สุพรหมัณยัน จันทรเศขร Subrahmanyan Chandrasekhar

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
S. Chandrasekhar Google Doodle , S. Chandrasekhar’s 107th Birthday


Professor Subrahmanyan Chandrasekhar at the University of Chicago (Getty Images)



สุพรหมัณยัน จันทรเศขร Subrahmanyan Chandrasekhar
ได้รับการยกย่องมาตั้งแต่ตอนเป็นเด็กแล้วว่า เป็นเด็กอัจฉริยะ
ได้รับรางวัลโนเบลด้านทฤษฎีเกี่ยวกับวิวัฒนาการของดวงดาว
และเป็นนักดาราศาสตร์ฟิสิกส์คนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล
ในวันพฤหัสบดีนี้จะเป็นวันเกิดปีที่ 107 ของ
สุพรหมัณยัน จันทรเศขร Subrahmanyan Chandrasekhar
และตรงกับวันเทศกาลดีวาลี Diwali
เพื่อเป็นเกียรติกับท่านทาง Google จึงมีการเปลี่ยนโลโก้ใน 28 ประเทศ
เป็นรูปแบบเส้นขยุกขยิก ภาพประกอบของท่านและขีดจำกัดจันทรเศขร Chandrasekhar Limit

แต่ในช่วงชีวิตเริ่มต้นของนักดาราศาสตร์ฟิสิกส์
ชาวอเมริกันอินเดียไม่ได้รับการยอมรับมากเท่าใดนัก นี่คือเรื่องราวของท่าน


ครอบครัวผู้มีสติปัญญา


ท่านเกิดในลาฮอร์ Lahore ในปี 1910  
ในครอบครัวชาวทมิฬ วรรณะพราหมณ์
จันทรเศขร เรียนหนังสือที่บ้านจนกระทั่งอายุ 12 ปี
ในอัตชีวประวัติของจันทรเศขร ท่านเรียกแม่ท่านว่า
" สิธา Sita แม่ผมเป็นสตรีที่มีสติปัญญาและภูมิปัญญาสูงส่ง "

ลาฮอร์ เมืองหลวงของแคว้นปัญจาบ ปากีสถานในปัจจุบัน
แต่ในช่วงนั้นอยู่ร่วมกับอินเดียที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษ



ข้อมูลเพิ่มเติม https://goo.gl/M8EYCT และ https://goo.gl/qB41J2 (ไทย)



ลุงของท่าน Sir CV Raman ได้รับรางวัลโนเบลด้านฟิสิกส์ในปี 1930
และในปี 1930 จันทรเศขร  ก็จบปริญญาตรีด้านฟิสิกค์
ที่ Presidency College ในมัทราส Madras อินเดีย (ปัจจุบันคือ เจนไน Chennai)
จันทรเศขร ได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลอินเดียที่อังกฤษปกครองอยู่
เพื่อไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ
และจบการศึกษาระดับปริญญาเอกในปี 1933 (ใช้เวลาเรียนเพียงแค่ 3 ปี)

ท่านสมรสกับ ลลิตา ดุรอิสวามี Lalitha Doraiswamy  
ที่เมืองมัทราส Madras ทางตอนใต้ของอินเดีย
จันทรเศขร ยกย่องภรรยาของท่านในเรื่อง
" เข้าอกเข้าใจผู้ยากไร้ สนับสนุนและให้กำลังใจ
และทั้งหมดนี้คือ ความจริงสิ่งสำคัญในชีวิตของผม
"


การยอมรับที่เนิ่นนาน


ในช่วงที่ทำงานเป็นนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
จันทรเศขร ได้ค้นพบเรื่องที่สำคัญที่สุดของท่าน
ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อว่า ขีดจำกัดจันทรเศขร Chandrasekhar Limit
แต่เพื่อนร่วมงานของท่านต่างไม่เชื่อถือการค้นพบของท่าน
และพยายามที่จะทำลายท่านให้สูญเสียความน่าเชื่อถือเรื่องนี้
นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ Sir Arthur Eddington
ได้เชิญชวนจันทรเศขรให้มานำเสนอผลงานของท่าน
ที่ราชสมาคมดาราศาสตร์ Royal Astronomical Society
ในวันที่ 11 มกราคม 1935  
Sir Arthur Eddington ได้บรรยายสรุปแบบ
ผู้หวังดีแต่ประสงค์ร้าย
เพื่อทำลายการคำนวณของนักวิจัยหนุ่ม
และซักไซร้ไล่เลียงว่าเป็นแค่ทฤษฎีนักคณิตศาสตร์สมัครเล่น



ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.ras.org.uk/


ข้อมูลเพิ่มเติม https://goo.gl/kK9iin  และ https://goo.gl/f5k1VZ




ต้องใช้เวลามากกว่า 30 ปีต่อมา
ในปี 1966  ผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์
และการระเบิดของไฮโดรเจน ทำให้มีการยอมรับและสร้างชื่อเสียงให้จันทรเศขร
ผลการคำนวณของจันทรเศขรในเรื่องหลุมดำนี้
หลุมดำ Black holes
ซึ่งเป็นแก่นแกนทฤษฎีจันทรเศขร ได้รับการยอมรับในปี 1972
ผลการคำนวณของท่านทำให้มีส่วนในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับ
ซุปเปอร์โนวา Supernovas
ดาวนิวตรอน neutron stars
และหลุมดำ Black holes



