เลสเตอร์ บราวน์ Lester Brown ประธานสถาบัน World Watch
ได้เขียนบทความเรื่อง
ใครจะเลี้ยงชาวจีน ในปี 1994
ซึ่งมีการตีพิมพ์ซ้ำในหน้าแรกของ Washington Post
ในหัวข้อ
จีนจะทำให้ชาวโลกอดตายได้อย่างไร
มันกลายเป็นเปลวไฟทางการเมืองในกรุงปักกิ่ง
รัฐมนตรีช่วยกระทรวงเกษตร หวันเป่ารุ่ย Wan Baorui
ได้
ประกาศอย่างเป็นทางการว่าไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับบทวิเคราะห์นี้
โดยอ้างว่าในปี 2025 จีนจะเพิ่มกำลังการผลิตข้าวเป็นเกือบ 2 เท่า
และจะไม่มีปัญหาในการจัดหาอาหารเพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรที่เพิ่มขึ้น
หูอังกัง Hu Angang นักวิจัยของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน Academy of Sciences
ได้ชี้ให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของการผลิตธัญญพืช
นับตั้งแต่การก่อตั้งระบอบชาติจีนใหม่ ในปี 1949
ถึงแม้ว่า เขาเองจะยอมรับการคาดการณ์ว่า
ความต้องการข้าวของประชากรเพิ่มขึ้น
แนวโน้มการผลิตข้าวจะน้อยลง
แต่จีนมีศักยภาพมหาศาลในการขยายการเก็บเกี่ยวข้าว
และ Lester Brown ได้ประเมินค่าจีนต่ำเกินไป
ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ปี 1995
Lester Brown
ได้เข้าร่วมการประชุมการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในออสโล นอร์เวย์
แต่หลังจากที่ Lester Brown เดินทางไปถึงสตอกโฮล์มแล้ว
เซี่ยเซินหัว Xie Zhenhua จากสถานทูตจีนในนอร์เวย์
ได้พูดถึงเรื่องนี้ในห้องประชุม แม้ว่าจะไม่มีรายชื่ออยู่ในกำหนดการก็ตาม
เขาอ้างว่าการวิเคราะห์ของ Lester Brown ทำให้เกิดความเข้าใจผิด
" เราให้ความสำคัญกับผลผลิตทางการเกษตร
โครงการวางแผนครอบครัวของเราประสบความสำเร็จอย่างมาก
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ผ่านมา
จะเห็นว่าเราสอบผ่านโดยตลอด "
ในตอนท้ายยังได้ย้ำคำถามาว่า
ใครจะเลี้ยงดูชาวจีน
และแล้วเขาตอบอย่างเคร่งขรึมว่า
คนจีนจะเลี้ยงตนเอง
เช้าวันรุ่งขึ้น Xie Zhenhua ได้จัดการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการว่า
จีนไม่ต้องการพึ่งพาคนอื่นเพื่อเลี้ยงดูประชาชนของชาติตน
และเชื่อมั่นในตนเองว่าจะแก้ไขปัญหาของตนเอง
อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์และการคาดการณ์ของ Lester Brown
ก็ไม่ผิดไปจากความคาดหมายแต่อย่างใด
เพราะเขาสังเกตเห็นรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
ในประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน
ทั้งสามประเทศนี้
ต่างตอบสนองข้าวภายในประเทศได้อย่างเพียงพอ แม้ว่าจะกินข้าวเป็นอาหารหลัก
แต่ตอนนี้กลับนำเข้าข้าวสาลีและข้าวโพดทั้งหมด
