ต้องขออภัยที่ตั้งกระทู้แต่เรื่องน้ำท่วมในช่วงนี้ เพราะจริง ๆ แล้ว ต้องการจะถวายอาลัย ฯ ในวันสองวันนี้
แต่คิดว่า สมัยปี 2554 พระองค์แม้จะทรงพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช แต่ก็ยังทรงเป็นห่วงและโปรดเกล้า ฯ ให้รัฐบาลยุคนั้น เข้าถวาย ฯ รายงานสภาวะอุทกภัย เพื่อน้อมนำแนวทางตามพระราชดำริแก้ไขและป้องกันตามที่พวกเราได้รับรู้มา
ผมเองต้องออกตัวว่า ไม่ต้องการจะโทษหน่วยงานไหน ณ ตอนนี้นะครับ แต่จะขออนุญาต นำเสนอข้อมูลบางส่วน เท่าที่รับรู้มา ถือว่าเป็นกระทู้รายงานสภาวะน้ำแบบ update หน่อยก็แล้วกัน
จากกระทู้ก่อนหน้า (
https://ppantip.com/topic/37012998) ที่ทางกรมชลประทานแจ้งว่าจะปล่อยน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา 2700 ลบ.ม.ต่อวินาที ซึ่งในกระทู้นั้นผมได้คำนวณคร่าว ๆ ว่า จะมีน้ำจำนวน ประมาณ 1,600 ล้าน ลบ.ม. ไหลนับแต่วันปล่อย (คือวันที่ 23 ตุลาคม) ลงในเขตใต้เขื่อน ซึ่งจำนวนพื้นที่ที่เขากำหนดว่า สามารถรับน้ำได้นั้น มีประมาณ 1,900 ล้าน ลบ.ม.
วันนี้ผมได้นั่งดูระดับน้ำรายชั่วโมง ตั้งแต่หลาย ๆ จังหวัด ซึ่งในกระทู้นี้ ผมจะเน้นเรื่องน้ำที่จะรวมเข้าที่เจ้าพระยาเป็นพิเศษนะครับ
ข้อมูลที่ท่านต้องทราบก่อน เพื่อประกอบความเข้าใจกระทู้ก็คือ น้ำเจ้าพระยา ตรงเขื่อนเจ้าพระยา ที่อำเภอสรรพยา นั้น
1). ตลิ่งสูง 16.34 เมตร
2). รับปริมาตรน้ำได้ 2,840 ลบ.ม./วินาที
3). ระดับน้ำเหนือเขื่อน ณ เวลา สามทุ่ม ของวันที่ 24 ต.ค. คือที่เขียนกระทู้นี้ คือ 17.48 เมตร เพิ่มขึ้นจากตอนสองทุ่ม 1 ซม. (คือ 17.47 เมตร) อันนี้คือน้ำเข้าเขื่อน
4). ปริมาณน้ำที่ไหลเข้า...ไม่มีข้อมูลชัดเจน ทราบแต่ว่าปริมาณน้ำจากอำเภอเมืองนครสวรรค์ ที่ค่ายจิระประวัติเริ่มลดลง
5). ระดับน้ำที่ชลประทานปล่อย คือ 2,700 ลบ.ม./วินาที (จริง ๆ ปล่อยที่ 2,697 ลบ.ม./ วินาที)
6). ระดับน้ำท้ายเขื่อน ตอนสามทุ่ม ตอนนี้คือ 16.03 เมตร
เมื่อนำมาพิจารณา จะเห็นว่า เหนือเขื่อน - ท้ายเขื่อน = 17.48 - 16.03 = 1.45 เมตร...นี่คือระดับน้ำที่อยู่เหนือเขื่อนรอปล่อย ซึ่งก็แปลว่า แถว ๆ นั้น ก็คงจะมีน้ำล้นตลิ่ง เพราะตลิ่งสูง 16.34 ซึ่งหักออกจาก 17.48 - 16.34 = 1.14 เมตร นี่คือระดับน้ำล้นตลิ่ง ...ก็คือน้ำท่วมนั่นแหละ ก็ขนาดประมาณโคนขา
ทีนี้เรารู้แล้วว่า น้ำปล่อยมาขนาดไหน เรามาดูว่า ระดับน้ำที่ใกล้กรุงเทพ ฯ หน่อยก็คือ บ้านป้อม อยุธยา จากข้อมูลจะเห็นว่า ตอนสามทุ่มนี่ ระดับน้ำเพิ่มขึ้นครับ
ตลิ่งที่อยุธยาสูงแค่ 4.58 เมตร ในขณะที่ระดับน้ำอยู่ที่ 5.27 (ซึ่งเพิ่มขึ้นจากตอนเช้าประมาณ 3-4 ซม.) ส่วนปริมาตรน้ำคือ 1386 cbm/sec ซึ่งก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน
เอาข้อมูลเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ เพราะท่านที่อยู่ใต้เขื่อนเจ้าพระยาลงมา หรือ ท่านที่บ้านเรือนใกล้ริมน้ำ ก็ขอให้เตรียมตัวไว้ด้วย ที่ผมเกรง ก็คือ ประตูระบายน้ำต่าง ๆ กลัวจะพังเอา เพราะไม่มีการเปิดปิดที่ชัดเจน ว่า จะเปิดเมื่อไหร่ หรือ ปิดเมื่อไหร่ และแข็งแรงแค่ไหน เพราะถ้าอั้นไว้นาน ๆ เดี๋ยวมันจะรับไม่ไหวกัน
อ้างอิงข้อมูล
