ทฤษฎีแห่งความ :) : ศิลปะในการอยู่ร่วมกับคน :) Academic Asshole .. 22/10/2560 สรายุทธ กันหลง

ทฤษฎีแห่งความ ยิ้ม : ศิลปะในการอยู่ร่วมกับคน ยิ้ม Academic Asshole .. 22/10/2560 สรายุทธ กันหล
https://ppantip.com/topic/37007870
Cr: @Tawe Nop

อาจารย์หมอ @Tawe Nop เขียนลงใน Facebook และให้ข้อคิด...

Tawe Nop is with Orathai Ard-am and 5 others.
9 hrs ·
ในประเทศไทย น่าจะมีหนังสือเรื่อง Academic Asshole ( ยิ้มวิชาการ) ทำนองเดียวกับ หนังสือ No Asshole Rule (เล่มแรก) ทีRobert Sutton แห่งม.Stanfordเปนผู้เขียน
เขาให้วิธีทดสอบ (สังเกต)ว่าคนคนหนึ่ง ยิ้มไหม ดังนี้
ขั้นตอนแรก: ก็ตามนิยามของ Sutton, คือ ดูว่าหลังจากที่ใครคุยกับคน (ที่ถูกสงสัยว่า)  ยิ้ม แล้วเขารู้สึกแย่ไหม รู้สึกถูกกดขี่ข่มเหงไหม รู้สึกกลายเป็นเถ้าธุลีไหม ถ้าใช่ ก็ถือว่าผ่านด่านแรก เป็นคน ยิ้มไปครึ่งตัวละ
ขั้นตอนที่สอง: ให้สังเกตว่าคน (ที่ถูกสงสัยว่า)​  ยิ้ม นั้นชอบพุ่งเป้าไปที่คนที่มีอำนาจน้อยกว่าตัวเอง มากกว่าคนที่มีอำนาจมากกว่าตัวเองใช่หรือไม่ (เช่น หัวหน้าทีมอาจจะชอบ ยิ้มใส่ลูกน้อง แต่ไม่ ยิ้มใส่เจ้านายตัวเอง แบบนี้ก็อาจจะแปลว่าหัวหน้าทีมยิ้มมาก เพราะกดขี่คนที่ตัวเองรังแกได้เป็นหลัก)

ไปดูบทความนี้ที่
https://thematter.co/thinkers/asshole2/36002


“ก่อนคุณจะไปหาหมอเพื่อตรวจว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า ให้คุณตรวจก่อนว่ารอบๆ ตัว เต็มไปด้วยคน ยิ้มๆ หรือเปล่า” – นิรนาม

อูย เจ็บ พอได้อ่านผ่านโควตนี้ (ที่ผมจำได้ว่ามาจากทวิตเตอร์ แต่เดิมเป็นภาษาอังกฤษนะครับ) ก็รู้สึกว่า เออ ก็จริงนะ บางทีคนที่อยู่ในความสัมพันธ์แบบโดนกด โดนเหยียบตลอดเวลา อาจจะรู้สึกแย่กับตัวเอง จนทำให้คิดว่าตัวเองเป็นต้นเหตุของความเศร้านั้นๆ ก็ได้ ทั้งที่จริงๆ แล้วไม่ใช่ จริงๆ แล้ว เป็นคนข้างๆ ตัวต่างหากที่ทำให้รู้สึกเศร้า – ถ้าเดินออกมาก็อาจจะค่อยๆ เยียวยาตัวเองได้

ใน ‘ทฤษฎีแห่งความ ยิ้ม’ ตอนที่แล้ว เราได้สำรวจนิยามของความ ยิ้ม, ตอบคำถามว่าคน ยิ้มได้ดีจริงไหม และแถมท้ายด้วยการตรวจสอบว่าคุณเป็นคน ยิ้มหรือเปล่า แต่ในครั้งนี้ เราจะพยายามมาสำรวจกันว่า เมื่อเรารู้แล้วว่า เรากำลังอยู่ร่วมกับคน ยิ้มๆ เราจะมีวิธีจัดการ หรืออย่างน้อย ก็ทำใจในการอยู่ร่วมกับพวกเขาอย่างไร