มาใช้ในอุตสาหกรรมปศุสัตว์และสัตว์ปีกที่เติบโตอย่างรวดเร็ว
ซึ่งสัตว์เหล่านี้ต่างกินข้าวได้ถึง 70% จากอุปทานที่นำเข้ามา
Lester Brown ได้เรียกว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้นี้ว่า
การพึ่งพาธัญญพืชที่เกือบจะเป็นการพึ่งพาตนเอง
กลายเป็นการพึ่งพาการนำเข้าธัญญพืชอย่างแรงจน
เป็น
อาการติดเชื้อโรคญี่ปุ่น
บทความของ Lester Brown ช่วยทำให้ผู้นำจีน
ให้ความสำคัญกับการเกษตรในทศวรรษถัดมา
ซึ่งเคยเป็นเรื่องที่ละเลยไปมาก ในช่วงที่ผลักดันให้เกิดเป็นประเทศอุตสาหกรรม
ในปี 2005 สถาบันวิทยาศาสตร์จีน Chinese Academy of Sciences
ได้แต่งตั้ง Lester Brown ให้ตำแหน่งศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย
และในปี 2006 เมื่อ Lester Brown ได้พบกับนายกรัฐมนตรีจีน เหวินเจียเป่า
สิ่งแรกที่นายกรัฐมนตรีจีนกล่าวก็คือ
บทความของคุณเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับเรา
ในปีเดียวกันนี้ หอสมุดแห่งชาติจีนซึ่งเทียบเท่าหอสมุดแห่งชาติสหรัฐ ฯ
ได้มอบเอกสารฉบับภาษาจีนที่แปลจาก Brown’s book Plan B the Wenjin Book Award ของ Lester Brown
ในปี 2008 สถาบันวิจัยทรัพยากรน้ำและพลังน้ำของประเทศจีน
China Institute of Water Resources and Hydropower Research
ได้มอบตำแหน่งศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์
Lester Brown
เพื่อรับรู้ถึงผลงานของท่านเกี่ยวกับประเด็นปัญหาน้ำในโลกรวมถึงประเทศจีน
ในปี 2013 จีนกลายเป็นผู้นำธัญญพืชรายใหญ่
มีการนำเข้าถั่วเหลืองถึงปริมาณ 60% ของถั่วเหลืองในตลาดการค้าโลก
การนำเข้าของธัญพืชและถั่วเหลืองต่างทะยานขึ้นและดูเหมือนว่าจะไม่มีจุดจบ
เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2014 Lester Brown ได้เขียนบทความอีกครั้งว่า
โลกสามารถส่งมอบอาหารให้จีนได้หรือไม่
ในบทความระบุว่าเพียงชั่วข้ามคืน
ประเทศจีนได้กลายเป็นประเทศผู้นำเข้าธัญพืชชั้นนำของโลก
ซึ่งทางจีนได้ตั้งเป้าหมายว่าจะซื้อธัญญพืชถึง 22 ล้านตันในปี 2013-14
ตามรายงานประมาณการของกระทรวงเกษตรสหรัฐการค้าฉบับล่าสุด
แต่ในช่วงปี 2006 เพียงเมื่อ 8 ปีที่แล้ว
จีนมีส่วนเกินของธัญพืชและต้องส่งออกถึง 10 ล้านตัน
ทำให้โลกกำลังขยับจากยุคแห่งความอุดมสมบูรณ์ไปสู่ยุคที่ขาดแคลน
ประเทศจีนเริ่มพึ่งพาโลกภายนอกมากขึ้นเพราะต้องซื้อข้าวจำนวนมหาศาล
ทำให้เราทุกคนต้องตระหนักว่า เรากำลังมีปัญหาในด้านอาหาร
Chen Risheng กำลังดูความงอกงามของข้าวทนเค็มในทุ่งนา
การค้นพบข้าวทนเค็ม
ในเดือนพฤศจิกายนปี 1986
เฉินลิเซิง Chen Risheng ซึ่ง
สำเร็จการศึกษาจาก
วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ซานเจียง Zhanjiang Agriculture College
เป็นผู้ที่
มีความเชี่ยวชาญด้านผลไม้ ได้ไปศึกษาป่าชายเลนที่ชายหาด Tiger Head Slope
กับศาตราจารย์ หลูเหวินลี่ Luo Wenlie
ที่นั่นทั้งสองคนได้พบกับพืชที่มีก้านเดียวสูง 1.6 เมตร
มีลำตันไม่แตกต่างกับพืชจำนวนพวกกก
แต่มีรวงข้าวอยู่บนคอข้าว รวงข้าวมีสีเขียวจัด
ศาตราจารย์ หลูเหวินลี่ ได้ลองดึงขึ้นมาทั้งต้น เพื่อดูรากและลำต้น
และได้ตั้งข้อสังเกตว่า นี่เป็นข้าวป่าที่ปลูกขึ้นในดินเค็ม/เปรี้ยวจัด
มันเป็นพืชที่แปลกประหลาดมากที่สุด ดูเหมือนจะออกดอก ออกลูก
และรวงข้าวทั้งหมดนี้อยู่ด้านบน เมล็ดข้าวมีหนวดรวงข้าวยาว
ศาตราจารย์ หลูเหวินลี่ จึงได้บอกกับ เฉินลิเซิง ว่า
"
มันอาจจะเป็นข้าวสายพันธุ์ใหม่ที่มีค่าอย่างยิ่ง
และควรได้รับการเก็บรักษาไว้เพื่อขยายพันธุ์ใหม่ต่อไป "
เฉินได้เก็บข้าวของข้าวป่าสายพันธุ์นั้นจำนวน 522 เมล็ด
และเริ่มโครงการเพาะขยายพันธุ์ข้าวในปี 1987
ท่านได้ใช้แปลงที่ดินริมบึงสองผืนเล็ก ๆ โดยมีตาข่ายเป็นรั้วกั้นระหว่างผืน
แต่มีภัยพิบัติที่เกิดขึ้นคือ ต้นกล้าข้าวในแปลงอื่น ๆ ทั้งหมดถูกกินโดยปลาทะเล
เพราะเมือน้ำทะเลขึ้นมา ปลาทะเลจะว่ายน้ำเข้ามาได้
ในขณะที่ต้นกล้าข้าวที่ปิดกั้นไว้โดยตาข่ายดักปลารอดตายได้อย่างเหลือเชื่อ
ท่านได้คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าว 51 ต้นจาก 400 ต้น
และท่านยังคงดำเนินการต่อไปเรื่อย ๆ ทุก ๆ ปีจนถึงปี 1991
ท่านจึงได้ตั้งชื่อสายพันธุ์ข้าวป่านี้ว่า Sea-rice 86
และข้าวป่าจำนวน 3.8 กิโลกรัมได้สำรองไว้
เป็นสายพันธุ์ข้าวรุ่นพ่ออีก 10 สายพันธุ์
ประเทศจีนมีพื้นที่ราบเค็มด่างประมาณ 250 ล้านไร่
ถ้าปลูกข้าวในดินเค็มได้ จะสามารถผลิตธัญญพืชได้ราว 225 พันล้านกิโลกรัมต่อปี
โดยทั้งนี้ผลผลิตอยู่ที่ราว 150 กิโลกรัม/หมู่ 1 หมู่เท่ากับ 66.6 ตารางวา (900 กิโลกรัม/ไร่)
คิดเป็นประมาณการข้าวถึง 37% ของผลผลิตข้าวที่มีการผลิตธัญพืชในจีนในปี 2013
โครงการปรับปรุงสายพันธุ์ข้าว
จากการค้นพบพันธุ์ข้าวป่า
ที่ระบุว่าเป็นแหล่งของเมล็ดข้าวพันธุ์ที่พิเศษยิ่ง
โดยแปลงหนึ่งจะปลูกข้าวถึงง 2,000 ต้น/หมู่
ท่าน
เฉินต้องทำงานเป็นเวลาถึง 28 ปี
ด้วยการคัดเลือกสายพันธุ์ข้าว 51 ต้นพันธุ์จาก 400 ต้น
ในปี 1987
หลังจากนั้นเลือกสายพันธุ์ข้าว 80 ต้นให้เหลือเป็น 15 สายพันธุ์จาก 51 สายพันธุ์ในปี 1988
และทำต่อเนื่องจนถึงปี 1991 ข้าวสายพันธุ์ Sea-rice 86
จึงสามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่า
เป็นข้าวทนเค็มชนิดใหม่
และมีเมล็ดข้าวจำนวน 3.8 กิโลกรัมจาก 10 สายพันธุ์
ได้กลายมาเป็นเมล็ดพันธุ์ต้นสายพันธุ์ข้าวชนิดนี้
