.
เมื่อ 3 ปีที่แล้ว ด้วยวัยเพียง 37 ปี
Maryam Mirzakhani คือ สตรีคนแรกของโลก
ที่ได้รับ
เหรียญฟิลด์ส Fields Medal
ที่จะมอบให้นักคณิตศาสตร์ครั้งละ 2-4 คน
ผู้รับรางวัลอายุต้องไม่เกินกว่า 40 ปี
โดยคณะกรรมการพิจารณารางวัล 4 ปี/ครั้ง
รางวัลนี้คุณค่าเทียบเท่ารางวัลโนเบล
เมื่อวันที่ 15 กรกฏาคม 2017
เธอตายด้วยโรคมะเร็งเต้านมในวัย 40 ปี
หลังการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเมื่อ 4 ปีก่อน
แม้ว่าจะได้รับการรักษาเป็นอย่างดีที่สหรัฐ
แต่มะเร็งได้แพร่กระจายไปที่ไขกระดูกแล้ว
ข่าวการตายของเธอ
ได้รับการยืนยันจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
เธอเป็นศาตราจารย์คณิตศาสตร์
ตอนอายุ 29 ปีตั้งแต่ปี 2008
การเสียชีวิตของเธอเป็นข่าวใหญ่มาก
สำหรับวงการคณิตศาสตร์ที่ต้องสูญเสีย
อัจฉริยะทางคณิตศาตร์อีกรายหนึ่งไป
Mirzakhani Mirzakhani แต่งงานกับ
Jan Vondrák ชาวเชคโกสโลวาเกีย
รองศาสตราจารย์ทฤษฏีคอมพิวเตอร์
ทำงานที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
ทังคู่มีลูกสาววัย 6 ขวบ ชื่อ Anahita
ลูกสาวบอกนักข่าวว่า
"
ผลงานของแม่คล้ายกับงานวาดเขียน “
เพราะมีลายเส้นขยุกขยิกมากมาย
และมีการวาดภาพต่าง ๆ ประกอบ
ใช้เพื่อพิสูจน์กระบวนการทางคณิตศาสตร์
และการไขปริศนาปัญหาด้านคณิตศาสตร์
ตามรายงานข่าวของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
" ดวงไฟดวงหนึ่งได้ดับลงไปแล้วในวันนี้
ช่างรวดเร็วเสียเหลือเกิน ทำให้หัวใจผมสลาย
เธอคือ อัจฉริยะ เป็นทั้งลูกสาว แม่ และภริยา "
Firouz Naderi อดีตนักวิทยาศาตร์ชาวอิหร่าน
ที่ NASA
https://twitter.com/Firouz_Naderi
.
ในช่วงวัยรุ่น Mirzakhani
ใฝ่ฝันอยากจะเป็นนักเขียน
เธอสนใจอ่านหนังสือนวนิยายต่าง ๆ
มากกว่าเรื่องราวทางคณิตศาสตร์
จนกระทั่งพี่ชายของเธอ
ที่หลงใหลทางด้านวิทยาศาสตร์ได้เล่าเรื่อง
Johann Carl Friedrich Gauss
นักคณิตศาสตร์ระดับตำนานของโลก
ทำให้เธอเกิดความสนใจ/หลงใหล
ด้านคณิตศาสตร์พร้อมกับเธอมีพรสวรรค์ด้วย
ในที่สุดชนะใจเธอแทนการเป็นนักเขียน
" มันสนุกดี มันคล้ายกับการแก้ปริศนาปัญหา
หรือการเชื่อมโยงจุดต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
เหมือนการทำคดีของนักสืบ
ฉันรู้สึก มีบางสิ่งบางอย่าง ที่ฉันสามารถทำได้
และฉันต้องการไล่ล่ามันตามหนทางเหล่านั้น "
Mirzakhani ในวันที่เธอได้รับรางวัล
อันทรงเกียรติเหรียญฟิลด์ส ในปี 2014
และเธอเป็นสตรีคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้
นับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นในปี 1936 นานถึง 78 ปี
กว่าจะมีสตรีคนแรกของโลกที่ได้รับรางวัลนี้
แม้ว่าผลงานวิชาการของเธอ
จะมีขอบเขตกว้างขวางมาก
แต่เธอชอบคณิตศาสตร์บริสุทธิ์มากกว่า
เพราะมีความสง่างาม/งดงาม
พร้อมกับระยะเวลาที่ยาวนาน
ของคำถามต่าง ๆ ทีรอคำตอบ
ทำให้เธอต้องการจะศึกษา
และไขปริศนาปัญหาดังกล่าว
" คุณต้องใช้พลังงาน/ความพยายามบางอย่าง
เพื่อดูความสวยงามของคณิตศาสตร์
ฉันไม่มีสูตรเฉพาะใด ๆ
[สำหรับการพัฒนาหลักฐานใหม่] ...