ไม่น่าแปลกใจนักที่เรื่องคน ยิ้มจะมีการศึกษาอย่างจริงจังในแวดวงวิชาการ เพราะนี่เป็นปัญหาต้นๆ ของความสัมพันธ์ในทุกระดับ ตั้งแต่ความสัมพันธ์เชิงโรแมนติก ไปจนถึงความสัมพันธ์ในที่ทำงาน บางงานศึกษาอาจใช้คำที่อ่อนลงบ้าง เช่น อาจใช้คำว่า Toxic Personality  (คนที่เป็นพิษ) หรือ Jerk (คนเชี่ย ซึ่งก็คล้ายๆ Asshole คือคนยิ้มนั่นแหละครับ) แต่มีนักวิชาการคนหนึ่งที่ไม่ยอมประนีประนอมไปใช้คำที่อ่อนลงเลย เพราะเขาคิดว่า ‘คน ยิ้มก็ต้องใช้คำว่า ยิ้มสิ’ นักวิชาการคนนั้นคือ Robert Sutton จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (สอนด้านวิทยาการการจัดการ – Management Science) ผู้เขียนหนังสือ No Asshole Rule (กฎไร้คน ยิ้ม) ในปี 2007 และในปีนี้เขาก็เขียนหนังสือใหม่อีกเล่ม ซึ่งก็ยังวนเวียนอยู่กับคน ยิ้มเช่นเดิม ชื่อว่า Asshole Survival Guide (ไกด์แนะนำการเอาตัวรอดเมื่อต้องอยู่กับคน ยิ้ม)


Asshole Survival Guide
นิยามความ ยิ้มของ Robert Sutton

คุณอาจคิดว่าคน ยิ้มต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ คน ยิ้มสำหรับคุณอาจเป็นคนที่ชอบพูดจาถากถางคนอื่นโดยที่ไม่เคยทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเองเลย คน ยิ้มอาจจะเป็นคนที่ชอบขโมยเครดิต คน ยิ้มอาจจะเป็นคนชอบเอาเปรียบหรือเหยียบหัวชาวบ้านโดยไม่รู้สึกผิด แต่มาดูกันว่านิยามความ ยิ้มของ Robert Sutton ผู้ที่วิจัยเรื่องความยิ้มมาอย่างเข้มข้นจะเป็นอย่างไร:

ทำไม Robert Sutton ถึงคิดว่าคน ยิ้มต้องใช้คำว่า ยิ้มเท่านั้นถึงจะสาสม? เขาบอกว่าถึงแม้เขารู้ว่าคำว่า ยิ้ม (Asshole) จะทำให้บางคนรู้สึกแย่ (เพราะมันเป็นคำหยาบ) ก็ตาม แต่เขาคิดว่ามีเพียงคำนี้เท่านี้ที่จะจับเอาอารมณ์หรือความแย่ของคนประเภทนี้ (หรือพฤติกรรมประเภทนี้ – อย่างที่ Sutton ก็บอกเองว่า “คนเราก็มีเวลาที่ทำตัว ยิ้มกันทั้งนั้น”) ได้อย่างเต็มความหมาย

Sutton ให้สัมภาษณ์ว่า “จริงๆ แล้ว ความ ยิ้มในทางวิชาการก็มีนิยามหลากหลายนะครับ แต่ที่ผมนิยามก็คือ : คน ยิ้มคือคนที่ทิ้งให้เรารู้สึกไร้ค่า (demeaned) ไร้พลัง (de-energized) ไร้ความเคารพนับถือในตัวเอง (disrespected) และรู้สึกถูกกดขี่ตลอดเวลา (oppressed) หรือกล่าวอีกอย่างคือคน ยิ้ม มักจะทำให้คุณรู้สึกเหมือนเป็นธุลีดินนั่นเอง (make you feel like dirt).”