ตั้งแต่ปี 1992 - 2010 เมล็ดพันธุ์ข้าวผ่านการการคัดเลือกและแพร่พันธุ์เพิ่มเติม
ในระหว่างช่วงปี 2012-2014 ข้าวทนเค็ม Sea-rice 86
ได้ทำการทดลองปลูก
ใน 3 ภูมิภาคคือ ไหหลำ เจียงซู และเขตภาคอีสาน
ในปี 2013 ท่านเฉินได้ขอเช่าพื้นที่ดินเค็มน้ำเค็มด่างประมาณ 200 หมู่
ในเมืองเหลียนเจียง Lianjiang ทางตอนเหนือของซานเจียง Zhanjiang
เพื่อปลูกข้าวทนเค็มสายพันธุ์ Sea-rice 86
พวกมันเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดีหลังจากผ่านไปได้ 5 วัน
กลายเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ของชาวนาในท้องถิ่นอย่างยิ่ง
ในปี 2014 ท่านเฉินได้ปลูกข้าวทนเค็มไว้ในพื้นที่มากกว่า 2,000 หมู่ (333.3 ไร่)
ในปี 2012 ท่านเฉินได้ส่งเมล็ดข้าวทนเค็มไปยังสถาบันวิจัยสารอาหารแห่งปักกิ่ง
Beijing Nutrient Source Research Institute
เพื่อทำการวิเคราะห์สารอาหารข้าวทนเค็ม
ข้อมูลที่ได้รับแสดงว่า
ข้าวทนเค็มนี้มีสารอาหารสูงกว่าข้าวธรรมดาถึง 64%
นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยเส้นใยอาหารและธาตุต่าง ๆ
ในเดือนมีนาคมปี 2014 บริษัท เทคโนโลยีชีวภาพข้าวทนเค็มนาชาติ จำกัด
International Sea-rice Biotechnology Company Ltd จึง
ได้ก่อตั้งขึ้นมา
โดย เฉินลี่เซิง Chen Risheng เป็นรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
และมีบุคลากรทางการวิจัย 80 คนในกรุงปักกิ่ง
ในเดือนเมษายนปี 2014 กระทรวงเกษตร
ได้ยอมรับว่า
สายพันธุ์ข้าวพันธุ์ Sea- rice 86 เป็นสายพันธ์ข้าวชนิดใหม่
และเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2014 ได้มีการประกาศคุ้มครองสายพันธุ์ข้าวชนิดใหม่
ใน
Agricultural New Plant Species Protection Bulletin
ข้าวทนเค็ม Sea-rice 86 จึงได้เข้าร่วมในโครงการทดลองเกษตรผสมผสานของกระทรวงเกษตร
เพื่อยืนยันสายพันธุ์ใหม่ของข้าวทนเค็ม Sea- rice 86
พื้นที่ทดลองอยู่ในเขตหลิงจุ๊ย Lingshui มณฑลไหหลำ
ซานเจึยง Zhanjiang มณฑลกวางตุ้ง
ตงอิ๋ง Dongying มณฑลซานตง
และป้านจิน Panjin มณฑลเหลียวหนิง Liaoning
การทดลองครั้งนี้มีพื้นที่ครอบคลุมรวมทั้งดินเค็มด่างและเขตใกล้ชายฝั่งทะเล
เฉินลี่เซิง มีอายุ 52 ปีแล้วและต้องใช้เวลาถึง 28 ปี
ในการเพาะพันธุ์ข้าวป่าและปลูกข้าวให้ได้มากกว่า 2,000 หมู่
ในช่วง 28 ปีที่ผ่านมา ท่านทำงานคนเดียวตามลำพัง
โดยไม่มีเงินทุนสนับสนุนแต่อย่างใด
ท่านต้องเดินทางไปยังกุ้ยหลิน Guilin และหยุนฟู่ Yunfu
เพื่อหาเงินจากกาารปลูกต้นไม้/ผลไม้และบ่อเลี้ยงปลา
ทั้งยังรับจ้างก่อสร้างและทำงานในทางหลวง
เพื่อระดมเงินทุนมาเพื่อทำวิจัยข้าวทนเค็ม Sea-rice 86
