อุปสรรค 5 ประการของการศึกษา ... 28/10/2560
https://ppantip.com/topic/37030066
Cr: Suthee Rattanamongkolgul
Narupol Chaiyot's post.
“อุปสรรค 5 ประการของการศึกษา” โดย ผศ.ดร.นฤพนธ์ ไชยยศ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
"... มุ่งเน้นการประเมินจากเอกสารแล้วหลอกตัวเองว่าผลการประเมินคือคุณภาพการศึกษาที่จริง"
สถานการณ์ “มหาวิทยาลัยไทย" กำลังเผชิญกับความท้าทายทั้งจากปริมาณการเกิดของประชากรที่ลดลง และเผชิญกับ Digital Disruption สู่โลกยุคดิจิทัลเต็มตัว ทุกสายอาชีพได้ปรับตัวมีพัฒนาการไปไกลกว่าสายวิชาการมาก ขณะที่ "สถาบันการศึกษาไทย” ยังคงอยู่ที่เดิม สร้างมาตรฐาน กลไก ดัชนีตัวชี้วัดอย่างไร้ทิศทาง และไม่สามารถบรรลุผลสัมฤทธิ์ได้เลย ทั้งจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม คุณธรรม จริยธรรม ทักษะในการใช้ชีวิต การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและวิชาชีพล้มเหลว รวมถึงไม่สามารถยกระดับสติปัญญาคนในชาติได้ เพราะมุ่งเน้นการประเมินจากเอกสารแล้วหลอกตัวเองว่าผลการประเมินคือคุณภาพการศึกษาที่จริง
ดังนั้นการอยู่รอดของมหาวิทยาลัยจำต้องพร้อมปรับตัวให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น แต่ยังมีอุปสรรค 5 ประการที่ไม่สามารถนำระบบการศึกษาไปสู่ Modern Education คือ
1. "EGO Centric“ นักวิชาการคิดว่าตัวเองเก่ง รู้มากกว่าวิชาชีพ ตัดสินทุกอย่างบนบรรทัดฐานที่ตัวเองเข้าใจและเชื่อมั่นว่าตัวเองถูกต้องเสมอ แทนที่จะยอมรับแนวคิด "Students-Center” ที่มุ่งเน้นผู้ให้เรียนเป็นศูนย์กลาง ด้วยการออกแบบการเรียนรู้ และปรับรูปแบบการสอนให้ทันไลฟ์สไตล์ผู้เรียนยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากพฤติกรรมของผู้เรียนแตกต่างกันและความคาดหวังแตกต่างไปจากเดิม ไม่ได้มาเพื่อ “เรียนหนังสือ” หากแต่เป็นการมา “ใช้ชีวิต” และ “วางแผนอนาคต”
2." Grading " เกิดจากการสอบเนื้อหาเป็นหลัก ทั้งที่องค์ความรู้หาได้ง่ายในโลกออนไลน์ และทุกวิชาแยกหมวดเนื้อหาที่ชัดเจนเกินไป แทนที่จะผสมผสานทุกอย่างให้เป็นเรื่องเดียวกัน เชื่อมทุกเนื้อหาให้เหมือนประสบการณ์ชีวิตจริง ทั้งทักษะ กระบวนการคิด สร้างสติปัญญาแบบองค์รวม โดยการตอบสนองความต้องการแบบ Personalized & Team Collaborated แบ่งตามพฤติกรรมผู้เรียน ไลฟ์สไตล์ ความชอบ สามารถจับกลุ่มที่มีแนวคิดทิศทางเดียวกันให้เรียนรู้ร่วมกัน จะทำให้การเรียนรู้ไปสู่เป้าหมายแม่นยำมากกว่าการสอนแบบหว่านแห ที่มีอาจารย์พูดหน้าห้องเรียนคนเดียว ใครรับได้มากกว่า 80% ได้ A ใครเข้าใจน้อยกว่า 50% ได้ F
3. "QA." ถูกสร้างให้เป็นมาตรฐานเดียว ใช้กลไกที่ล้าสมัย ดัชนีตัวชี้วัดแบบนักการศึกษาโดยจำกัดแนวทาง ปิดกั้นพัฒนาการด้านอื่น แทนที่จะสร้างความหลากหลายของแต่ละสถาบันให้เป็นอิสระมีความโดดเด่นและเป็นตัวตนมากขึ้น โดยการค้นหาแนวทางที่นำไปสู่นวัตกรรมของตนเอง สร้างพันธมิตร เปลี่ยนคู่แข่งทางการศึกษาที่ผลิตบัณฑิตเหมือนกันให้กลายเป็นส่งเสริมซึ่งกันและกัน เพราะท้ายที่สุดความต้องการบัณฑิตในยุคนี้คือ ความสามารถทักษะเฉพาะทาง ไม่ใช่รู้ทุกเรื่อง กลางๆ เหมือนกันทุกสถาบัน