มันเหมือนกับการหลงทางในป่า
และพยายามใช้ความรู้ทั้งหมดที่คุณมีอยู่
แล้วบังเอิญมันปิ๊งขึ้นในใจ
ด้วยวิธีพลิกแพลงใหม่ ๆ บางอย่าง
และโชคช่วยขึ้นมา คุณก็หาทางออกไปได้ "
เธอบอกกับนักข่าวคนหนึ่ง
ในการให้สัมภาษณ์กระบวนการทำงานของเธอ
.
.
Mirzakhani เกิดที่เตหะราน อิหร่าน
ครอบครัวของเธอเป็นพวกชนชั้นกลาง
จบปริญญาตรีที่นั่นก่อนเดินทางมาสหรัฐ ฯ
ผลจากการสิ้นสุดสงคราม
ระหว่างอิหร่านกับอิรัค
ทำให้สภาพแวดล้อมทางการเมืองสังคม
และเศรษฐกิจ มีเสถียรภาพเพียงพอ
ที่เธอจะมุ่งหน้าไปเรื่องการศึกษาได้
เธอเข้าเรียนในโรงเรียนมัธยมสตรีล้วน
และต้องโต้แย้งกับครูใหญ่ที่กล่าวว่า
ตามข้อเท็จจริงแล้วไม่เคยมีสตรีคนไหน
ที่เข้าร่วมแข่งขันในทีมคณิตศาสตร์โอลิมปิค
ระดับนานาชาติของอิหร่านมาก่อน
แต่เธอก็ได้เข้าร่วมทีมเข้าไปแข่งขันกับผู้ชาย
และได้รับรางวัลในระดับนานาชาติ
ในปี 1994 เธอได้รับเหรียญทอง
ในปี 1995 เธอได้คะแนนเต็มร้อย
และได้เหรียญทอง 2 เหรียญ
หลังจากสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี
ที่ Sharif University ในนครเตหะราน
เธอมุ่งหน้าไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ซึ่งเธอได้รับคำรับรองจาก Curtis McMullen
อดีตผู้ได้รับรางวัลเหรียญฟิลด์สมาก่อน
ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
Mirzakhani ประสบความสำเร็จสมดังตั้งใจ
และด้วยการตั้งคำถามอย่างไม่หยุดยั้ง
แม้จะมีอุปสรรค/ข้อจำกัดทางด้านภาษา
เธอตั้งคำถามอาจารย์ด้วยภาษาอังกฤษ
แต่เธอจดบันทึกย่อด้วยภาษา Farsi
.
.
.
.