28 ปีของ Chen Risheng กว่าจะได้สายพันธุ์ข้าวทนเค็มพันธุ์ใหม่ของจีน
ได้เขียนบทความเรื่อง ใครจะเลี้ยงชาวจีน ในปี 1994
ซึ่งมีการตีพิมพ์ซ้ำในหน้าแรกของ Washington Post ในหัวข้อ
จีนจะทำให้ชาวโลกอดตายได้อย่างไร
มันกลายเป็นเปลวไฟทางการเมืองในกรุงปักกิ่ง
รัฐมนตรีช่วยกระทรวงเกษตร หวันเป่ารุ่ย Wan Baorui
ได้ ประกาศอย่างเป็นทางการว่าไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับบทวิเคราะห์นี้
โดยอ้างว่าในปี 2025 จีนจะเพิ่มกำลังการผลิตข้าวเป็นเกือบ 2 เท่า
และจะไม่มีปัญหาในการจัดหาอาหารเพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรที่เพิ่มขึ้น
หูอังกัง Hu Angang นักวิจัยของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน Academy of Sciences
ได้ชี้ให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของการผลิตธัญญพืช
นับตั้งแต่การก่อตั้งระบอบชาติจีนใหม่ ในปี 1949
ถึงแม้ว่า เขาเองจะยอมรับการคาดการณ์ว่า ความต้องการข้าวของประชากรเพิ่มขึ้น
แนวโน้มการผลิตข้าวจะน้อยลง แต่จีนมีศักยภาพมหาศาลในการขยายการเก็บเกี่ยวข้าว
และ Lester Brown ได้ประเมินค่าจีนต่ำเกินไป
ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ปี 1995 Lester Brown
ได้เข้าร่วมการประชุมการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในออสโล นอร์เวย์
แต่หลังจากที่ Lester Brown เดินทางไปถึงสตอกโฮล์มแล้ว
เซี่ยเซินหัว Xie Zhenhua จากสถานทูตจีนในนอร์เวย์
ได้พูดถึงเรื่องนี้ในห้องประชุม แม้ว่าจะไม่มีรายชื่ออยู่ในกำหนดการก็ตาม
เขาอ้างว่าการวิเคราะห์ของ Lester Brown ทำให้เกิดความเข้าใจผิด
" เราให้ความสำคัญกับผลผลิตทางการเกษตร
โครงการวางแผนครอบครัวของเราประสบความสำเร็จอย่างมาก
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ผ่านมา
จะเห็นว่าเราสอบผ่านโดยตลอด "
ในตอนท้ายยังได้ย้ำคำถามาว่า ใครจะเลี้ยงดูชาวจีน
และแล้วเขาตอบอย่างเคร่งขรึมว่า คนจีนจะเลี้ยงตนเอง
เช้าวันรุ่งขึ้น Xie Zhenhua ได้จัดการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการว่า
จีนไม่ต้องการพึ่งพาคนอื่นเพื่อเลี้ยงดูประชาชนของชาติตน
และเชื่อมั่นในตนเองว่าจะแก้ไขปัญหาของตนเอง
อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์และการคาดการณ์ของ Lester Brown
ก็ไม่ผิดไปจากความคาดหมายแต่อย่างใด
เพราะเขาสังเกตเห็นรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
ในประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน ทั้งสามประเทศนี้
ต่างตอบสนองข้าวภายในประเทศได้อย่างเพียงพอ แม้ว่าจะกินข้าวเป็นอาหารหลัก