4. "RED Ocean" ทุกสถาบันอยู่ในสถานการณ์การแข่งขันแย่งชิงนักศึกษา สร้างเป้ายอดนักศึกษาโดยการทำโปรโมชั่นลดแลกแจกแถม ทำการตลาดธุรกิจการศึกษาเฉกเช่นเดียวกับสินค้าอุปโภคบริโภค แทนที่จะปรับโครงสร้างทางการศึกษาให้มีความแข็งแรง แข่งขันได้ในภูมิภาค และระดับนานาชาติ ทั้งที่คนไทยมีความเชี่ยวชาญ ความพร้อมด้านบุคลากร สิ่งเดียวที่สถาบันควรจะทำมากที่สุดคือ มองหาจุดแข็งของตนค้นหา Blue Oasis ใน RED Ocean เน้นไปที่จะสร้างการศึกษาอย่างไรถึงจะตอบโจทย์ life style และอนาคตผู้เรียน
5. "Faculty" คือข้อจำกัดในการพัฒนา ที่แบ่งการทำงานของคนตามที่เรียนมาด้วยด้วยคำว่า วิชาชีพ แทนที่จะมองทิศทางการศึกษามุ่งไปสู่ “Multi-disciplines” ที่โลกได้ให้โอกาสคนเราเป็นได้มากกว่าแค่วิชาอาชีพ และรองรับสิ่งใหม่ที่ยังไม่เกิดขึ้น ด้วยยุค Digital Disruption ทักษะขั้นพื้นฐานมนุษย์จะถูกแทนที่ด้วยระบบเครื่องกล AI. ดังนั้นวิธีการทำงาน แนวการบริหารองค์กร รวมถึง ค่านิยม ทัศนคติ การใช้ชีวิตของคนเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง
เหตุผลทั้งหมด เชื่อว่าสถาบันการศึกษาจำเป็นต้องหันมาพัฒนาองค์กรโดย “Empower”ครั้งใหญ่ สร้างความเข้าใจให้บุคลากรและยอมรับการเปลี่ยนแปลงของโลก ช่วยกันค้นหาแนวทางสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่บัณฑิต และตอบสนองการพัฒนาประเทศในอนาคต
นฤพนธ์ ไชยยศ
อุปสรรค 5 ประการของการศึกษา ... 28/10/2560 สรายุทธ กันหลง
https://ppantip.com/topic/37030066
Cr: Suthee Rattanamongkolgul
Narupol Chaiyot's post.
“อุปสรรค 5 ประการของการศึกษา” โดย ผศ.ดร.นฤพนธ์ ไชยยศ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
"... มุ่งเน้นการประเมินจากเอกสารแล้วหลอกตัวเองว่าผลการประเมินคือคุณภาพการศึกษาที่จริง"
สถานการณ์ “มหาวิทยาลัยไทย" กำลังเผชิญกับความท้าทายทั้งจากปริมาณการเกิดของประชากรที่ลดลง และเผชิญกับ Digital Disruption สู่โลกยุคดิจิทัลเต็มตัว ทุกสายอาชีพได้ปรับตัวมีพัฒนาการไปไกลกว่าสายวิชาการมาก ขณะที่ "สถาบันการศึกษาไทย” ยังคงอยู่ที่เดิม สร้างมาตรฐาน กลไก ดัชนีตัวชี้วัดอย่างไร้ทิศทาง และไม่สามารถบรรลุผลสัมฤทธิ์ได้เลย ทั้งจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม คุณธรรม จริยธรรม ทักษะในการใช้ชีวิต การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและวิชาชีพล้มเหลว รวมถึงไม่สามารถยกระดับสติปัญญาคนในชาติได้ เพราะมุ่งเน้นการประเมินจากเอกสารแล้วหลอกตัวเองว่าผลการประเมินคือคุณภาพการศึกษาที่จริง
ดังนั้นการอยู่รอดของมหาวิทยาลัยจำต้องพร้อมปรับตัวให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น แต่ยังมีอุปสรรค 5 ประการที่ไม่สามารถนำระบบการศึกษาไปสู่ Modern Education คือ