" เธอเต็มไปด้วยความใฝ่ฝันที่กล้าหาญ
ดุษฏีนิพนธ์ในปี 2004 ของเธอ
เป็นผลงานชั้นเยี่ยมเพราะเธอได้ไขปริศนา
ปัญหาคณิตศาสตร์ 2 เรื่องที่มีมายาวนานแล้ว
แต่ละเรื่องที่เธอไขปริศนาปัญหาได้นั้น
เธอทำได้อย่างน่าสนใจ และที่สำคัญถูกต้อง
ตามแบบฉบับด้วยตัวมันเอง "
Curtis McMullen เล่าถึง Mirzakhani
" และแล้ว Mirzakhani ได้เชื่อมปัญหา
ทั้งสองเรื่องเข้าด้วยกันในดุษฏีนิพนธ์ของเธอ
ที่ไขปริศนาปัญหา จนสามารถอธิบายได้ว่า
เรื่องที่น่าตื่นเต้นอย่างแรง
ทำให้ดุษฏีนิพนธ์ของเธอได้รับการยอมรับ
ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารคณิตศาสตร์
ระดับชั้นนำพร้อมกันถึง 3 ฉบับเลยทีเดียว
นักคณิตศาสตร์ส่วนมาก
ยังไม่สามารถผลิตผลงานที่ดีเด่นเช่นนี้
และนั่นคือ สิ่งที่เธอทำได้ในดุษฏีนิพนธ์ของเธอ “
Benson Farb นักคณิตศาสตร์
มหาวิทยาลัยชิคาโก
" เรื่องที่พิเศษเกี่ยวกับ Maryam
นั้นคือ สิ่งที่แปลกแยกจากตัวเธออย่างแท้จริง
คือ ความคิดริเริ่มในการรวบรวมชิ้นส่วน
ปัญหาต่าง ๆ ที่แตกต่างกันนี้เข้าด้วยกัน
(แล้วไขปริศนาปัญหาไปพร้อม ๆ กัน)
นั่นคือ กรณีศึกษาที่เริ่มต้นจากดุษฏีนิพนธ์
ทำให้ผลงานของเธอได้รับการยอมรับ
จากวารสารชั้นนำทางคณิตศาสตร์ทุกฉบับ
วิธีการไขปริศนาปัญหาที่แปลกใหม่ของเธอ
ทำให้เป็นผลงานที่ใช้ความสามารถอย่างแท้จริง "
Steven Kerckhoff ศาสตราจารย์คณิตศาสตร์
ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
และเป็นเพื่อนร่วมงานของ Mirzakhani
กล่าวในขณะที่เธอได้รับรางวัลเหรียญฟิลด์ส
.
.
หลังจากจบปริญญาเอก
ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
Mirzakhani ได้ไปเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์
ที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน
และเป็นนักวิจัยที่ Clay Mathematics Institute
ก่อนที่จะมาเป็นศาสตราจารย์คณิตศาสตร์
ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
" เธอได้รับเกียรติยศอย่างมากเลย
Mirzakhani เป็นสตรีชาวอิหร่านคนแรก
ที่ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสถาบันวิทยาศาตร์
National Academy of Sciences เมื่อปีที่แล้ว
เป็นการรับรู้ถึงความสำเร็จที่โดดเด่นของเธอ
ในผลงานวิจัยที่สร้างสรรค์อย่างมาก
เธออยู่ในระดับที่ยอดเยี่ยมเทียบเท่ากับ
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ โทมัส เอดิสัน
และ อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์
ที่ได้รับเกียรติเช่นนี้ในอดีต "
Danielle Karson ให้สัมภาษณ์
กับ NPR's Newscast
.
.
Mirzakhani เชี่ยวชาญในทฤษฎีคณิตศาสตร์
เหมือนกับการอ่านภาษาต่างประเทศ
และเรื่องราวที่นอกขอบเขตคณิตศาสตร์ เช่น
Moduli Spaces, Teichmüller Theory,
Hyperbolic Geometry, Ergodic Theory
และ Symplectic Geometry
ในช่วงแรก ๆ Mirzakhani
หลงใหลกับเรขาคณิต และความสลับซับซ้อน
ทางไดนามิกของพื้นผิวที่โค้ง - รูปทรงกลม
รูปทรงโดนัท และแม้กระทั่ง Amoebas
แม้จะมีลักษณะเชิงทฤษฎีที่สูงมาก
ในผลงานของเธอ แต่ก็มีผลสืบเนื่องต่อ
ฟิสิกส์ กลศาสตร์ ควอนตัม
และแขนงวิชาสาขาอื่น ๆ ที่ไม่ใช่คณิตศาสตร์
" เธอมีความปรารถนาอย่างแรงกล้า
มีความเด็ดเดี่ยวและกล้าหาญอย่างมาก
ในการเผชิญหน้ากับปัญหาที่คนอื่นไม่อยากทำ
หรือไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้
ด้วยการลงมือทำอย่างจริงจัง
เพื่อไขปริศนาปัญหาดังกล่าว "
เพื่อนร่วมงานคนหนึ่งของเธอบอก
“ นี่มันน่ามหัศจรรย์ มันเป็นงานที่น่าพิศวง
บางครั้งคณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่าย ๆ
และสนุกสนานกับสร้างความพึงพอใจ
แต่บางครั้งคุณต้องทนทุกข์ทรมานไปกับมัน
นี่ดูเหมือนเธอต้องทนทุกข์ทรมานอย่างต่อเนื่อง ”
Etienne Ghys คณะกรรมการเหรียญฟิลด์ส
กล่าวถึงผลงานของ Maryam Mirzakhani
.
