันดับ 68
ขณะที่อันดับลดลงคือ ด้านการขออนุนุญาตก่อสร้าง ลดลงจาก 42 ไปอยู่ 43
และด้านการแก้ไขปัญหาล้มละลายที่หล่นจาก 23 ไปอยู่อันดับที่ 26
ธนาคารโลกปรับขึ้นอันดับประเทศไทย น่าลงทุน อันดับที่ 26 ของโลก !!!
งานนี้ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งรับทราบรายงานเรื่องนี้จากที่ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงการคลัง และคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร.) ประเมินว่าเป็นผลมาจากการที่นายรัฐมนตรีให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ และใช้คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติตามมาตรา 44 ในการแก้ไขกฎหมายเพิ่มเติมเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ รวมทั้งประเทศไทยได้ทำงานร่วมกับธนาคารโลกอย่างใกล้ชิดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จึงคาดว่าการขยับอันดับที่ดีขึ้นดังกล่าวจะส่งผลดีต่อการเข้ามาลงทุนในประทศไทยมากขึ้น และได้มอบหมายให้สภาพัฒน์ไปเร่งดำเนินการด้านต่างๆเพื่อให้การจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยขยับดีขึ้นอีกในปีหน้า
ขณะที่ นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ ก.พ.ร. บอกว่าประเทศไทยได้รับการจัดอันดับดีขึ้น เพราะสามารถลดระยะเวลาในการจัดตั้งธุรกิจ ลดกระบวนการขอใช้ไฟฟ้า การชำระภาษีและการได้รับสินเชื่อ ให้เกิดความสะดวกรวดเร็วขึ้น รวมถึงยังมีการออกกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจใหม่ เพิ่มสิทธิผู้ลงทุนรายย่อยทำให้ฟ้องร้องง่ายขึ้น ตลอดจนการใช้ระบบยื่นฟ้อง จ่ายค่าธรรมเนียมศาลได้ทางอิเล็กทรอนิกส์และสามารถแก้ไขปัญหาการล้มละลายได้ง่ายขึ้น ทำให้มีคะแนนที่ดีขึ้น
อันดับของประเทศไทยในการเป้นประเทศน่าลงทุนในปี 2018 (2561)อยู่ที่อันดับ 26 ของโลกปรับขึ้นจากอันดับ 46 ปี 2017 (2560) จากการจัดอันดับ 190 ประเทศทั่วโลก โดยมีคะแนนรวม 77.44 คะแนน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 72.53 คะแนน โดยธนาคารโลกยังยกให้ไทยเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่มีการปรับปรุงมากที่สุด
และเมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียน ไทยมีอันดับดีขึ้นมากกว่าทุกประเทศด้วย โดยอินโดนีเซียมีอันดับดีขึ้น จาก 91 เป็น 72 / บรูไน ดีขึ้นจาก 72 เป็น 56 ขณะที่เวียดนาม ปรับจาก 82 เป็นเป็น 68 มีเพียงมาเลเซียที่ถูกปรับลง 1 อันดับ จาก 23 เป็น 24 ซึ่งไทยถือว่าอยู่อันดับ 3 ของอาเซียน รองจากสิงคโปร์ ซึ่งอยู่อันดับ 2 ของโลก และมาเลเซีย
สำหรับตัวชี้วัดที่ธนาคารโลกใช้ในการจัดอันดับแต่ละด้านมี 10 ตัวชี้วัด และไทยมีผลการจัดอันดับดีขึ้น 6 ด้าน คือ
การเริ่มต้นธุรกิจ จากอันดับ 78 ขึ้นมาอยู่ที่ 26
ด้านการขอใช้ไฟฟ้า ดีขึ้นจากอันดับ 37 มาอยู่ที่ 13
ด้านการได้รับสินเชื่อดีขึ้นจาก อันดับ 82 มาอยู่ที่ 42
ด้านการคุ้มครองผู้ลงทุนเสียงข้างน้อย จาก อันดับ 27 มาอยู่ที่ 16
ด้านการชำระภาษี จากอันดับ 109 มาอยู่ที่ 67
ด้านการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง จากอันดับ 51 มาอยู่ที่ 34
ส่วนที่อันดับคงที่ คือด้านการจดทะเบียนทรัพย์สิน อยู่ที่อันดับ 68
ขณะที่อันดับลดลงคือ ด้านการขออนุนุญาตก่อสร้าง ลดลงจาก 42 ไปอยู่ 43
และด้านการแก้ไขปัญหาล้มละลายที่หล่นจาก 23 ไปอยู่อันดับที่ 26