Sutton แยกคน ยิ้มเป็นสองแบบใหญ่ๆ (โอ้โห จริงจัง) คือ

คน ยิ้มแบบชั่วคราว เขาบอกว่า “ถ้าอยู่ในบางสถานการณ์ พวกเราทุกคนก็ ยิ้มได้ทั้งนั้น” (ซึ่งก็จริง อย่างเช่นถ้าหงุดหงิดมา ผมเคยเขียนถึงประเด็นนี้แล้วในทฤษฎีแห่งความ ยิ้มตอนแรก)
คน ยิ้มแบบควรมอบโล่ (certified asshole) คือคนที่ ยิ้มอย่างสม่ำเสมอ ทำตัว ยิ้มๆ กับคนอื่นๆ อย่างคงเส้นคงวา ซึ่ง Sutton อธิบายไว้อย่างน่าสนใจด้วยว่า “ผมไม่คิดว่าความเชื่อที่ว่าคน ยิ้มจะเป็นคนที่ไม่สนใจคนอื่นจะเป็นจริงนะ จริงๆ แล้ว คน ยิ้มสนใจคนอื่นมากเลยแหละ แต่ว่าเป็นการสนใจแบบที่ อยากทำให้คนอื่นรู้สึกเจ็บปวดหรือหงุดหงิด แล้วก็มีความสุขกับความเจ็บปวดนั้นๆ” โอ้โห
แต่เขาก็เตือนให้เราอย่ารีบด่วนสรุปว่า “คนยิ้มมันเยอะ” ไปหมด คนบางคนอาจจะรู้สึก ‘ถูกหยามง่าย’ ไปหน่อย รู้สึกว่าอะไรๆ ก็มาลงที่ตัวเองหมด ทั้งที่ความเป็นจริงอาจจะไม่เป็นเช่นนั้นก็ได้ อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจที่หนังสือ Asshole Survival Guide เขียนไว้ก็คือ มีคนจำนวนน้อยมากๆ ที่คิดว่าตัวเองเป็นคน ยิ้ม (ซึ่งก็ไม่แปลก!) แต่ก็มีคนจำนวนมาก จนไม่ได้สัดส่วนที่คิดว่าตัวเองถูกรายล้อมด้วยคน ยิ้ม

นั่นคือ คนเรามักคิดว่าคนอื่น ยิ้ม แต่ตัวเอง ‘มีเหตุผล’ พอที่จะไม่ยิ้มนั่นเอง (หรือถ้าทำอะไร ยิ้มๆ ก็อาจใช้เหตุผลมารองรับว่ามันสาสมดีแล้ว หรือมันก็ควรเป็นเช่นนั้นเอง)

Sutton จึงแนะนำไว้ว่า: คน ยิ้ม นั้นมักจะไม่รู้สึกความ ยิ้มของตัวเอง ต้องให้คนรอบๆ ตัวบอกว่าเขา ยิ้ม

และเช่นเดียวกัน เราควรคิดว่าคนอื่น ยิ้มให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และประเมินว่าตัวเอง ยิ้มให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ (คืออย่าด่วนสรุปว่าคนอื่น ยิ้ม และอย่าเข้าข้างว่าตัวเองไม่ ยิ้ม) ถึงจะดี



วิธีทดสอบคน ยิ้ม และแทคติกที่คน ยิ้มใช้

ในหนังสือ No Asshole Rule (เล่มแรก) เขาให้วิธีทดสอบ (หรือผมว่าจริงๆ แล้วเป็น ‘วิธีสังเกต’ มากกว่า) ว่าคนคนหนึ่ง ยิ้มไหม ดังนี้

ขั้นตอนแรก: ก็ตามนิยามของ Sutton, คือ ดูว่าหลังจากที่ใครคุยกับคน (ที่ถูกสงสัยว่า)  ยิ้ม แล้วเขารู้สึกแย่ไหม รู้สึกถูกกดขี่ข่มเหงไหม รู้สึกกลายเป็นเถ้าธุลีไหม ถ้าใช่ ก็ถือว่าผ่านด่านแรก เป็นคน ยิ้มไปครึ่งตัวละ