.
.
ให้คิดคณิตศาสตร์เหมือนกับรูปภาพ
เธอได้แนวคิดจากลายเส้นขยุกขยิก
ในแผ่นกระดาษขนาดใหญ่
.
.
Maryam Mirzakhani
ผู้ได้รับรางวัลเหรียญฟิลด์ส
จะมอบ 4 ปีต่อครั้ง
โดยสภาคณิตศาสตร์นานาชาติ
International Congress of Mathematicians
กำลังร่างปัญหาเรขาคณิต
@ Thomas Lin/Quanta Magazine
.
.
" Maryam จากไปเร็วเกินไป
แต่ผลกระทบของเธอจะมีต่อไป
สำหรับสตรีอีกหลายพันคน
ที่เธอได้สร้างแรงบันดาลใจ
ในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
เธอเป็นนักทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ที่ยอดเยี่ยม
ทั้งยังอ่อนน้อมถ่อมตนกับเกียรติยศที่ได้รับ
ด้วยความหวังเพียงอย่างเดียวว่า
มันอาจกระตุ้นให้ผู้อื่นดำเนินรอยตาม
เส้นทางของเธอ และการมีส่วนร่วมของเธอ
ในฐานะนักวิชาการ และเป็นแบบอย่าง
ที่มีนัยสำคัญและจะเป็นอมตะตลอดไป
เธอเป็นที่จดจำของสแตนฟอร์ดและทั่วโลก "
Tessier-Lavigne อธิการบดี
มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ให้สัมภาษณ์
“ การเสียชีวิตของ Maryam Mirzakhani
เป็นเรื่องที่น่าเศร้าสลดอย่างยิ่ง
เธอเป็นนักคณิตศาสตร์ชาวอิหร่าน
และนักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก
เป็นเรื่องเศร้าครั้งยิ่งใหญ่ "
Hassan Rouhani ประธานาธิบดีอิหร่าน
Ali Larijani โฆษกรัฐบาลอิหร่าน
ใช้ภาพเก่าของ Mirzakhani บน Instagram
เพราะมีการกระแนะกระแหน
และไม่พอใจ(ดราม่า)กันมากในอิหร่าน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Social Media ในอิหร่าน
ที่มีภาพสตรีอิหร่านไม่คลุมผมให้เรียบร้อย
ให้ถูกต้องตามหลักการแต่งกายของคนมุสลิม
จึงต้องหันมาใช้ภาพเก่าแทนภาพปัจจุบัน
.
.
.
.
ในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้
เธอได้ร่วมมือกับ Alex Eskin
ที่มหาวิทยาลัยชิคาโก
เพื่อไขปริศนาปัญหาทางคณิตศาสตร์
ที่นักฟิสิกส์ได้ค้นหาคำตอบมา
เป็นเวลาหลายศตวรรษ
แนววิถีลูกบิลเลียดรอบโต๊ะ
หลายเหลี่ยมหลายมุม
Trajectory of a billiards ball
around a polygonal table
ผลการไขปัญหาเรื่องนี้ด้วยรูปแบบที่เรียบง่ายนี้
ดูเหมือนว่าผลงานขนาด 200 หน้ากระดาษ
ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในปี 2013
ได้รับการยกย่องว่าเป็น
จุดเริ่มต้นของยุคใหม่ในวิชาคณิตศาสตร์
และเป็นผลงานที่ยิ่งใหญ่
.
.
.
" คุณต้องทนทุกข์ทรมาน
ระหว่างหนทาง(ไขปริศนา)นั้น
แต่ชีวิตไม่ใช่เรื่องง่ายเลย "
Maryam Mirzakhani
.
.
เรียบเรียง/ที่มา
https://goo.gl/CrpDXb
https://goo.gl/Y26k2w
https://goo.gl/WgkBqa
https://goo.gl/ZFQ2wA
.
Maryam Mirzakhani สตรีนักคณิตศาสตร์ระดับโลก
.
Maryam Mirzakhani
.
.
.
@ https://twitter.com/Firouz_Naderi
.