แต่ตอนนี้กลับนำเข้าข้าวสาลีและข้าวโพดทั้งหมด
มาใช้ในอุตสาหกรรมปศุสัตว์และสัตว์ปีกที่เติบโตอย่างรวดเร็ว
ซึ่งสัตว์เหล่านี้ต่างกินข้าวได้ถึง 70% จากอุปทานที่นำเข้ามา
Lester Brown ได้เรียกว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้นี้ว่า
การพึ่งพาธัญญพืชที่เกือบจะเป็นการพึ่งพาตนเอง
กลายเป็นการพึ่งพาการนำเข้าธัญญพืชอย่างแรงจน
เป็น อาการติดเชื้อโรคญี่ปุ่น
บทความของ Lester Brown ช่วยทำให้ผู้นำจีน
ให้ความสำคัญกับการเกษตรในทศวรรษถัดมา
ซึ่งเคยเป็นเรื่องที่ละเลยไปมาก ในช่วงที่ผลักดันให้เกิดเป็นประเทศอุตสาหกรรม
ในปี 2005 สถาบันวิทยาศาสตร์จีน Chinese Academy of Sciences
ได้แต่งตั้ง Lester Brown ให้ตำแหน่งศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย
และในปี 2006 เมื่อ Lester Brown ได้พบกับนายกรัฐมนตรีจีน เหวินเจียเป่า
สิ่งแรกที่นายกรัฐมนตรีจีนกล่าวก็คือ บทความของคุณเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับเรา
ในปีเดียวกันนี้ หอสมุดแห่งชาติจีนซึ่งเทียบเท่าหอสมุดแห่งชาติสหรัฐ ฯ
ได้มอบเอกสารฉบับภาษาจีนที่แปลจาก Brown’s book Plan B the Wenjin Book Award ของ Lester Brown
ในปี 2008 สถาบันวิจัยทรัพยากรน้ำและพลังน้ำของประเทศจีน
China Institute of Water Resources and Hydropower Research
ได้มอบตำแหน่งศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ Lester Brown
เพื่อรับรู้ถึงผลงานของท่านเกี่ยวกับประเด็นปัญหาน้ำในโลกรวมถึงประเทศจีน
ในปี 2013 จีนกลายเป็นผู้นำธัญญพืชรายใหญ่
มีการนำเข้าถั่วเหลืองถึงปริมาณ 60% ของถั่วเหลืองในตลาดการค้าโลก
การนำเข้าของธัญพืชและถั่วเหลืองต่างทะยานขึ้นและดูเหมือนว่าจะไม่มีจุดจบ
เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2014 Lester Brown ได้เขียนบทความอีกครั้งว่า
โลกสามารถส่งมอบอาหารให้จีนได้หรือไม่
ในบทความระบุว่าเพียงชั่วข้ามคืน
ประเทศจีนได้กลายเป็นประเทศผู้นำเข้าธัญพืชชั้นนำของโลก
ซึ่งทางจีนได้ตั้งเป้าหมายว่าจะซื้อธัญญพืชถึง 22 ล้านตันในปี 2013-14
ตามรายงานประมาณการของกระทรวงเกษตรสหรัฐการค้าฉบับล่าสุด
แต่ในช่วงปี 2006 เพียงเมื่อ 8 ปีที่แล้ว
จีนมีส่วนเกินของธัญพืชและต้องส่งออกถึง 10 ล้านตัน
ทำให้โลกกำลังขยับจากยุคแห่งความอุดมสมบูรณ์ไปสู่ยุคที่ขาดแคลน
ประเทศจีนเริ่มพึ่งพาโลกภายนอกมากขึ้นเพราะต้องซื้อข้าวจำนวนมหาศาล
ทำให้เราทุกคนต้องตระหนักว่า เรากำลังมีปัญหาในด้านอาหาร
Chen Risheng กำลังดูความงอกงามของข้าวทนเค็มในทุ่งนา
การค้นพบข้าวทนเค็ม
ในเดือนพฤศจิกายนปี 1986
เฉินลิเซิง Chen Risheng ซึ่ง สำเร็จการศึกษาจาก
วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ซานเจียง Zhanjiang Agriculture College
เป็นผู้ที่ มีความเชี่ยวชาญด้านผลไม้ ได้ไปศึกษาป่าชายเลนที่ชายหาด Tiger Head Slope
กับศาตราจารย์ หลูเหวินลี่ Luo Wenlie ที่นั่นทั้งสองคนได้พบกับพืชที่มีก้านเดียวสูง 1.6 เมตร
มีลำตันไม่แตกต่างกับพืชจำนวนพวกกก แต่มีรวงข้าวอยู่บนคอข้าว รวงข้าวมีสีเขียวจัด
ศาตราจารย์ หลูเหวินลี่ ได้ลองดึงขึ้นมาทั้งต้น เพื่อดูรากและลำต้น
และได้ตั้งข้อสังเกตว่า นี่เป็นข้าวป่าที่ปลูกขึ้นในดินเค็ม/เปรี้ยวจัด
มันเป็นพืชที่แปลกประหลาดมากที่สุด ดูเหมือนจะออกดอก ออกลูก
และรวงข้าวทั้งหมดนี้อยู่ด้านบน เมล็ดข้าวมีหนวดรวงข้าวยาว
ศาตราจารย์ หลูเหวินลี่ จึงได้บอกกับ เฉินลิเซิง ว่า
" มันอาจจะเป็นข้าวสายพันธุ์ใหม่ที่มีค่าอย่างยิ่ง
และควรได้รับการเก็บรักษาไว้เพื่อขยายพันธุ์ใหม่ต่อไป "
เฉินได้เก็บข้าวของข้าวป่าสายพันธุ์นั้นจำนวน 522 เมล็ด
และเริ่มโครงการเพาะขยายพันธุ์ข้าวในปี 1987
ท่านได้ใช้แปลงที่ดินริมบึงสองผืนเล็ก ๆ โดยมีตาข่ายเป็นรั้วกั้นระหว่างผืน
แต่มีภัยพิบัติที่เกิดขึ้นคือ ต้นกล้าข้าวในแปลงอื่น ๆ ทั้งหมดถูกกินโดยปลาทะเล
เพราะเมือน้ำทะเลขึ้นมา ปลาทะเลจะว่ายน้ำเข้ามาได้
ในขณะที่ต้นกล้าข้าวที่ปิดกั้นไว้โดยตาข่ายดักปลารอดตายได้อย่างเหลือเชื่อ
ท่านได้คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าว 51 ต้นจาก 400 ต้น
และท่านยังคงดำเนินการต่อไปเรื่อย ๆ ทุก ๆ ปีจนถึงปี 1991
ท่านจึงได้ตั้งชื่อสายพันธุ์ข้าวป่านี้ว่า Sea-rice 86
และข้าวป่าจำนวน 3.8 กิโลกรัมได้สำรองไว้
เป็นสายพันธุ์ข้าวรุ่นพ่ออีก 10 สายพันธุ์
ประเทศจีนมีพื้นที่ราบเค็มด่างประมาณ 250 ล้านไร่
ถ้าปลูกข้าวในดินเค็มได้ จะสามารถผลิตธัญญพืชได้ราว 225 พันล้านกิโลกรัมต่อปี
โดยทั้งนี้ผลผลิตอยู่ที่ราว 150 กิโลกรัม/หมู่ 1 หมู่เท่ากับ 66.6 ตารางวา (900 กิโลกรัม/ไร่)
คิดเป็นประมาณการข้าวถึง 37% ของผลผลิตข้าวที่มีการผลิตธัญพืชในจีนในปี 2013
โครงการปรับปรุงสายพันธุ์ข้าว
จากการค้นพบพันธุ์ข้าวป่า
ที่ระบุว่าเป็นแหล่งของเมล็ดข้าวพันธุ์ที่พิเศษยิ่ง
โดยแปลงหนึ่งจะปลูกข้าวถึงง 2,000 ต้น/หมู่
ท่าน เฉินต้องทำงานเป็นเวลาถึง 28 ปี
ด้วยการคัดเลือกสายพันธุ์ข้าว 51 ต้นพันธุ์จาก 400 ต้น ในปี 1987
หลังจากนั้นเลือกสายพันธุ์ข้าว 80 ต้นให้เหลือเป็น 15 สายพันธุ์จาก 51 สายพันธุ์ในปี 1988
และทำต่อเนื่องจนถึงปี 1991 ข้าวสายพันธุ์ Sea-rice 86
จึงสามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่า เป็นข้าวทนเค็มชนิดใหม่
และมีเมล็ดข้าวจำนวน 3.8 กิโลกรัมจาก 10 สายพันธุ์
ได้กลายมาเป็นเมล็ดพันธุ์ต้นสายพันธุ์ข้าวชนิดนี้