1. "EGO Centric“ นักวิชาการคิดว่าตัวเองเก่ง รู้มากกว่าวิชาชีพ ตัดสินทุกอย่างบนบรรทัดฐานที่ตัวเองเข้าใจและเชื่อมั่นว่าตัวเองถูกต้องเสมอ แทนที่จะยอมรับแนวคิด "Students-Center” ที่มุ่งเน้นผู้ให้เรียนเป็นศูนย์กลาง ด้วยการออกแบบการเรียนรู้ และปรับรูปแบบการสอนให้ทันไลฟ์สไตล์ผู้เรียนยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากพฤติกรรมของผู้เรียนแตกต่างกันและความคาดหวังแตกต่างไปจากเดิม ไม่ได้มาเพื่อ “เรียนหนังสือ” หากแต่เป็นการมา “ใช้ชีวิต” และ “วางแผนอนาคต”
2." Grading " เกิดจากการสอบเนื้อหาเป็นหลัก ทั้งที่องค์ความรู้หาได้ง่ายในโลกออนไลน์ และทุกวิชาแยกหมวดเนื้อหาที่ชัดเจนเกินไป แทนที่จะผสมผสานทุกอย่างให้เป็นเรื่องเดียวกัน เชื่อมทุกเนื้อหาให้เหมือนประสบการณ์ชีวิตจริง ทั้งทักษะ กระบวนการคิด สร้างสติปัญญาแบบองค์รวม โดยการตอบสนองความต้องการแบบ Personalized & Team Collaborated แบ่งตามพฤติกรรมผู้เรียน ไลฟ์สไตล์ ความชอบ สามารถจับกลุ่มที่มีแนวคิดทิศทางเดียวกันให้เรียนรู้ร่วมกัน จะทำให้การเรียนรู้ไปสู่เป้าหมายแม่นยำมากกว่าการสอนแบบหว่านแห ที่มีอาจารย์พูดหน้าห้องเรียนคนเดียว ใครรับได้มากกว่า 80% ได้ A ใครเข้าใจน้อยกว่า 50% ได้ F
3. "QA." ถูกสร้างให้เป็นมาตรฐานเดียว ใช้กลไกที่ล้าสมัย ดัชนีตัวชี้วัดแบบนักการศึกษาโดยจำกัดแนวทาง ปิดกั้นพัฒนาการด้านอื่น แทนที่จะสร้างความหลากหลายของแต่ละสถาบันให้เป็นอิสระมีความโดดเด่นและเป็นตัวตนมากขึ้น โดยการค้นหาแนวทางที่นำไปสู่นวัตกรรมของตนเอง สร้างพันธมิตร เปลี่ยนคู่แข่งทางการศึกษาที่ผลิตบัณฑิตเหมือนกันให้กลายเป็นส่งเสริมซึ่งกันและกัน เพราะท้ายที่สุดความต้องการบัณฑิตในยุคนี้คือ ความสามารถทักษะเฉพาะทาง ไม่ใช่รู้ทุกเรื่อง กลางๆ เหมือนกันทุกสถาบัน
4. "RED Ocean" ทุกสถาบันอยู่ในสถานการณ์การแข่งขันแย่งชิงนักศึกษา สร้างเป้ายอดนักศึกษาโดยการทำโปรโมชั่นลดแลกแจกแถม ทำการตลาดธุรกิจการศึกษาเฉกเช่นเดียวกับสินค้าอุปโภคบริโภค แทนที่จะปรับโครงสร้างทางการศึกษาให้มีความแข็งแรง แข่งขันได้ในภูมิภาค และระดับนานาชาติ ทั้งที่คนไทยมีความเชี่ยวชาญ ความพร้อมด้านบุคลากร สิ่งเดียวที่สถาบันควรจะทำมากที่สุดคือ มองหาจุดแข็งของตนค้นหา Blue Oasis ใน RED Ocean เน้นไปที่จะสร้างการศึกษาอย่างไรถึงจะตอบโจทย์ life style และอนาคตผู้เรียน
5. "Faculty" คือข้อจำกัดในการพัฒนา ที่แบ่งการทำงานของคนตามที่เรียนมาด้วยด้วยคำว่า วิชาชีพ แทนที่จะมองทิศทางการศึกษามุ่งไปสู่ “Multi-disciplines” ที่โลกได้ให้โอกาสคนเราเป็นได้มากกว่าแค่วิชาอาชีพ และรองรับสิ่งใหม่ที่ยังไม่เกิดขึ้น ด้วยยุค Digital Disruption ทักษะขั้นพื้นฐานมนุษย์จะถูกแทนที่ด้วยระบบเครื่องกล AI. ดังนั้นวิธีการทำงาน แนวการบริหารองค์กร รวมถึง ค่านิยม ทัศนคติ การใช้ชีวิตของคนเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง
เหตุผลทั้งหมด เชื่อว่าสถาบันการศึกษาจำเป็นต้องหันมาพัฒนาองค์กรโดย “Empower”ครั้งใหญ่ สร้างความเข้าใจให้บุคลากรและยอมรับการเปลี่ยนแปลงของโลก ช่วยกันค้นหาแนวทางสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่บัณฑิต และตอบสนองการพัฒนาประเทศในอนาคต
นฤพนธ์ ไชยยศ