เมื่อ 3 ปีที่แล้ว ด้วยวัยเพียง 37 ปี
Maryam Mirzakhani คือ สตรีคนแรกของโลก
ที่ได้รับ เหรียญฟิลด์ส Fields Medal
ที่จะมอบให้นักคณิตศาสตร์ครั้งละ 2-4 คน
ผู้รับรางวัลอายุต้องไม่เกินกว่า 40 ปี
โดยคณะกรรมการพิจารณารางวัล 4 ปี/ครั้ง
รางวัลนี้คุณค่าเทียบเท่ารางวัลโนเบล
เมื่อวันที่ 15 กรกฏาคม 2017
เธอตายด้วยโรคมะเร็งเต้านมในวัย 40 ปี
หลังการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเมื่อ 4 ปีก่อน
แม้ว่าจะได้รับการรักษาเป็นอย่างดีที่สหรัฐ
แต่มะเร็งได้แพร่กระจายไปที่ไขกระดูกแล้ว
ข่าวการตายของเธอ
ได้รับการยืนยันจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
เธอเป็นศาตราจารย์คณิตศาสตร์
ตอนอายุ 29 ปีตั้งแต่ปี 2008
การเสียชีวิตของเธอเป็นข่าวใหญ่มาก
สำหรับวงการคณิตศาสตร์ที่ต้องสูญเสีย
อัจฉริยะทางคณิตศาตร์อีกรายหนึ่งไป
Mirzakhani Mirzakhani แต่งงานกับ
Jan Vondrák ชาวเชคโกสโลวาเกีย
รองศาสตราจารย์ทฤษฏีคอมพิวเตอร์
ทำงานที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
ทังคู่มีลูกสาววัย 6 ขวบ ชื่อ Anahita
ลูกสาวบอกนักข่าวว่า
" ผลงานของแม่คล้ายกับงานวาดเขียน “
เพราะมีลายเส้นขยุกขยิกมากมาย
และมีการวาดภาพต่าง ๆ ประกอบ
ใช้เพื่อพิสูจน์กระบวนการทางคณิตศาสตร์
และการไขปริศนาปัญหาด้านคณิตศาสตร์
ตามรายงานข่าวของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
" ดวงไฟดวงหนึ่งได้ดับลงไปแล้วในวันนี้
ช่างรวดเร็วเสียเหลือเกิน ทำให้หัวใจผมสลาย
เธอคือ อัจฉริยะ เป็นทั้งลูกสาว แม่ และภริยา "
Firouz Naderi อดีตนักวิทยาศาตร์ชาวอิหร่าน
ที่ NASA https://twitter.com/Firouz_Naderi
.
.
.
@ https://twitter.com/Firouz_Naderi
.
ในช่วงวัยรุ่น Mirzakhani
ใฝ่ฝันอยากจะเป็นนักเขียน
เธอสนใจอ่านหนังสือนวนิยายต่าง ๆ
มากกว่าเรื่องราวทางคณิตศาสตร์
จนกระทั่งพี่ชายของเธอ
ที่หลงใหลทางด้านวิทยาศาสตร์ได้เล่าเรื่อง
Johann Carl Friedrich Gauss
นักคณิตศาสตร์ระดับตำนานของโลก
ทำให้เธอเกิดความสนใจ/หลงใหล
ด้านคณิตศาสตร์พร้อมกับเธอมีพรสวรรค์ด้วย
ในที่สุดชนะใจเธอแทนการเป็นนักเขียน
" มันสนุกดี มันคล้ายกับการแก้ปริศนาปัญหา
หรือการเชื่อมโยงจุดต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
เหมือนการทำคดีของนักสืบ
ฉันรู้สึก มีบางสิ่งบางอย่าง ที่ฉันสามารถทำได้
และฉันต้องการไล่ล่ามันตามหนทางเหล่านั้น "
Mirzakhani ในวันที่เธอได้รับรางวัล
อันทรงเกียรติเหรียญฟิลด์ส ในปี 2014
และเธอเป็นสตรีคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้
นับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นในปี 1936 นานถึง 78 ปี
กว่าจะมีสตรีคนแรกของโลกที่ได้รับรางวัลนี้
แม้ว่าผลงานวิชาการของเธอ
จะมีขอบเขตกว้างขวางมาก
แต่เธอชอบคณิตศาสตร์บริสุทธิ์มากกว่า
เพราะมีความสง่างาม/งดงาม
พร้อมกับระยะเวลาที่ยาวนาน
ของคำถามต่าง ๆ ทีรอคำตอบ
ทำให้เธอต้องการจะศึกษา
และไขปริศนาปัญหาดังกล่าว
" คุณต้องใช้พลังงาน/ความพยายามบางอย่าง
เพื่อดูความสวยงามของคณิตศาสตร์
ฉันไม่มีสูตรเฉพาะใด ๆ
[สำหรับการพัฒนาหลักฐานใหม่] ...