Black Holes S. Chandrasekhar


หลุมดำ Black holes


ซุปเปอร์โนวา Supernovas


ดาวนิวตรอน Neutron stars




การตรวจสอบประวัติบุคคลต้องสงสัย


ในปี 1937 จันทรเศขรได้อพยพไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกา
และเริ่มทำงานที่มหาวิทยาลัยชิคาโก

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ท่านได้รับเชิญให้เข้าร่วมโครงการแมนฮัตตัน
ที่ผลิตระเบิดนิวเคลียร์ที่ลอสอัลลามอส Los Alamos
แต่ความล่าช้าของระบบรัฐการ
ในการตรวจผ่านความมั่นคง/บุคคลต้องสงสัย
ทำให้ท่านไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้
แต่ จันทรเศขร ยังได้สนับสนุนกิจกรรมสงคราม
ด้วยการทำงานในรัฐแมรี่แลนด์ Maryland
กับหน่วยงานปฏิบัติการวิจัยด้านขีปนาวุธ
Ballistic Research Laboratory

ในปี 1953 หลังจากที่จันทรเศขรได้เข้ามาทำงาน
ในสหรัฐอเมริกาเป็นเวลากว่า 16 ปีแล้ว
ท่านได้รับสิทธิเป็นพลเมืองชาวอเมริกัน  
ท่านเสียชีวิตในชิคาโก ตอนวัย 85 ปี


คำคม


ในหนังสือของท่าน ความจริงและความงาม
ท่านได้ให้คำแนะนำกับนักวิทยาศาสตร์ที่มุ่งมั่นทะเยอทะยานว่า
" สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ควรจะพยายามทำอย่างยิ่ง ก็คือ
เลือกขอบเขตความรู้ที่แน่ใจ มุมมองที่แน่ใจ หรือรายละเอียดที่แน่ใจ
และไตร่ตรองดูก่อนว่า อยู่ในสถานที่ที่เหมาะสมกับแผนงานทั่วไปหรือไม่
มีรูปแบบและความเชื่อมโยงซึ่งกันและกันหรือไม่
และถ้ายังไม่  ให้หาข้อมูลเพิ่มเติมที่จะช่วยให้ทำเรื่องนั้นให้ได้
"

ในหนังสืออัตชีวประวัติของท่าน ตอนพิธีรับมอบรางวัลโนเบล
ท่านได้อธิบายสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ของท่านว่า
" เมื่อหลายปีหลังจากการศึกษา
ผมรู้สึกว่า ผมได้สะสมองค์ความรู้ที่เพียงพอ
และประสบความสำเร็จในมุมมองของผมเอง
เพื่อที่จะนำเสนอมุมมองของผม
ab initio ตั้งแต่ต้น ด้วยการพิจารณา
ปะติดปะต่อกันกับ ลำดับ รูปแบบ และโครงสร้าง
"

ในการให้สัมภาษณ์ จันทรเศขร ได้ยกย่องสหรัฐอเมริกาว่า
" ผมมีข้อได้เปรียบที่นี่ ในสหรัฐอเมริกา ผมมีอิสรภาพที่ยิ่งใหญ่
ผมสามารถทำในสิ่งที่ผมต้องการได้ โดยไม่มีใครรบกวนผม
"


เกียรติยศ


ตอนอายุ 43 ปี ท่านได้รับรางวัลเหรียญทองจากราชสมาคมดาราศาสตร์
Royal Astronomical Society

ตอนอายุ 56 ปี ท่านได้รับเหรียญรางวัลวิทยาศาสตร์นานาชาติ
National Medal of Science
สำหรับการมีส่วนร่วมอย่างมากในดาราศาสตร์ฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ประยุกต์

ตอนอายุ 61 ปี ท่านได้รับเหรียญรางวัลเดรเพอะ  จาก สถาบันวิทยาศาตร์นานาชาติ
Draper Medal National Academy of Science
สำหรับความเป็นภาวะผู้นำของท่านและการมีส่วนร่วมสำคัญ ๆ ในด้านดาราศาสตร์ฟิสิกส์

ตอนอายุ 73 ปี ท่านได้รับรางวัลโนเบลฟิสิกส์ร่วมกับ William Fowler
ในการศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับกระบวนการทางกายภาพ
ที่มีความสำคัญต่อโครงสร้างและวิวัฒนาการของดาวฤกษ์



ข้อมูลเพิ่มเติม https://goo.gl/bUvR5e




เรียบเรียง/ที่มา

https://goo.gl/9HuJqz
https://goo.gl/a6omnP
https://goo.gl/HxfK9r






https://goo.gl/r4MGF5 (ไทย)

ขีดจำกัดจันทรเศขร (ไทย)





Maryam Mirzakhani สตรีนักคณิตศาสตร์ระดับโลก



" คุณต้องทนทุกข์ทรมานระหว่างหนทางนั้น  แต่ชีวิตไม่ใช่เรื่องง่ายเลย "  
Maryam Mirzakhani   พูดถึงการไขปริศนาคณิตศาสตร์
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่