http://hydro-5.com/index_.php?id=6121
***รายงานสภาวะน้ำในเขตลุ่มเจ้าพระยา***
แต่คิดว่า สมัยปี 2554 พระองค์แม้จะทรงพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช แต่ก็ยังทรงเป็นห่วงและโปรดเกล้า ฯ ให้รัฐบาลยุคนั้น เข้าถวาย ฯ รายงานสภาวะอุทกภัย เพื่อน้อมนำแนวทางตามพระราชดำริแก้ไขและป้องกันตามที่พวกเราได้รับรู้มา
ผมเองต้องออกตัวว่า ไม่ต้องการจะโทษหน่วยงานไหน ณ ตอนนี้นะครับ แต่จะขออนุญาต นำเสนอข้อมูลบางส่วน เท่าที่รับรู้มา ถือว่าเป็นกระทู้รายงานสภาวะน้ำแบบ update หน่อยก็แล้วกัน
จากกระทู้ก่อนหน้า (https://ppantip.com/topic/37012998) ที่ทางกรมชลประทานแจ้งว่าจะปล่อยน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา 2700 ลบ.ม.ต่อวินาที ซึ่งในกระทู้นั้นผมได้คำนวณคร่าว ๆ ว่า จะมีน้ำจำนวน ประมาณ 1,600 ล้าน ลบ.ม. ไหลนับแต่วันปล่อย (คือวันที่ 23 ตุลาคม) ลงในเขตใต้เขื่อน ซึ่งจำนวนพื้นที่ที่เขากำหนดว่า สามารถรับน้ำได้นั้น มีประมาณ 1,900 ล้าน ลบ.ม.
วันนี้ผมได้นั่งดูระดับน้ำรายชั่วโมง ตั้งแต่หลาย ๆ จังหวัด ซึ่งในกระทู้นี้ ผมจะเน้นเรื่องน้ำที่จะรวมเข้าที่เจ้าพระยาเป็นพิเศษนะครับ
ข้อมูลที่ท่านต้องทราบก่อน เพื่อประกอบความเข้าใจกระทู้ก็คือ น้ำเจ้าพระยา ตรงเขื่อนเจ้าพระยา ที่อำเภอสรรพยา นั้น
1). ตลิ่งสูง 16.34 เมตร
2). รับปริมาตรน้ำได้ 2,840 ลบ.ม./วินาที
3). ระดับน้ำเหนือเขื่อน ณ เวลา สามทุ่ม ของวันที่ 24 ต.ค. คือที่เขียนกระทู้นี้ คือ 17.48 เมตร เพิ่มขึ้นจากตอนสองทุ่ม 1 ซม. (คือ 17.47 เมตร) อันนี้คือน้ำเข้าเขื่อน
4). ปริมาณน้ำที่ไหลเข้า...ไม่มีข้อมูลชัดเจน ทราบแต่ว่าปริมาณน้ำจากอำเภอเมืองนครสวรรค์ ที่ค่ายจิระประวัติเริ่มลดลง
5). ระดับน้ำที่ชลประทานปล่อย คือ 2,700 ลบ.ม./วินาที (จริง ๆ ปล่อยที่ 2,697 ลบ.ม./ วินาที)
6). ระดับน้ำท้ายเขื่อน ตอนสามทุ่ม ตอนนี้คือ 16.03 เมตร
เมื่อนำมาพิจารณา จะเห็นว่า เหนือเขื่อน - ท้ายเขื่อน = 17.48 - 16.03 = 1.45 เมตร...นี่คือระดับน้ำที่อยู่เหนือเขื่อนรอปล่อย ซึ่งก็แปลว่า แถว ๆ นั้น ก็คงจะมีน้ำล้นตลิ่ง เพราะตลิ่งสูง 16.34 ซึ่งหักออกจาก 17.48 - 16.34 = 1.14 เมตร นี่คือระดับน้ำล้นตลิ่ง ...ก็คือน้ำท่วมนั่นแหละ ก็ขนาดประมาณโคนขา
ทีนี้เรารู้แล้วว่า น้ำปล่อยมาขนาดไหน เรามาดูว่า ระดับน้ำที่ใกล้กรุงเทพ ฯ หน่อยก็คือ บ้านป้อม อยุธยา จากข้อมูลจะเห็นว่า ตอนสามทุ่มนี่ ระดับน้ำเพิ่มขึ้นครับ
ตลิ่งที่อยุธยาสูงแค่ 4.58 เมตร ในขณะที่ระดับน้ำอยู่ที่ 5.27 (ซึ่งเพิ่มขึ้นจากตอนเช้าประมาณ 3-4 ซม.) ส่วนปริมาตรน้ำคือ 1386 cbm/sec ซึ่งก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน
เอาข้อมูลเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ เพราะท่านที่อยู่ใต้เขื่อนเจ้าพระยาลงมา หรือ ท่านที่บ้านเรือนใกล้ริมน้ำ ก็ขอให้เตรียมตัวไว้ด้วย ที่ผมเกรง ก็คือ ประตูระบายน้ำต่าง ๆ กลัวจะพังเอา เพราะไม่มีการเปิดปิดที่ชัดเจน ว่า จะเปิดเมื่อไหร่ หรือ ปิดเมื่อไหร่ และแข็งแรงแค่ไหน เพราะถ้าอั้นไว้นาน ๆ เดี๋ยวมันจะรับไม่ไหวกัน
อ้างอิงข้อมูล http://hydro-5.com/index_.php?id=6121