มันเหมือนกับการหลงทางในป่า
และพยายามใช้ความรู้ทั้งหมดที่คุณมีอยู่
แล้วบังเอิญมันปิ๊งขึ้นในใจ
ด้วยวิธีพลิกแพลงใหม่ ๆ บางอย่าง
และโชคช่วยขึ้นมา คุณก็หาทางออกไปได้ "
เธอบอกกับนักข่าวคนหนึ่ง
ในการให้สัมภาษณ์กระบวนการทำงานของเธอ
.
.
@ https://goo.gl/ftMyTU
.
.
Mirzakhani เกิดที่เตหะราน อิหร่าน
ครอบครัวของเธอเป็นพวกชนชั้นกลาง
จบปริญญาตรีที่นั่นก่อนเดินทางมาสหรัฐ ฯ
ผลจากการสิ้นสุดสงคราม
ระหว่างอิหร่านกับอิรัค
ทำให้สภาพแวดล้อมทางการเมืองสังคม
และเศรษฐกิจ มีเสถียรภาพเพียงพอ
ที่เธอจะมุ่งหน้าไปเรื่องการศึกษาได้
เธอเข้าเรียนในโรงเรียนมัธยมสตรีล้วน
และต้องโต้แย้งกับครูใหญ่ที่กล่าวว่า
ตามข้อเท็จจริงแล้วไม่เคยมีสตรีคนไหน
ที่เข้าร่วมแข่งขันในทีมคณิตศาสตร์โอลิมปิค
ระดับนานาชาติของอิหร่านมาก่อน
แต่เธอก็ได้เข้าร่วมทีมเข้าไปแข่งขันกับผู้ชาย
และได้รับรางวัลในระดับนานาชาติ
ในปี 1994 เธอได้รับเหรียญทอง
ในปี 1995 เธอได้คะแนนเต็มร้อย
และได้เหรียญทอง 2 เหรียญ
หลังจากสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี
ที่ Sharif University ในนครเตหะราน
เธอมุ่งหน้าไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ซึ่งเธอได้รับคำรับรองจาก Curtis McMullen
อดีตผู้ได้รับรางวัลเหรียญฟิลด์สมาก่อน
ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
Mirzakhani ประสบความสำเร็จสมดังตั้งใจ
และด้วยการตั้งคำถามอย่างไม่หยุดยั้ง
แม้จะมีอุปสรรค/ข้อจำกัดทางด้านภาษา
เธอตั้งคำถามอาจารย์ด้วยภาษาอังกฤษ
แต่เธอจดบันทึกย่อด้วยภาษา Farsi
.
.
.