ตั้งแต่ปี 1992 - 2010 เมล็ดพันธุ์ข้าวผ่านการการคัดเลือกและแพร่พันธุ์เพิ่มเติม
ในระหว่างช่วงปี 2012-2014 ข้าวทนเค็ม Sea-rice 86
ได้ทำการทดลองปลูก ใน 3 ภูมิภาคคือ ไหหลำ เจียงซู และเขตภาคอีสาน
ในปี 2013 ท่านเฉินได้ขอเช่าพื้นที่ดินเค็มน้ำเค็มด่างประมาณ 200 หมู่
ในเมืองเหลียนเจียง Lianjiang ทางตอนเหนือของซานเจียง Zhanjiang
เพื่อปลูกข้าวทนเค็มสายพันธุ์ Sea-rice 86
พวกมันเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดีหลังจากผ่านไปได้ 5 วัน
กลายเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ของชาวนาในท้องถิ่นอย่างยิ่ง
ในปี 2014 ท่านเฉินได้ปลูกข้าวทนเค็มไว้ในพื้นที่มากกว่า 2,000 หมู่ (333.3 ไร่)
ในปี 2012 ท่านเฉินได้ส่งเมล็ดข้าวทนเค็มไปยังสถาบันวิจัยสารอาหารแห่งปักกิ่ง
Beijing Nutrient Source Research Institute เพื่อทำการวิเคราะห์สารอาหารข้าวทนเค็ม
ข้อมูลที่ได้รับแสดงว่า ข้าวทนเค็มนี้มีสารอาหารสูงกว่าข้าวธรรมดาถึง 64%
นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยเส้นใยอาหารและธาตุต่าง ๆ
ในเดือนมีนาคมปี 2014 บริษัท เทคโนโลยีชีวภาพข้าวทนเค็มนาชาติ จำกัด
International Sea-rice Biotechnology Company Ltd จึง ได้ก่อตั้งขึ้นมา
โดย เฉินลี่เซิง Chen Risheng เป็นรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
และมีบุคลากรทางการวิจัย 80 คนในกรุงปักกิ่ง
ในเดือนเมษายนปี 2014 กระทรวงเกษตร ได้ยอมรับว่า
สายพันธุ์ข้าวพันธุ์ Sea- rice 86 เป็นสายพันธ์ข้าวชนิดใหม่
และเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2014 ได้มีการประกาศคุ้มครองสายพันธุ์ข้าวชนิดใหม่ ใน
Agricultural New Plant Species Protection Bulletin
ข้าวทนเค็ม Sea-rice 86 จึงได้เข้าร่วมในโครงการทดลองเกษตรผสมผสานของกระทรวงเกษตร
เพื่อยืนยันสายพันธุ์ใหม่ของข้าวทนเค็ม Sea- rice 86
พื้นที่ทดลองอยู่ในเขตหลิงจุ๊ย Lingshui มณฑลไหหลำ ซานเจึยง Zhanjiang มณฑลกวางตุ้ง
ตงอิ๋ง Dongying มณฑลซานตง และป้านจิน Panjin มณฑลเหลียวหนิง Liaoning
การทดลองครั้งนี้มีพื้นที่ครอบคลุมรวมทั้งดินเค็มด่างและเขตใกล้ชายฝั่งทะเล
เฉินลี่เซิง มีอายุ 52 ปีแล้วและต้องใช้เวลาถึง 28 ปี
ในการเพาะพันธุ์ข้าวป่าและปลูกข้าวให้ได้มากกว่า 2,000 หมู่
ในช่วง 28 ปีที่ผ่านมา ท่านทำงานคนเดียวตามลำพัง
โดยไม่มีเงินทุนสนับสนุนแต่อย่างใด
ท่านต้องเดินทางไปยังกุ้ยหลิน Guilin และหยุนฟู่ Yunfu
เพื่อหาเงินจากกาารปลูกต้นไม้/ผลไม้และบ่อเลี้ยงปลา
ทั้งยังรับจ้างก่อสร้างและทำงานในทางหลวง
เพื่อระดมเงินทุนมาเพื่อทำวิจัยข้าวทนเค็ม Sea-rice 86