ขั้นตอนที่สอง: ให้สังเกตว่าคน (ที่ถูกสงสัยว่า)​  ยิ้ม นั้นชอบพุ่งเป้าไปที่คนที่มีอำนาจน้อยกว่าตัวเอง มากกว่าคนที่มีอำนาจมากกว่าตัวเองใช่หรือไม่ (เช่น หัวหน้าทีมอาจจะชอบ ยิ้มใส่ลูกน้อง แต่ไม่ ยิ้มใส่เจ้านายตัวเอง แบบนี้ก็อาจจะแปลว่าหัวหน้าทีมยิ้มมาก เพราะกดขี่คนที่ตัวเองรังแกได้เป็นหลัก)

ถ้าตอบว่าใช่ทั้งสองข้อ เปอร์เซนต์ที่คนคนนั้นจะเป็น ‘คน ยิ้ม’ ตามนิยามของ Sutton ก็มากขึ้น – นอกจากขั้นตอนต่างๆ แล้ว Sutton ยังให้แทคติกที่คน ยิ้มชอบใช้ต่อเหยื่อด้วย ลองเอาไปสังเกตกันดูว่าคนรอบตัวคุณ (หรือตัวคุณเอง) มีอาการแบบนี้บ้างไหม:

ดูถูกเหยียดหยามเรื่องส่วนตัว / ก้าวล้ำเข้ามาใน “พื้นที่ส่วนบุคคล” / ชอบแตะเนื้อต้องตัวแบบที่อีกฝ่ายไม่ได้ยินยอมด้วย / ชอบขู่หรือคุกคาม ทั้งทางวาจาและทางอื่น / ใช้คำตลกเสียดสีและยั่วล้อเหยื่อเพื่อดูถูก / พูดจาหมาๆ ในอีเมล / ใช้สเตตัสเพื่อ “แซะ” ทำให้คนอื่นอับอาย / ชอบเอาเรื่องคนอื่นมาประจานในที่สาธารณะ / ชอบขัดคอเวลาคนอื่นพูด / ตีสองหน้า / มองคนอื่นเหยียดๆ / ทำเหมือนคนอื่นไม่มีตัวตน


ถ้ามั่นใจว่าคนรอบกาย ยิ้ม แล้วควรดีลอย่างไรดี?

Sutton แนะนำว่าก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไร ให้ถามตัวเองก่อนว่า 1) เรามีอำนาจมากแค่ไหน และ 2) เรามีเวลา (ที่จะดีลกับคน ยิ้ม) มากแค่ไหน ถ้าเรามีอำนาจมากๆ เรื่องราวก็อาจจะง่ายลง เช่น หากเราเป็นหัวหน้าและพบว่าลูกน้อง ยิ้มไม่ไหวแล้ว ก็อาจจะไล่ออกได้ แต่ถ้าไม่มี เขาก็แนะนำว่า ก่อนอื่นอาจจะต้องลองคุยกับคน (ที่สงสัยว่าเป็นคน)  ยิ้มดูก่อน ว่าเขารู้ตัวไหม ถ้าปรับปรุงตัวได้หลังจากคุยกันก็ถือว่าดีไป

แต่ถ้าไม่ได้ เขาก็ให้เราตัดสินใจว่า จะสู้ หรือจะช่างยิ้ม (ผมเคยเขียนถึงเรื่องการช่างยิ้มไว้ในคอลัมน์นี้ก่อนหน้า) ถ้าจะสู้ เราก็ต้องรวบรวมหลักฐาน และพยายามตัดการติดต่อกับคน ยิ้ม เพื่อไม่ให้มารบกวนเราให้ได้มากที่สุด ถ้าเรามีแนวร่วมที่เห็นพ้องต้องกันว่าคนคนนี้ ยิ้ม เราก็อาจจะใช้วิธีการแบนทางสังคมเพื่อลงโทษพวกเขาได้

นอกจากนั้น Sutton ยังมีทิปเทคนิคในการดีลกับคน ยิ้มไว้ด้วยเป็นข้อๆ ดังนี้:

ให้รู้ตัวให้เร็ว และถ้าออกจากสถานการณ์นั้นได้ ก็ให้หนีออกมา แต่ถ้าเป็นไปไม่ได้ ก็ต้องดีลด้วยวิธีอื่น
ให้รักษาระยะห่างกับคน ยิ้ม (ตามตัวอักษร) เขาแนะนำมาเป็นหลักเป็นฐานมากว่าให้รักษาระยะห่างที่ 25 ฟุต (7.6 เมตร) เพราะมีงานวิจัยว่าอารมณ์สามารถติดต่อกันได้ และ Sutton ก็เชื่อว่าความยิ้มนั้นอาจจะส่งผ่านกันได้เช่นกัน (เช่น เราเจอคน ยิ้มๆ แล้วเราอาจจะหงุดหงิดจนทำตัว ยิ้มกับคนอื่นที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่)
ให้ลดการติดต่อกับคน ยิ้ม เพราะพวกเขาจะชอบเวลาได้เห็นคนเป็นเดือดเป็นร้อน ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ให้ ‘ตอบช้า’ เช่น ตอบอีเมลช้าๆ หรือไม่ต้องตอบข้อความในทันที
ถ้าเป็นไปได้ อย่าทำตัวโดดเด่น เพราะคนเด่นๆ มักจะเป็นเป้าหมายของคน ยิ้ม
หากอยากทำใจ ให้คิดถึงอนาคตเข้าไว้ ว่าอีกปีหนึ่งหรืออีกไม่นาน เรื่องของคนคนนี้ก็จะไม่มากวนใจเราแล้ว
Sutton แนะนำด้วยว่า ถ้าอยากลอง ก็ลอง “เลีย” คน ยิ้มก็ได้ เพราะคน ยิ้มอาจจะชอบให้คนมาชื่นชมตัวเอง ถ้ารู้สึกว่าใครเป็นพวกตัวเองแล้วก็จะเลิก ยิ้มกับคนคนนั้น อาจจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น
ต่อสู้กลับด้วยวิธีต่างๆ เช่น รวมกลุ่มกันแบน หรือถ้า ยิ้มแบบเป็นกิจลักษณะก็อาจจะต้องร้องเรียนต่อคนที่มีอำนาจ
อย่าวู่วาม Sutton บอกให้เราใช้เวลาค่อยๆ เก็บหลักฐาน เก็บพรรคพวกให้ดี ก่อนที่คิดจะทำอะไรลงไป เพราะถ้าเราไม่พร้อมในการต่อสู้ เราอาจจะแพ้ก็ได้
ทั้งหมดนี้คือเรื่องของการต่อสู้ รวมไปถึงการอยู่ร่วมกับคน ยิ้ม แต่สุดท้ายสิ่งที่ต้องไฮไลท์ไว้ ก็คือคำที่ Sutton บอกไว้นั่นแหละครับ ว่า “อย่าเรียกคนอื่นว่า ยิ้มให้เร็วเกินไปนัก แต่ให้สงสัยว่าตัวเอง ยิ้มไหมไว้ก่อน” ถ้าเราคิดแบบนี้ได้ ความ ยิ้มของเรา (ที่คนอื่นอาจมองเห็น) ก็จะลดลง และเราก็น่าจะมีชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุขขึ้น



อ้างอิง / อ่านเพิ่มเติม

ข้อความบางส่วนของบทความนี้ มาจากหนังสือของ Robert Sutton ดังนี้:

The No Asshole Rule: Building a Civilized Workplace and Surviving One That Isn’t

https://www.amazon.com/Asshole-Rule-Civilized-Workplace-Surviving/dp/1600245854

The Asshole Survival Guide: How to Deal with People Who Treat You Like Dirt

https://www.amazon.com/Asshole-Survival-Guide-People-Treat-ebook/dp/B01MU0FL7M/ref=sr_1_1?s=books&ie=UTF8&qid=1506665520&sr=1-1&keywords=asshole+survival

Sutton ให้สัมภาษณ์กับรายการ Today

https://www.today.com/health/asshole-survival-guide-dealing-jerks-work-beyond-t116051
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่