" เธอเต็มไปด้วยความใฝ่ฝันที่กล้าหาญ
ดุษฏีนิพนธ์ในปี 2004 ของเธอ
เป็นผลงานชั้นเยี่ยมเพราะเธอได้ไขปริศนา
ปัญหาคณิตศาสตร์ 2 เรื่องที่มีมายาวนานแล้ว
แต่ละเรื่องที่เธอไขปริศนาปัญหาได้นั้น
เธอทำได้อย่างน่าสนใจ และที่สำคัญถูกต้อง
ตามแบบฉบับด้วยตัวมันเอง "
Curtis McMullen เล่าถึง Mirzakhani
" และแล้ว Mirzakhani ได้เชื่อมปัญหา
ทั้งสองเรื่องเข้าด้วยกันในดุษฏีนิพนธ์ของเธอ
ที่ไขปริศนาปัญหา จนสามารถอธิบายได้ว่า
เรื่องที่น่าตื่นเต้นอย่างแรง
ทำให้ดุษฏีนิพนธ์ของเธอได้รับการยอมรับ
ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารคณิตศาสตร์
ระดับชั้นนำพร้อมกันถึง 3 ฉบับเลยทีเดียว
นักคณิตศาสตร์ส่วนมาก
ยังไม่สามารถผลิตผลงานที่ดีเด่นเช่นนี้
และนั่นคือ สิ่งที่เธอทำได้ในดุษฏีนิพนธ์ของเธอ “
Benson Farb นักคณิตศาสตร์
มหาวิทยาลัยชิคาโก
" เรื่องที่พิเศษเกี่ยวกับ Maryam
นั้นคือ สิ่งที่แปลกแยกจากตัวเธออย่างแท้จริง
คือ ความคิดริเริ่มในการรวบรวมชิ้นส่วน
ปัญหาต่าง ๆ ที่แตกต่างกันนี้เข้าด้วยกัน
(แล้วไขปริศนาปัญหาไปพร้อม ๆ กัน)
นั่นคือ กรณีศึกษาที่เริ่มต้นจากดุษฏีนิพนธ์
ทำให้ผลงานของเธอได้รับการยอมรับ
จากวารสารชั้นนำทางคณิตศาสตร์ทุกฉบับ
วิธีการไขปริศนาปัญหาที่แปลกใหม่ของเธอ
ทำให้เป็นผลงานที่ใช้ความสามารถอย่างแท้จริง "
Steven Kerckhoff ศาสตราจารย์คณิตศาสตร์
ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
และเป็นเพื่อนร่วมงานของ Mirzakhani
กล่าวในขณะที่เธอได้รับรางวัลเหรียญฟิลด์ส
.
.
@ https://goo.gl/Wbm9Fx
.
.
หลังจากจบปริญญาเอก
ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
Mirzakhani ได้ไปเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์
ที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน
และเป็นนักวิจัยที่ Clay Mathematics Institute
ก่อนที่จะมาเป็นศาสตราจารย์คณิตศาสตร์
ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
" เธอได้รับเกียรติยศอย่างมากเลย
Mirzakhani เป็นสตรีชาวอิหร่านคนแรก
ที่ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสถาบันวิทยาศาตร์
National Academy of Sciences เมื่อปีที่แล้ว
เป็นการรับรู้ถึงความสำเร็จที่โดดเด่นของเธอ
ในผลงานวิจัยที่สร้างสรรค์อย่างมาก
เธออยู่ในระดับที่ยอดเยี่ยมเทียบเท่ากับ
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ โทมัส เอดิสัน
และ อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์
ที่ได้รับเกียรติเช่นนี้ในอดีต "
Danielle Karson ให้สัมภาษณ์
กับ NPR's Newscast
.
.
Mirzakhani เชี่ยวชาญในทฤษฎีคณิตศาสตร์
เหมือนกับการอ่านภาษาต่างประเทศ
และเรื่องราวที่นอกขอบเขตคณิตศาสตร์ เช่น
Moduli Spaces, Teichmüller Theory,
Hyperbolic Geometry, Ergodic Theory
และ Symplectic Geometry
ในช่วงแรก ๆ Mirzakhani
หลงใหลกับเรขาคณิต และความสลับซับซ้อน
ทางไดนามิกของพื้นผิวที่โค้ง - รูปทรงกลม
รูปทรงโดนัท และแม้กระทั่ง Amoebas
แม้จะมีลักษณะเชิงทฤษฎีที่สูงมาก
ในผลงานของเธอ แต่ก็มีผลสืบเนื่องต่อ
ฟิสิกส์ กลศาสตร์ ควอนตัม
และแขนงวิชาสาขาอื่น ๆ ที่ไม่ใช่คณิตศาสตร์
" เธอมีความปรารถนาอย่างแรงกล้า
มีความเด็ดเดี่ยวและกล้าหาญอย่างมาก
ในการเผชิญหน้ากับปัญหาที่คนอื่นไม่อยากทำ
หรือไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้
ด้วยการลงมือทำอย่างจริงจัง
เพื่อไขปริศนาปัญหาดังกล่าว "
เพื่อนร่วมงานคนหนึ่งของเธอบอก
“ นี่มันน่ามหัศจรรย์ มันเป็นงานที่น่าพิศวง
บางครั้งคณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่าย ๆ
และสนุกสนานกับสร้างความพึงพอใจ
แต่บางครั้งคุณต้องทนทุกข์ทรมานไปกับมัน
นี่ดูเหมือนเธอต้องทนทุกข์ทรมานอย่างต่อเนื่อง ”
Etienne Ghys คณะกรรมการเหรียญฟิลด์ส
กล่าวถึงผลงานของ Maryam Mirzakhani
.
.
ให้คิดคณิตศาสตร์เหมือนกับรูปภาพ
เธอได้แนวคิดจากลายเส้นขยุกขยิก
ในแผ่นกระดาษขนาดใหญ่
.
.
Maryam Mirzakhani
ผู้ได้รับรางวัลเหรียญฟิลด์ส
จะมอบ 4 ปีต่อครั้ง
โดยสภาคณิตศาสตร์นานาชาติ
International Congress of Mathematicians
กำลังร่างปัญหาเรขาคณิต
@ Thomas Lin/Quanta Magazine
.
.
" Maryam จากไปเร็วเกินไป
แต่ผลกระทบของเธอจะมีต่อไป
สำหรับสตรีอีกหลายพันคน
ที่เธอได้สร้างแรงบันดาลใจ
ในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
เธอเป็นนักทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ที่ยอดเยี่ยม
ทั้งยังอ่อนน้อมถ่อมตนกับเกียรติยศที่ได้รับ
ด้วยความหวังเพียงอย่างเดียวว่า
มันอาจกระตุ้นให้ผู้อื่นดำเนินรอยตาม
เส้นทางของเธอ และการมีส่วนร่วมของเธอ
ในฐานะนักวิชาการ และเป็นแบบอย่าง
ที่มีนัยสำคัญและจะเป็นอมตะตลอดไป
เธอเป็นที่จดจำของสแตนฟอร์ดและทั่วโลก "
Tessier-Lavigne อธิการบดี
มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ให้สัมภาษณ์
“ การเสียชีวิตของ Maryam Mirzakhani
เป็นเรื่องที่น่าเศร้าสลดอย่างยิ่ง
เธอเป็นนักคณิตศาสตร์ชาวอิหร่าน
และนักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก
เป็นเรื่องเศร้าครั้งยิ่งใหญ่ "
Hassan Rouhani ประธานาธิบดีอิหร่าน
Ali Larijani โฆษกรัฐบาลอิหร่าน
ใช้ภาพเก่าของ Mirzakhani บน Instagram
เพราะมีการกระแนะกระแหน
และไม่พอใจ(ดราม่า)กันมากในอิหร่าน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Social Media ในอิหร่าน
ที่มีภาพสตรีอิหร่านไม่คลุมผมให้เรียบร้อย
ให้ถูกต้องตามหลักการแต่งกายของคนมุสลิม
จึงต้องหันมาใช้ภาพเก่าแทนภาพปัจจุบัน
.
.
.
ในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้
เธอได้ร่วมมือกับ Alex Eskin
ที่มหาวิทยาลัยชิคาโก
เพื่อไขปริศนาปัญหาทางคณิตศาสตร์
ที่นักฟิสิกส์ได้ค้นหาคำตอบมา
เป็นเวลาหลายศตวรรษ
แนววิถีลูกบิลเลียดรอบโต๊ะ
หลายเหลี่ยมหลายมุม
Trajectory of a billiards ball
around a polygonal table
ผลการไขปัญหาเรื่องนี้ด้วยรูปแบบที่เรียบง่ายนี้
ดูเหมือนว่าผลงานขนาด 200 หน้ากระดาษ
ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในปี 2013
ได้รับการยกย่องว่าเป็น
จุดเริ่มต้นของยุคใหม่ในวิชาคณิตศาสตร์
และเป็นผลงานที่ยิ่งใหญ่
.
.
" คุณต้องทนทุกข์ทรมาน
ระหว่างหนทาง(ไขปริศนา)นั้น
แต่ชีวิตไม่ใช่เรื่องง่ายเลย "
Maryam Mirzakhani
.
เรียบเรียง/ที่มา
https://goo.gl/CrpDXb
https://goo.gl/Y26k2w
https://goo.gl/WgkBqa
https://goo.gl/ZFQ2wA
.
.
เรื่องเดิม
.
เรื่องจริงของมหาวิทยาลัย Stanford
.
.